วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หนึ่งคำยืนยันจากเกษตรกรที่ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่ารักษาอาการยืนต้นตายในยางพารา

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนในงานวิชาการและสินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ทางผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการและสินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป ส่วนบทความหรืองานวิชาการที่นำมาเสนอต่อท่านวันนี้ผู้เขียนได้นำคำยืนยันจากคุณสาธิต สารพัฒน์ (081-1034948) เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในเขต อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มาบอกกล่าวเล่าต่อสู่เกษตรกรชาวสวนยางพาราท่านที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูบาร์อาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช ก่อนหน้านี้คุณสาธิต สารพัฒน์ เลขที่ 185/5 หมู่ 4 ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86160 เคยประสบปัญหาต้นยางพาราที่ปลูกใหม่อายุประมาณ 2 ปี อยู่ๆ ยางพารายืนต้นตายไม่ทราบสาเหตุจนกระทั้งได้ไปปรึกษาชมรมเกษตรปลอดสารพิษและได้รับคำแนะนำให้ทดลองใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าคลุกผสมปุ๋ยคอก (อัตรา 1 กก.ต่อปุ๋ยคอก 50 กก.) แล้วนำไปหว่านรอบๆ ทรงพุ่ม ปรากฏว่าอาการระบาดเริ่มลดลง ต้นยางพาราที่เคยแสดงอาการใบเหี่ยว เหลือง ร่วง กลับผลิใบแตกยอดอ่อนสดชื่นอีกครั้ง สำหรับอาการยืนต้นตายในยางพารานั้นเกิดได้หลายประการ อาทิเช่นการใช้สารเร่งหรือสารกระตุ้นการไหลของน้ำยางในปริมาณที่ไม่เหมาะสมหรือขาดความรู้ความเข้าใจในสารประเภทนั้นๆ ประการต่อมาเกิดจากการเข้าทำลายระบบรากของเชื้อราโรคพืชซึ่งแบ่งออกตามประเภทเชื้อราที่เข้าทำลายได้ดังต่อไปนี้ 1. โรครากขาว (Disease White Root)เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus (Klotzsch) lmazeki สามารถพบเห็นการเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปโดยจะแทงเส้นใยเข้าไปในเนื้อเยื่อ ทำให้การทำงานของเชลล์รากเสียหายไม่สามารถดูดน้ำดูดอาหารได้เต็มที่ ทำให้ขบวนการสังเคราะห์แสงของยางพาราค่อยๆ ลดลง เมื่อระบบรากถูกทำลาย ยางพาราจะแสดงอาการให้เห็นที่ทรงพุ่มและนั่นเป็นระยะที่รุนแรงไม่สามารถจะรักษาได้ บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏเส้นใยราสีขาวเจริญแตกสาขาปกคลุม เกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีดในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม หากพบในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม ดอกเห็ดชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล ขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว ส่วนใหญ่พบการแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกและมีความชื้นสูง *โชคชัย พรหมแพทย์ ,ความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา 2. โรครากแดง (Red root disease) เกิดจากเชื้อราGonoderma pseudojerreum ซึ่งเส้นใยของเชื้อราโรคชนิดนี้จะมีสีแดง เป็นมันปกคลุมผิวรากยางพาราที่เป็นโรค หากเชื้อราอยู่ในระยะเจริญเส้นใยจะมีสีขาวครีม เมื่อแก่ขึ้นจะกลายเป็นสีแดง รากของยางที่เป็นโรคชนิดนี้ระยะแรก ๆ จะมีสีน้ำตาลซีด แข็งและต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเนื้ออ่อน ส่วนของเนื้อไม้จะเป็นรูพรุนซึ่งอาจจะเปียกหรือแห้งขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นดินบริเวณนั้น ส่งผลให้เนื้อเยื่อแต่ละวง (วงปี) จะหลุดลุ่ยแยกออกจากกันได้ง่าย ดอกเห็ดของเชื้อราชนิดนี้จะเป็นวงแข็ง ผิวด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม ผิวด้านล่างเป็นสีขาวขี้เถ้ารอบ ๆ ขอบดอกเห็ดมีสีขาวครีมคล้ายกับดอกเห็ดรารากขาว *สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. โรครากน้ำตาล (Brown root disease) เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius (Corner) G.H.Cunn ส่วนใหญ่พบกับต้นยางพาราที่หักโค่นซึ่งอาการของโรคชนิดนี้จะคล้ายกับโรครากขาวและโรครากแดง แต่ต่างกันที่บริเวณรากที่ถูกทำลายจะปรากฏเส้นใยเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง เป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ เมื่อแก่เส้นใยจะเป็นสีน้ำตาลดำ เนื้อไม้ในระยะแรก ๆ จะเป็นสีน้ำตาลซีดต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้ สำหรับรากยางพาราที่เป็นโรคชนิดนี้มานาน เมื่อตัดลองตามขวางจะเห็นสายเส้นใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง เนื้อไม้จะเบาและแห้ง ดอกเห็ดของเชื้อราดังกล่าวจะเป็นแผ่นหนาแข็ง รูปครึ่งวงกลมค่อนข้างเล็กผิวด้านบนเป็นรอยย่นเหมือนกับเห็ดรารากแดงแต่ขอบดอกเป็นวงสีน้ำตาลเข้มและผิวด้านล่างเป็นสีเทา ส่วนใหญ่พบการระบาดในช่วงฤดูฝนเนื่องจากมีฝนตกชุกความชื้นสูง *สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4. โรคใบร่วงและผลเน่า ( Phytophthora leaf fall) เกิดจากเชื้อรา Phytophthora botryosa chee, P. palmivora (Butl.) Butl., P.nicotianae Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouseโดยจะแสดงอาการให้เห็นในผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนใบจะร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย หากนำใบที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคชนิดนี้จะสัมพันธ์กับโรคเส้นดำเนื่องจากเกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกัน ส่งผลทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตลดลงและยืนต้นตายในที่สุด *พูนผล ธรรมธวัช ,ยางพารา แนวทางป้องกันควบคุมโรคที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราโรคพืช 1. เลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรค (หากเป็นยางพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ TG 1) 2. สำหรับยางพาราที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีหรือต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก.ผสมน้ำเปล่า 200 ลิตรทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 15 วันครั้งหรืออาจจะนำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 20 กรัม (1ช้อนแกง) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 8 -10 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 7 วันครั้ง 3. กรณีปลูกกล้ายางพาราใหม่ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก. ผสมร่วมกับปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) 50 กก.และภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปคลุกเคล้ารองก้นหลุมอัตราต้นละ 1/2 กก.หรือหว่านรอบทรงพุ่ม โดยห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร อัตรา 1-2 กก.ต่อต้น ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ย เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณ คุณสาธิต สารพัฒน์ (081-1034948) เกษตรกรชาวสวนยางพารา อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ตลอดจนครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา เขียนและรายงานโดย นายเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการ) ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: