วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 3) เห็ดถุงกับการควบคุมการระบาดของราศัตรู

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหาราศัตรูเข้าทำลายก้อนเห็ด กล่าวรวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจหรือต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช ราศัตรูเห็ดที่พบว่าเป็นปัญหาอุปสรรคของการเพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ 1.ราดำโดยแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ 1.1แอสเพอร์จิลลัส Aspergillus sp. สามารถพบได้ทั่วไปในถุงเห็ด ซึ่งบางส่วนมีสีเขียวเข้มเกือบดำโดยอาจจะเกิดที่ส่วนบนใกล้ปากถุงแล้วลามลงไปข้างล่างหรือเกิดจากด้านล่างขึ้นไปก็ได้ และบางส่วนมีสีน้ำตาลเกิดขึ้นติดกับบริเวณที่มีสีเขียวเข้มดังกล่าวด้วย 1.2โบไตรดิฟโพลเดีย Botryodiplodia sp. จะพบว่าขี้เลื่อยในถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ซึ่งในระยะแรกเชื้อราจะมีสีขาว ต่อมาเจริญขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทิ้งไว้นาน จะเกิดก้อนเล็กๆ สีดำ ที่เป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรานูนออกมาที่ผิวของถุงพลาสติก 2.ราเขียวโดยแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ 2.1ไตรโคเดอร์ม่าและกลิโอคลาเดียม Trichoderma sp ,Gliocladium sp. สามารถมองเห็นได้ง่ายเนื่องจากสปอร์ของเชื้อรามีสีเขียวอ่อนใส เมื่อรวมกันหนาแน่นจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวเข้มในถุงเห็ด 2.2เพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส Penicillium sp., Paecelomyces sp.ราทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วสามารถสร้างสปอร์ได้เป็นจำนวนมาก ราเพนนิซีเลียมเป็นราที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง สามารถพบเป็นหย่อมๆมีสีเขียวตองอ่อน สีเหลืองอ่อนอมเขียวและสีเทาอ่อนดูคล้ายฝุ่นเกาะติดข้างถุง มักเกิดบริเวณด้านล่างของก้อนเห็ด ส่วนสำหรับราเพซีโลไมซีสเป็นราชอบร้อน สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดีมักจะเกิดกับก้อนเห็ดหอม มีลักษณะเป็นฝุ่นสีน้ำตาลซีดปนเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองซีดจางๆ ซึ่งสามารถมองเห็นเส้นการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดและเชื้อราศัตรูได้อย่างชัดเจน 3.ราส้ม Neurospora sp. มักเกิดเป็นกระจุกบริเวณปากถุงมีลักษณะเป็นสีชมพูอมส้ม 4.ราเมือก Slime mould จะเกิดกับถุงเห็ดที่เปิดถุงเก็บดอกไปแล้วหลายรุ่นและเป็นถุงที่อยู่ด้านล่างสุด จะสังเกตเห็นเส้นใยสีเหลืองชัดเจนบริเวณด้านข้างถุงและบริเวณปากถุงโดยมากมักจะเกิดกับถุงเห็ดหูหนูที่มีการกรีดถุงด้านข้างและรดน้ำนานๆ จนทำให้ถุงชื้นแฉะนอกจากนี้ยังเกิดได้กับถุงเห็ดฐานที่หมดรุ่นแล้วแต่ยังไม่มีการขนย้ายทำความสะอาดโรงเรือน(ขอขอบพระคุณอาจารย์อนันท์ กล้ารอด ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8(ครูชำนาญการพิเศษ)วิชาการเพาะเห็ดและผลิตเชื้อเห็ด โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ) โรคของเห็ดถุงที่เกิดจากเชื้อราโดยทั่วไปเกิดได้ทั้งเชื้อราปนเปื้อนและเชื้อราโรคเห็ด ซึ่งเชื้อราปนเปื้อนส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีเส้นใยเจริญเร็วมาก ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตที่เส้นใยเห็ดมาบรรจบกันเส้นใยของเชื้อราปนเปื้อน การเกิดเชื้อราปนเปื้อนในถุงเพาะเห็ดมักเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเห็ดลดลง ถ้ามีเชื้อราเหล่านี้เกิดบริเวณปากถุงก็จะเป็นเหตุให้เกิดการระบาดไปทั่วทั้งโรงเรือนเพาะเห็ดได้รับความเสียหายได้ผลผลิตลดลง สาเหตุของการเกิดเชื้อราปนเปื้อนมีหลายประการ ดังต่อไปนี้ 1.การทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดเสียหรือหมดอายุแล้วไว้ในบริเวณฟาร์มทำให้เชื้อรากระจายอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อมีฝนตก ลมพัด หรือตกลงไปในน้ำที่นำใช้รดเห็ด 2.หัวเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ 3.ขั้นตอนนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเห็ดไม่สามารถทำลายเชื้อราศัตรูได้หมด 4.ถุงแตกหรือถูกแมลงทำลาย 5.ฯลฯ วิธีควบคุมป้องกันกำจัดการติดเชื้อราปนเปื้อนในการเพาะเห็ดถุง มีดังนี้ 1.ตรวจสอบความสะอาดและความบริสุทธิ์ของหัวเชื้อก่อนซื้อ 2.การถ่ายเชื้อควรทำในห้องที่สะอาด ปราศจากฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคอื่นๆ หรือเป็นบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท 3.คัดแยกถุงเห็ดเสีย ถุงเห็ดแตก ถุงเห็ดที่มีจุกสำลีชื้น แล้วนำไปนึ่งใหม่หรือเผาทำลายเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา 4.รักษาความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ด และบริเวณโดยทั่วไปรอบๆ ฟาร์ม 5.เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วควรพักโรงเรือนเพาะเห็ดประมาณ 2-3 อาทิตย์ เพื่อทำความสะอาดฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงหรือเชื้อราที่อาจซุกซ่อนตามพื้น เสา และฝาผนังก่อนนำถุงเชื้อเห็ดชุดใหม่เข้ามาด้วยเชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส-พลายแก้ว (กำจัดเชื้อรา) บาซิลลัส-ไมโตฟากัส (กำจัดไรเห็ด)และสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปหรือพรีเว้นท์ขับไล่แมลงต่างๆภายในโรงเรือนเห็ด (สามารถสอบถามวิธีการใช้เพิ่มเติมได้ที่ ... ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 ทุกวันตั้งแต่ 08.00 น.-17.00น.) 6.ถ้าเป็นไปได้ควรแยกโรงเรือนบ่มกับโรงเรือนเปิดดอกไว้คนละหลังกัน *** เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ)ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128หรือผ่านEmail: thaigreenagro@gmail.com,ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

ไม่มีความคิดเห็น: