วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

หยุดวงจร ! แพร่ระบาดของแมลง หนอน ศัตรูในนาข้าว

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า –ใหม่ทุกๆ ท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่าน วันนี้ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อชาวนาที่กำลังประสบปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ ที่ต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบแมลงศัตรูข้าว ปกติแล้วในนาข้าวจะมีศัตรูธรรมชาติจำพวกแมลง แมงมุม โรคแมลงต่างๆ คอยจัดการควบคุมทำลายแมลงศัตรูข้าว ให้จำนวนประชากรแมลงศัตรูอยู่ในระดับสมดุล ไม่ทำลายข้าวให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะนาข้าวที่ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคแมลง จะทำให้แมลงดังกล่าวสามารถเจริญพันธุ์ต่อไปได้ หากปราศจากแมลงเหล่านี้แล้ว แมลงศัตรูข้าวก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำความเสียหายให้แก่ข้าวในนาได้อย่างมาก สำหรับแมลงศัตรูข้าวที่พบเจอในแปลงนาเกษตรกรทั่วไป ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว บั่ว หนอนกอแถบลาย หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลายสีม่วง หนอนกระทู้กล้า หนอนห่อใบข้าว แมลงสิง เป็นต้น แนวทางควบคุมป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูในนาข้าว 1.ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคแมลง 2.การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลงกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค แมลงศัตรู การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสมดุลของธาตุอาหาร การจัดการน้ำเพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี สมบูรณ์แข็งแรง 3.จัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค แมลงศัตรู อย่างเช่น การกำจัดวัชพืช เศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาวหว่าน 4.รักษาสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน ศัตรูธรรมชาติเพื่อช่วยควบคุมปริมาณแมลงศัตรู 5.ใช้จุลินทรีย์ร่วมกับสมุนไพรป้องกันกำจัดควบคุมวงจรการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูข้าว โดยเฉพาะสภาวะปัจจุบันพบว่ามีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและพื้นที่ใกล้เคียงนำความเสียหายมาสู่เกษตรกรเป็นอย่างมาก และเพลี้ยชนิดดังกล่าวทำให้เกิดอาการฮอพเพอร์เบิร์น( Hopper burn) นั้นคือ อาการข้าวเหลืองคล้ายน้ำร้อนลวก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดมากับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ชาวนามักเรียกว่า “ไอ้จู๋” เขียวเตี้ย ออกรวงไม่พ้นใบ เมล็ดข้าวลีบไม่มีแป้งและแห้งตายไปในที่สุด สำหรับการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นแนะนำให้เกษตรกรใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ซึ่งภายในประกอบด้วยเชื้อราบิวเวอร์เรียและเชื้อราเมธาไรเซียม ตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยให้ใช้ในอัตรา 500 กรัม ผสมร่วมกับสารสกัดสะเดา (มาร์โก้ซีด) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการกัดกินทำลายของหนอน แมลง โดยให้ใช้ในอัตรา 200 ซีซี.ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตร ทุกๆ 3 - 5 วัน/ครั้ง (รุนแรง) หากควบคุมการระบาดนั้นให้เว้นระยะห่าง 20 วัน/ครั้ง หรืออาจฉีดพ่นสลับกับสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปเพื่อขับไล่แมลง ในอัตรา 100 กรัม/น้ำ 200 ลิตร (ผสมรวมกันก็ได้) นอกจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแล้ว จุลินทรีย์ทริปโตฝาจสามารถป้องกันกำจัดและควบคุมวงจรแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ อย่างเช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกอข้าว หนอนกระทู้กล้า หนอนปลอก หนอนกระทู้คอรวง หนอนม้วนใบข้าว แมลงสิง บั่ว แมลงหล่า แมลงดำหนาม ได้อีกด้วย ส่วนเกษตรกรท่านใดสนใจต้องการสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 , www.ekbiotechagro.blogspot.com ( ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

โรคและแมลงศัตรูยางพารา ตอนที่ 2 ใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf )

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ ที่ต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช สำหรับใบจุดก้างปลาหรือโรคใบจุดก้างปลานั้นเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Corynespora cassiicola (Burk. & Curt.) Wei. เบื้องต้นใบอ่อนจะเริ่มแสดงอาการเป็นแผลจุดกลม ขอบแผลสีน้ำตาลดำ กลางแผลสีซีดหรือเทา ถ้ารุนแรงใบจะบิดงอและร่วง ระยะใบเพสลาดแผลจะกลมทึบสีน้ำตาลหรือดำ ขอบแผลสีเหลืองและขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ ทำให้แผลมีลักษณะคล้ายก้างปลา เนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลมีสีเหลืองแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบร่วงในที่สุด หากเชื้อเข้าทำลายส่วนของก้านใบ กิ่งแขนงและลำต้นที่เป็นสีเขียว บาดแผลจะมีสีดำยาวรี เนื้อเยื่อตรงกลางแผลบุ๋มลง ถ้าอากาศเหมาะสมจะขยายลุกลามทำให้กิ่งและต้นตาย เชื้อราสาเหตุโรคแห้งชนิดนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายโดยลมหรือฝนและอาการเริ่มระบาดรุนแรงในสภาวะร้อนชื้น วิธีควบคุมป้องกันกำจัด 1.ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชแซมในสวนยางพารา อย่างเช่น งา ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฝ้าย ยาสูบ มะละกอ แตงโม มะเขือเทศ ผักกาดหอม สะระแหน่ ฟักเขียว หญ้ายาง พืชคลุมตระกูลถั่ว ฯลฯ 2.หากมีความจำเป็นต้องปลูกพืชแซมในสวนยางพาราเพื่อสร้างรายได้ ช่วง 1-3 ปีแรก ก่อนปลูกกล้ายางพาราใหม่ให้ไถ่แปรปรับปรุงสภาพดินด้วยหินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ซัลเฟต ,พูมิชซัลเฟอร์) เนื่องจากในหินแร่ภูไฟมีส่วนประกอบของซิลิก้า (H4SiO4) ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ป้องกันการเข้าทำลายของโรคศัตรูดังกล่าว ในการปรับปรุงสภาพดินนั้นควรใช้อย่างน้อย 20-40 กก.ต่อไร่ 3.ก่อนปลูกกล้ายางพาราใหม่ทุกครั้งควรใช้หินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ซัลเฟต ,พูมิชซัลเฟอร์) ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด) และเชื้อไตรโคเดอร์ม่า อัตรา 20 กก.ต่อ 50 กก. ต่อ 1 กก. ตามลำดับ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่รองก้นหลุมก่อนลงปลูกกล้ายาง หลุมละ 300 -500 กรัม 4.กรณีต้นยางพาราปลูกแล้วแต่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์ด้วยฟังก์กัสเคลียร์ 25 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนทำการฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อหมักขยายบาซิลลัส - พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 5 กรัม+น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตรหรือสอบถามรายละเอียดวิธีการหมักได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ) ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 5-7 วันครั้ง เมื่อเริ่มพบอาการของโรคดังกล่าว 5.กรณีต้นยางพาราโตที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่สามารถฉีดพ่นยา ฮอร์โมนได้หรือแต่ไม่ทั่วถึงนั้น ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 ช้อนแกง ( 20 กรัม) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 8 -10 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 5-7 วันครั้ง หรืออาจจะกระทำร่วมกับข้อที่ 3 โดยเปลี่ยนจากรองก้นหลุมมาเป็นหว่านรอบทรงพุ่มแทน อัตราต้นละ 1-2 กก.ตามขนาดอายุของต้น สำหรับการฉีดพ่นยา ฮอร์โมนหรือปุ๋ยนั้นควรมีการปรับสภาพน้ำด้วย ซิลิซิค แอซิค อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรร่วมกับสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 , www.ekbiotechagro.blogspot.com (ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์ (วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา