วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แก้ปัญหาเปลือกเน่า – แห้งยางพาราแบบง่ายๆ สไตล์ปลอดสารพิษ

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้คัดกรองและพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหายางพาราเปลือกเน่า – แห้ง ลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช 1.เปลือกเน่า ( Mouldy rot ) เกิดจากเชื้อรา Ceratocystis fimbriata Ellis & Halst. ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งทำให้เปลือกที่งอกใหม่เสียหายจนกรีดซ้ำไม่ได้ พบว่าในระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกที่งอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทาขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่นเหลือแต่เนื้อไม้สีดำ แนวทางการป้องกันกำจัด 1.เนื่องจากโรคชนิดนี้มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงจะได้ลดลง 2.หากพบว่าต้นยางที่กำลังกรีดมีอาการ “เปลือกเน่า” ควรหยุดกรีดประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราโรคพืชแพร่กระจายไปสู่ต้นอื่น ๆ 3.หากพบมีการระบาดของโรคพืชดังกล่าวในพื้นที่ให้ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักเชื้อบาซิลลัส ซับติลิส พลายแก้วโดยใช้หัวเชื้อบาซิลลัส-พลายแก้ว 5 กรัม (1ช้อนชา)หมักน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผลหรือนมกล่องยูเอสที หนองโพ ชนิดหวานจำนวน 1 กล่อง นาน 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณหน้ายางหรือเปลือกยางที่พบการเข้าทำลายของเชื้อราให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุก ๆ 7-10 วันครั้งจนกว่ามีเปลือกใหม่งอกขึ้นมาทดแทน 2.เปลือกแห้ง (Tapping panel dryness) เกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษาและการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในท่อน้ำยางเองด้วย สามารถพบอาการได้หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุด ๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้าหากฝืนกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและหลุดล่อนออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา แนวทางการป้องกันกำจัด อาการแบบนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ายางที่กรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมอาการดังกล่าวในต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว แนะนำให้ใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบว่ายางพาราต้นใดมีอาการดังกล่าวนี้เพียงบางส่วนหรือเล็กน้อย ให้ใช้สิ่วเซาะร่องโดยให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรค ให้ร่องห่างจากบริเวณที่พบอาการประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ สำหรับการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่ตำหนิ และหยุดกรีดในช่วงยางพาราผลัดใบ ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นโดยเฉพาะสูตรเสมอหรือสูตรเสมอร่วมกับภูไมท์ซัลเฟต อัตรา 20 กิโลกรัมต่อปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มธาตุอาหารรอง ซิลิก้า ช่วยรักษาความสมดุล (อุดมสมบูรณ์) ของดิน ทำให้ยางพาราดูดกินธาตุอาหารได้ดี ต้นยางพาราสมบูรณ์แข็งแรงช่วยป้องกันอาการเปลือกแห้ง ทั้งยังยืดอายุการกรีดออกไปอีกด้วย ****เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

ไม่มีความคิดเห็น: