วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

ป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเซียริดหรือแมลงหวี่ปีกดำศัตรูเห็ด

หนอนแมลงวันเซียริดหรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ ส่วนหัวจะมีจุดสีดำเล็กๆ เห็นได้ชัดเจน มีลำตัวสีขาวอมส้มอ่อนๆ ยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว กินจุ ประมาณ 10 วันก็เริ่มเข้าดักแด้ ช่วงแรกๆ จะเป็นสีขาวแล้วค่อยๆ เข้มจนเป็นสีดำ ก่อนจะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยที่มีลักษณะมีสีดำโดยเฉพาะที่ปีก ลำตัวมีขนาด 2-3 มิลลิเมตร ช่วงท้องแคบ ตัวเต็มวัยจะไม่ทำลายกัดกินเห็ดแต่อย่างใด วงจรชีวิตตั้งแต่วางไข่จนพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 25-30วัน ผ่านมาพบระบาดนำความเสียหายมาสู่ประเทศไทยประมาณ 30%โดยพบในเห็ดหูหนูที่เพาะด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ อ.แกลง จ.ระยอง ทำให้ดอกเห็ดเสียหาย คุณภาพลดลงและราคาก็ลดต่ำลงจากเดิมกว่า 70% และต่อมาพบในเห็ดแชมปิญองที่จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ เสียหายทำให้ผลผลิตลดลง 26-40% การเข้าทำลายส่วนใหญ่ มักพบในเห็ดหูหนู เห็ดแชมปิญอง เห็ดนางรม และเห็ดที่เพาะในถุงพลาสติกโดยทั่วไป ซึ่งจะพบหนอนแมลงวันดังกล่าวนี้ระบาดเกือบตลอดปีโดยเฉพาะเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ในระยะเห็ดออกดอกก็จะพบเห็นตัวเต็มวัยประมาณ 5-10 % บินวนไป-มาอยู่เสมอๆ อีกประมาณ 70 % กำลังฟักออกจากดักแด้ในช่วงเช้าของทุกวัน จากนั้นจะเกาะตามผนังและมุมอับของโรงเรือน การควบคุมป้องกันกำจัดต้องคอยหมั่นดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเห็ดที่เพาะอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการป้องกันมากกว่าการกำจัด ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการแมลงวันดังกล่าวดังต่อไปนี้ 1.ทำความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ดหรือหากเป็นโรงเรือนเก่าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรว่างเว้น พักทำความสะอาด กำจัดแมลง ไรและเชื้อรา 2.คัดเลือกเชื้อพันธุ์เห็ดหรือก้อนเชื้อเห็ดจากแหล่งผลิตที่ไม่มีประวัติการระบาดทำลายของแมลงวันศัตรูเห็ดมาก่อน หากไม่ทราบแหล่งที่มาของถุงก้อนเชื้อเห็ด ในขณะที่เส้นใยเห็ดเดินมากกว่า 25 % หรือก่อนเปิดดอกควรฉีดพ่น ด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์บ ซึ่งมีขมิ้นชัน,ฟ้าทะลายโจร,ตะไคร้หอมเป็นส่วนผสม ในอัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ตรงก้อนและบริเวณรอบๆ ที่บ่มก้อนเชื้อ 3.