วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดินมาร์ล กับความเหมาะสมต่อการปลูกพืช

การปลูกพืชแต่ละชนิดปัจจัยสำคัญที่จำเป็นที่สุดที่เกษตรกรจะต้องนึกเป็นอันดับแรกก็คือน้ำ รองลงมาคือดิน สภาพดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกต้องร่วนซุย อุ้มน้ำ ไม่แน่นแข็ง โปร่งพรุน ที่สำคัญต้องมีอินทรียวัตถุในดิน หากสภาพของดินที่ตรงข้ามจากที่กล่าวมาควรปรับปรุงสภาพดิน ส่วนกรด-ด่างของดินก็สำคัญไม่น้อยเช่นเดียวกัน เนื่องจากดินเป็นกรด-ด่างมากเกินไปจะทำให้ดินตรึงธาตุอาหารทั้งธาตุหลัก, ธาตุรอง และธาตุเสริม ทำให้ต้องเปลืองต้นทุนค่าปุ๋ย ยา ฮอร์โมนต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งได้รับธาตุอาหารไม่ครบ ทำให้พืชอ่อนแอ โรคแมลงเข้าทำลายได้ง่ายและในดินมาร์ลก็เช่นเดียวกัน ดินมาร์ล (Marl)หรือดินเหนียวขาว เนื้อค่อนข้างร่วน องค์ประกอบหลักคือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเกิดจากการผุพังของหินปูน ประเทศไทยพบมากที่ ต.ท่าศาลา จ.ลพบุรี ,อ.บ้านหมอ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ,อ.เมือง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ลำปาง ชลบุรี ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ บางส่วนนำไปปรับสภาพความเป็นกรดของดินในภาคเกษตรกรรม จนลืมคิดไปว่า “ดินมาร์ล” เกิดจากหินปูน เป็นดินด่างมีค่า pH สูงไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชควรมีค่ากรด-ด่าง (pH) ของดินอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 เพราะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดที่ดินจะละลายธาตุอาหารต่างๆ ให้พืชได้โดยไม่ตรึงเอาไว้ ซ้ำดินมาร์ลยังมีอินทรียวัตถุน้อย ไม่จับตรึงปุ๋ยหรือธาตุอาหาร หน้าแล้งดินแน่นแข็ง สภาพดินดังกล่าวทำให้ต้องสิ้นเปลืองต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะปุ๋ย เมื่อพบว่าดินเพาะปลูกมีสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นควรปรับปรุงสภาพดินโดยการหว่านปุ๋ยอินทรีย์หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว ปอเทือง โสน ฯลฯ แล้วไถพรวนกลบเพิ่มอินทรีย์วัตถุ จากนั้นทำการปรับสภาพดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม ผสมร่วมกับภูไมท์ซัลเฟตถุงแดง 60 กิโลกรัมและโพแทสเซียมฮิวเมท 1 กิโลกรัมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนนำไปหว่านให้ทั่วทั้งแปลงปลูก ในอัตรา 200-300 กิโลกรัม/ไร่แล้วไถพรวนกลบอีกครั้ง ก่อนลงปลูกกล้าพันธุ์ให้หว่านรองพื้นด้วย พูมิชซัลเฟอร์ ในอัตรา 40 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อปรับค่า pH ของดินและเพิ่มธาตุอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ของพืช นอกเหนือจากคุณสมบัติของธาตุอาหารแล้วภูไมท์ซัลเฟตถุงแดง และพูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำแต่ซึมผ่านได้ง่าย ระบายได้ดี ไล่เกลือออกจากเนื้อดิน เพิ่มออกซิเจนในดิน ช่วยสลายสารพิษตกค้างในดิน ช่วยเพิ่มกำมะถันหรือซัลเฟอร์ให้แก่ดิน ช่วยตรึงปุ๋ยให้ละลายช้าลดการชะล้างเวลาฝนตก ใช้ปุ๋ยน้อยลงผลผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดต้นทุน เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร. 081-3983128 เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)