วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 1) ไรศัตรูเห็ดกับการควบคุมกำจัดการระบาด

ไรเห็ด เป็นศัตรูเห็ดที่มีขนาดเล็กมากต้องอาศัยแว่นขยายเข้าช่วยจึงจะเห็นได้ชัด ตามสภาพธรรมชาติมักจะเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาวใส่อยู่กระจายเต็มไปหมด แต่ที่น่าสนใจคือไรที่ทำลายเห็ดนั้นจะมีวงจรชีวิต (ไข่-ตัวเต็มวัย)สั้นมาก โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วันเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ประมาณ 4 เท่า โดยที่ตัวเมียยังสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการออกไข่และเป็นตัว ไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้อีกด้วย จึงทำให้ไรสามารถเกิดระบาดทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ออกไป หากมีการระบาดก็จะทำให้เส้นใยขาดออกจากกันและไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากไรชอบทำลายกัดกินส่วนของเส้นใย ไรศัตรูเห็ดที่พบในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็น“ไรไข่ปลา (Luciaphorus sp.)”โดยเฉพาะเห็ดหูหนูจะพบว่ามีปัญหาไรเห็ดเข้าทำลายเส้นใยเห็ดที่เจริญอยู่ในถุงพลาสติกก่อนเปิดดอก ทำให้ดอกแคระแกร็น ถุงเห็ดที่ถูกไรเข้าทำลาย จะพบเม็ดกลมเล็ก ๆ เหมือนไข่ปลากระจายทั่วไปในถุงเห็ด ชาวบ้านเข้าใจว่าเห็ดเป็นโรค จึงเรียกลักษณะอาการดังกล่าวว่า "โรคไข่ปลา" แต่จริงแล้วเป็นไรเห็ดชนิดหนึ่งที่ไปกินเส้นใย สำหรับเม็ดไข่ปลาที่เห็นนั้น เป็นส่วนท้องของไรตัวเมียที่ขยายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 - 2 ม.ม. โดยมีไข่ และตัวอ่อนเจริญอยู่ภายในท้อง หากพบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรงแล้วก็จะเห็นซากของตัวเต็มวัยที่ตายแล้วด้วยตาเปล่าหรือเห็นคราบทับถมอยู่บริเวณปากถุงเห็ด และชั้นที่ว่างถุงเห็ดอย่างหนาแน่น เป็นผงฝุ่นสีน้ำตาลอ่อนคล้าย ๆ ขี้เลื่อยละเอียดเต็มไปหมด ไรไข่ปลาที่ระบาดในเห็ดหูหนูที่เพาะเป็นการค้า อยู่ติดกันเป็นแพ ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่าที่เห็นเป็นสีขาว ๆ กลมเล็ก ถ้าเราสามารถป้องกันกำจัดไรได้ อาการดังกล่าวก็จะหายไป ไรไข่ปลาในเห็ดมีการดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากไรแดงที่พบเข้าทำลายในพืช กล่าวคือ ไรไข่ปลาตัวเต็มวัยเพศเมียจะว่างไข่อยู่ภายในลำตัว แทนที่จะว่างไข่ออกมาภายนอกลำตัว เหมือนไรแดงที่ทำลายพืช นอกจากนั้นแล้ว เมื่อไข่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่แล้ว แทนที่จะออกมาจากตัวแม่กลับเจริญเติบโตอยู่ภายในท้องแม่ จนกว่าโตเต็มวัยจึงจะเจาะผนังท้องของแม่ออกมาภายนอก การผสมพันธุ์ระหว่างตัวแก่ตัวผู้และตัวเมียนั้น ส่วนใหญ่ผสมพันธุ์กันอยู่ภายในท้องแม่ ก่อนออกจากท้องแม่ สำหรับไข่บางฟองที่อยู่ภายในท้องแม่ที่ยังไม่เจริญเป็นตัวอ่อน เมื่อท้องแม่แตกแล้ว ก็สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนภายหลัง จากนั้นจึงเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป ระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโต ตั้งแต่วางไข่จนกระทั้งเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 5-7 วัน การควบคุมกำจัดการระบาดของไรศัตรูเห็ดแบบปลอดสารพิษ 1. ใช้สมุนไพร หนอนตายยาก บอระเพ็ด กากน้ำตาล อัตราส่วน 1:1:1 สับละเอียดผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วัน นำมาฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดในอัตราส่วน 1 ช้อนแกง/น้ำ 1 ลิตร แบบวันเว้นวัน 2. พักโรงเรือนเปิดระบายอากาศ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตก้อนเห็ดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วัน 3. ใช้เชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส ไมโตฟากัส Bacillus mitophagus ขนาด 1 ช้อนชา (5 กรัม) หมักด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อ ปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดให้นำน้ำมะพร้าวอ่อนที่หมักเชื้อแล้วมาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นควบคุมกำจัดการระบาดทุก ๆ 3 วันครั้ง (กรณีระบาดในก้อน) หรือฉีดพ่นเพื่อควบคุมทุก ๆ 7 – 10 วันครั้ง เกษตรกรหรือคนรักเห็ดท่านใดสนใจต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกสาขา (สนญ.บางเขน 02-9861680 – 2 ) หรือนายเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการชมรมฯ (081-3983128) หรือ Email : thaigreenago@gmail.com. ,ekkarin191@gmail.com.

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ใช้ภูไมท์ผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐานป้องกันเชื้อรา

การเพาะเห็ดในโรงเรือนเริ่มเป็นที่นิยมกันแพร่หลายในทุกหมู่ชนชั้น ทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องโรคราระบาดในโรงเรือนจนกระทั้งควบคุมไม่ได้ ที่พบเจอมักจะเป็นราเขียว ราดำ ราส้ม เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณนารีรัตน์ เกษตรกรผู้เพาะเห็ด ที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งนับได้ว่าเป็นเกษตรกรที่ปกระสบความสำเร็จอีกท่านหนึ่ง ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ตอนแรก ๆ ก็ประสบปัญหาเรื่องราเหมือนกัน แต่ด้วยความอดทนมุ่งมั่นมานะคิดค้นหาวิธีแก้สอบถามผู้รู้จากฟาร์มต่าง ๆ จนได้ข้อเสนอแนะให้ลองใช้ภูไมท์ผสมกับวัสดุเพาะ 100 กก.ต่อภูไมท์ 1 กก. หลังเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพบว่าอัตราการเข้าทำลายของเชื้อราลดลงเหลือประมาณ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ของการระบาด ส่งผลให้เชื้อเห็ดสามารถขยายเชื้อเพิ่มได้ดี รวดเร็วกว่าเดิม หากใช้วิธีดังกล่าวร่วมกับการฉีดพ่นจุลินทรีย์บาซิลลัส พลายแก้ว ช่วงหมักทำก้อนเชื้อ สามารถการเข้าทำลายของเชื้อราได้เพิ่มขึ้น 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกวิธีหนึ่งด้วย เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณนารีรัตน์(บ้านเห็ดสด)อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา(080 – 6922654)หรือนักวิชาการชมรมฯ (081 – 3983128)

แก้ปัญหาหนอนชอนเปลือกลองกองด้วย บีที - ชีวภาพ

หนอนชอนเปลือกลำต้นถือได้ว่าเป็นแมลงศัตรูอันดับต้นของลองกองก็ว่าได้ จากที่พบเจอส่วนใหญ่จะระบาดในช่วงหน้าฝนมากกว่าหน้าแล้งและเป็นตัวหนอนที่ค่อนข้างกำจัดยากเนื่องจากหลบซ่อนตัวอยู่บริเวณใต้เปลือกลำต้นของลองกอง นี่เองที่มาของหนอนชนิดนี้ “หนอนชอนเปลือกลองกอง” สำหรับวิธีการกำจัดและป้องกัน นั่นก็คือ ให้ท่านใช้เชื้อบีทีชีวภาพ ประมาณ 5-10 กรัม (1-2 ช้อนกาแฟ) หมักขยายเชื้อด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน 36 ชั่วโมงแล้วนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นที่พบการเข้าทำลายของหนอนชอนเปลือกอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ โดยให้ทำการฉีดพ่นประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 5 วัน สัปดาห์ที่ 2 เริ่มพบว่าหนอนค่อยๆตาย มีปริมาณน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการฉีดพ่นควรเป็นเวลาช่วงเย็นๆ ประมาณ 4-5 โมงเย็น หากเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรติดต่อ 02 - 9861680 – 2, 081 – 3983128 (นายเอกรินทร์ - นักวิชาการชมรมฯ)