วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ไวรัสด่างวงแหวนมะละกอแก้ง่ายไม่ต้องใช้เคมีอันตราย

โรคด่างวงแหวนมะละกอ เกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ringspot virus(PRV) ซึ่งเชื้อดังกล่าวจะเข้าทำลายทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอและแสดงอาการให้เห็นในภายหลังดังต่อไปนี้ 1.ต้นกล้า เชื้อเข้าทำลายจะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบ จะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย 2.ผล อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็น รุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้โดยเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ อย่างเช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่เป็นพาหะสำคัญของการแพร่ระบาดในโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง แล้วบินย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายทอดเชื้อไวรัสโรคนี้ในเวลาสั้นๆ ประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้แล้ว ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น แนวทางควบคุมป้องกัน 1.ตัดแต่งใบส่วนที่เป็นโรคออกประมาณ 30 -50 เปอร์เซ็นต์ เว้นใบบางส่วนให้พืชได้สังเคราะห์แสง 2.เก็บผล ใบแห้งและกำจัดวัชพืชออกทำลายนอกแปลงโดยการฝังกลบ ช่วยลดปริมาณแหล่งที่อยู่อาศัยของเพลี้ยและแมลงเจาะดูด เป็นต้น 3.สร้างแนวพืชกันภัยไว้เหนือลมหรือรอบๆแปลงเป็นกับดักล่อแมลง เพลี้ยต่างๆ ลดการปะทะโดยตรง เช่น ข้าวโพด ถั่ว กล้วย และพืชใบอ่อน เป็นต้น 4.ให้ฉีดพ่นสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ 500 กรัม + สารสกัดไพเรี่ยม 250 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ให้ชุ่มโชก ทุก ๆ 7 -10 วันครั้ง เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยและแมลงพาหะนำโรค 5.ให้ใช้วิธีการบำรุงรักษาทั้งทางดินและทางใบ พร้อมๆกันเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น วิธีควบคุมป้องกันทางดิน -นำภูไมท์ซัลเฟต โรยรอบโคนต้นๆละ 200-300 กรัม ( 2-3 กำมือ) ทุกๆ 1 เดือน เป็นไปได้ควรนำภูไมท์ซัลเฟตผสมร่วมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและเชื้อไตรโครเดอร์ม่า อัตรา 20 /50 /1 กก. ตามลำดับ รองก้นหลุม ๆ ละ50กรัม (1/2 กำมือ) ก่อนปลูกมะละกอ) -ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมงก่อนนำมาผสมน้ำหรือน้ำที่ละลายภูไมท์ซัลเฟต อัตรา 200 ลิตร + จุลินทรีย์หน่อกล้วย 400 ซีซี.+โพแทสเซียมฮิวเมท 30 กรัมแล้วราดรดบริเวณโคนต้นๆละ 2 -5 ลิตรขึ้นอยู่กับขนาดของต้นทุก ๆ 15- 20 วันครั้ง หรืออาจจะปล่อยผ่านท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ก็ได้ วันละ10 -15 นาที วิธีควบคุมป้องกันทางใบ -ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำหรือน้ำที่ละลายภูไมท์ซัลเฟต (ภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร ปล่อยให้ตกตะกอน 15 -20 นาที ) 200 ลิตร +ไคโตซาน MT 50 ซีซี. + ซิลิโคเทรช 100 กรัม + ม้อยเจอร์แพล้น 20 ซีซี. ก่อนนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุก ๆ 7 -15 วัน

ไม่มีความคิดเห็น: