วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ยับยั้ง ! ทะลายเน่าปาล์มน้ำมันแบบปลอดสารพิษไม่ใช้เคมีอันตราย

อาการทะลายเน่าในปาล์มน้ำมันนั้นเกิดจากเชื้อรา Marasmius palmivorusซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นในระยะแรกคือจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบนทะลายปาล์ม เส้นใยเจริญอยู่บริเวณช่องระหว่างผลปาล์มน้ำมัน โคนทะลายที่ติดทางใบต่อมาเส้นใยขึ้นปกคลุมทะลายทำให้ผลเน่าเป็นสีน้ำตาล แห้ง มีเชื้อราชนิดอื่นๆ เข้าทำลายต่อภายหลัง ในแปลงที่ไม่มีการกำจัดทะลายที่แสดงอาการเน่าออกจากต้น เชื้อราดังกล่าวจะกระจายไปยังทะลายใกล้เคียงตลอดจนโคนทาง ก้านทาง และใบย่อย สำหรับการระบาดนั้นส่วนใหญ่จะแพร่กระจายสปอร์โดยลม การควบคุมป้องกันโรค 1.หลีกเลี่ยงการไว้ทะลายปริมาณมาก ช่วงต้นปาล์มน้ำมันกำลังเจริญเติบโตให้ผลผลิตระยะแรก โดยให้ตัดช่อดอก(ทะลาย)ทิ้ง หรือช่วยผสมเกสรช่วงที่มีเกสรตัวผู้หรือแมลงช่วยผสมน้อย และควรตัดทะลายที่ผสมเกสรไม่สมบูรณ์ออกให้หมด ตลอดจนการตัดแต่งก้านทางใบให้สั้นลงเป็นการลดความชื้นที่คอทาง 2.ฉีดพ่นกำจัดสปอร์เชื้อราด้วยสารจุนสี (ฟังกัสเคลียร์) 20 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ใบ ผล ลำต้น โดยเฉพาะบริเวณทะลายที่พบเชื้อสาเหตุให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 4 -5 วันครั้ง(รุนแรง) 3.ให้ฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก. ผสมต่อน้ำ 200 ลิตร หรืออาจจะนำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 20 กรัม ( 1 ช้อนแกง) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 -8 ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำเพิ่มให้ครบ 200 ลิตรทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ แบบเดียวกับข้อ 2 โดยให้กระทำทุกๆ 7 วันครั้ง(รุนแรง) 4.กรณีฉีดพ่นเพื่อควบคุมการระบาดให้กระทำทุกๆ 20 วันครั้ง หรือหลังจากตัดเก็บทะลาย โดยให้ฉีดพ่นสลับระหว่างข้อ 2 และข้อ 3 ครั้งต่อครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ทุกครั้งให้ปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค 50 กรัม ร่วมกับสารจับใบ(ม้อยเจอร์แพล้นท์) 50 ซี.ซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมฉีดพ่น เกษตรกรท่านใดต้องการสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเอกรินทร์(วัชนะ)ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯโทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email :accs.thai@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: