วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เหตุผลของการใช้ภูไมท์ซัลเฟตในสวนปาล์มน้ำมัน

ภูไมท์ซัลเฟตจัดอยู่ในกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงสภาพดิน ปรับเปลี่ยนสภาพดินที่เสื่อมโทรม (ดินตาย) ให้มีชีวิตเหมาะสมต่อการปลูกพืชและยังช่วยปรับค่า pH ของดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลดปล่อยหรือเคลื่อนย้ายของธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อต้นพืชนั้นๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ภูไมท์ 50 % ซัลเฟต (กำมะถัน) 7 % แคลเซียมคาร์บอเนต 12 % ฟอสฟอริกแอซิค 0.20 % แมกนีเซียมคาร์บอเนต 0.01 % เหล็ก 0.01 % สังกะสี 0.005 % และวัตถุปุ๋ย เป็นต้น ข้อดีข้างต้นของภูไมท์ซัลเฟตนี้เองที่เกษตรกรหลายคนหลายท่านที่ให้ความสนใจเรียกหาถามหาหรือนำไปใช้ในแปลงปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ช่วยปรับค่า pH ของดิน อีกทั้งช่วยสร้างจุลินทรีย์ในดินพร้อมๆกับการเพิ่มธาตุอาหารหลัก N P K ที่ใส่อยู่เป็นปกติอยู่แล้ว  หากจำแนกข้อดีข้อเสียของการนำภูไมท์ซัลเฟตมาผสมร่วมกับปุ๋ยเคมี ข้อดี - ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินที่ไม่มีในปุ๋ยเคมี - ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือไม่ต้องซื้อปุ๋ยสูตรที่มีราคาแพง - สามารถสร้างจุลินทรีย์ในดินไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักโดยไม่ทำให้ดินเสียหรือดินตาย - ลดการสูญเสียปุ๋ยเคมีจำพวกแอมโมเนียมไปโดยเปล่าประโยชน์ ข้อเสีย - การจัดการมากขึ้น อาทิต้องนำแม่ปุ๋ยเคมีมาผสมร่วมกับภูไมท์ซัลเฟตและปุ๋ยอินทรีย์  สูตรแนะนำการผสมปุ๋ยบำรุงต้นบำรุงดินในปาล์มน้ำมันหลังการเก็บเกี่ยว - ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด 200 กก. - ปุ๋ยเคมีสูตร 46 - 0 – 0 50 กก. - ปุ๋ยเคมีสูตร 18 – 46 – 0 50 กก. - ปุ๋ยเคมีสูตร 0 – 0 – 60 50 กก. - ภูไมท์ซัลเฟตเม็ด 50 กก. สูตรข้างต้นจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของดินในพื้นที่นั้นๆและพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยในปีทีผ่านมาด้วย อัตราการใส่ปุ๋ย - ปาล์มน้ำมันอายุ 3 – 4 ปี 4 กก./ ต้น/ปี - ปาล์มน้ำมันอายุ 5 – 8 ปี 6 กก./ ต้น/ปี - ปาล์มน้ำมันอายุ 8 ขึ้นไป 8 – 10 กก./ ต้น/ปี สำหรับเกษตรกรท่านใดที่สนใจหรือกำลังคิดจะปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจสามารรถติดต่อสอบถามได้ที่ ร้านชมพู่การเกษตรสุราษฎร์ธานี ( 089 – 8719547 )นักวิชาการชมรมฯ ( 081 – 3983128 )

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทคนิคในการปรับปรุงสภาพดินในสวนปาล์มน้ำมันเสื่อมโทรม ที่เหนือคลอง จ .กระบี่

เกษตรกรเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ในจังหวัดกระบี่ที่ให้ความสนใจในการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอาชีพหลักแทนการปลูกยางพารา ข้าว และพืชไร่อย่างในอดีต ฉะนั้นการปลูกปาล์มน้ำมันในแต่ละพื้นที่ย่อมจะพบเจอปัญหาไม่เหมือนกัน อาทิเช่นตัวอย่างที่จะนำเสนอแก่เกษตรกรเพื่อนำไปประยุกต์หรือปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่สวนของท่านเองได้ สวนปาล์มน้ำมันตัวอย่าง ที่จะนำเสนอเป็นสวนของคุณอาวุธ แก้วแย้ม (ร้านปกาสัยวัสดุก่อสร้าง) คุณอาวุธ กล่าวว่าในอดีตปาล์มน้ำมันของท่านเป็นปาล์มสีทอง ต้นแคระแกร็น ไม่โตตามอายุอย่างที่สมควรจะเป็น ด้วยความวิตกกังวลจึงได้ศึกษาหาวิธี จนกระทั่งได้รู้จักกับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ได้เล่าปัญหาให้ทางนักวิชาการฟังกระทั่งได้รับคำตอบว่า ดินบริเวณนั้นเป็นที่ดินนาเคยใช้ปุ๋ยเคมีมาก่อนทำให้ดินเป็นกรดส่งผลให้ดินตาย ล็อคปุ๋ยไม่สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้ส่งผลให้พืชใบเหลืองหรือปาล์มสีทองอย่างที่กล่าวข้างต้นยังไงครับ สำหรับเทคนิควิธีที่คุณอาวุธนำมาใช้ในปรับปรุงดินที่ตายให้กลับคืนฟื้นชีวิตอีกครั้งนั้นก็คือ ใช้ภูไมท์กระสอบสีขาวร่วมกับขี้เค้ก(ส่วนที่เหลือจากโรงหนีบน้ำมันปาล์ม)และปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกชนิดปุ๋ยเย็น(มูลสัตว์กินพืช) อัตรา 20 : 10 : 80 กก.ตามลำดับโดยแบ่งใส่ 2 ครั้งๆละ 2.5 กก. /ต้น/ไร่ ช่วงต้นและปลายฤดูฝน ระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1 ปีพบว่าใบปาล์มน้ำมันมีสีเขียวเข้ม คอต้นมีขนาดใหญ่สมบูรณ์ และที่สำคัญพบว่าบริเวณโคนต้นมีขี้ของไส้เดือนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ข้อควรระวัง : ในการใช้ขี้เค้กควรใช้ในอัตราที่เหมาะสม ไม่ควรใช้บ่อยครั้งเพราะเป็นต่อต้นพืชได้ คือขี้เค้กจะมีส่วนผสมของกรดไขมันอิ่มตัวซึ่งมีผลต่อการสลายตัวและขบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ฉะนั้นในการขี้เค้กควรศึกษารายละเอียดและผลที่จะตามมาให้ถ่องแท้เสียก่อน สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจขอข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณอาวุธ แก้วแย้ม(ร้านปกาสัยวัสดุก่อสร้าง)อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โทร. 085 -7828235 หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการชมรมฯ โทร. 081 – 3983128,02 – 9861680 – 2

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไตรโคเดอร์ม่ารักษาโรครารากขาวในยางพารา

เชื้อไตรโคเดอร์ม่า หรือราเขียวอาจจะเป็นศัตรูโรคร้ายแรงในกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ดเนื่องจากเชื้อดังกล่าวจะชอบกินหรือเข้าขัดขวางการพัฒนาการของเห็ดรา แต่สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา ทุเรียน กลุ่มไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือพืชผักที่มีปัญหารากเน่าโคนเน่า เน่ายุบในผักตระกูลคะน้า เป็นต้น สำหรับในยางพาราจะพบว่าเป็นโรครากเน่าโคนเน่าหรือยืนต้นตายหรือที่เรียกกันว่า “โรครากขาวในยางพารา” จะพบการเข้าทำลายของเชื้อราในระบบรากส่งผลให้น้ำยางหยุดไหล ใบเหลืองร่วงและยืนต้นตายในที่สุด คุณดนัยเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่ายางพาราในแปลงปลูกของตนเองที่อำเภอบ้านนาสารซึ่งเปิดหน้ากรีดมีอาการน้ำยางหยุดไหล ใบเหลืองเริ่มมีอาการร่วง กระทั้งยืนต้นตาย มีการระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้โทรศัพท์ปรึกษานักวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษและได้แนะนำให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าโดยหว่านรอบโคนต้นๆละ100 กรัมหลังฝนตกหรือสภาพดินที่ยังคงมีความชื้นอยู่ หลังจากหว่านเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 4 สัปดาห์ พบว่าอาการระบาดของเชื้อราเริ่มลดลง ต้นยางพาราเริ่มทรงตัว ตายน้อยลง ส่วนอาการใบเหลืองให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21 – 7 – 18 หรือปุ๋ยเคมีมีสูตร N และ K สูง ต้นละ 1 กก.เพื่อกระตุ้นการสร้างใบใหม่และการไหลของน้ำยาง หากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นควรใช้ภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีและตรวจวัดค่า pH ดินก่อนทำการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ นักวิชาการชมรมฯ (081 – 3983128 )หรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ( 02 – 9861680 – 2 )

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภูไมท์ซัลเฟตร่วมกับแม่ปุ๋ยเคมีกระตุ้นการไหลของน้ำยางพารา

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศปีละไม่น้อยซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าติดอันดับ 1ใน 5 อันดับต้นๆของพืชเศรษฐกิจภายในประเทศ นิยมปลูกกันมากในแถบจังหวัดภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรตลอดถึงจังหวัดนราธิวาส และต่อมาได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคต่างๆหันมาปลูกกันมากขึ้น อย่างเช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น การปลุกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักประจำบ้านนั้นๆสิ่งที่จำเป็นมากเป็นอันดับแรกคือปริมาณและเปอร์เซ็นต์ของน้ำยาง รองลงมาคือภูมิอากาศ ส่วนด้านราคานั้นเราควบคุมไม่ได้ขึ้นลงตามกระดานน้ำมันในตลาดโลก (สำหรับประเทศไทยอิงตลาดกลางสิงคโปร์) สิ่งเดียวที่เกษตรกรพึงกระทำได้คือการลดต้นทุนการผลิตโดยนำแม่ปุ๋ยเคมีมาผสมร่วมกับภูไมท์ซัลเฟตเพื่อปรับสภาพดิน ปรับ pH ของดิน เพิ่มธาตุรองธาตุเสริมให้แก่ต้นยางพาราโดยไม่ต้องหาซื้อมาเติมเมื่อสายไป ที่สำคัญภูไมท์ซัลเฟตมีส่วนผสมที่เป็นซิลิก้า (ซิลิซิค แอซิด) ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ต้นยางพาราลดการเข้าทำลายของโรคแมลงศัตรูพืชและยังสามารถดูดซับตรึงปุ๋ยเคมีให้เป็นปุ๋ยละลายช้าได้อีกด้วย ตัวอย่าง ปุ๋ยผสม สูตร 25 – 5 – 18 กระตุ้นการไหลของน้ำยางพารา อัตราการผสมปุ๋ย 1. ไนโตรเจน (N) 46 - 0 – 0 50 กก. 2. ฟอสฟอรัส (P) 18 – 46 – 0 (DAP) 11 กก. 3. โพแตสเซี่ยม (K) 0 – 0 – 60 30 กก. 4. ภูไมท์ซัลเฟต (FL) 9 กก. หลังผสมเสร็จให้หว่านรอบโคนต้นยางพาราที่เปิดกรีดแล้ว ต้นละ 1 กก. ในช่วงการใส่ปุ๋ยปกติคือช่วงต้นฝนและปลายฝนเพราะต้นยางพาราสามารถนำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้ทันที หมายเหตุ ก่อนทำการผสมปุ๋ยให้พึงสังเกตพฤติกรรมหรืออาการของต้นยางพาราในสวนนั้นๆด้วยว่าขาดธาตุรอง ธาตุเสริมด้วยหรือไม่ เช่น ขาดกำมะถัน (S) อย่างรุนแรง ให้เปลี่ยนแม่ปุ๋ยเคมีจากสูตร 46 – 0 – 0 มาเป็น สูตร 21 – 0 – 0 แทนเนื่องจากในปุ๋ยเคมีสูตร 21 – 0 – 0 จะมีส่วนผสมของกำมะถันอยู่ประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญและขาดไม่ได้ ค่า pH ของดินว่าเป็นกรดหรือด่าง หากเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปจะทำให้เป็นอุปสรรคในเคลื่อนย้ายธาตุอาหารที่มีประโยชน์ในดินสู่ต้นพืชนั้นๆ ทำให้ต้นไม้ต้นนั้นขาดธาตุอาหารได้ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยหรือธาตุอาหารชนิดนั้นลงไป เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ร้านชมพู่การเกษตรสุราษฎร์ธานีหรือ นักวิชาการชมรมฯ ( 081 – 3983128 )

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใช้ฮอร์โมนไข่ผสมอาหารเร่งการเจริญโตในกุ้ง

การเลี้ยงกุ้งเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ต้นทุนรายรับรายจ่ายต้องมีความสัมพันธ์กัน กล่าวง่ายๆ ว่า เมื่อลงทุนเลี้ยงกุ้ง 1 บ่อต้องมีกำไร จะมากหรือน้อยอยู่ที่การเอาใจใส่เลี้ยงดู เกษตรกรต้องพึงเข้าใจว่าเราไม่สามารถควบคุมราคาภาคตลาดได้แต่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้โดยเฉพาะอาหารกุ้ง แรงงาน ค่าจ้างค่าจัดการต่างๆรวมถึงช่วยลดอัตราการตายหรือเป็นโรคในกุ้งให้มีปริมาณน้อยลงอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ อาทิ การนำฮอร์โมนไข่มาผสมอาหารเร่งการเจริญเติบโตในกุ้งช่วยลดต้นทุน ช่วยให้กุ้งโตไว ไม่ตกไซด์ได้ขนาดตามความต้องการของตลาด ที่สำคัญกุ้งแข็งแรงไม่เป็นโรค ซึ่งได้มีโอกาสแนะนำวิชาการดังกล่าวให้กับ คุณวิโรจน์ เอ่งฉ้วน เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดกระบี่ ลองทดสอบในแปลงนากุ้งของตนเอง โดยให้ทำการหมักฮอร์โมนไข่ขึ้นมาใช้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการหมักก็ไม่ยาก วัสดุประกอบด้วย 1. ไข่ไก่เบอร์ 0 (ทั้งเปลือก) 5 กก. (80-100 ฟอง) 2. กากน้ำตาล 5 ลิตร 3. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก 4. ยาคูลย์ 1 ขวด 5. ไคโตซาน MT 10 ลิตร วิธีการทำ 1. ให้นำไข่ไก่มาล้างให้สะอาดปั่นทั้งเปลือกด้วยเครื่องปั่นหรือกรณีไม่เครื่องปั่นให้ใช้วิธีนำไข่ใส่ถังหมักแล้วคนไข่ในทิศทางเดียวกันจนไข่และเปลือกไข่แตกละเอียดหมดทุกฟอง 2. นำไข่ไก่ที่ปั่นละเอียดผสมกับกากน้ำตาลแล้วคนจนเข้ากันโดยคนในทิศทางเดียวกัน 3. บี้ลูกแป้งข้าวหมากให้ละเอียดก่อนหว่านลงพร้อมทั้งยาคูลย์และไคโตซาน MT คนให้เข้ากันในทิศทางเดียวกัน ปิดฝาป้องกันแมลงวันแล้วหมักทิ้งไว้ 7 วันหมักเสร็จจะได้ปริมาณ 15 ลิตร (ต้นทุนการหมักประมาณ 2,000 บาท) นำมาผสมกับอาหารกุ้งอัตรา 135 ซีซี ( 1 ถ้วยกาแฟ)ต่ออาหาร 10 กก. ในการหมัก 1 ชุดสามารถผสมอาหารให้กุ้งได้ ประมาณ 1,000 กก. โดยผสมทุกครั้งที่มีการให้อาหาร ผลจากการติดต่อสอบถามเก็บข้อมูลจาก คุณวิโรจน์ พบว่ากุ้งมีพัฒนาการดีขึ้น โตเร็ว ได้ขนาด แข็งแรง ขี้ยาวและใหญ่ขึ้น ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่ากุ้งมีสุขภาพดีขึ้น กินอาหารได้เยอะ อีกทั้งอัตราการตายเนื่องจากโรคลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด หากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ให้ใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกับการใช้จุลินทรีย์บาซิลลัส MT สำหรับย่อยเศษซากอาหารหรือขี้กุ้งไม่ให้เป็นพิษภายหลังนอกจากนี้ให้ใช้สเม็คไทค์ในการดูดซับแอมโมเนียหรือแก๊สที่เกิดจากการหมักหมมหรืออาจจะเกิดจากขบวนการย่อยของจุลินทรีย์ในบ่อกุ้ง สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณวิโรจน์ เอ่งฉ้วนหรือนักวิชาการชมรมฯ ( 081 – 3983128 ) หรือที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680 – 2 ได้ทุกวันทำการ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.00 น.

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 2) อาการเน่าเละของเห็ดฟางกับการควบคุมกำจัดการระบาด

อาการเน่าเละของเห็ดฟาง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซูโดโมแนส ( Pseudomonas sp.) พบในเห็ดฟางในโรงเรือนช่วงฤดูฝน ซึ่งพบว่าดอกเห็ดผิวไม่เรียบ มีจุดขาวคล้ายประแป้ง แล้วเปลี่ยนเป็นตะปุ่มตะป่ำผิวขรุขระทั้งดอก มีอาการช้ำ สีของดอกเริ่มเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อนอย่างรวดเร็ว เน่ามีน้ำไหลเยิ้มออกมา (กองโรคพืชและจุลวิทยา) ทำให้เก็บผลผลิตไม่ได้เสียหายทั้งโรง สำหรับเชื้อชนิดนี้จะแพร่ระบาดได้ดีช่วงเวลาที่ความชื้นในโรงเรือนสูงโดยมีแมลงเป็นพาหะ การควบคุมกำจัด การที่ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเพาะจนถึงสิ้นสุดการเก็บผลผลิตเห็ดฟาง มีเพียง 13 - 17 วันเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลอันหนึ่งที่ไม่มีการใช้ยาเคมีในพืชผักชนิดนี้ ดังนั้น วิธีการสำคัญในการป้องกันกำจัดศัตรูเห็ดฟาง คือวิธีการรักษาความสะอาดและการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอและการเอาใจใส่ใกล้ชิด ดังนี้ 1. เลือกหัวเชื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง ปนเปื้อนน้อยที่สุดหรือไม่มี 2. เลือกตอซังหรือฟางข้าวนวดที่สะอาดปราศจากเชื้อราเม็ดผักกาด ฟางต้องมีลักษณะแห้งสนิทและอมน้ำได้ง่าย วัสดุเพาะทุกชนิดไม่ควรทิ้งให้ตากแดดตากฝนหรือเก็บค้างปี 3. มีความเข้าใจถึงสภาพความต้องการต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟาง เพื่อจะได้ปฏิบัติดูแลกองเพาะอย่างถูกต้อง เช่น เรื่องอุณหภูมิในกองเพาะ ขณะเส้นใยเจริญเติบโต ต้องการอุณหภูมิระหว่าง 35 - 38 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าในกองเพาะร้อนหรือเย็นเกินไป ก็ควรจะต้องระบายอากาศ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทออกซิเจนหรือต้องเผารอบกองเพาะ เพื่อให้ความร้อนแก่กองฟางในฤดูหนาว นอกจากนี้ยังควรเข้าใจเรื่องความชื้น แสงสว่าง ความเป็นกรด-ด่าง และความสามารถในการใช้อาหารของเห็ดฟางอีกด้วยถ้าเป็นการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม ควรศึกษาถึงการเตรียมปุ๋ยเพาะเห็ดอย่างถูกวิธี ตลอดจนการอบไอน้ำฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อให้ได้ปุ๋ยเพาะเห็ดที่มีคุณภาพดีซึ่งเชื้อเห็ดใช้ประโยชน์ได้สูงสุด 4. ความสะอาดของแปลงเพาะ ก่อนเพาะควรจะได้ถางหญ้าเตรียมดินไว้เสียก่อน และเมื่อการเพาะเสร็จสิ้นควรนำฟางที่ใช้แล้วเป็นปุ๋ยหมัก เผาหรือตากดินบริเวณแปลงเพาะที่ใช้แล้วทิ้งไว้ประมาณ 4 - 5 วัน เพื่อฆ่าเชื้อราที่สะสมในบริเวณนั้น เป็นการเตรียมที่เพาะในครั้งต่อไป และเป็นการลดประมาณเชื้อราที่อาจมีอยู่ในดิน สำหรับการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม ควรมีการพักโรงเรือนเป็นครั้งคราวและทำความสะอาดโรงเรือนเพื่อทำลายศัตรูเห็ดฟาง ก่อนที่จะเพาะในรุ่นต่อไปเมื่อสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ ท่านก็สามารถที่จะเพาะเห็ดฟางได้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน 5. หมักขยายเชื้อบีเอส - พลายแก้วด้วยมะพร้าวอ่อน นมกล่องรสหวาน หรือใช้สูตรหมักไข่แล้วให้อากาศผ่านท่อออกซิเจนตู้ปลา ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อย่างภาคใต้ปลูกมะพร้าวก็ควรใช้วิธีหมักด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน โดยใช้มะพร้าวอ่อน 1 ผล ต่อเชื้อบีเอส - พลายแก้ว 1 ช้อนชา ( 5 กรัม ) นาน 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลงเพาะหรือบน - ล่างชั้นวางรวมถึงผนัง – พื้นที่โรงเรือนด้วย เกษตรกรหรือคนรักเห็ดท่านใดสนใจต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกสาขา (สนญ.บางเขน 02-9861680 – 2 ) หรือนายเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการชมรมฯ (081-3983128) หรือ Email : thaigreenago@gmail.com. ,ekkarin191@gmail.com.

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใช้จุลินทรีย์ควบคุมการคุกคามจากปลวกในยางพาราปลูกใหม่

การปลูกยางพาราอาจไม่ใช่เรื่องยากในสายตาของผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการปลูกสร้างสวนยางพารามาแล้วเช่นชาวสวนยางพาราในภาคใต้หรือภาคตะวันออก ซึ่งถือเป็นเขตปลูกยางพาราเดิมของประเทศไทย แต่ขณะนี้ภาวะราคายางพาราขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง (ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ราคาน้ำยางแผ่นดิบและน้ำยางสดที่ตลาดกลางหาดใหญ่อยู่ที่ 100.50 และ 98.50 บาท/กิโลกรัม ) ปัจจุบันนี้ภาครัฐได้ส่งเสริมการปลูกยางพาราทั่วทุกภาคของประเทศ จึงทำให้มีเถ้าแก่สวนยางพารามือใหม่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าการปลูกยางพาราจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราจะปฏิบัติหรือจัดการต่อสวนยางพาราอย่างไรเพื่อให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าที่สุด และต้องยอมรับว่าสิ่งใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน ควบคู่ไปกับปัญหาใหม่ๆ ที่คอยติดตามทดสอบภูมิปัญญาของผู้คนทุกกลุ่มอาชีพ การมีความรู้ การสร้างสังคมแห่งความรู้ การเชื่อมต่อถึงกันบนพื้นฐานของการมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันของผู้คนที่มีอาชีพที่เกี่ยวกับยางพารา เช่น ปัญหาปลวกกัดกินรากยางพาราที่ลงปลูกใหม่ เชื่อได้ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถพบเจอทุกภาคส่วนของประเทศ ฉะนั้นจะแก้อย่างไรให้ปลอดภัย ง่าย ลดต้นทุนได้ผลประโยชน์สูงสุด จะกล่าวถึงวิธีแก้ปัญหาเรามารู้จักกับปลวกกันก่อน เรามักพบเห็นจอมปลวกขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างกระจายอยู่ทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าปลวกมีวงจรชีวิตเช่นใดภายในกองดินอันแข็งแกว่ง จอมปลวกหรือรังของปลวกถือเป็นอาณาจักรของแมลงที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากที่สุดรังปลวกบางพันธุ์ในทวีปแอฟริกามีความสูงเหนือพื้นดินถึง 6 เมตร มีอุโมงค์เชื่อมต่อใต้ดินครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 5 ไร่ และมีปลวกอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 5 ล้านตัว รังของปลวกที่มีลักษณะเป็นกองดินขนาดใหญ่ในบ้านเรามักเป็นปลวกในสกุล Macrotemes ปัจจุบันทั่วโลกค้นพบปลวกแล้วไม่ต่ำกว่า 1,800 ชนิด 200 สกุล สำหรับประเทศไทยพบว่ามีปลวกอยู่นับร้อยชนิด ซึ่งปลวกแต่ละชนิดต่างมีกลวิธีและรูปแบบในการสร้างรังไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะมีขนาดมหึมาราวหอคอยหรือเล็กเพียงแค่เนินดิน ปลวกจำนวนมากมายในแต่ละรังจะแบ่งออกได้เป็น 3 วรรณะคือ ปลวกงาน ผู้คอยวิ่งวุ่นทำงานทุกอย่างภายในรัง เริ่มตั้งแต่ตอนก่อสร้างจอมปลวก ซ่อมแซมรังถ้ามีการสึกหรอ ดูแลรักษาไข่ของนางพญาไปจนถึงการหาอาหารมาเลี้ยงดูปลวกในวรรณะอื่น ถัดมาคือ ปลวกทหาร ซึ่งมีรูปร่างทะมัดทะแมงมีส่วนหัวและกรามใหญ่โตกว่าส่วนอื่น เพื่อใช้เป็นอาวุธในการออกรบ ปลวกทหารจะเป็นผู้ต้อนรับด่านแรกหากมีผู้บุกรุกเข้ามาภายในจอมปลวก และปลวกในวรรณะสุดท้ายได้แก่ ปลวกสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นพวกเดียวที่มีโอกาสเจริญเติบโตจนสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ และเชื่อไหมว่าภายในจอมปลวกหนึ่ง ๆ ซึ่งมีปลวกนับหมื่นนับแสนตัวล้วนถือกำเนิดมาจากพญาปลวกเพียงตัวเดียว (14 ฟอง ในทุก 3 วินาที )ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนประชากรปลวกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับการสร้างจอมปลวกเริ่มขึ้นโดยปลวกงานจะช่วยกันกัดดินและขนดินมาทีละก้อน แล้วใช้น้ำลายเป็นตัวเชื่อมติด ค่อย ๆสร้างผนังจอมปลวกแน่นหนาขึ้นทีละน้อย โดยมีปลวกทหารคอยทำหน้าที่รักษาปลอดภัยไม่ให้ศัตรูมารบกวน(มด) ซึ่งจะสร้างห้องนางพญา ห้องเก็บรักษาไข่ปลวกงานส่วนหนึ่งทำการขุดช่องระบายอากาศเพื่อให้ภายในจอมปลวกเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนขุดอุโมงค์ใต้ดินสู่ภายนอกเพื่อใช้หาเสบียงอาหารอันได้แก่ เศษไม้ ใบหญ้า ความจริงแล้วปลวกไม่สามารถย่อยไม้ได้เองอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นโปรโตซัวซึ่งอาศัยอยู่ในกระเพาะของมันที่ช่วยย่อยเซลลูโลสให้กลายเป็นสารอาหาร ปลวกงานจะนำเชื้อราที่ได้จากการย่อยมาสร้างเป็นสวนเห็ดขึ้นภายในจอมปลวกเพื่อลดภาระในการออกหาอาหาร สำหรับปลวกที่กัดกินทำลายไม้สดหรือรากยางพารานั้น คือ ปลวกงานหรือคอปโตเทอเมส เซอวิคนาตัส (Coptotermes curvignathus)พบเข้าทำลายกัดกินส่วนรากของต้นยางที่มีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะบริเวณโคนต้นใต้ผิวดินต่อไปภายในลำต้นจนเป็นโพรง ระยะนี้ต้นยางจะแสดงอาการใบเหลือง ต่อมาเมื่อระบบรากถูกทำลาย เป็นส่วนมากต้นยางจะตายในที่สุด ส่วนมากจะยืนต้นตายอย่างรวดเร็ว การระบาดของปลวกสังเกตได้จากต้นยางที่แสดงอาการใบผิดปกติ จะลุกลามออกไปยังต้นข้างเคียงค่อนข้างรวดเร็ว ในระยะเวลาอันสั้น โดยที่เจ้าของสวนไม่สามารถมองเห็นโพรงที่ปลวกทำลายตามส่วนต่าง ๆ ภายนอกได้เลย ถ้าไม่ขุดดินบริเวณโคนต้นดู หรือลมพัดต้นยางล้ม การควบคุมกำจัดประชากรของปลวก โดยการใช้เชื้อรากินปลวก (เชื้อราเขียว หรือ Metarrhizium) คลุกผสมกับปุ๋ยคอก (มูลโค มูลไก่ ฯลฯ ) และภูไมท์ในอัตรา 1 กก. ต่อ 50 กก. ต่อ 20 กก. ตามลำดับ ระหว่างผสมให้ฉีดพรมน้ำเพิ่มความชื้นกระตุ้นการขยายของเชื้อให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน (24 ชั่วโมง) ก่อนนำไปหว่านหรือใส่ถุงกระดาษหรือกระบอกไม้ไผ่แห้งแล้วนำไปฝังดินไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณโคนต้นยางพารา โดยขุดหลุมให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินที่ขุดขึ้นมาอย่างหลวม ๆ (ไม่กดดินจนแน่น) ตัวปลวกที่อยู่ในดินจะออกมากินถุงกระดาษและราเขียวที่อยู่ในถุง ทำให้เชื้อราเขียวติดไปกับตัวปลวกเข้าสู่ภายในรังปลวกและสามารถเข้าทำลายตัวปลวกให้ตายหมดทั้งรัง การใช้ราเขียวจำเป็นต้องหยุดสารเคมีหรือเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อรา ในระยะแรก ๆ ยังเห็นผลไม่ชัดเจน ควรกระทำซ้ำๆ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 สัปดาห์ครั้ง สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680–2หรือนักวิชาการชมรมฯ 081 – 3983128(คุณ เอกรินทร์ ช่วยชู)หรือติชมผ่านทาง email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com )