วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เห็ดแครง ทางเลือกใหม่สร้างรายได้ที่น่าสนใจ

การเพาะเห็ดแครงขาย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างรายได้เสริม ปัจจุบันเห็ดแครงเริ่มหารับประทานยากขึ้น ทำให้มีผู้คิดค้นวิธีการเพาะเห็ดแครงขึ้นเพื่อจะได้มีเห็ดบริโภคตลอดทั่งปี เห็ดแครงหรือที่รู้จักกันในนาม “เห็ดตีนตุ๊กแก” เป็นเห็ดที่ขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และงอกได้ตลอดปี



โดยเฉพาะฤดูฝนจะพบเห็ดแครงงอกตามท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า กระดาษ สำหรับในภาคใต้มักพบบนท่อนไม้ยางพาราที่ตัดโค่นไว้ เห็ดแครงมีคุณค่าทางโภชนาการไม่แพ้เห็ดชนิดอื่น โดยเฉพาะมีคาร์โบไฮเดรต โปรตีนสูง ให้พลังงานสูงกว่าเห็ดหอม เห็ดนางรม เห็ดฟาง และเห็ดหูหนู ในประเทศญี่ปุ่นจะใช้ทำเป็นยารักษาโรค เพราะในเห็ดแครงมีสารที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อไวรัสยับยั้งเซลล์ มะเร็ง ประเทศไทยเห็ดแครงจะเป็นที่รู้จักมากในหมู่คนปักไต้ ซึ่งจะนิยมนำมาแกงคั่วกับปลาย่าง หรือนำมาย่างโดยโขลกพริกขี้หนู ข่า ตะไคร้ ขมิ้น พริกไทย แล้วนำเห็ดแครงผสมลงไป พร้อมด้วยมะพร้าวขูด ไข่ไก่ แล้วห่อด้วยใบตองนำไปปิ้งเตาถ่าน ส่งกลิ่นหอมชวนให้น้ำลายไหลเลยทีเดียว ปัจจุบันเห็ดแครงเริ่มหายากขึ้นเพราะไม้ยางพารามีราคาสูงเป็นที่ต้องการของ ตลาด นอกจากนั้นพื้นที่ป่าเหลือน้อยกลายเป็นที่อยู่อาศัยมากขึ้น กว่าจะได้กินเห็ดแครงสักครั้งต้องรอให้ถึงช่วงหน้าฝนแต่ก็มีบ้างเล็กน้อย เหตุนี้จึงทำให้มีผู้คิดค้นหาวิธีการเพาะเห็ดแครงขึ้นเพื่อให้มีไว้บริโภค ได้ตลอดปี
วัสดุส่วนผสมการทำก้อน มีดังนี้
1.               ขี้เลื่อยไม้ยางพาราหรือไม้เนื้ออ่อน                    100          กิโลกรัม
2.               รำละเอียดหรือปลายข้าวเจ้า                                 50            กิโลกรัม
3.               ภูไมท์                                                                    2              กิโลกรัม
4.               ดีเกลือ                                                                    2              ขีด
5.               น้ำสะอาด                                                               75-80       ลิตร
ขั้นตอนการทำก้อนมีดังนี้
  1. คลุกผสมขี้เลื่อย รำละเอียด ภูไมท์ให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำสะอาดผสมดีเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากันพอหมาดๆ ระวังอย่าให้แฉะ
  2. บรรจุใส่ถุงพลาสติกเพาะเห็ด ขนาด 6.5 X 10 นิ้ว ประมาณ 3 ใน 4 ของถุง หรือน้ำหนัก 600 กรัมต่อถุง
  3. อัดวัสดุเพาะพอแน่น สวมคอขวดใช้ยางรัด เจาะรูตรงกลางเพื่อให้เชื้อเห็ดอยู่ตรงกลางถุง ปิดจุกประหยัดสำลี
  4. นำไปนึ่งในหม้อนึ่ง อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด เมื่อครบกำหนดเวลา พักไว้ให้เย็นลำเลียงไปไว้ในห้องเขี่ยเชื้อ แล้วรีบใส่เชื้อ อย่าทิ้งไว้ให้เกิน 24 ชั่วโมง จะทำให้การปนเปื้อนของเชื้อสูง
  5. การเขี่ยเชื้อเห็ดควรเขี่ยในห้องที่สะอาดและลมสงบ นำเชื้อเห็ดที่จะเพาะมาเคาะให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายก่อน เพื่อสะดวกในการเทหัวเชื้อเห็ดลงถุง เปิดปากขวดออกลนด้วยเปลวไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ดึงจุกประหยัดสำลีที่จุกปากถุงออก แล้วเทหัวเชื้อที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่างลงไป ประมาณ 20-30 เมล็ด ผู้เพาะต้องระวังอย่าให้มือถูกเมล็ดข้าวฟ่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อเสียได้ จุกสำลีที่จุดปากถุงห้ามวางกับพื้นเด็ดขาด และเมื่อเขี่ยหัวเชื้อลงในถุงแล้ว ต้องรีบปิดจุกสำลีทันที หัวเชื้อเห็ด 1 ขวด จะใส่ได้ประมาณ 30 ถุง
  6. การบ่มก้อนเชื้อ ก้อนเชื้อที่เขี่ยเชื้อแล้วนั้น ควรเก็บในโรงเรือนสำหรับบ่มเชื้อทันที ภายในโรงเรือนบ่มเชื้อต้องสะอาด และที่สำคัญจะต้องมืด ขนาดที่อ่านหนังสือพิมพ์ไม่เห็นในระยะ 1 ฟุต มิฉะนั้นแสงจะเป็นตัวกระตุ้นให้เส้นใยสร้างดอก ทั้งที่เส้นใยยังเจริญสะสมอาหารได้ไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผลผลิตต่ำ ไม่คุ้มค่า หลังจากพักบ่มเส้นใยประมาณ 15-20 วัน เส้นใยจะเจริญเต็มถุง จึงนำไปเปิดดอก
มิตรเกษตรท่านใดที่เพาะอยู่หรือกำลังจะเพาะ แล้วมีความสนใจอยากจะลองเพาะเห็ดแครง(เห็ดตีนตุ๊กแก)สร้างรายได้ดูบ้าง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสั่งจองเชื้อเห็ด อุปกรณ์การเพาะ ได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680-2 หรือได้ที่คุณเอกรินทร์  ช่วยชู โทร.081-3983128

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
วันที่ 22  มีนาคม พ.ศ. 2554  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

รักษาเลนหน้าดินก่อน ปล่อยพันธุ์หอยแครงลงเลี้ยง

หอย แครงเป็นหอยที่เลี้ยงง่าย ลงทุนน้อย ไม่ต้องให้อาหาร อีกทั้งเป็นหอยที่โตเร็ว ราคาดี ตลาดต้องการมาก จึงเหมาะสำหรับเลี้ยงเพื่อเป็นการค้า หอยชนิดนี้ชอบอยู่บริเวณน้ำกร่อยตามชายทะเลหรือป่าชายเลนที่ระดับความ ลึก1.80-3.00 เมตร เป็นหอยที่ชอบดินโคลนแต่ไม่เหลวจนเกินไป พื้นที่ที่ชุกชมมากส่วนใหญ่เป็นชายฝั่งทะเลแถวจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ฯลฯ
หอยแครงชอบกินแพ ลงค์ตอนพืช-สัตว์ตามหน้าดิน ช่วงน้ำลง-น้ำแห้งก็จะชอบหมกตัวอยู่ในดินเลนที่ความลึกประมาณ 10-12 เซนติเมตร แล้วจะค่อยๆ เคลื่อนตัวขึ้นมาผิวดินเพื่อหาอาหารอีกครั้งเมื่อน้ำขึ้นท่วมบริเวณที่ เลี้ยงหอย การรักษาหน้าดินไม่เกิดการหมักหมมของแพลงค์ตอนหรือสารอินทรีย์ในดินมากเกิน ไปจนทำให้เกิดก๊าซไข่เน่า แอมโนเนีย ไนไตร ทำลายแหล่งอาหาร หยุดการเจริญเติบโต แล้วค่อยๆ ตายลงทุกวันๆ นอกจากนี้ประโยชน์ของการรักษาหน้าดินไม่ให้หมักหมมยังส่งผลทำให้หอยแครง สามารถขยายพันธุ์ ซึ่งปกติหอยชนิดนี้จะเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน แต่ถ้าปีใดสภาพแวดล้อมผิดปกติ อาจทำให้ผสมพันธุ์ช้าหรือเร็วขึ้นอีกเล็กน้อย 
การ รักษาหน้าดินพึงกระทำได้ตั้งแต่ช่วงเตรียมบ่อก่อนปล่อยพันธุ์หอย กล่าวคือช่วงที่อัดน้ำเข้าขังในบ่อให้นำบาซิลลัสMT ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สำหรับย่อยขี้เลน ซากแพลงค์ตอนที่ตายเหลือจากการเลี้ยงก่อนหน้านี้ หว่านหรือผสมน้ำสาดให้ทั่วทั้งบ่อในปริมาณ 1กก./1ไร่ ทิ้งให้ย่อย 1-2 วัน ก่อนหว่านสเม็คโตไทต์ลงไปจับก๊าซไข่เน่าหรือของเสียที่เกิดจากกระบวนการย่อย ทำงานของบาซิลลัสMTก่อนหน้านี้ ในปริมาณ 20 กก./ไร่ เท่านี้บ่อเลี้ยงหอยของท่านก็หมดปัญหา หอยก็เจริญเติบโตได้ดี ต่อกี่ได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญปลอดภัยต่อผู้ใช้-ผู้บริโภค ไม่มีสารพิษตกค้างโดยเฉพาะสารหนูที่ตรวจเจอกันอยู่บ่อยๆ วางใจได้ ปลอดภัยชัวร์ ผมการันตี สอบถามข้อมูลการใช้ ปัญหาเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือติดต่อโดยตรงนักวิชาการ (081-3983128)
เขียนและรายงานโดย: คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 1 มีนาคม 2555 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com
                                       

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หอยแครงส่งออกตลาดจีน อีกอาชีพที่น่าสน

อาชีพการเลี้ยงหอยแครงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ดีไม่แพ้อาชีพอื่น หอยแครงเป็นหอยที่มีราคาขายค่อนข้างดี แถมยังเป็นหอยที่เลี้ยงง่าย ทางผู้เขียนเองได้มีโอกาสเดินทางไปดูงาน การเลี้ยงการจัดการส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงหอยแครงในพื้นที่ ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงหอยแครงขายเป็นอาชีพหลัก

คุณไพฑูรย์  นันทิวร เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแครงในพื้นที่ ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร กล่าวกับผู้เขียนว่า เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วพื้นที่บริเวณนี้เคยเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยมาก่อน จนถึงจุดอิ่มตัวบวกกับช่วงนั้นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเริ่มแพร่หลาย จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำแทน 3 ปีแรกที่เลี้ยงนั้นได้ผลตอบแทนดี จนมีการเลี้ยงเพิ่มขยายมากขึ้น ส่งผลให้ราคาเริ่มตกเกษตรกรผู้เลี้ยงขาดทุนกันเป็นแถวๆ จึงต้องล้มเลิกการเลี้ยง เมื่อขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้ง เงินทุนที่มีอยู่ก็เริ่มหมด จึงได้แนวคิดนำเอาพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ทำแบบผสมผสาน ปล่อยเลี้ยงแบบธรรมชาติ ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา ในบ่อเดียวกัน อะไรที่ได้น้อยก็เอาไว้กินที่เหลือก็ขาย ต่อมาหอยแมลงภู่เริ่มมีราคา เกษตรกรก็เลยหันมาเลี้ยงหอยแมลงภู่สร้างรายได้ ไม่นานราคาหอยแมลงภู่ก็เริ่มตกบวกกับหอยแมลงภู่เป็นหอยที่เลี้ยงยาก จึงเริ่มมองหาสัตว์น้ำชนิดอื่นที่สามารถเลี้ยงขายสร้างรายได้แทนการเลี้ยงหอยแมลงภู่ จึงสรุปได้ที่ หอยแครงเพราะหอยแครงมีราคาดี เลี้ยงง่าย และยังเลี้ยงหอยแมลงภู่ กุ้ง ปลา ฯลฯ ควบคู่ได้ อีกด้วย
การเลี้ยงหอยแครงนั้นดูแลไม่ยาก สำคัญอยู่ที่น้ำ-เลน ต้องจัดการระบบน้ำ-เลนในบ่อให้ดี น้ำที่ปล่อยใหม่เข้าบ่อต้องถึงหอยแครง เพราะอาหารของหอยนั้นจะมากับน้ำ เมื่อน้ำใหม่อาหารที่หอยจะได้รับก็ย่อมอุดมสมบูรณ์ หอยก็จะเจริญเติบโตเร็ว แต่ถ้าจัดระบบน้ำไม่ดีหอยก็ไม่โต ไม่ต่อปากหรือกี่ นอกจากนี้การเพิ่มแคลเซียมลงในบ่อเพื่อสร้างเปลือกก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยเช่นเดียวกัน และที่สำคัญอีกจุดหนึ่งก็คือ พื้นที่บริเวณที่เลี้ยงหอยนั้นไม่ควรปล่อยให้มีพืชน้ำอย่างสาหร่ายน้ำจืดขึ้น ต้องกำจัดทิ้งให้หมด เพราะสาหร่ายน้ำจืดนั้นจะขยายพันธุ์รวดเร็วมาก เมื่อมีจำนวนมากก็จะไปบดบังแสงแดด แถมยังไปแย่งพื้นที่ของหอย ทำให้หอยฝังตัวในดินไม่ได้ ส่วนหอยแครงที่เลี้ยงกันในเมืองไทยมีอยู่ 2 ชนิดคือ หอยเดินกับหอยนิ่ง หอยเดินมีลักษณะตัวจะออกเป็นวงรีแบนๆ เป็นหอยที่ไม่อยู่นิ่งกับที่จะเดินไปเรื่อย เป็นหอยแถบตะวันออก ถ้าเป็นหอยนิ่งก็จะอยู่นิ่งไม่ขยับไปไหน เป็นหอยทางแถบภาคใต้ หากเลี้ยงรวมกันก็จะต้องเลี้ยงหอยที่นิ่งอยู่รอบนอก หอยเดินไว้ข้างใน เพื่อใช้หอยนิ่งเป็นตัวกั้นหอยเดิน โดยเฉพาะหอยนิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดจีนในขณะนี้
การเลี้ยงหอยแครงแบบผสมผสานควรเลี้ยงบนเนื้อที่อย่างน้อย 20ไร่ นอกจากนี้บ่อที่เลี้ยงนั้นก้นบ่อจะต้องเป็นดินเลน เพราะหอยแครงชอบดินเลน สำหรับบ่อที่ใช้เลี้ยงควรขุดให้ลึกประมาณ 1.50 เมตร จากนั้นก็หาซื้อพันธุ์หอยแครงจากแหล่งเพาะเลี้ยงแถว สุราษฎร์ธานี สมุทรสงคราม เพชรบุรีฯลฯ ขนาด 350-400 ตัวต่อกิโลกรัมลงปล่อย ซึ่งส่วนใหญ่ปล่อยอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 ตันต่อ 1 ไร่ การปล่อยหอยแครงลงบ่อนั้นไม่ควรปล่อยทันที เพราะสภาพน้ำของแต่ละที่ย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะปล่อยพันธุ์หอยลงบ่อต้องใช้น้ำจากบ่อเลี้ยงฉีดใส่พันธุ์หอยก่อน จากนั้นให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้หอยได้ปรับสภาพอุณหภูมิ ให้เข้ากับน้ำในบ่อก่อน หลังจากนั้นถึงจะนำไปปล่อยลงบ่อ การปล่อยนั้นก็ใช้วิธีการโปรยด้วยมือ ให้ทั่วบริเวณที่กำหนดไว้
การดูแลก็ไม่ยุ่งยาก หอยแครงจะกินอาหารจากธรรมชาติ แต่ผู้เลี้ยงต้องคอยดูแลพลิกตัวหอย โดยพันธุ์หอยนิ่ง มิฉะนั้นจะจมขี้ตัวเองตาย การลงไปพลิกก็ทำไม่ยาก โดยปล่อยน้ำออกจากบ่อให้เหลือประมาณ 70-80 ซม. แล้วใช้แรงงานคนลงไปใช้มือควานที่หอย จากนั้นก็ใส่น้ำใหม่เติมเข้าไปให้เท่าเดิม และจะต้องคอยเช็คดูทุกๆ 2 เดือน หลังปล่อยหอยแครงลงเลี้ยงในบ่อไปประมาณ 7 เดือน ก็สามารถจับขายได้ ซึ่งจะได้หอยที่มีขนาด 60 ตัว ต่อกิโลกรัม เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแครงท่านใดมีความสนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือนักวิชาการฯ 081-3983128 ,081-6929660 

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หยุดเสี่ยง...ยางพารายืนต้นตาย...ขาดน้ำช่วงหน้าแล้ง

การปลูกยางพาราสิ่งสำคัญคือ “น้ำ” เพราะเนื่องจากต้นยางพาราจะต้องการน้ำสูงกว่าพืชชนิดอื่น ดังนั้นทำให้พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพาราเลยไปอยู่ที่ภาคใต้ แต่ทว่า...เนื่องจากการที่ราคายางพารา ยางแผ่นที่สูงในขณะนี้ส่งผลทำให้มีเกษตรกรเกือบทั่วประเทศหันมาปลูกยางเพิ่มมากขึ้น เพื่อหวังที่จะกอบโกยกำไรจากการปลูกยางครั้งนี้ เกษตรกรกรบางรายที่อยู่บนพื้นที่แห้งแล้งอาจจะลืมนึกถึงเรื่องของน้ำ ความต้องการน้ำของต้นยางพาราทำให้ปลูกไปแล้วหลายปียังกรีดไม่ได้เลย
สำหรับเกษตรกรที่ปลูกยางพาราอยู่ก่อนแล้วหรือมือใหม่ที่เพิ่งปลูกเป็นครั้งแรกและอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง อย่าง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคอีสาน ฯลฯ การจะปลูกยางพาราให้ประสบความสำเร็จและสามารถกรีดน้ำยางได้ในปริมาณที่มากๆ ขึ้นนั้น แหล่งน้ำหรือน้ำจึงเป็นส่วนสำคัญในขบวนการผลิต ดังนั้นเกษตรกรหัวก้าวหน้าส่วนใหญ่หันมาใช้โพลิเมอร์ในการดูดซับน้ำใส่รองก้นหลุมเพิ่มความชื้นแทนการรดน้ำทุกๆ วัน ก่อนลงต้นกล้าปลูก โพลิเมอร์ก่อนแช่จะมีลักษณะเป็นเม็ดหรือเกล็ดเล็กๆ สีขาวดูคล้ายน้ำตาลทรายขาว เมื่อนำไปแช่น้ำ ก็จะเริ่มดูดน้ำพองตัวเป็นก้อนใสภายใน 5-10 นาที เมื่อแช่ทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง ก็จะดูดน้ำขยายพองตัวประมาณ 200 เท่า การนำโพลิเมอร์ที่ดูดน้ำเต็มที่แล้วไปใส่รองก้นหลุมปลูกยางพาราช่วงฤดูร้อนแห้งแล้ง ดินก็จะดูดซับน้ำจากโพลิเมอร์เพิ่มความชื้นให้กับดิน รากยางพาราก็จะได้น้ำ ธาตุอาหารซึ่งต้องใช้น้ำเป็นตัวทำละลายจากดินอีกต่อหนึ่ง เมื่อพื้นดินได้รับน้ำเพิ่มเข้ามากขึ้นโพลิเมอร์จะทำหน้าที่ดูดกักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงพื้นดินแห้งแล้งวนเวียนอย่างนี้ประมาณ 1 ปี ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่การย่อยสลายของจุลินทรีย์ในพื้นที่นั้นๆ
โพลิเมอร์โดยทั่วไปแล้วจะสามารถขยายพองตัวกักเก็บน้ำได้ประมาณ 200 เท่า ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความเค็มของน้ำ(ด่าง)ด้วย สำหรับเทคนิควิธีการนำโพลิเมอร์ไปใช้ในสวนยางพาราโดยเฉพาะช่วงลงต้นกล้าปลูกใหม่ โพลิเมอร์(แห้ง) 1 กิโลกรัม หลังขยายพองตัวแล้วสามารถรองก้นหลุมปลูกได้ประมาณ 200 ต้น ส่วนขั้นตอนวิธีการนำไปใช้นั้นมีดังนี้
1. นำโพลิเมอร์แช่ให้ดูดน้ำให้เต็มที่ (โพลิเมอร์ 1 กก. สามารถดูดกักเก็บน้ำได้ประมาณ 200 ลิตร) ทิ้งไว้ประมาณ 4 ชม.หรือค้างคืน
2. ก่อนปลูกให้รองก้นหลุมด้วยโพลิเมอร์ที่อุ้มน้ำเต็มที่หรือแช่น้ำแล้ว 1 กระป๋องนม (1/2 ลิตร)/หลุม
3. นำกล้ายางลงปลูก ถมดินลงไปครึ่งหนึ่งของตุ้มดินที่หุ้มรากยาง นำโพลิเมอร์อีก 1 กระป๋องนม (1/2 ลิตร)/หว่านรอบๆ ตุ้มดินที่หุ้มรากยางอยู่ (ถ้าจะใส่ 2 กระป๋องนมหรือมากกว่าก็ได้เช่นกัน) จากนั้นกลบ-อัดดินให้แน่นเหมือนปลูกยางปกติ
4. หลังจากใช้โพลิเมอร์รองก้นหลุมแล้ว ควรให้น้ำบ้างประมาณ 2 เดือนต่อครั้งและคลุมโคนต้นด้วยหญ้าแห้งหรือเศษวัสดุทางการเกษตร จะช่วยทำให้โพลิเมอร์ดูดซับน้ำได้ “ดีเยี่ยม” มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันนี้แม้แต่ภาคใต้ที่เจอภัยแล้งน้อยกว่าอื่นๆ แต่เกษตรกรก็ยังประสบปัญหาต้นยางยืนต้นตายจากขาดน้ำเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน การนำโพลิเมอร์มาช่วยแก้ปัญหาการขาดน้ำช่วงหน้าแล้ง ทำให้ต้นยางพาราสมบูรณ์ เจริญเติบโตสม่ำเสมอ สูงเท่าเทียมกัน ได้ขนาดตามมาตรฐานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.) สำหรับต้นทุนในการใช้โพลิเมอร์ หากเทียบกับการต้องลงทุนปลูกซ่อมยางแล้วนับว่าต่ำมาก ประมาณ 2.50 บาท/ต้นเท่านั้นเอง เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ชมรมฯ (02-9861680 -2) หรือนักวิชาการชมรมฯ (081-398312 ,081-6929660)
เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com