ก่อนนำเข้าเปิดดอกในโรงเรือนควรคัดทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดที่แสดงอาการเข้าทำลายของแมลง โรค เชื้อราและไร หรือหากไม่แน่ใจควรแยกกองไว้ต่างหาก 4.ติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองจำนวน 8-10 จุดต่อโรงเรือน แขวนสูงจากพื้นโรงเรือน 1.50-1.80 เมตร ซึ่งไม่ขวางหรือเกะกะการเข้าปฏิบัติงานและควรเปลี่ยนกับดักกาวเหนียว เมื่อพบว่ามีตัวแมลงมาติดจนเต็มหรือประมาณ 45-60 วันครั้ง 5.ช่วงเปิดดอกหากพบมีการระบาดของหนอนรุนแรงให้ใช้เชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส หมักขยายเชื้อด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน (วิธีตามฉลากข้างกระป๋อง) นาน 24-48ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นทั่วทั้งก้อนแต่ไม่แฉะเกินไป 1-2 วันครั้ง ติดต่อกัน 3ครั้ง จะช่วยลดปัญหาได้ถึง 80 -90 % ลดความเสียหายของผลผลิตได้เป็นอย่างดี 6.ช่วงเก็บดอกหากพบแมลงวันบินไป-มามากผิดปกติ ให้ฉีดพ่นด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์บรอบๆ โรงเรียนเว้นระยะประมาณ 4-5 วันครั้ง และเพิ่มจำนวนกับดักกาวเหนียวเหลืองเป็น 16-20 จุดต่อโรงเรือน และควรแขวนไว้ใกล้ๆ มุมอับ เนื่องจากตัวเต็มวัยของแมลงวันชอบเกาะอยู่ที่มุมอับของโรงเรือน 7.เมื่อสิ้นสุดการเก็บดอกเห็ดแล้ว ถุงก้อนเชื้อเห็ดที่พบการทำลายของหนอนแมลงวันควรทำการฝังหรือเผาทิ้ง เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง เชื้อโรคและไรศัตรูเห็ด ไมให้แพร่กระจายเข้าสู่โรงเรือนเพาะเห็ดข้างเคียงต่อไป 8.การพักโรงเรือนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นในระหว่างพักโรงเรือน เปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 5-7 วัน จากนั้นทำความสะอาดด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์ อัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร หรือผงซักฟอก เมื่อแห้งแล้วจึงปิดโรงเรือน 7-10 วัน แล้วฉีดพ่นด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์ปร่วมกับบาซิลลัส –พลายแก้ว (กำจัดรา)และบาซิลลัส-ไมโตฟากัส (กำจัดไรเห็ด) ให้ทั่วทั้งโรงเรือน 3-5 วันครั้ง ติดต่อกัน 2 ครั้ง ก่อนจะนำก้อนเชื้อเห็ดรุ่นใหม่เข้าเปิดดอกต่อไป พี่น้องเกษตรกรท่านใดที่กำลังเพาะเห็ดอยู่ แล้วมีปัญหาแมลงวันหรือแมลงหวี่รบกวน แก้ปัญหาไม่ตก สามารถโทรศัพท์ปรึกษาได้ที่คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (081-3983128)

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

การป้องกันรักษาหน้ายางเปิดกรีดช่วงฝนชุก

ทุกวันนี้ในพื้นที่ภาคใต้ทั้งฝั่งตะวันออกฝั่งตะวันตก จะเป็นช่วงเช้าหรือบ่าย จะเป็นคนหรือต้นยางพาราก็แทบไม่มีโอกาสได้รับแสงตะวัน และคิดว่าน่าจะไม่มีแสงแดดแน่นอนในวันนี้นอกจากสายฝนที่โปรยปรายลงมาเรื่อยๆ สภาพอากาศแบบนี้ หากติดต่อกัน 3 -4 วัน และในแต่ละวันมีแสงแดดให้แก่สวนยางพาราน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ก็จะส่งผลให้ความชื้นในสวนยางพารามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะเหมาะแก่การเจริญเติบโตแพร่กระจายของเชื้อราที่จะทำให้เกิดโรคต่อยางพารา อาทิเช่น โรคใบร่วงและฝักเน่าฟัยท็อปเทอร่า โรคเปลือกเน่า โรคเส้นดำ ยืนต้นตาย ฯลฯ สำหรับวันนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะโรคที่จะเกิดบริเวณหน้ายางกรีด นั้นคือ โรคเปลือกเน่าและโรคเส้นดำ ชาวสวนควรหยุดกรีดยางในช่วงฝนตกชุกที่ตกติดต่อกันหลายๆ วัน จนสิ้นฤดูฝนโดยเฉพาะสวนยางพาราที่เพิ่งเปิดกรีดในระยะ 1-3 ปีแรก ต้องให้ความสำคัญให้มากเพราะมีโอกาสที่หน้ายางกรีดจะเน่าเปื่อยได้ง่ายกว่ายางพาราที่มีอายุการกรีดมาก โดยก่อนหยุดกรีดยางก็ควรฉีดพ่นด้วยฟังก์กัสเคลียร์หรือทาหน้ายางด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า ซึ่งพอสรุปแนวทางการดูแลสวนยางพาราช่วงหน้าฝนได้ดังต่อไปนี้ 1.จัดการสวนยางพาราให้โล่งหรือโปร่งเพื่อระบายความชื้นในสวนยางให้ลดลง 2.กรณีฝนตกไม่ชุก พอจะกรีดยางได้ ให้ฉีดพ่นฟังก์กัสเคลียร์ อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร หรือทาหน้ายางด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่าผสมน้ำพอเหลว โดยควรฉีดพ่นหรือทาภายในระยะเวลาที่ไม่เกิน 12 ชั่วโมงหลังกรีดเสร็จเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หากไม่สามารถทำได้ ให้ฉีดพ่นหรือทาหน้ายางสัปดาห์ครั้งจนหมดช่วงฤดูฝน 3.การใช้มีดกรีดยางก็เช่นเดียวกัน ควรระวังเชื้อราที่จะติดไปกับมีดกรีดยางจากต้นสู่ต้น จึงควรพกภาชนะเล็กๆ แล้วใส่สารละลายฟังก์กัสเคลียร์สำหรับจุ่มมีดฆ่าเชื้อทุกครั้งที่กรีดเสร็จ 1 ต้น 4.หากเชื้อราเข้าทำลายหน้ายางแล้ว ควรเฉือนส่วนที่เป็นโรคออก แล้วฉีดพ่นฟังก์กัสเคลียร์หรือทาด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่าทันที หากเราสังเกตหน้ากรีดในสวนยางพาราโดยทั่วๆ ไป ก็จะพบว่าชาวสวนยางส่วนใหญ่จะใช้เคมีอันตรายป้องกันกำจัดการเข้าทำลายของเชื้อราดังกล่าวนั้นมากกว่าการใช้จุลินทรีย์หรือสารชีวภัณฑ์กำจัด จะเห็นได้จากเป็นแถบสีแดงๆ ที่ติดอยู่เป็นบริเวณหน้ายางซึ่งยาดังกล่าวจะมียาฆ่าเชื้อราผสมอยู่ด้วย ฉะนั้นช่วงหน้าฝนหากสามารถหยุดกรีดยางได้ก็จะเป็นการดี หน้ายางของเราจะปลอดภัยต่อโรคเปลือกเน่าและโรคเส้นดำ ซึ่งการป้องกันกระทำง่ายกว่าการรักษาเยียวยา เพราะฉะนั้นรักษาหน้ายางเอาไว้ค่อยกรีดทำเงินเมื่อพ้นหน้าฝนดีกว่า หากเลี่ยงไม่ได้ก็ให้กรีดหน้ายางวันที่ฝนหยุดตกแล้วปฏิบัติตาม ข้อ 2 ข้างต้น ก็สามารรถช่วยได้ในระดับหนึ่งประมาณ 50 -60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางท่านใดที่ประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นหรือสงสัยต้องการสอบถามปัญหา ขอเอกสารเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (081-3983128)

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

เห็ด : ขอบหมวกดอกหงิก เหี่ยวแห้ง เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อโรคจริงหรือ ?

ลักษณะดังกล่าวเกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ความแปรปรวนของอากาศ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือน นอกจากนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เชื้ออ่อนแอ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป หรืออากาศร้อนจัด เป็นต้น ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคสาเหตุแต่อย่างใด ตามความเข้าใจของผู้เพาะเห็ด ความผิดปกติของดอกเห็ดที่พบโดยทั่วไป เช่น อาการขอบดอกหงิกในเห็ดสกุลนางรม ซึ่งได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน เห็ดนางรมฮังการี และเห็ดเป๋าอื้อ ลักษณะอาการของดอกหงิกที่พบในเห็ดนางรมและเห็ดภูฐานจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน นั้นคือ ดอกเห็ดเกิดเป็นกระจุกๆ ละหลายดอก ประมาณ 5-15 ดอก แต่ละดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1-2 เซนติเมตร บางดอกมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยแต่ไม่เกิน 4 ซม. หมวกดอกไม่บานหรือไม่คลี่ออก ก้านดอกอาจเกิดเดี่ยวหรือติดเป็นเนื้อเดียวกันจากก้านของดอกเห็ด 3-4 ดอก ไม่มีลักษณะของหมวกดอกปกติให้เห็น ขอบหมวกหงิกงอหยักไปมา หรือขอบหมวกม้วนออก ส่วนอีกลักษณะหนึ่งที่พบ คือ มีความผิดปกติที่ก้านซึ่งค่อนข้างยาวบิดเบี้ยวไม่มีหมวกเห็ด หรือก้านดอกเห็ดใหญ่ผิดปกติ หมวกดอกมีลักษณะเป็นกรวยคล้ายปากแตร ดอกเล็กไม่คลี่บาน ส่วนสีของดอกเห็ดนั้นยังคงมีสีขาวหรือสีขาวนวลปกติหรือสีเทาอ่อน สำหรับอาการบนเห็ดเป๋าอื้อ จะแตกต่างกับเห็ดนางรมและเห็ดภูฐาน คือ ก้านดอกจะสั้นผิดปกติ มีลักษณะลีบไม่สมบูรณ์ หมวกดอกมีขนาดเล็กบิดเบี้ยว ดอกไม่คลี่บานออก ในดอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะไม่บานเต็มที่ ขอบดอกหยักโค้งไปมา บางดอกขอบอกม้วนลงหงิกงอ หมวกดอกแตกเป็นติ่งเล็กบนก้านดอกเดียวกัน สีดอกเห็ดมีสีเทาดำทั้งด้านหน้าและด้านหลัง กรณีพบว่าดอกเห็ดในโรงเรือนแสดงอาการหมวกดอกหงิกดังที่กล่าวข้างต้นแนะนำให้แก้ไขปัญหาตามแนวทางต่อไปนี้1.การถ่ายเทอากาศ โรงเรือนที่เพาะเห็ดจะต้องมีช่องระบายอากาศอย่างเพียงพอควรเปิดประตูและหน้าต่างในตอนเช้ามือเพื่อระบายอากาศ และป้องกันการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.แสงสว่าง ตรวจความเข้มของแสงในโรงเพาะให้เพียงพอพอกับการพัฒนาเจริญเติบโตของดอกเห็ด โดยใช้วิธีเปิดช่องหน้าต่างหรือช่องแสง หรือใช้แสงไฟช่วย โดยเฉพาะในช่วงเก็บดอกเห็ดตอนเช้ามือ 3.ความชื้น ควรตรวจตราความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายนอกและภายในโรงเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปความชื้นสัมพันธ์ในระยะเปิดดอกจะอยู่ระหว่าง 80-90 เปอร์เซ็นต์และความชื้นในโรงเพาะจะมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิสูงต่ำของอากาศภายนอกโรงเรือน ดังนั้นในฤดูหนาวที่มีอากาศแห้งความชื้นต่ำ ควรใช้ผ้าพลาสติกบุโรงเรือนด้านในปิดประตูหน้าต่างโรงเรือนไว้ป้องกันความชื้นระเหยให้น้ำวันละ 3 เวลา ก็จะช่วยให้โรงเรือนเปิดดอกมีความชื้นพอเหมาะส่วนในฤดูร้อน อุณหภูมิและอากาศภายนอกโรงเรือนจะสูง การรักษาความชื้นจะกระทำโดยให้น้ำวันละหลายครั้ง รวมทั้งน้ำที่พื้นโรงเรือน ข้างฝา และหลังคา มีการระบายอากาศภายในโรงเรือนก็จะช่วยให้โรงเรือนมีความชื้นได้ตามต้องการ 4.สูตรอาหาร จะต้องเป็นสูตรอาหารที่ได้มาตรฐานมีส่วนประกอบที่เหมาะสมกับความต้องการของเห็ด เพราะการเตรียมวัสดุเพาะผิดไป การย่อยสลายของวัสดุเพาะ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและฟิสิกส์ของวัสดุจะไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้คุณภาพของวัสดุเพาะเห็ดและธาตุอาหารเปลี่ยนแปลงไปด้วย เกษตรกรผู้เพาะเห็ดท่านใด สงสัยต้องการสอบถามหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรติดต่อได้ที่ คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (081-3983128)