วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เห็ดฮังการี่

ขอบคุณภาพสวยๆจาก เว็บไซด์ พันทิปดอทคอม

เห็ดฮังการี่
จัดเป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมาก เนื่องจากเป็นเห็ดที่มีสีขาวสะอาด มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีรสชาติหอมหวาน เนื้อเห็ดไม่เหนียว และนอกจากนี้เห็ดฮังการี่ยังมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีน คาร์โบไฮเดรท วิตามิน และธาตุอาหารหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม ให้พลังงานค่อนข้างสูง มีวิตามินบี 1 บี 2 และยังมีกรดโฟลิคสูงกว่าพืชผักและเนื้อสัตว์ อีกทั้งมีสรรพคุณทางยาช่วยป้องกันรักษาโรคต่อไปนี้อีกด้วย

สรรพคุณทางยา

1.บำบัดอาการปวดเอว ปวดขา ชาตามแขนขา 2.ขยายหลอดเลือด และอาการเอ็นยึด 
3.ยังยั้งเซลล์มะเร็ง หรือเนื้อร้ายต่างๆ
4.กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
5.ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด
6.ปรับความดันโลหิตและความเข้มข้นของไขมันในเลือด
7.ลดอาการอักเสบ
8.ลดการก่อโรคของจุลินทรีย์

📣 ราคาขาย

1.หัวเชื้อข้าวฟ่าง(พร้อมใช้,เชื้อเดิน 80-90%) 10 บาท/ขวด (ต่อรองได้ตามปริมาณ)

2.ก้อนเชื้อเห็ด(เชื้อเดินเต็ม) 10 บาท/ก้อน (ต่อรองได้ตามปริมาณ)

3.ดอกเห็ด(แพ็คถุง/กิโล) 50-70 บาท/กิโลกรัม (ขึ้น-ลงตามตลาด)


❤️ มั่นใจเรา มั่นใจ ไทยกรีนอะโกรฟาร์ม 02-9861680 -2 ❤️

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เห็ดบดเปิดดอกอย่างไรให้ออกดีออกเยอะ

เห็ดบดเปิดดอกอย่างไรให้ออกดีออกเยอะ

เห็ดบดเป็นเห็ดอีกชนิดที่เพาะมากในภาคอีสานและภาคเหนือ ราคาดีแต่อาจต้องใช้เทคนิคนิดหนึ่ง เห็ดชนิดนี้ชอบอากาศร้อนชื้น ช่วงที่นิยมเปิดดอกจึงเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวประมาณช่วงเดือนตุลา-พฤศจิกา ซึ่งสภาพอากาศเหมาะต่อการเปิดดอกมากที่ซู้ดด ถ้าเปิดดอกช่วงหน้าร้อนเห็ดก็ไม่ค่อยออกดอก เห็ดบดใช้เวลาบ่มก้อนนาน 2 เดือน การเปิดดอกทำได้เหมือนเห็ดนางฟ้า หลังนำเข้าโรงเรือนเปิดดอกแล้วต้องพักให้ก้อนสร้างเส้นใยก่อน 5-7 วัน แล้วค่อยเปิด โดยดึงกระดาษหรือจุกออก สำลี ใช้หางช้อนเช็ดแอลกอฮอล์เขี่ยเม็ดข้าวฟ่างออก การเขี่ยก็ต้องเขี่ยออกให้หมดจากนั้นอบก้อนเชื้อโดยใช้พลาสติกสีดำคลุมรอบโรงเรือน ใช้ก้อนหินหรือของหนักทับชายพลาสติกไว้ไม่ให้ปลิว ตรงจั่วให้ใช้พลาสติกใสคลุมชั้น1 ตามด้วยพลาสติกสีดำคลุมชั้น2 และหญ้าคาคลุมชั้น3 ปลอยทิ้งไว้เพื่อกระตุ้นเส้นใย 2 วัน 2 คืนหรือ 48 ชั่วโมง เมื่อครบ 2 วันแล้วให้ค่อยๆเปิดพลาสติกคลุมให้อากาศเข้าโรงเรือน ตรงจั่วเปิดพลาสติกใสขึ้น 1 คืบ พลาสติกดำดึงขึ้น 2 ช่องๆละ 10 ซม. ส่วนด้านข้างก็ค่อยๆเปิด ให้อุณหภูมิค่อยๆลดลงจาก 40 องศา ลงมาที่ 30-35 องศา อาจใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน 

ช่วงเปิดดอกต้องดึงคอขวดออก ดึงถุงพลาสติกให้คลี่ออกทุกด้าน 1-2 วัน จนเห็นเส้นใยสีขาวเกิดขึ้น กรีดถุงพลาสติกด้านล่างเสมอหน้าก้อนเป็นช่องเพื่อระบายน้ำ ไม่ให้น้ำขังเวลารดน้ำ วันที่ 3 เริ่มมีดอกให้เห็น ใช้มีดกรีดถุงพลาสติกออกให้เสมอหน้าก้อน เริ่มรดน้ำ เห็ดก็จะออกเยอะขึ้นเรื่อยๆในวันที่ 4-5 อุณหภูมิในช่วงนี้ไม่ควรเกิน 30-35 องศาเซลเซียส ถ้าเกินกว่านี้ดอกเห็ดจะยุบฟ่อได้ ช่วงนี้รดน้ำตามปกติ การรดน้ำควรให้เป็นฝอยละเอียดหรือหมอกจะดีที่สุด ไม่ควรให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เห็ดหน้าแรกหรือดอกชุดแรกจะเริ่มเก็บได้ตั้งแต่วันที่ 4-5 ใช้เวลาเก็บ 6-7 วันก็จะหมดหน้าแรกจากนั้นใช้มีดชุบแอลกอฮอล์ตัดขาดอกเห็ดที่ค้างอยู่ แต่งหน้าก้อนให้สะอาด ทันทีหลังจากเก็บดอกเสร็จ รดน้ำตามปกติ อีกประมาณ 7-10 วัน เห็ดก็จะออกดอกอีก อันนี้ยังถือเป็นดอกหน้าแรก ซึ่งดอกหน้าแรกจะเก็บได้ 2-3 ชุด ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดอกชุดแรกใน 5,000 ก้อน จะได้ดอกอย่างน้อยๆ 300 กก.แต่ถ้าออกดีๆอาจได้ถึง 400-500 กก.เลยเชียว 

หมดดอกชุดแรกก็ต้องอบโรงเรือนต่อ คลุมให้มิดชิดเหมือนเดิมใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน ขึ้นกับอากาศ ถ้าอากาศร้อนใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ถ้าอากาศไม่ค่อยร้อนใช้เวลาอบ 5-7 วัน เห็ดชนิดนี้จะเก็บดอกได้ 2-3 รอบ/เดือน และต้องอบโรงเรือนเพื่อกระตุ้นดอกทุกครั้ง เดือนละ 2-3 ครั้ง เก็บดอกนาน 5-7 เดือน โดยปกติแล้วเห็ดบดจะนิยมเพาะกันปีละครั้ง โดยจะเริ่มทำก้อนเดือนกรกฎา-สิงหา แล้วไปเปิดดอกช่วงเดือน ตุลา-พฤศจิกา แล้วไปทิ้งก้อนเอาช่วงเดือนเมษา-พฤษภา ถ้าเปิดดอกหน้าหนาวก้อนจะอยู่ได้นาน แต่ถ้าเปิดดอกหน้าร้อนประมาณมีนา-เมษา ก้อนจะอยู่ไม่ทนได้เพียง 4-5 เดือนก็จะต้องทิ้งก้อนแล้ว เห็ดบดเป็นเห็ดที่มีราคาสูง ยืนพื้นอยู่ที่ 100-120 บาท/กก.ก้อนเชื้อ 5,000 ก้อน จะได้ดอกขั้นต่ำประมาณ 500-700 กก. คิดเอาแล้วกัน...ว่ารอบนึงๆได้กี่บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680 -2

คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

สายใยรักเพลี้ยแป้ง-มดแดงในสวนฝรั่ง


เมื่อ เร็วๆ นี้ผู้เขียนได้มีโอกาสโทรศัพท์พูดคุยกับเกษตรกรที่ทำสวนฝรั่งท่านหนึ่งแถวๆ นครชัยศรี เกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชที่คอยช่วยพึ่งพาอาศัยกัน แต่ถ้าพี่น้องเกษตรกรไม่ทราบข้อมูลเลยการป้องกันกำจัดก็เป็นไปได้ยาก อาจทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลไปอย่างน่าเสียดาย ยิ่งหน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานๆก็มักจะพบเพลี้ยแป้งระบาดเป็นจำนวนมากชนิด ที่ว่าขาวโพลนทั้งต้น 

เพลี้ยแป้งเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบฝรั่ง ส่งผลทำให้คุณภาพของผลผลิตตกต่ำ และในขณะเดียวกันก็จะเห็นมดโดยเฉพาะมดแดงเดินป้วนเปี้ยนไป-มาใกล้ๆตัวเพลี้ยตลอดเวลา เนื่องมาจากสัตว์ทั้ง 2 ชนิดต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อเพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นฝรั่งแล้วก็จะถ่ายมูลออกมา จากนั้นมดแดงก็จะเข้าไปกินน้ำหวานจากมูลต่อโดยที่ไม่ทำร้ายเพลี้ย แต่เมื่อไหร่ที่ตัวเพลี้ยแป้งร่วงหรือตกจากต้นฝรั่ง มดแดงก็จะทำหน้าที่ไปคาบเพลี้ยขึ้นมาเกาะบนต้นฝรั่งดังเดิม ดูแล้วก็เหมือนสายสัมพันธ์รักที่ดีต่อกัน ทำสวนฝรั่งจะไปยึดถืออย่างนั้นก็คงไม่ได้ ผลผลิตเสียหายหมดกันพอดี 

ชีวภาพอย่างสมุนไพรและจุลินทรีย์ก็อีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยควบคุมปริมาณเพลี้ยแป้ง ช่วยลดสารเคมี ลดต้นทุน ป้องกันสารพิษตกค้าง ที่สำคัญดินก็ไม่เสื่อมระบบนิเวศน์ก็ไม่เสีย ตัวห้ำตัวเบียนก็ไม่ถูกทำลายอย่างทุกวันนี้ ท่านเคยสังเกตไหมว่าแมงมุมที่คอยชักใยตามกิ่งใบฝรั่งหายไปไหน? ผู้เขียนกำลังจะบอกว่าที่มันหายก็เพราะว่าสวนแต่สวนมีแต่สารเคมี สารพิษที่คอยทำลายชีวิตห่วงโซ่อาหารของแมลงหรือแมงพวกนี้ หากไม่อนุรักษ์ไว้จองแต่จะทำลาย วันหน้าก็จะไม่มีแมลงดีๆคอยพิทักษ์สวนคอยป้องกันแมลงศัตรูพืช 

เมื่อผู้พิทักษ์น้อยลงแต่ปริมาณศัตรูเท่าเดิมหรือมากกว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องหาตัวช่วย อันจะใช้น้ำไปฉีดพ่นหรือรอให้ฝนตกลงมาชะล้างเพลี้ยออกจากต้นก็คงไม่ทันกาล บางครั้งอาจต้องใช้ยาป้องกันกำจัดบ้างสลับสับเปลี่ยนกันไป จะเลือกยามาฉีดพ่นซักขวดก็ต้องดูพิจารณาให้ดีว่า เป็นยาอะไร? ใช้แล้วปลอดภัยมั้ย? ตกค้างหรือป่าว? ระยะยาวเป็นยังไง? ถ้าทุกคนคิดได้อย่างนี้รับรองเลยว่าสินค้าเกษตรของไทยปลอดภัยจากสารพิษ100%ชัวร์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 081-3983128 (ผู้เขียน) 

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 23 กันยายน 2557 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com 

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย(ทริปโตฝาจ)

Triptophaj-New.gif+

บทความตอนนี้ข้อนำเสนอข้อมูลการจัดการกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างที่กำลังระบาดอย่างหนักในเวลานี้ ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลของ คุณไพทูน   วงศ์ใหญ่  อยู่บ้านเลขที่ 199 หมู่ที่16 ต.หนองฮี อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี  โทร.081-7744449
- ทำนาข้าวอยู่ 200 ไร่ (พันธุ์ ก.ข.15) ซึ่งการทำนาของคุณไพบูลย์ จะทำเป็นแนวปลอดสารพิษ จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงเลย เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา จังหวัดอุบลราชธานีประสบกับปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในนาข้าวอย่างหนัก ซึ่งนาของคุณไพบูลย์เองก็เจอเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเล่นงานเหมือนกัน แต่ที่ต่างจากชาวนาคนอื่นในระแวกบ้าน คือคุณไพบูลย์จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่มีขายตามร้านขายยา แต่จะหาข้อมูลการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบชีวภาพปลอดสารพิษในอินเตอร์เน็ตและได้มาอ่านเจอบทความเรื่องการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวแบบปลอดสารพิษของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ด้วยการใช้จุลินทรีย์”ทริปโตฝาจ”(เชื้อราบิวเวอเลีย) แล้วเกิดความสนใจ เลยได้เข้าไปซื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษสาขาอุบลราชธานี ตรงแยกนาเมือง ไปทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 ก่อนที่จะฉีดสั่งเกตุในแปลงนาพบว่าข้าวในนาเริ่มแสดงอาการเหลือง บางพื้นที่ข้าวเริ่มยุบให้เห็น เลยได้รียฉีดทริปโตฝาจในเย็นวันที่ 1 นั้นเอง
- หลังจากฉีดพ่นทริปโตฝาจไป 4-5 วัน ทางเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้โทรไปสอบถามเก็บข้อมูลผลการใช้ จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ กับทางคุณไพบูลย์ ได้ข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ คุณไพบูลย์ให้ข้อมูลมาว่า หลังจากฉีดไปแล้ว3 วันได้ไปตรวจดูที่แปลงนาพบว่า แทบไม่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาเลย แต่จะพบตัวที่ตายลอยอยู่ในน้ำหรือไม่ก็แห้งตายขึ้นเป็นใยสีขาวเกาะตายคาต้นข้าว ทำให้คุณไพบูลย์รู้สึกพอใจเป็นอย่างมาก และเมื่อวาน คุณไพบูลย์ได้โทรมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ว่าข้าวที่นาเริ่มฟื้นกลับมาเขียวเกือบจะเหมือนเดิมแล้ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ยังไม่มีอีกเลยตั้งแต่ฉีดทริปโตฝาจไปตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับชาวนาแปลงข้างๆ ที่ใช้ยาฆ่าแมลงในการกำจัดเพลี้ยกระโดดด้วยว่า ชาวนาแปลงข้างๆต้องฉีดยาเพลี้ยกระโดดทุก 3 วัน แต่ข้าวก็ไม่ดีขึ้น แนะนำให้ใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ก็ไม่เอา หาว่ายาที่คุณไพบูลย์ใช้ราคาถูกจะได้ผลหรา ขนาดยาฆ่าแมลงแรงๆแพงๆยังไม่ได้ผลเลย เกษตรกรที่ทำนาท่านอื่นๆในพื้นที่ที่กำลังมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดก็ลองนำทริปโตฝาจไปทดลองใช้กันได้นะครับสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้เขียน โทร.085-9205846 

เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

หินแร่ภูเขาไฟช่วยให้พืชกินอาหารได้ต่อเนื่อง ไม่เปลืองปุ๋ย ต้นทุนลดผลผลิตเพิ่ม


Pumice_Sulpher02.jpg

เหลือ เชื่อนะครับท่านผู้อ่านที่ในห้วงช่วงนี้ ผู้คนให้ความสนใจการใช้หินแร่ภูเขาไฟปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก มาย มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงดินออกมาเยอะแยะมากมายหลายยี่ห้อ บ้างก็เอาดินเบาลำปาง (diatomite) บ้างก็เอาดินขาว (Kaolinite)บ้างก็เอาปูนมาร์ล ปูนเผา ปูนขาว ยิปซั่ม (Lime) ที่หนักข้อขึ้นไปอีกก็คือใช้ดินเหนียว (Mineral Clay) อาจจะเป็นด้วยดินที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ทำให้การปลูกพืชของพี่น้องเกษตรกรไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงต้องพยายามหาสิ่งที่ต้องบำรุงปรุงดินให้ดีขึ้น เพื่อให้พืชเจริญเติบโตงอกงามและให้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น 

การ ทดลองและวิจัยเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟในการปรับปรุงบำรุงดินเท่าที่ เห็นเป็นรูปธรรมคือตั้งแต่ปี 1999 ก็คือ Silicon In Agriculture. และ Zeolite In Agriculture. ซึ่งเป็นข้อเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาให้ความชุ่มชื้น ให้ความแข็งแกร่งทนทานต่อโรคแมลง ทนทานต่อสภาพดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินด่าง ฯลฯซึ่งความจริงอาจจะมีข้อมูลเกี่ยวกับด้านนี้มาก่อนเยอะแยะมากมายก็ได้ แต่ด้วยเทคโนยีด้านข้อมูลข่าวสารในอดีตไม่ได้รวดเร็วเหมือนสมัยนี้ จึงทำให้ความแพร่หลายในอดีตจากอีกซีกโลกหนึ่งมาถึงเราช้า...แต่ดีกว่าไม่ มา! 

หินแร่ภูเขาไฟ.(Volcanic Rock) ซึ่งมีองค์ประกอบของความอุดมสมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโตทั้งของพืช สัตว์และจุลิทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่มนุษย์อย่างเราไม่สามารถ มองได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพืชสัตว์แพลงค์ตอนถ้ามีแหล่งหินแร่ภูเขาไฟบนพื้นดิน ภูเขาหรือใต้ท้องทะเล สิ่งมีชีวิตที่ได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่หินแร่ภูเขาไฟปลดปล่อยย่อย สลายออกมาก็จะเจริญเติบโตสมบูรณ์งอกงามจนแทบไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารจากการ สังเคราะห์หรือปุ๋ย ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่นพืชที่ปลูกบนเกาะชวา บาหลี แพลงค์ตอน ปลากระตัก นกนานาชนิดที่ปากอ่าวชิลี เปรู 

การ ใช้กลุ่มวัสดุปูน lime, ดินเบา diatomite และดินขาว Kaolinite ซึ่งส่วนใหญ่ใช้แก้ปัญหาดินเปรี้ยวดินกรด ไม่มีค่าความสามารถในการจับตรึงปุ๋ยให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า ไม่มีซิลิก้าทำให้พืชแข็งแรง ไม่มีคุณสมบัติที่สามารถปลดปล่อยย่อยสลายตนเองให้กลายเป็นอาหารของสิ่งมี ชีวิตได้ทีละน้อยๆ จึงแตกต่างจากหินแร่ภูเขาไฟ พื้นที่เกษตรที่มีการเติมสารปรับปรุงบำรุงดินด้วยหินแร่ภูเขาไฟ พืชจึงเจริญได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุดหยุดการรรับสารอาหาร สามารถดูดซับจับความชื้นจากอากาศ รับแร่ธาตุกักเก็บสารอาหารที่ถูกน้ำพัดพาทำหน้าที่คล้ายตู้เย็นพืช จึงทำให้พืชโตเร็ว ต่อเนื่อง ผลผลิตเพิ่ม ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีที่ซื้อมาเสริมเพิ่มเติมลงไป 

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เลี้ยงกบแบบพอเพียงต้นทุนต่ำ



อาศัย ธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเกษตรกร ประหยัดต้นทุนในการเลี้ยง ใช้วัสดุหาง่ายในพื้นที่ในครัวเรือน ขนาดของบ่อก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่ 2-3 เมตรก็พอ แต่พื้นที่แสงแดดต้องส่องได้ถึง พื้นดินต้องเรียบ ล้อมรั้วรอบด้วยตาข่ายไนลอนสูง 1 เมตร โดยให้ฝังตีนตาข่ายลึกลงไปในดินประมาณ 20 เซนติเมตร ป้องกันกบมุดหนีหรือศัตรูภายนอกมุดเข้ามากินกบ ด้านในต้องมีแหล่งน้ำหรือบ่อเล็กๆไว้ใหักบว่ายน้ำเล่น 

ท่าน ที่ฟักไข่เองช่วงแรกๆก็ให้ลูกอ๊อดกินไรน้ำ หรือไรแดง สลับกับผักกาดลวกกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือเศษปลาต้มสุก บด หรือเครื่องในสัตว์ต้มสุก หรือหอยเชอร์รี่ต้มสุกบด นำมาผสมกับรำละเอียด เมื่อลูกอ๊อดเริ่มโตขึ้นก็เริ่มผสมหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูป แต่ค่อยๆผสมให้ทีละน้อยๆกินหมดในหนึ่งวัน การฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปแต่เนิ่นๆเป็นเรื่องที่ดี ช่วยลดปัญหากรณีอาหารธรรมชาติอย่างปลวก ไส้เดือน จิ้งหรีด หนอนนก ฯลฯ ไม่เพียงพอหรือหายากราคาแพงลงได้ 

เมื่อลูกกบอายุ 2 เดือนก็เริ่มให้อาหารสำเร็จรูปได้ หรือผสมร่วมกับอาหารธรรมชาติเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะผสมอยู่ประมาณ 3:1ของอาหาร ยกอย่างเช่น ปลาสดบดผสมรำ 3 กิโลกรัมต่ออาหารสำเร็จรูป 1 กิโลกรัม ช่วงเวลาจากลูกอ๊อดไปเป็นลูกกบใช้เวลา 40-45 วัน และจากลูกกบไปเป็นกบเนื้อพร้อมจำหน่ายใช้เวลา 4-5 เดือน นั้นหมายถึงกบมีความยาวประมาณ 4 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 200-300 กรัมต่อตัว ช่วงไหนราคาไม่ดีปล่อยเลี้ยงต่อยังไม่จับ เพราะยิ่งไซด์ใหญ่ยิ่งได้ราคาดีเป็นเงาตามตัว 

ปัญหา น้ำเน่าเสียก็ไม่แพ้เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง อยู่เหมือนกัน ยิ่งให้อาหารเยอะก็ยิ่งกินเยอะและเหลือเยอะ แถมถ่ายเยอะอีกตังหาก ไม่เกินหนึ่งสัปดาห์น้ำก็เริ่มส่งกลิ่นเหม็น กลิ่นคาว กลิ่นฉุนของแอมโมเนียคละคลุ้งทั่วบริเวณ แหละนั้นก็ต้องคอยถ่ายน้ำเสียทิ้งแล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ตลอดเวลา เพราะถ้าไม่เปลี่ยนหรือถ่ายทิ้ง แอมโมเนียก็เพิ่มขึ้นจนทำลายเนื้อเยื้อบางๆหรือผิวหนัง ทำให้กบเคลียดหรือตายได้เช่นเดียวกัน บางครั้งต้องอาศัยหินภูเขาไฟอย่างสเม็คโตไทต์ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ มาคอยดักจับแอมโมเนียซึ่งมีเป็นประจุไฟฟ้าเป็นบวก ช่วยยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำและลดอัตราการตายลงได้ สอบถามข้อมูลวิชาการได้ที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน(081-3983128) ท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205-9 

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 11 กันยายน 2557 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

โรงเรือนเห็ดต้นทุนต่ำทำจากเหล็กแป๊ปเต้นรถเก่า



การ ทำโรงเรือนเห็ดให้เหมาะสมต่อชนิดของเห็ดก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าโรง เรือนไม่สามารถกักเก็บและควบคุมได้ก็จะทำให้เห็ดชนิดนั้นๆ ไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ต้องเสียเงิน เสียทอง และที่สำคัญเสียเวล่ำเวลาลาในการสาเหตุและทำการแก้ไข โรงเรือนเห็ดที่ไม่สามารถบริหารจัดการเรื่องอุณหภูมิและความชื้นได้ เมื่อเพาะเห็ดที่ชอบหนาวมาก ร้อนมากก็จะมีปัญหาคือเห็ดไม่ออกดอก หรือในห้วงช่วงที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น และกลางคืน อุณหภูมิและสภาพอากาศผันแปรอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็ทำให้เห็ดที่ออกดอกง่ายอย่างฮังการี่ก็มีจู้จี้งอแงบ้างเหมือน กัน 

ปัจจุบัน การเพาะเห็ดนั้นมีปัจจัยที่เข็มขัดสั้น (แฮะๆ คาดไม่ถึง) หรือไม่คาดคิดหลายอย่างนะครับ เช่นสถานการณ์โลกร้อน (Global Warming) และสภาพอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีตเทียบกับปัจจุบัน (Climate Change) สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างเห็ดรา (Macro Fungi) ที่สามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าสัตว์ตัวโตๆและ มนุษย์ จึงทำให้เกิดปัญหาในการดูแลให้เกิดดอก เรื่องโลกร้อนนั้น ผู้ที่ติดตามข่าวก็จะทราบว่า คลื่นความร้อนนั้น (Heat Wave) นั้นก็คร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายชีวิตอยู่เหมือนกัน หรือแม้แต่ภาคเหนือ เท่าที่ได้รับรู้ข้อมูลคือจังหวัดน่าน อำเภอบ่อเกลือนั้นปัจจุบันก็เริ่มรับรู้ถึงปัญหาจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อน ขึ้นและปัญหาของเชื้อราแมลงศัตรูข้าวที่กำลังระบาดกันอยู่ในขณะนี้ จากแต่ก่อนไม่เคยพาลพบก็ยังต้องมาประสบพบเจอและที่สำคัญในระยะยาวถ้าเรายัง ปล่อยให้โลกร้อน การประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั่นคงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายอย่างเพิ่มขึ้นมา อย่างแน่นอน 

ที่ จะมาแนะนำกับท่านผู้อ่านในวันนี้ก็ใช่ว่าจะหาของแพงๆให้เสียสตุ้งสตางค์กัน ดอกหรอกนะครับ เพียงแต่อยากจะให้รู้จักสังเกตุ วิเคราะห์ และดัดแปลงวัสดุที่หาได้ใช้จากท้องถิ่น ในกรณีที่จะพูดถึงนี้ก็คือการใช้เหล็กแป๊ปทำโรงเรือนอย่างง่าย กว้างคูณยาวคูณสูง 4 x 6 x 2.5 หรือ. 3 เมตรก็ตามสะดวกให้ผลลัพธ์หรือประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญการทำโรงเรือนในลักษณะนี้จะเน้นที่ความง่าย ย้ายสะดวก ต้นทุนไม่สูงมากนัก ไม่เกิน 5,000 บาท คือพยายามให้ช่างต่อแบบประกอบข้อต่อที่ถอดออกและสวมเข้าได้ง่ายๆด้วยนะครับ รอบตัวโรงเรือนอาจจะใช้แสลนด์ขึงพันรอบและทำหลังคาใช้ผ้าใบและถุงพลาสติกบุ ด้านในหรือด้านนอกตามความเหมาะสม ถ้าไม่ลำบากมากนักหลังคาแนะนำให้จากหรือหญ้าคานะครับ ส่วนด้านข้างเป็นแสลนด์ไม่มีปัญหา เพราะหน้าฝนนั้นหลังคาที่เป็นแสลนด์หรือผ้าใบอาจจะมีปัญหาเรื่องน้ำฝนรั่ว ซึมหรือท่วมขังค้างบนหลังคา น้ำหนักที่หน่วงหนักมากเกินไปอาจทำให้ผ้าใบหรือถุงพลาสติกฉีกขาดพังลงมาได้ ครับ สามารถไปดูต้นแบบได้ที่ ไทยกรีนอะโกรฟาร์ม 197 หมู่9 ต. รำมะสัก อ. โพธิ์ทอง จ. อ่างทอง 14120 หรือโทร. 084-555-4205-9 ดูนะครับ

วัตถุ ประสงค์หลักเน้นการบริหารจัดการโรงเรือนให้สอดคล้องเหมาะสมกับเห็ดแต่ละชนิด ถ้าเป็นเห็นชอบร้อนก็ควรบุพลาสติกและผ้าใบให้แน่นหนา ส่วนเห็ดที่ชอบเย็นก็สามารถที่จะปิดเปิดสแลนด์ระบายอากาศได้ไม่ยาก โรงเรือนในลักษณะนี้ได้ไอเดียมาจากพี่ประดิษฐ์ นักธุรกิจที่เจอปัญหาวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ได้นำเต้นรถเก่าที่ส่วนใหญ่เป็นเหล็กแป๊ปไปดัดแปลงเพาะเห็ด จุดเด่นที่สำคัญคือเคลื่อนย้ายไปตามจุดต่างได้ง่าย ปรับแต่งได้ตามใจชอบ สำหรับผู้เพาะเห็ดมือใหม่จะนำไปดัดแปลงปรับใช้ก็ไม่ว่ากันนะครับ  

นตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com