วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แอนแทรคโนสมะละกอ แก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเคมี

มะละกอ(Papaya)เป็นไม้ผลเมืองร้อนที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกากลาง บริเวณประเทศเม็กซิโกตอนใต้และคอสตาริกา จากนั้นก็ค่อย ๆ แพร่กระจายไปยังทวีปต่าง ๆ แหล่งผลิตมะละกอที่สำคัญของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย ศรีลังกา ฮินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น มะละกอเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว ตลอดทั้งปี ส่วนต่างๆ ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย อาทิเช่น ผลสุก นำมาบริโภคจะได้คุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วย วิตามินเอ, บี, ซี, ธาตุเหล็ก,แคลเซียม และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีนช่วยต้านมะเร็ง มีเส้นใยอาหารช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ยางมะละกอ ก็ยังนำมาใช้ในการช่วยย่อยโปรตีน เพราะในยางมะละกอมีน้ำย่อยที่เรียกว่า papain ทั้งยังช่วยเรื่องของปรุงอาหาร เช่น หมักเนื้อให้มีความนุ่ม และยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น เนื้อกระป๋อง ปลากระป๋อง การฟอกหนัง เป็นต้น ยอดและลำต้น ก็นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังนำส่วนต่างๆ มาใช้เป็นยา เช่น ต้นมะละกอใช้เป็นยาช่วยขับประจำเดือน ลดไข้ ดอกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รากแก้กลากเกลื้อน และยาง ยังช่วยกัดแผนตาปลาและหูด ฆ่าพยาธิ เป็นต้น สำหรับแอนแทรคโนส (Anthracnose) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioidesจะแสดงอาการให้เห็นดังนี้ 1.ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง ขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา และมักพบจุดดำเล็กๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ซึ่งคือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา (สปอร์) 2.ผล จะเห็นเด่นชัดเมื่อเกิดกับผลสุก เป็นแผลกลมฉ่ำน้ำยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพูขึ้นฟูเป็นวงชั้นๆ บริเวณแผลและลุกลามขยายวงกว้างออกไป ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว มีความชื้นสูง เชื้อดังกล่าวจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อนและฟักตัวไม่แสดงอาการของโรค แต่จะปรากฏอาการของโรคให้เห็นเมื่อผลมะละกอสุก ส่วนการแพร่ระบาดเชื้อราดังกล่าวจะแพร่กระจายจากแหล่งเพาะเชื้อนั้นคือผล สู่กิ่งก้าน โดยลม ฝน และเข้าทำลายผลอ่อน โดยสปอร์ของเชื้อจะงอกแทงเข้าสู่ผิวผลได้โดยไม่ต้องมีบาดแผลเกิดขึ้น และเจริญฟักตัวอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณใต้ส่วนผิวผลมะละกอ จนผลเริ่มสุกจึงจะเกิดอาการของโรคให้เห็น แนวทางควบคุมป้องกัน 1.เก็บผล ใบแห้งที่ร่วงหล่นทำลายทิ้ง โดยการฝังกลบเพื่อตัดต้นตอการระบาดของเชื้อโรค 2.ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดแซนโธไนท์ 10 ซีซี./ร่วมกับฟังกัสเคลียร์ 15 กรัม/น้ำเปล่า 200 ลิตรก่อนฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว(เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 10กรัม +ไข่ไก่ 10+น้ำเปล่า 30ลิตร +เสม็คไทต์ 2กิโลกรัม(จับกลิ่น ก๊าซไข่เน่า) + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากัน ให้ออกซิเจนแบบตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร )ทั้งบนใบใต้ใบ ผล ลำต้นให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 3–5วันครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ให้เติมซิลิซิค แอซิค 50 กรัม + ซิลิโคเทรซ 50 กรัม/น้ำเปล่า 200 ลิตรก่อนผสมทุกครั้ง 3.ให้ใช้ภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟต (20กก.)ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (100กก.)ปุ๋ยเคมี (50กก.)เป็นปุ๋ยละลายช้าใส่ทางดินหรือใช้ภูไมท์ซัลเฟตใส่ถังละลายน้ำ 20 กก.น้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน 15 นาที ก่อนนำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ (ภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.สามารถผสมน้ำซ้ำได้ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต 4.สำหรับกล้ามะละกอที่กำลังจะลงปลูกใหม่นั้นแนะนำให้รองก้นหลุมด้วยภูไมท์ซัลเฟต หรือพูมิชซัลเฟอร์(20 กก.) ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ม่า (1 กก.)และปุ๋ยอินทรีย์ (50 กก.)คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนแบ่งใส่รองก้นหลุมๆ ละ 200–300กรัม 2กำมือ) ก่อนนำต้นกล้ามะละกอลงปลูกทุกครั้ง สอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128

ไม่มีความคิดเห็น: