วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรคและแมลงศัตรูยางพารา ตอนที่ 1 ไรพืช ( Mites )

ไรพืชนั้นเป็นสัตว์ประเภทเดียวกับแมงมุม แต่มีขนาดเล็กมาก ตัวผู้มีความยาว 0.15 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 0.2 มิลลิเมตร มักอาศัยอยู่บริเวณเส้นใบ เมื่อตรวจดูใบยางที่ถูกไรเข้าทำลายด้วยแว่นขยาย จะเห็นตัวไรมีสีเหลืองใส พบไข่และคราบตัวอ่อนอยู่ทั่วไป ไรในระยะที่เป็นตัวอ่อนจะมีขาเพียง 3 คู่ พอถึงระยะตัวแก่จะมีขา 4 คู่ วงจรชีวิตจากตัวอ่อนไปเป็นตัวแก่จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน ตัวแก่จะมีชีวิตประมาณหนึ่งสัปดาห์ก็เริ่มวางไข่บนใบยาง ซึ่งจะเข้าทำลายต้นยางโดยดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ มีสีซีด ใบแคระแกร็นบิดเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น และร่วงหล่นในที่สุด ตัวไรมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่สามารถสังเกตได้จากลักษณะของใบยางที่ผิดรูปร่าง เนื่องจากการเข้าทำลายและจะระบาดมากในแปลงขยายพันธุ์ ช่วงอากาศแห้งแล้งโดยเฉพาะช่วงยางผลิใบใหม่ วิธีการควบคุมป้องกันกำจัด 1.ปกติไรพืชจะชอบอาศัยอยู่ในที่มีอากาศแห้งมากกว่าที่ชื้น ดังนั้นจะค่อยๆ หมดไปตามธรรมชาติเมื่อเข้าช่วงฤดูฝน 2.ให้ฉีดพ่นด้วยสารสกัดสะเดา(มาร์โก้ซีด)อัตรา 200 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร (เนื่องจากสารสกัดสะเดาจะช่วยยับยั้งการดูดกินหรือเข้าทำลาย ทำให้ตัวอ่อนลอกคราบไม่ได้แล้วตายในที่สุด ส่วนตัวเต็มวัยที่ได้รับสารชนิดดังกล่าวจะยับยั้งการสร้างไข่ )ร่วมกับสารสกัดจากกระเทียม+พริกไทย(ไพเรี่ยม)200 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ใบอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 15-20 วันครั้ง (กรณีระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ) 3.ให้ฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ อัตรา 500 กรัม (ซอง)+ไทเกอร์เฮิร์ป อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร โดยเว้นช่วงห่างกันประมาณ 3-4 วันครั้ง กระทำซ้ำเช่นเดียวกัน 2-3 ครั้งโดยให้ห่างกันประมาณ 7 – 10 วันครั้ง จนกระทั้งอาการระบาดลดลงสู่ภาวะปกติ แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนช่วงระยะการฉีดพ่นจาก 7–10วันครั้งเป็น 15 – 20 วันครั้ง หรือตามเหมาะสมเพื่อควบคุมการระบาดของแมลงชนิดนี้ สำหรับในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมนหรือปุ๋ยทุกครั้ง ควรมีการปรับสภาพน้ำด้วย ซิลิซิค แอซิค อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรร่วมกับสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น)เกษตรกรท่านใดสนใจ สงสัยสามารถสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)โทร.02-9861680-2,หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 5.2) ปัจจัยของสิ่งมีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาเห็ดไม่ออกดอก รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ ที่ต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช การที่ดอกเห็ดเจริญเติบโตได้ดีนั้นจะต้องมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเห็ดด้วย ดังนั้นฤดูฝนจึงเป็นฤดูกาลที่พบดอกเห็ดในธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดแบบกว้างๆได้ 2 ปัจจัยหลัก คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งย่อยออกได้อีก 2 ปัจจัย นั้นคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงปัจจัยของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ดไปแล้ว ส่วนสัปดาห์นี้จะกล่าวต่อถึงปัจจัยของสิ่งมีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ซึ่งประกอบไปด้วย 1. สาหร่ายหรือตะไคร้น้ำ (Algae) เป็นพืชชั้นต่ำมีสีเขียว ติดมากับน้ำที่ใช้รดเห็ด เมื่อถูกแสงจะเจริญเติบโตเป็นสีเขียวบริเวณปากถุงหรือโคนดอกเห็ดทำให้เกิดกลิ่น เนื่องจากดอกเห็ดจะดูดซับกลิ่นเอาไว้ทำให้ดอกไม่น่ารับประทานดูเหมือนราเขียวติดอยู่ 2. ฟังไจ (Fungi) ซึ่งประกอบไปด้วย เชื้อรา (mold) เห็ด (Mushroom) และยีสต์ (yeast) 2.1 เชื้อรา (mold) เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมและอาหารคล้ายกับเห็ดจึงทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ง่ายมีผลต่อการเพาะเห็ดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะราเขียว ราดำ ราเมือก ราส้ม มักปะปนมากับอาหารเพาะเห็ด อากาศ น้ำ ลม และแมลง 2.2 เห็ด (Mushroom) เป็นเชื้อราที่มีพัฒนาการสูงสุด ซึ่งมีการสืบพันธ์แบบใช้เพศและไม่ใช้เพศ 3. แบคทีเรีย (Bacteria) เจริญเติบโตได้ดีในสภาพความชื้นสูง อาหารเป็นกลาง ส่งผลทำให้เกิดการบูดเน่า เกิดความร้อน และกลิ่นแอมโมเนีย มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด ในการเพาะเห็ดถุงโดยใช้ขี้เลื่อยใหม่หลังบรรจุถุงแล้วควรนึ่งภายใน 24 ชั่วโมงทำให้รำเกิดการบูดเน่าเนื่องจากแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดก๊าซแอมโมเนีย (NH3) * ในการนึ่งฆ่าเชื้อแบคทีเรียพวกบาซิลลัส (Bacillus sp.) จะต้องใช้อุณหภูมิประมาณ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 – 18 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นานไม่น้อยกว่า 15 นาที 4. แอคติโนมัยสิท (Actinomycetes) เป็นจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรีย แต่มีเส้นใยคล้ายกับเชื้อรา ส่วนใหญ่พบตามกองปุ๋ยหมัก สามารถย่อยสลายอินทรีย์อินทรียวัตถุในสภาพอุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส สามารถผลิตสารยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้ 5. ราเมือก(Slime Mold ) เป็นเชื้อราที่มีสร้างเส้นใยคล้ายร่างแห มีสีเหลือง มีกลิ่นเหม็นคาว มักเกิดกับก้อนเชื้อที่ใกล้หมดอายุ ในสภาพความชื้นสูง โรงเรือนสกปรก การถ่ายเทอากาศไม่ดี ราชนิดนี้จะย่อยเส้นใยและดอกเห็ด ทำให้ก้อนเห็ดหมดอายุเร็วกว่าปกติ ซึ่งกันได้โดยการรักษาโรงเรือนให้สะอาด พักโรงเรือนแต่ละรุ่นอย่างน้อย 20 วันขึ้นไป 6. ไวรัส (Virus) เป็นศัตรูเห็ดที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนี้ 6.1 ประโยชน์ : ทำให้เกิดเห็ดพันธุ์ใหม่ 6.2 โทษ : ทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะผิดปกติ โดยเฉพาะเห็ดนางรม ดอกเห็ดจะคดงอ ดอกไม่บานเป็นพุ่มหรือที่เรียกกันว่าโรคหงอนไก่ 7. ไรเห็ด (Mite) เป็นศัตรูเห็ดที่มีขนาดเล็ก มี 8 ขา จะกัดกินเส้นใยเห็ด ทำให้เส้นใยขาด ดอกเหี่ยวแคระแกร็น หรือกินเส้นใยในก้อนเชื้อทำให้เส้นใยหมดไป กลายเป็นสีขี้เลื่อยเหมือนก้อนที่ยังไม่หยอดเชื้อ หากกัดกินดอกเห็ดจะทำให้ดอกเห็ดเป็นขุยๆ และอาจจะนำเชื้อราเขียวมาระบาด ไรเห็ดจะเข้าทำลายเห็ดตั้งแต่อาหารวุ้น เชื้อข้าวฟ่าง ก้อนเชื้อเห็ด ส่งผลทำให้ก้อนเห็ดหมดอายุเร็วกว่าปกติ ผลผลิตลดลง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เพาะเห็ดเกิดอาการคัน * สำหรับการป้องกันทำได้โดยรักษาความสะอาดภายในและรอบบริเวณโรงเรือนเพาะเห็ด รวมถึงสถานที่ผสมและอุปกรณ์ โรงพักก้อน ตลอดจนการจัดการก้อนเชื้อเก่า ตามวิธีการดังต่อไปนี้ 7.1 ใช้สมุนไพร หนอนตายยาก บอระเพ็ด กากน้ำตาล อัตราส่วน 1:1:1 สับละเอียดผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วัน ก่อนนำมาฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดในอัตราส่วน 1 ช้อนแกง/น้ำ 1 ลิตร แบบวันเว้นวัน 7.2 พักโรงเรือนเปิดระบายอากาศ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตก้อนเห็ดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วัน 7.3 ใช้เชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส ไมโตฟากัส Bacillus mitophagus ขนาด 1 ช้อนชา (5 กรัม) หมักด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อ ปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดให้นำน้ำมะพร้าวอ่อนที่หมักเชื้อแล้วมาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นควบคุมกำจัดการระบาดทุก ๆ 3 วันครั้ง (กรณีระบาดในก้อน) หรือฉีดพ่นเพื่อควบคุมทุก ๆ 7 – 10 วันครั้ง 8. แมลงสาบ (Cockroach) จะกัดกินทำลายดอกเห็ดทั้งในระยะบ่มก้อนเชื้อและเปิดดอก โดยจะกัดถุงก้อนเห็ดให้ขาด ทั้งยังนำเชื้อโรคสู่เห็ดส่งผลทำให้ผลผลิตลดลง 9. หนู (Rat) เข้าทำลายกัดกินหัวเชื้อข้าวฟ่างและก้อนเชื้อให้ผลผลิตเสียหาย 10. แมลงหวี่เห็ด (Drosophila mushroom) จะเข้าทำลายเห็ดช่วงบ่มก้อนเชื้อและเปิดดอก โดยเฉพาะก้อนเชื้อที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว หากพบว่าสำลีเปียกแล้วไม่เปลี่ยน แมลงหวี่จะชอบหยอดไข่ กลายเป็นตัวหนอนกัดกินอาหารเห็ดและนำโรคมาสู่ก้อนเชื้อเห็ด ส่วนใหญ่พบในตระกูลเห็ดนางรม หรืออาจเกิดจากการเก็บดอกเห็ดไม่หมด มีโคนเห็ดคาปากถุงทำให้แมลงหวี่บินมาตอมและหยอดไข่ได้ 11. หนอนผีเสื้อกลางวันหรือหนอนกินเห็ด (Caterpillar eat mushrooms) จะหยอดไข่แล้วเกิดเป็นตัวหนอน กัดกินขี้เลื่อยเป็นรูพรุน ทำให้เส้นใยขาดและชักใยหน้าก้อนเป็นขุย ทำลายตุ่มดอกเห็ด 12. ด้วงเจาะเห็ด (Beetles drill mushrooms) จะดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ดอกเห็ด ทำให้ดอกเห็ดแห้ง ขอบดอกม้วนงอ นอกจากนี้ยังพบศัตรูเห็ดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ดอีกหลายชนิด อาทิเช่น ปลวก หอยทาก ไส้เดือนฝอย กบ เขียด เป็นต้น ซึ่งการระบาดของศัตรูเหล่านี้จะแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ เกษตรกรท่านใดสนใจ สงสัยสามารถสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 , www.ekbiotechagro.blogspot.com (ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์ (วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ป้องกันควบคุมกินูนหลวงแมลงทำลายพืชผักแบบง่ายปลอดภัยต่อผู้บริโภค

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้คัดกรองและพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับแมลงนูนหลวงเข้าทำลายผลิตภัณฑ์เกษตรลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช สำหรับแมลงนูนหลวง ( Sugar white Grub ) หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนามแมลงกินูน Lepidiota stigma Fabricius เป็นอีกหนึ่งแมลงศัตรูพืชในหลายๆชนิด ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะทำลายกัดกินบริเวณ รากใบพืช ทำให้ต้นเหี่ยวแห้งตาย เนื่องจากรากถูกกัดขาด พื้นที่ที่พบการระบาดส่วนมากจะเป็นดินทรายซึ่งจะระบาดในที่ดอนมากกว่าในที่ลุ่ม ไข่ของแมลงชนิดนี้กว้างประมาณ 4 ม.ม. ไข่ฟักตัว 15 - 28 วัน จากนั้นไข่จะพัฒนาเป็นตัวหนอนและมีการลอกคราบ 3 ครั้ง หนอนโตเต็มที่มีขนาดกว้าง 20 - 25 ม.ม. ยาว 65 - 70 ม.ม. ส่วนกะโหลกกว้าง 10 ม.ม. หนอนจะมีอายุ 8 - 9 เดือน จากนั้นจะเป็นดักแด้ประมาณ 2 เดือน แต่ก่อนที่หนอนเข้าดักแด้นั้นจะมุดตัวลงในดินลึก 30 - 60 ซม.ส่วนตัวเต็มวัยจะเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาด 15 - 20 ม.ม. ยาว 32 - 40 ม.ม. ส่วนท้ายของปีกมีจุดสีขาวด้านละจุด ตัวผู้มีสีน้ำตาลดำตลอดลำตัว ส่วนตัวเมียมีสีน้ำตาลปนเทาสีอ่อนกว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยเมื่อออกจากดักแด้ตอนพลบค่ำจะบินวนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยตัวเมียจะใช้ขาเกาะกิ่งไม้ ส่วนตัวผู้ขณะผสมพันธุ์จะห้อยหัวลงทิ้งดิ่งประมาณ 15-30 นาทีแล้วแยกจากกัน ต่อจากนั้นประมาณ 14 - 25 วัน ตัวเมียจึงเริ่มวางไข่ในดินลึกประมาณ 15 ซม. ติดต่อกัน 5 - 6 วัน ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 15 - 28 ฟอง วิธีป้องกันควบคุมแมลงนูนหลวง ควรใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกันจะผลดีที่สุด 1. ก่อนปลูกพืชรุ่นใหม่ควรไถพรวนหลายๆ ครั้ง เพื่อให้นกช่วยทำลายไข่ หนอน ดักแด้ 2. จับตัวเต็มวัยมาประกอบเป็นอาหาร ประหยัดและได้ผลมากที่สุด เนื่องจากแมลงนูนออกเป็นตัวเต็มวัยปีละครั้งในช่วงฝนแรก ประมาณเดือนเมษายน - มิถุนายน การจับตัวเต็มวัยที่เพิ่งออกจากดักแด้ไม่ควรเกิน 10 วันแรกของการเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นช่วงที่ผสมพันธุ์แล้วแต่ยังไม่วางไข่ * สำหรับวิธีจับให้ใช้ไม้ตีตามกิ่ง หรือเขย่าให้ตกลงมาขณะที่กำลังผสมพันธุ์ ใช้เวลาจับประมาณวันละ 30 นาที โดยเริ่มจากเวลา 18.30-19.00 น. และจับต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 เดือน จะช่วยลดการระบาดของแมลงนูนในปีถัดไป 3. ให้ใช้สมุนไพรที่มีรสขม อย่างเช่น สะเดา ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ฉีดพ่นเพื่อช่วยยับยั้งการเข้าทำลายของแมลงดังกล่าว สำหรับในการแนะนำให้ฉีดพ่นด้วยผงสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปที่มีส่วนประกอบของฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน กานพลู ตะไคร้หอม หัวไพล ซึ่งจะช่วยป้องกันยับยั้งการเข้าทำลายของแมลง ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ในอัตรา 250 กรัมต่อ 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ตามลำดับ ** ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ปุ๋ย ทุกครั้งแนะนำให้ผสมน้ำยาจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) และปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค ทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือดูดซับสะสารได้ดียิ่งขึ้น สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือwww.ekbiotechagro.blogspot.com ( ศูนย์บริการคลินิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา