วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 5.1)ปัจจัยของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาก้อนเห็ดไม่ออกดอก กล่าวรวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจหรือต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช การที่ดอกเห็ดจะเจริญเติบโตได้ดีนั้นจะต้องมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเห็ดด้วย ฤดูฝนจะเป็นฤดูกาลที่พบการออกดอกของเห็ดในธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดโดยกว้างๆได้ 2 ปัจจัยดังนี้ ข้อแรก : พันธุกรรม ก่อนทำการเพาะเห็ดจะต้องมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีลักษณะตามที่ต้องการ เช่น แข็งแรง ปราศจากศัตรูเห็ด ดอกเห็ดตรงต่อความต้องการของตลาด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อม ฤดูกาล แหล่งที่เพาะนั้นๆ ข้อสอง : สิ่งแวดล้อม การที่เห็ดจะให้ผลผลิตดอกเห็ดสูงนั้นสภาพแวดล้อมจุดนั้นๆจะต้องมีความเหมาะสม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สิ่งไม่มีชีวิต และสิ่งมีชีวิต แต่สำหรับตอน 5.1 นี้จะกล่าวถึงปัจจัยของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด สิ่งไม่มีชีวิต เห็ดเป็นพืชชั้นต่ำจำพวกราไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างพืชสีเขียวทั่วไป อาหารของเห็ดได้จากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุที่ผุพังและอาหารที่เห็ดย่อยง่ายนั้นคือกลูโคส เห็ดหลายชนิดสามารถเจริญได้ดีบนอาหารจำพวกแป้ง เซลลูโลส ลิกนิน แต่สำหรับเห็ดบางชนิดก็เลือกที่ย่อยไม้ มูลสัตว์ และปุ๋ยหมัก 1.1วัสดุเพาะที่ใช้เพาะเห็ดจึงมีความแตกต่างกัน เช่น -เห็ดที่ขึ้นได้ดีบนท่อนไม้ เช่น เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดมะม่วง เห็ดขอนขาว -เห็ดที่ขึ้นได้ดีบนปุ๋ยหมัก เช่น เห็ดกระดุม เห็ดฟาง เห็ดตีนแรด -เห็ดที่ขึ้นเนื่องจากการทำกิจกรรมของแมลง เช่น เห็นโคนใหญ่ (เห็ดปลวก) -เห็ดที่ขึ้นบนรากร่วมกับต้นไม้หรือเห็ดไมคอร์ไรซ่า เช่น เห็ดเสม็ด เห็ดตับเต่า เห็ดตีนแรด สำหรับวัสดุเพาะเห็ดควรเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นนั้นๆ ราคาถูก ใช้ได้สะดวก เห็ดเจริญเติบโตและพัฒนาให้ผลผลิตสูง อันได้แก่ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย ทะลายปาล์ม เป็นต้น 1.2อาหารเสริมที่นิยมใช้คลุกผสมในวัสดุเพาะก่อนบรรจุถุงหรือแปลงเพาะเห็ดฟาง อย่างเช่น -รำละเอียด จะให้อาหารพวกโปรตีน วิตามินบี -ข้าวโพดป่น จะให้อาหารพวกกลูโคสและแร่ธาตุต่างๆ -กากถั่ว จะให้อาหารพวกโปรตีน -ใบกระถิ่น จะให้อาหารพวกโปรตีน (ห้ามใส่มากเนื่องจากจะทำให้ดอกเห็ดกระด้าง) -กากเหล้า (โรงงานสุรา) จะให้อาหารพวกโปรตีน -แป้งข้าวเหนียว เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่อจุลินทรีย์ ในขบวนการย่อยสลายอินทรีวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่ใส่ในส่วนผสมของเห็ดนางฟ้าภูฐานและเห็ดฟาง -ไส้นุ่น ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารต่อการเพาะเห็ดฟาง -ขี้ฝ้าย (สำลีสีเทา) ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารต่อการเพาะเห็ดฟาง -ทะลายปาล์ม ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ต้องผ่านขบวนการหมักก่อนนำมาใช้ ส่วนใหญ่ใช้เพาะเห็ดฟาง (กองเตี้ย,โรงเรือน) 1.3อาหารเสริมที่ได้จากแร่ธาตุ (ธาตุอาหาร)จากปุ๋ยหรือสารอนินทรีย์ต่างๆ ประโยชน์ต่อการทำงานของจุลินทรีย์หลังจากการย่อยสลายแล้วเห็ดนำไปใช้ต่อ ซึ่งได้แก่ -ปุ๋ยยูเรีย ( 46-0-0) ให้กรดอะมิโนแก่เห็ด -ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ (ขึ้นอยู่กับโรงเรือนหรือท้องถิ่นนั้นๆ) เช่น แอมโมเนี่ยมซัลเฟต (21-0-0) -ดีเกลือ ( MgSo4 ) เป็นองค์ประกอบของเซลล์เห็ด ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยของเส้นใยเห็ด -ยิปซั่ม ( CaSo4 ) เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เห็ด ทำให้ดอกเห็ดแข็งแรง ดอกสมบูรณ์ขึ้น -ปูนขาวหรือแคลเซี่ยม (CaO) มีฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยปรับค่าpH (Potential of Hydrogen ion) ปุ๋ยหมักให้มีสภาพเป็นกลางทำให้เห็ดดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังให้แคลเซี่ยม (Calcium)แก่เห็ด ช่วยป้องกันโรคแมลงศัตรูเห็ด -ภูไมท์ หรือแร่พัมมิช เป็นสารอาหารที่ได้จากหินแร่ภูเขาไฟ ใช้ปรับสภาพความเป็นกรดด่าง ทำให้โครงสร้างเส้นใยและดอกเห็ดมีความแข็งขึ้น ป้องกันไรศัตรูเห็ด นอกจากนี้ยังให้ธาตุอาหารแก่เส้นใยเห็ดจำพวก แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม ซิลิก้า เป็นต้น ทำให้ดอกเห็ดมีรสชาติดี กรอบ ยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวได้นานกว่าเดิม (เหี่ยวช้า) -แร่ม้อนท์ ( Montmorillonite ) เป็นสารอาหารที่ได้จากเถ้าภูเขาไฟ ที่เกิดจากการระเบิดขึ้นจากปล่องภูเขาท่ามกลางลาวา ถูกผลักดันจนลอยขึ้นระเบิดกลางอากาศต่อ หนึ่ง สอง หรือสามครั้ง ทำให้เกิดรูพรุนโปร่งอุดมไปด้วยธาตุอาหาร เทรซซิลิเม้นท์ต่างๆ ช่วยดูดซับความชื้น ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดให้มีปริมาณมากขึ้น ยืดอายุการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดให้นานกว่าเดิม 1.4อุณหภูมิ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ดมาก ทั้งระยะเจริญเติบโตของเส้นใย ออกดอกและการปล่อยสปอร์ ปกติอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยจะสูงกว่าช่วงออกดอกประมาร 3-5 องศาเซลเซียส ซึ่งเห็ดแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิแตกต่างกัน ดังนี้ (ตามตารางที่ 1) 1.5ความชื้นสัมพัทธ์ ในธรรมชาติเห็ดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพความชื้นสูง แบ่งย่อยออกได้ 2 ประเภท คือ -ความชื้นในวัสดุเพาะ (Moisture) หมายถึงความชื้นในปุ๋ยหมักเพาะเห็ดและกองฟางที่เหมาะสมคือประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ ถ้ามากเกินไปเส้นใยจะขาดออกซิเจนทำให้เส้นใยอ่อนแอเชื้อราศัตรูและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลทำให้เส้นใยเห็ดเกิดความเสียหาย -ความชื้นในอากาศ (Humidity) หมายถึงความชื้นรอบก้อนเชื้อเห็ดหรือในกองเห็ดฟาง ถ้าน้อยเกินไปทำให้ดอกเห็ดแห้งเป็นสีเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต แต่ถ้ามากเกินไปดอกเห็ดจะฉ่ำน้ำ คุณภาพต่ำไม่ได้ราคา 1.6ความเป็นกรด-ด่าง (pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion ) เห็ดเจริญเติบโตได้ดีในอาหารที่มีสภาพเป็นกลาง หรือกรดอ่อนๆ (pH 6.5-7)ถ้าอาหารเป็นกรดเส้นใยเห็ดเจริญเติบโตปกติแต่ไม่ออกดอกหรือออกบ้างเล็กน้อย สำหรับ pH ของน้ำก็เช่นเดียวกันจะต้องมีความเหมาะสมนั้นคือเป็นกลาง (pH 7)หรือน้ำที่ใช้ดื่มกินในชีวิตประจำวันและจะต้องสะอาดปราศจากสารเคมีตกค้าง 1.7การถ่ายเทอากาศ เห็ดมีความต้องการออกซิเจนโดยเฉพาะระยะออกดอก ซึ่งต้องการออกซิเจนมากกว่าระยะของเส้นใย สำหรับคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยทำให้เส้นใยเจริญเติบโตดี แต่ในระยะออกดอกบวกกับโรงเรือนทึบและการถ่ายเทอากาศไม่ดีส่งผลทำให้ดอกเห็ดไม่บาน ดอกเล็ก ก้านยาวผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบเห็นในเห็ดถุง 1.8แสง มีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย ถ้าแสงน้อยเส้นใยจะเจริญเติบโตได้เร็ว สำหรับระยะออกดอกแสงจะช่วยกระตุ้นการสร้างตุ่มดอกเห็ด ( Primodia ) และการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ดังนี้ -เห็ดหูหนู แสงจะช่วยให้สีเข้มขึ้น หากแสงน้อยดอกจะซีด -เห็ดฟาง แสงจะทำให้ดอกสีคล้ำ หากแสงน้อยดอกเห็ดจะมีสีขาว -เห็ดนางรม นางฟ้า นางฟ้าภูฐาน แสงจะช่วยให้การปล่อยสปอร์ดีขึ้น โดยเฉพาะแสงแดดตอนสายๆ เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ www.ekbiotechagro.blogspot.com(ศูนย์บริการข้อมูลทางวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ )หรือคุณเอกรินทร์ (วัชนะ) ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128หรือติชมผ่านEmail : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com และติดตามอ่านบทความวิชาการปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด ตอน 5.2ปัจจัยของสิ่งมีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ในสัปดาห์ถัดไป สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 4) เห็ดถุงกับอาการหยุดชะงักไม่เจริญต่อของเส้นใยหลังหยอดเชื้อ

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาก้อนเห็ดไม่ออกดอก กล่าวรวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจหรือต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช สำหรับปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ดหรือเพาะเห็ดที่มีผลเกี่ยวข้องกับการเดินหรือเจริญของเส้นใย สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ เส้นใยไม่เดินบนก้อนขี้เลื่อย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ 1.หัวเชื้อเห็ดเป็นเชื้ออ่อน หรือเชื้อเห็ดนั้นผ่านการแต่งเชื้อมาหลายครั้งแล้วทำให้เส้นใยอ่อนแอ 2.หัวเชื้อเห็ดมีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปลอมปนและเจริญแข่งกับเส้นใยเห็ด 3.วัสดุที่ใช้เพาะมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเห็ดโดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อราผู้เพาะควรเลือกวัสดุเพาะที่ปราศจาสารเคมี 4.สภาพความเป็นกรด - ด่าง (pH) ควรปรับให้อยู่ระหว่าง 6.5 - 6.8 จะช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญดีขึ้น 5.ส่วนผสมมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ในขณะที่สภาพดังกล่าวเอื้อต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียศัตรูเห็ด เส้นใยเดินบางมากและเมื่อนำไปเปิดดอกพบว่าจะไม่ค่อยเกิดดอกหรือให้ผลผลิตน้อยมาก ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ 1.วัสดุที่ใช้เพาะสลายตัวเกือบหมดแล้ว ทำให้อาหารเหลืออยู่น้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย หรือใส่อาหารเสริมน้อยเกินไป ดังนั้นจึงควรใส่อาหารเสริมในอัตราส่วนที่เหมาะสม 2.การนึ่งฆ่าเชื้อไม่ดีพอ ทำให้จุลินทรีย์อื่นๆเจริญเติบโตแข่งกับเห็ดได้ ดังนั้นการนึ่งก้อนเชื้อควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ 1.ถุงก้อนเชื้อมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญได้ดี แล้วเชื้อเห็ดไม่สามารถเจริญเติบโตได้ 2.เชื้อเห็ดอ่อนแอ เมื่อเจริญได้ระยะหนึ่งแล้วก็ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นควรเลือกเชื้อที่แข็งแรง เห็ดออกดอกช้าหลังจากเปิดดอกแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1.เกิดจากการเปิดปากถุงเร็วเกินไป หลังจากเส้นใยเดินเต็มแล้ว ควรปล่อยให้เส้นใยรัดตัวและมีการสะสมอาหารก่อนเปิดถุงประมาณ 8-10 วัน 2.การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนไม่ดี ทำให้มีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง 3.อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงหรือต่ำเกินไปหรือความชื้นไม่เพียงพอทำให้การพัฒนาของเส้นใยไปเป็นดอกเห็ดช้า ดอกเห็ดเกิดขึ้นแต่ไม่พัฒนาเป็นดอกเห็ด โดยพบว่าบางครั้งดอกเห็ดเจริญเป็นดอกเล็กๆ บนก้อนเชื้อเต็มไปหมดแต่ดอกมีขนาดเล็กแล้วไม่เจริญต่อ ซ้ำดอกเห็ดจะเหี่ยวแห้งในที่สุด ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1.หัวเชื้อเห็ดอ่อนแอทำให้ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์ 2.การเปิดปากถุงกว้างเกินไปทำให้เส้นใยเจริญไปเป็น ดอกเห็ดจำนวนมากและ อาหารภายในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ ทำให้ดอกที่งอกออกมาแคระแกร็น และแห้งดังนั้นการเปิดปากถุงไม่ควรเปิดกว้างมากนัก 3.ความชื้นไม่เพียงพอทำให้ดอกที่กำลังเติบโตแห้งได้ 4.รดน้ำมากเกินไป และรดไม่ถูกวิธี ทำให้น้ำขังในถุงพลาสติก ทำให้เห็ดภายในถุงพลาสติกเน่าเสียได้ 5.เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายก้อนเชื้อหลังเปิดถุง เนื่องจากโรงเรือนสกปรก 6.อาจมีแมลงเข้าไปกัดและทำลายก้อนเชื้อ แนวทางควบคุมป้องกันการหยุดชะงักไม่เจริญต่อของเส้นใยหลังหยอดเชื้อ โดยแบ่งเป็นกรณีๆ ดังนี้ 1.หลังหยอดหัวเชื้อข้าวฟางลงก้อน 5-7 วันแล้วพบว่าเชื้อไม่เดิน (หยุดนิ่งอยู่ที่เม็ดข้าวฟ่าง) กรณีเช่นนี้เกิดจากหัวเชื้ออ่อนหรือแก่เกินไปไม่เหมาะสมที่จะพักทิ้งไว้เพื่อให้เชื้อเจริญต่อเนื่องจากไม่คุ้มกับผลผลิตที่จะได้รับ 1.1นำก้อนเชื้อเห็ดที่พบอาการดังกล่าวไปนึ่งแล้วนำมาหยอดหัวเชื้อใหม่อีกครั้ง แต่ใช้หัวเชื้อจากแหล่งอื่น 1.2ให้ใช้จุลินทรีย์กำจัดศัตรูเห็ด (บาซิลลัส- พลายแก้ว , บีที-ชีวภาพ , บาซิลลัส-ไมโตฟากัส) ผสมทำก้อนเห็ดก่อนทำการนึ่งฆ่าเชื้อทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ศัตรูที่ติดมากับวัสดุเพาะซึ่งเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถทนความร้อนได้ถึง 121 .C นาน 3 - 5 ชั่วโมง 2.เส้นใยเห็ดเดินได้ระยะหนึ่งแล้วหยุดนิ่งไม่เดินต่อซึ่งเกิดจากความชื้นในก้อนเห็ดมากเกินไป ให้นำก้อนเห็ดที่พบอาการดังกล่าวไปเทผสมวัสดุเพาะแล้วนำมานึ่งใหม่หรือใช้ไม้ปลายแหลมจิ้มแทงบริเวณก้นถุงเพื่อระบายความชื้นบางส่วน (แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) 3.เห็ดออกดอกช้าผิดปกติหลังจากเปิดดอก โดยปกติดอกเห็ดจะสะสมอาหารนานประมาณ 8-10 วัน หากเกินจากนี้ให้ลองใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเดินของเส้นใย (แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด) ฉีดพ่น 1-2 ครั้งหากกันประมาณ 3 วัน แล้วคอยสังเกตการเดินของเส้นใย หากพบว่าเส้นใยเดินเพิ่มหนาขึ้น สัณฐานได้ว่าอาหารภายในก้อนเชื้อมีปริมาณน้อยเกินไป 4.เส้นใยเห็ดไม่พัฒนาเป็นดอกเห็ดหรือพัฒนาแต่ดอกเห็ดมีขนาดเล็กและเหี่ยวแห้งในที่สุด กรณีเช่นนี้ให้หมั่นเช็คอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนให้มีความเหมาะสมต่อเห็ดชนิดนั้นๆ (ควรมีการติดตั้งเครื่องอุณหภูมิและความชื้นไว้ในโรงเรือนอย่างน้อย 1 ชุด ซึ่งราคาทั่วไปไม่เกินชุดละ 700 บาท) เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ www.ekbiotechagro.blogspot.com (ศูนย์บริการข้อมูลทางวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่านEmail : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 3) เห็ดถุงกับการควบคุมการระบาดของราศัตรู

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหาราศัตรูเข้าทำลายก้อนเห็ด กล่าวรวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจหรือต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช ราศัตรูเห็ดที่พบว่าเป็นปัญหาอุปสรรคของการเพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ 1.ราดำโดยแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ 1.1แอสเพอร์จิลลัส Aspergillus sp. สามารถพบได้ทั่วไปในถุงเห็ด ซึ่งบางส่วนมีสีเขียวเข้มเกือบดำโดยอาจจะเกิดที่ส่วนบนใกล้ปากถุงแล้วลามลงไปข้างล่างหรือเกิดจากด้านล่างขึ้นไปก็ได้ และบางส่วนมีสีน้ำตาลเกิดขึ้นติดกับบริเวณที่มีสีเขียวเข้มดังกล่าวด้วย 1.2โบไตรดิฟโพลเดีย Botryodiplodia sp. จะพบว่าขี้เลื่อยในถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ซึ่งในระยะแรกเชื้อราจะมีสีขาว ต่อมาเจริญขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทิ้งไว้นาน จะเกิดก้อนเล็กๆ สีดำ ที่เป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรานูนออกมาที่ผิวของถุงพลาสติก 2.ราเขียวโดยแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ 2.1ไตรโคเดอร์ม่าและกลิโอคลาเดียม Trichoderma sp ,Gliocladium sp. สามารถมองเห็นได้ง่ายเนื่องจากสปอร์ของเชื้อรามีสีเขียวอ่อนใส เมื่อรวมกันหนาแน่นจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวเข้มในถุงเห็ด 2.2เพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส Penicillium sp., Paecelomyces sp.ราทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วสามารถสร้างสปอร์ได้เป็นจำนวนมาก ราเพนนิซีเลียมเป็นราที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง สามารถพบเป็นหย่อมๆมีสีเขียวตองอ่อน สีเหลืองอ่อนอมเขียวและสีเทาอ่อนดูคล้ายฝุ่นเกาะติดข้างถุง มักเกิดบริเวณด้านล่างของก้อนเห็ด ส่วนสำหรับราเพซีโลไมซีสเป็นราชอบร้อน สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดีมักจะเกิดกับก้อนเห็ดหอม มีลักษณะเป็นฝุ่นสีน้ำตาลซีดปนเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองซีดจางๆ ซึ่งสามารถมองเห็นเส้นการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดและเชื้อราศัตรูได้อย่างชัดเจน 3.ราส้ม Neurospora sp. มักเกิดเป็นกระจุกบริเวณปากถุงมีลักษณะเป็นสีชมพูอมส้ม 4.ราเมือก Slime mould จะเกิดกับถุงเห็ดที่เปิดถุงเก็บดอกไปแล้วหลายรุ่นและเป็นถุงที่อยู่ด้านล่างสุด จะสังเกตเห็นเส้นใยสีเหลืองชัดเจนบริเวณด้านข้างถุงและบริเวณปากถุงโดยมากมักจะเกิดกับถุงเห็ดหูหนูที่มีการกรีดถุงด้านข้างและรดน้ำนานๆ จนทำให้ถุงชื้นแฉะนอกจากนี้ยังเกิดได้กับถุงเห็ดฐานที่หมดรุ่นแล้วแต่ยังไม่มีการขนย้ายทำความสะอาดโรงเรือน(ขอขอบพระคุณอาจารย์อนันท์ กล้ารอด ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8(ครูชำนาญการพิเศษ)วิชาการเพาะเห็ดและผลิตเชื้อเห็ด โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ) โรคของเห็ดถุงที่เกิดจากเชื้อราโดยทั่วไปเกิดได้ทั้งเชื้อราปนเปื้อนและเชื้อราโรคเห็ด ซึ่งเชื้อราปนเปื้อนส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีเส้นใยเจริญเร็วมาก ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตที่เส้นใยเห็ดมาบรรจบกันเส้นใยของเชื้อราปนเปื้อน การเกิดเชื้อราปนเปื้อนในถุงเพาะเห็ดมักเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเห็ดลดลง ถ้ามีเชื้อราเหล่านี้เกิดบริเวณปากถุงก็จะเป็นเหตุให้เกิดการระบาดไปทั่วทั้งโรงเรือนเพาะเห็ดได้รับความเสียหายได้ผลผลิตลดลง สาเหตุของการเกิดเชื้อราปนเปื้อนมีหลายประการ ดังต่อไปนี้ 1.การทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดเสียหรือหมดอายุแล้วไว้ในบริเวณฟาร์มทำให้เชื้อรากระจายอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อมีฝนตก ลมพัด หรือตกลงไปในน้ำที่นำใช้รดเห็ด 2.หัวเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ 3.ขั้นตอนนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเห็ดไม่สามารถทำลายเชื้อราศัตรูได้หมด 4.ถุงแตกหรือถูกแมลงทำลาย 5.ฯลฯ วิธีควบคุมป้องกันกำจัดการติดเชื้อราปนเปื้อนในการเพาะเห็ดถุง มีดังนี้ 1.ตรวจสอบความสะอาดและความบริสุทธิ์ของหัวเชื้อก่อนซื้อ 2.การถ่ายเชื้อควรทำในห้องที่สะอาด ปราศจากฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคอื่นๆ หรือเป็นบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท 3.คัดแยกถุงเห็ดเสีย ถุงเห็ดแตก ถุงเห็ดที่มีจุกสำลีชื้น แล้วนำไปนึ่งใหม่หรือเผาทำลายเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา 4.รักษาความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ด และบริเวณโดยทั่วไปรอบๆ ฟาร์ม 5.เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วควรพักโรงเรือนเพาะเห็ดประมาณ 2-3 อาทิตย์ เพื่อทำความสะอาดฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงหรือเชื้อราที่อาจซุกซ่อนตามพื้น เสา และฝาผนังก่อนนำถุงเชื้อเห็ดชุดใหม่เข้ามาด้วยเชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส-พลายแก้ว (กำจัดเชื้อรา) บาซิลลัส-ไมโตฟากัส (กำจัดไรเห็ด)และสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปหรือพรีเว้นท์ขับไล่แมลงต่างๆภายในโรงเรือนเห็ด (สามารถสอบถามวิธีการใช้เพิ่มเติมได้ที่ ... ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 ทุกวันตั้งแต่ 08.00 น.-17.00น.) 6.ถ้าเป็นไปได้ควรแยกโรงเรือนบ่มกับโรงเรือนเปิดดอกไว้คนละหลังกัน *** เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ)ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128หรือผ่านEmail: thaigreenagro@gmail.com,ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แก้ปัญหาเปลือกเน่า – แห้งยางพาราแบบง่ายๆ สไตล์ปลอดสารพิษ

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้คัดกรองและพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหายางพาราเปลือกเน่า – แห้ง ลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช 1.เปลือกเน่า ( Mouldy rot ) เกิดจากเชื้อรา Ceratocystis fimbriata Ellis & Halst. ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งทำให้เปลือกที่งอกใหม่เสียหายจนกรีดซ้ำไม่ได้ พบว่าในระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกที่งอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทาขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่นเหลือแต่เนื้อไม้สีดำ แนวทางการป้องกันกำจัด 1.เนื่องจากโรคชนิดนี้มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงจะได้ลดลง 2.หากพบว่าต้นยางที่กำลังกรีดมีอาการ “เปลือกเน่า” ควรหยุดกรีดประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราโรคพืชแพร่กระจายไปสู่ต้นอื่น ๆ 3.หากพบมีการระบาดของโรคพืชดังกล่าวในพื้นที่ให้ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักเชื้อบาซิลลัส ซับติลิส พลายแก้วโดยใช้หัวเชื้อบาซิลลัส-พลายแก้ว 5 กรัม (1ช้อนชา)หมักน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผลหรือนมกล่องยูเอสที หนองโพ ชนิดหวานจำนวน 1 กล่อง นาน 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณหน้ายางหรือเปลือกยางที่พบการเข้าทำลายของเชื้อราให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุก ๆ 7-10 วันครั้งจนกว่ามีเปลือกใหม่งอกขึ้นมาทดแทน 2.เปลือกแห้ง (Tapping panel dryness) เกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษาและการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในท่อน้ำยางเองด้วย สามารถพบอาการได้หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุด ๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้าหากฝืนกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและหลุดล่อนออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา แนวทางการป้องกันกำจัด อาการแบบนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ายางที่กรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมอาการดังกล่าวในต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว แนะนำให้ใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบว่ายางพาราต้นใดมีอาการดังกล่าวนี้เพียงบางส่วนหรือเล็กน้อย ให้ใช้สิ่วเซาะร่องโดยให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรค ให้ร่องห่างจากบริเวณที่พบอาการประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ สำหรับการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่ตำหนิ และหยุดกรีดในช่วงยางพาราผลัดใบ ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นโดยเฉพาะสูตรเสมอหรือสูตรเสมอร่วมกับภูไมท์ซัลเฟต อัตรา 20 กิโลกรัมต่อปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มธาตุอาหารรอง ซิลิก้า ช่วยรักษาความสมดุล (อุดมสมบูรณ์) ของดิน ทำให้ยางพาราดูดกินธาตุอาหารได้ดี ต้นยางพาราสมบูรณ์แข็งแรงช่วยป้องกันอาการเปลือกแห้ง ทั้งยังยืดอายุการกรีดออกไปอีกด้วย ****เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หนึ่งคำยืนยันจากเกษตรกรที่ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่ารักษาอาการยืนต้นตายในยางพารา

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนในงานวิชาการและสินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ทางผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการและสินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป ส่วนบทความหรืองานวิชาการที่นำมาเสนอต่อท่านวันนี้ผู้เขียนได้นำคำยืนยันจากคุณสาธิต สารพัฒน์ (081-1034948) เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในเขต อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มาบอกกล่าวเล่าต่อสู่เกษตรกรชาวสวนยางพาราท่านที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูบาร์อาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช ก่อนหน้านี้คุณสาธิต สารพัฒน์ เลขที่ 185/5 หมู่ 4 ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86160 เคยประสบปัญหาต้นยางพาราที่ปลูกใหม่อายุประมาณ 2 ปี อยู่ๆ ยางพารายืนต้นตายไม่ทราบสาเหตุจนกระทั้งได้ไปปรึกษาชมรมเกษตรปลอดสารพิษและได้รับคำแนะนำให้ทดลองใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าคลุกผสมปุ๋ยคอก (อัตรา 1 กก.ต่อปุ๋ยคอก 50 กก.) แล้วนำไปหว่านรอบๆ ทรงพุ่ม ปรากฏว่าอาการระบาดเริ่มลดลง ต้นยางพาราที่เคยแสดงอาการใบเหี่ยว เหลือง ร่วง กลับผลิใบแตกยอดอ่อนสดชื่นอีกครั้ง สำหรับอาการยืนต้นตายในยางพารานั้นเกิดได้หลายประการ อาทิเช่นการใช้สารเร่งหรือสารกระตุ้นการไหลของน้ำยางในปริมาณที่ไม่เหมาะสมหรือขาดความรู้ความเข้าใจในสารประเภทนั้นๆ ประการต่อมาเกิดจากการเข้าทำลายระบบรากของเชื้อราโรคพืชซึ่งแบ่งออกตามประเภทเชื้อราที่เข้าทำลายได้ดังต่อไปนี้ 1. โรครากขาว (Disease White Root)เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus (Klotzsch) lmazeki สามารถพบเห็นการเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปโดยจะแทงเส้นใยเข้าไปในเนื้อเยื่อ ทำให้การทำงานของเชลล์รากเสียหายไม่สามารถดูดน้ำดูดอาหารได้เต็มที่ ทำให้ขบวนการสังเคราะห์แสงของยางพาราค่อยๆ ลดลง เมื่อระบบรากถูกทำลาย ยางพาราจะแสดงอาการให้เห็นที่ทรงพุ่มและนั่นเป็นระยะที่รุนแรงไม่สามารถจะรักษาได้ บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏเส้นใยราสีขาวเจริญแตกสาขาปกคลุม เกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีดในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม หากพบในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม ดอกเห็ดชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล ขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว ส่วนใหญ่พบการแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกและมีความชื้นสูง *โชคชัย พรหมแพทย์ ,ความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา 2. โรครากแดง (Red root disease) เกิดจากเชื้อราGonoderma pseudojerreum ซึ่งเส้นใยของเชื้อราโรคชนิดนี้จะมีสีแดง เป็นมันปกคลุมผิวรากยางพาราที่เป็นโรค หากเชื้อราอยู่ในระยะเจริญเส้นใยจะมีสีขาวครีม เมื่อแก่ขึ้นจะกลายเป็นสีแดง รากของยางที่เป็นโรคชนิดนี้ระยะแรก ๆ จะมีสีน้ำตาลซีด แข็งและต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเนื้ออ่อน ส่วนของเนื้อไม้จะเป็นรูพรุนซึ่งอาจจะเปียกหรือแห้งขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นดินบริเวณนั้น ส่งผลให้เนื้อเยื่อแต่ละวง (วงปี) จะหลุดลุ่ยแยกออกจากกันได้ง่าย ดอกเห็ดของเชื้อราชนิดนี้จะเป็นวงแข็ง ผิวด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม ผิวด้านล่างเป็นสีขาวขี้เถ้ารอบ ๆ ขอบดอกเห็ดมีสีขาวครีมคล้ายกับดอกเห็ดรารากขาว *สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. โรครากน้ำตาล (Brown root disease) เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius (Corner) G.H.Cunn ส่วนใหญ่พบกับต้นยางพาราที่หักโค่นซึ่งอาการของโรคชนิดนี้จะคล้ายกับโรครากขาวและโรครากแดง แต่ต่างกันที่บริเวณรากที่ถูกทำลายจะปรากฏเส้นใยเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง เป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ เมื่อแก่เส้นใยจะเป็นสีน้ำตาลดำ เนื้อไม้ในระยะแรก ๆ จะเป็นสีน้ำตาลซีดต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้ สำหรับรากยางพาราที่เป็นโรคชนิดนี้มานาน เมื่อตัดลองตามขวางจะเห็นสายเส้นใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง เนื้อไม้จะเบาและแห้ง ดอกเห็ดของเชื้อราดังกล่าวจะเป็นแผ่นหนาแข็ง รูปครึ่งวงกลมค่อนข้างเล็กผิวด้านบนเป็นรอยย่นเหมือนกับเห็ดรารากแดงแต่ขอบดอกเป็นวงสีน้ำตาลเข้มและผิวด้านล่างเป็นสีเทา ส่วนใหญ่พบการระบาดในช่วงฤดูฝนเนื่องจากมีฝนตกชุกความชื้นสูง *สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4. โรคใบร่วงและผลเน่า ( Phytophthora leaf fall) เกิดจากเชื้อรา Phytophthora botryosa chee, P. palmivora (Butl.) Butl., P.nicotianae Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouseโดยจะแสดงอาการให้เห็นในผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนใบจะร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย หากนำใบที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคชนิดนี้จะสัมพันธ์กับโรคเส้นดำเนื่องจากเกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกัน ส่งผลทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตลดลงและยืนต้นตายในที่สุด *พูนผล ธรรมธวัช ,ยางพารา แนวทางป้องกันควบคุมโรคที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราโรคพืช 1. เลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรค (หากเป็นยางพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ TG 1) 2. สำหรับยางพาราที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีหรือต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก.ผสมน้ำเปล่า 200 ลิตรทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 15 วันครั้งหรืออาจจะนำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 20 กรัม (1ช้อนแกง) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 8 -10 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 7 วันครั้ง 3. กรณีปลูกกล้ายางพาราใหม่ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก. ผสมร่วมกับปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) 50 กก.และภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปคลุกเคล้ารองก้นหลุมอัตราต้นละ 1/2 กก.หรือหว่านรอบทรงพุ่ม โดยห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร อัตรา 1-2 กก.ต่อต้น ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ย เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณ คุณสาธิต สารพัฒน์ (081-1034948) เกษตรกรชาวสวนยางพารา อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ตลอดจนครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา เขียนและรายงานโดย นายเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการ) ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com