วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ใช้แร่ม้อนท์ผสมวัสดุเพาะแทนการฉีดพ่นฮอร์โมนกระตุ้นดอกเห็ด

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับแร่ม้อนท์หรือม้อนท์โมริโลไนท์(Montmorilonite)กันก่อน ม้อนท์หรือแร่ม้อนท์ก็คือกลุ่มของเถ้าของภูเขาไฟ ที่เกิดการระเบิดขึ้นมาจากปล่องภูเขาไฟท่ามกลางลาวา และถูกผลักดันจนลอยขึ้นระเบิดกลางอากาศ โดยจะระเบิด 1-2 หรือ 3 ครั้ง ซึ่งการระเบิดดังกล่าวนี้ทำให้เกิดรูพรุนและโปร่งเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล หากท่านใดเคยดูสารคดีที่ถ่ายทำการระเบิดของภูเขาไฟ จะเห็นว่าตอนที่ระเบิดมีลาวาสีแดงไหลออกมา และมีฝุ่นละอองสีดำ-เทา ที่พวยพุ่งออกด้วย นั้นคือกลุ่มของแร่ม้อนท์ ซึ่งในแร่ม้อนท์จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เทรซซิลิเม้นท์ต่างๆ สามารถดูดซับและเพิ่มความชุ่มชื้น เร่งการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับนำมาผสมก้อนเชื้อเห็ดอย่างมาก การนำแร่ม้อนท์มาใช้เป็นวัสดุสำหรับการเพาะเห็ด ส่วนใหญ่จะนิยมในกลุ่มผู้เพาะเห็ดถุงมากกว่าเห็ดฟาง โดยใช้ในอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อวัสดุเพาะ 100 กิโลกรัม ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตและยืดอายุการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดได้ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ จากการสัมภาษณ์พูดคุยทางโทรศัพท์กับคุณศิริวรรณ หนูริน หรือพี่วรรณ เจ้าของศิริวรรณฟาร์มเห็ด (083-3896281) ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับผลผลิตก่อนและหลังนำแร่ม้อนท์มาผสมวัสดุเพาะเห็ด ความว่า ก่อนหน้านี้ใช้ฮอร์โมนเห็ดฉีดพ่นทุกๆ 3-4 วันครั้ง สามารถเก็บดอกเห็ดได้เฉลี่ยวันละ 5-7 กิโลกรัมต่อเห็ด 3,000 ก้อน แต่พอมาใช้แร่ม้อนท์ผสมวัสดุเพาะพบว่าสามารถเก็บดอกเห็ดได้เฉลี่ยวันละ 7-10กิโลกรัมต่อเห็ด 3,000ก้อน การจัดการง่ายขึ้นไม่ต้องคอยฉีดพ่นฮอร์โมนทุกๆ 4 วัน ที่สำคัญสามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานกว่า

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แก้ใบจุดมะละกอแบบง่ายๆ สไตส์ปลอดสารพิษ

อาการใบจุดในมะละกอเกิดจากเชื้อราชื่อ Cercospora papayae และ Corynespora sp. ซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นได้ 2 กรณี ต่อไปนี้ 1.ทางใบ เกิดจากเชื้อรา Cercospora papayae จะเป็นจุดสีขาวอมเทาเป็นวงๆ มีรูปร่างไม่แน่นอน ใบที่เป็นโรคมากๆ จะเหลืองและแห้งตาย ถ้าเกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. จะเป็นจุดสีขาวกระจัดกระจายบนใบ ใบซีดเหลืองและร่วง 2.ทางผล ที่เป็นโรคนี้จะเกิดจุดเล็ก ๆ มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีสีดำและจะขยายตัวกว้างออก เนื้อเยื่อใต้ผิวของผลจะมีลักษณะแข็ง แต่ไม่มีการเน่าเกิดขึ้น แนวทางควบคุมป้องกัน 1.เก็บผล ใบแห้งที่ร่วงหล่นทำลายทิ้ง โดยการฝังกลบเพื่อตัดต้นตอการระบาดของเชื้อโรค 2.ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดแซนโธไนท์ 10 ซีซี.+กับฟังกัสเคลียร์10 กรัม ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตรก่อนฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ( 1 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร ) หรือเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 10 กรัม + ไข่ไก่ 10 + น้ำเปล่า 30 ลิตร + เสม็คไทต์ 1 กิโล(จับกลิ่น ก๊าซไข่เน่า) + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากัน ให้ออกซิเจนแบตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร ) ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 3-5วัน/ครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ให้เติมซิลิซิค แอซิค 50 กรัม + ซิลิโคเทรซ 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตรก่อนผสมทุกครั้ง 3.ให้นำภูไมท์ซัลเฟตหรือพูมิชซัลเฟอร์ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (100 กก.) หรือปุ๋ยเคมี (50 กก.) ตามลำดับ เป็นปุ๋ยละลายช้าใส่ทางดินหรือใส่ถังละลายน้ำ อัตรา 20 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน 15 นาที ก่อนนำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ (ภูไมท์ซัลเฟตหรือพูมิชซัลเฟอร์ 20 กก.สามารถผสมน้ำซ้ำได้ 2 -3 ครั้ง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต 4.สำหรับต้นกล้ามะละกอที่กำลังจะลงปลูกใหม่นั้นแนะนำให้รองก้นหลุมด้วยภูไมท์ซัลเฟต หรือพูมิชซัลเฟอร์(20 กก.) ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ม่า (1 กก.)และปุ๋ยอินทรีย์ (50 กก.) คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนแบ่งใส่รองก้นหลุมๆ ละ 200 – 300 กรัม ( 2 กำมือ) ก่อนนำต้นกล้ามะละกอลงปลูกทุกครั้ง เกษตรกรท่านใดสนใจต้องการสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ คุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือผ่าน Email:accs.thai@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ไวรัสด่างวงแหวนมะละกอแก้ง่ายไม่ต้องใช้เคมีอันตราย

โรคด่างวงแหวนมะละกอ เกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ringspot virus(PRV) ซึ่งเชื้อดังกล่าวจะเข้าทำลายทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอและแสดงอาการให้เห็นในภายหลังดังต่อไปนี้ 1.ต้นกล้า เชื้อเข้าทำลายจะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบ จะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย 2.ผล อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็น รุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้โดยเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ อย่างเช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่เป็นพาหะสำคัญของการแพร่ระบาดในโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง แล้วบินย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายทอดเชื้อไวรัสโรคนี้ในเวลาสั้นๆ ประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้แล้ว ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น แนวทางควบคุมป้องกัน 1.ตัดแต่งใบส่วนที่เป็นโรคออกประมาณ 30 -50 เปอร์เซ็นต์ เว้นใบบางส่วนให้พืชได้สังเคราะห์แสง 2.เก็บผล ใบแห้งและกำจัดวัชพืชออกทำลายนอกแปลงโดยการฝังกลบ ช่วยลดปริมาณแหล่งที่อยู่อาศัยของเพลี้ยและแมลงเจาะดูด เป็นต้น 3.สร้างแนวพืชกันภัยไว้เหนือลมหรือรอบๆแปลงเป็นกับดักล่อแมลง เพลี้ยต่างๆ ลดการปะทะโดยตรง เช่น ข้าวโพด ถั่ว กล้วย และพืชใบอ่อน เป็นต้น 4.ให้ฉีดพ่นสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ 500 กรัม + สารสกัดไพเรี่ยม 250 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ให้ชุ่มโชก ทุก ๆ 7 -10 วันครั้ง เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยและแมลงพาหะนำโรค 5.ให้ใช้วิธีการบำรุงรักษาทั้งทางดินและทางใบ พร้อมๆกันเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น วิธีควบคุมป้องกันทางดิน -นำภูไมท์ซัลเฟต โรยรอบโคนต้นๆละ 200-300 กรัม ( 2-3 กำมือ) ทุกๆ 1 เดือน เป็นไปได้ควรนำภูไมท์ซัลเฟตผสมร่วมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและเชื้อไตรโครเดอร์ม่า อัตรา 20 /50 /1 กก. ตามลำดับ รองก้นหลุม ๆ ละ50กรัม (1/2 กำมือ) ก่อนปลูกมะละกอ) -ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมงก่อนนำมาผสมน้ำหรือน้ำที่ละลายภูไมท์ซัลเฟต อัตรา 200 ลิตร + จุลินทรีย์หน่อกล้วย 400 ซีซี.+โพแทสเซียมฮิวเมท 30 กรัมแล้วราดรดบริเวณโคนต้นๆละ 2 -5 ลิตรขึ้นอยู่กับขนาดของต้นทุก ๆ 15- 20 วันครั้ง หรืออาจจะปล่อยผ่านท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ก็ได้ วันละ10 -15 นาที วิธีควบคุมป้องกันทางใบ -ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำหรือน้ำที่ละลายภูไมท์ซัลเฟต (ภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร ปล่อยให้ตกตะกอน 15 -20 นาที ) 200 ลิตร +ไคโตซาน MT 50 ซีซี. + ซิลิโคเทรช 100 กรัม + ม้อยเจอร์แพล้น 20 ซีซี. ก่อนนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุก ๆ 7 -15 วัน

ยับยั้ง ! ทะลายเน่าปาล์มน้ำมันแบบปลอดสารพิษไม่ใช้เคมีอันตราย

อาการทะลายเน่าในปาล์มน้ำมันนั้นเกิดจากเชื้อรา Marasmius palmivorusซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นในระยะแรกคือจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบนทะลายปาล์ม เส้นใยเจริญอยู่บริเวณช่องระหว่างผลปาล์มน้ำมัน โคนทะลายที่ติดทางใบต่อมาเส้นใยขึ้นปกคลุมทะลายทำให้ผลเน่าเป็นสีน้ำตาล แห้ง มีเชื้อราชนิดอื่นๆ เข้าทำลายต่อภายหลัง ในแปลงที่ไม่มีการกำจัดทะลายที่แสดงอาการเน่าออกจากต้น เชื้อราดังกล่าวจะกระจายไปยังทะลายใกล้เคียงตลอดจนโคนทาง ก้านทาง และใบย่อย สำหรับการระบาดนั้นส่วนใหญ่จะแพร่กระจายสปอร์โดยลม การควบคุมป้องกันโรค 1.หลีกเลี่ยงการไว้ทะลายปริมาณมาก ช่วงต้นปาล์มน้ำมันกำลังเจริญเติบโตให้ผลผลิตระยะแรก โดยให้ตัดช่อดอก(ทะลาย)ทิ้ง หรือช่วยผสมเกสรช่วงที่มีเกสรตัวผู้หรือแมลงช่วยผสมน้อย และควรตัดทะลายที่ผสมเกสรไม่สมบูรณ์ออกให้หมด ตลอดจนการตัดแต่งก้านทางใบให้สั้นลงเป็นการลดความชื้นที่คอทาง 2.ฉีดพ่นกำจัดสปอร์เชื้อราด้วยสารจุนสี (ฟังกัสเคลียร์) 20 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ใบ ผล ลำต้น โดยเฉพาะบริเวณทะลายที่พบเชื้อสาเหตุให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 4 -5 วันครั้ง(รุนแรง) 3.ให้ฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก. ผสมต่อน้ำ 200 ลิตร หรืออาจจะนำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 20 กรัม ( 1 ช้อนแกง) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 -8 ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำเพิ่มให้ครบ 200 ลิตรทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ แบบเดียวกับข้อ 2 โดยให้กระทำทุกๆ 7 วันครั้ง(รุนแรง) 4.กรณีฉีดพ่นเพื่อควบคุมการระบาดให้กระทำทุกๆ 20 วันครั้ง หรือหลังจากตัดเก็บทะลาย โดยให้ฉีดพ่นสลับระหว่างข้อ 2 และข้อ 3 ครั้งต่อครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ทุกครั้งให้ปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค 50 กรัม ร่วมกับสารจับใบ(ม้อยเจอร์แพล้นท์) 50 ซี.ซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมฉีดพ่น เกษตรกรท่านใดต้องการสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเอกรินทร์(วัชนะ)ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯโทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email :accs.thai@gmail.com

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แอนแทรคโนสมะละกอ แก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเคมี

มะละกอ(Papaya)เป็นไม้ผลเมืองร้อนที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกากลาง บริเวณประเทศเม็กซิโกตอนใต้และคอสตาริกา จากนั้นก็ค่อย ๆ แพร่กระจายไปยังทวีปต่าง ๆ แหล่งผลิตมะละกอที่สำคัญของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย ศรีลังกา ฮินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น มะละกอเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว ตลอดทั้งปี ส่วนต่างๆ ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย อาทิเช่น ผลสุก นำมาบริโภคจะได้คุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วย วิตามินเอ, บี, ซี, ธาตุเหล็ก,แคลเซียม และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีนช่วยต้านมะเร็ง มีเส้นใยอาหารช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ยางมะละกอ ก็ยังนำมาใช้ในการช่วยย่อยโปรตีน เพราะในยางมะละกอมีน้ำย่อยที่เรียกว่า papain ทั้งยังช่วยเรื่องของปรุงอาหาร เช่น หมักเนื้อให้มีความนุ่ม และยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น เนื้อกระป๋อง ปลากระป๋อง การฟอกหนัง เป็นต้น ยอดและลำต้น ก็นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังนำส่วนต่างๆ มาใช้เป็นยา เช่น ต้นมะละกอใช้เป็นยาช่วยขับประจำเดือน ลดไข้ ดอกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รากแก้กลากเกลื้อน และยาง ยังช่วยกัดแผนตาปลาและหูด ฆ่าพยาธิ เป็นต้น สำหรับแอนแทรคโนส (Anthracnose) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioidesจะแสดงอาการให้เห็นดังนี้ 1.ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง ขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา และมักพบจุดดำเล็กๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ซึ่งคือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา (สปอร์) 2.ผล จะเห็นเด่นชัดเมื่อเกิดกับผลสุก เป็นแผลกลมฉ่ำน้ำยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพูขึ้นฟูเป็นวงชั้นๆ บริเวณแผลและลุกลามขยายวงกว้างออกไป ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว มีความชื้นสูง เชื้อดังกล่าวจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อนและฟักตัวไม่แสดงอาการของโรค แต่จะปรากฏอาการของโรคให้เห็นเมื่อผลมะละกอสุก ส่วนการแพร่ระบาดเชื้อราดังกล่าวจะแพร่กระจายจากแหล่งเพาะเชื้อนั้นคือผล สู่กิ่งก้าน โดยลม ฝน และเข้าทำลายผลอ่อน โดยสปอร์ของเชื้อจะงอกแทงเข้าสู่ผิวผลได้โดยไม่ต้องมีบาดแผลเกิดขึ้น และเจริญฟักตัวอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณใต้ส่วนผิวผลมะละกอ จนผลเริ่มสุกจึงจะเกิดอาการของโรคให้เห็น แนวทางควบคุมป้องกัน 1.เก็บผล ใบแห้งที่ร่วงหล่นทำลายทิ้ง โดยการฝังกลบเพื่อตัดต้นตอการระบาดของเชื้อโรค 2.ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดแซนโธไนท์ 10 ซีซี./ร่วมกับฟังกัสเคลียร์ 15 กรัม/น้ำเปล่า 200 ลิตรก่อนฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว(เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 10กรัม +ไข่ไก่ 10+น้ำเปล่า 30ลิตร +เสม็คไทต์ 2กิโลกรัม(จับกลิ่น ก๊าซไข่เน่า) + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากัน ให้ออกซิเจนแบบตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร )ทั้งบนใบใต้ใบ ผล ลำต้นให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 3–5วันครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ให้เติมซิลิซิค แอซิค 50 กรัม + ซิลิโคเทรซ 50 กรัม/น้ำเปล่า 200 ลิตรก่อนผสมทุกครั้ง 3.ให้ใช้ภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟต (20กก.)ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (100กก.)ปุ๋ยเคมี (50กก.)เป็นปุ๋ยละลายช้าใส่ทางดินหรือใช้ภูไมท์ซัลเฟตใส่ถังละลายน้ำ 20 กก.น้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน 15 นาที ก่อนนำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ (ภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.สามารถผสมน้ำซ้ำได้ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต 4.สำหรับกล้ามะละกอที่กำลังจะลงปลูกใหม่นั้นแนะนำให้รองก้นหลุมด้วยภูไมท์ซัลเฟต หรือพูมิชซัลเฟอร์(20 กก.) ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ม่า (1 กก.)และปุ๋ยอินทรีย์ (50 กก.)คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนแบ่งใส่รองก้นหลุมๆ ละ 200–300กรัม 2กำมือ) ก่อนนำต้นกล้ามะละกอลงปลูกทุกครั้ง สอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128