วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทริปโตฝาจจุลินทรีย์ควบคุมกำจัดด้วงแรดมะพร้าว

ด้วงแรด ที่พบในแปลงมะพร้าวนั้นจะเข้าทำลายโดยการกัดกินยอดอ่อนมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์มทุกชนิด ซึ่งจะออกหากินในเวลากลางคืนตั้งแต่พลบค่ำถึงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และมักพบบินออกมาเล่นไฟหลังฝนตกใหม่ ในสภาพธรรมชาติที่มีความสมดุลยังไม่พบการระบาด แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักเกิดจากการปล่อยปละละเลยของเกษตรกร ทำให้มีแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงชนิดนี้มีมากขึ้น สำหรับแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงชนิดนี้ได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้นตอมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน ซากทะลายปาล์มน้ำมัน กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว กากเมล็ดกาแฟ กากปาล์มน้ำมัน รวมทั้งซากพืชต่างๆ ที่เน่าเปื่อย โดยเฉพาะตัวเต็มวัยเป็นศัตรูพืชหมายเลขหนึ่ง กล่าวคือจะบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบของมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลาหรือรูปพัด การนำเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจที่มีส่วนผสมของราเขียวเมธาไรเซียมมาควบคุมจำนวนประชากรของด้วงชนิดนี้ เป็นวิธีควบคุมป้องกันที่ได้ผลระยะยาว ไม่มีสารพิษตกค้าง มีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมสูง จุลินทรีย์ที่กล่าวนี้มีความทนต่อสภาพแวดล้อมและสามารถอยู่ในดินได้ข้ามปี มีความเฉพาะเจาะจงต่อกลุ่มแมลงอาศัย การใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจเพื่อการควบคุมด้วงแรดมะพร้าวแบบง่ายได้ผล ส่วนใหญ่จะคลุกผสมลงในกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือแหล่งที่พบการระบาดเพื่อทำลายตัวหนอนที่อยู่ในดิน ซึ่งราเขียวเมธาไรเซียมในทริปโตฝาจเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในแมลง ส่วนใหญ่ใช้กำจัดแมลงในดินกลุ่มหนอนด้วงต่างๆ อย่างหนอนด้วงมะพร้าว นอกจากนี้พบว่าสามารถใช้ควบคุมป้องกันการเข้าทำลายของตั๊กแตน มวน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อย่างได้ผลอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วระยะตัวหนอน ดักแด้ พบว่าใช้ได้ผลดีที่สุด ซึ่งเชื้อรากลุ่มนี้จะเข้าทำลายแมลงโดยเจาะผ่านผนังลำตัว รูหายใจ เมื่อใดสภาพความชื้นอุณหภูมิเหมาะสม ก็จะงอกแทงทะลุผ่านผนังลำตัวเข้าสู่เนื้อเยื่อ ทำลายชั้นไขมันดูดซึมอาหารในลำตัวแมลงจนแห้งตาย แข็งเป็นมัมมี่ ในช่วงแรกจะพบเส้นใยสีขาวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวในเวลาต่อมา การนำจุลินทรีย์ทริปโตฝาจมาใช้ในสวนมะพร้าวให้ได้ผล เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องใส่ใจให้ความสำคัญกับการจัดการสวน ใช่ว่าฉีดพ่นแล้วก็แล้วกัน ไม่เคยเอาใจใส่หรือเข้าสวนเลยสักครั้ง คอยสั่งลูกน้องเพียงอย่างเดียว ลองคิดดูแล้วกันว่าจะได้ผลแค่ใหน อันที่จริงแล้วการดูแลจัดการสวนที่ถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ก่อนลงมือปลูกด้วยซ้ำ สำหรับการควบคุมจำนวนประชากรด้วงโดยใช้กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ป้องกันการระบาดหรือยับยั้งการทำลายสามารถกระทำได้ต่อไปนี้ 1.หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าว ตามโคนต้น ทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดเสีย แล้วหว่านผงจุลินทรีย์ทริปโตฝาจบริเวณคอมะพร้าวเพื่อกำจัดไข่ และตัวเต็มวัย 2.นำผงเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ อัตรา 500 กรัม ผสมน้ำเปล่า 200 ลิตร ฉีดพ่นบนใบใต้ใบมะพร้าว ช่วงอายุ 1-3 ปี ที่พบการเข้าทำลายของด้วง หรือหว่านบริเวณคอ ทางใบป้องกันกำจัดไข่ และตัวเต็มวัย 3.สร้างบ้านให้อยู่หรือกับดักล่อด้วงแรด โดยเตรียมไม้ตีเป็นกระบะ กว้าง X ยาว X สูง ขนาด 2 X 2 X 0.5 เมตร ในพื้นที่ที่พบการระบาด เพื่อล่อให้ตัวเต็มวัยมาผสมพันธุ์วางไข่ วัสดุที่นำมาหมักควรหาได้ง่ายด้วงแรดชอบ อย่างเช่น ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ขี้วัว แกลบ เศษหญ้า เป็นต้น ใช้สัดส่วนส่วนเท่าๆ กัน คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรดน้ำให้ชุ่มแต่ไม่แฉะจนเกินไป ทิ้งไว้ให้ย่อยสลายตัวและอุณหภูมิภายในเย็นลง จากนั้นให้นำเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจไปหว่านโรยบนกองปุ๋ยหมักในอัตรา 500 กรัมต่อกอง เมื่อตัวด้วงมาวางไข่ในกองปุ๋ยดังกล่าว ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ จะติดเชื้อโรคแล้วถูกทำลายด้วยกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ทั้งนี้ต้องคอยควบคุมกองปุ๋ยหมักให้มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เชื้อดังกล่าวสามารถงอก เจริญเติบโตได้ผลสูงสุด กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้จะอยู่และมีประสิทธิภาพในการกำจัดไข่ หนอน ดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าวได้นานประมาณ 6 -12 เดือน มิตรเกษตรท่านใดที่ปลูกมะพร้าวหรือกำลังศึกษาหรือกำลังจะลงปลูกให้หันมาศึกษาโรคแมลงศัตรูของมะพร้าวหรือพืชที่ท่านจะปลูกกันสักนิด เพื่อประโยชน์ของท่านในการจัดการ ป้องกันกำจัด เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต กำไรในระยะยาว หากติดปัญหาต้องการสอบถามเพิ่มสามารถติดต่อได้ที่คุณเอกรินทร์ ช่วยชู โทร. 081-3983128