วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปัญหามะนาวช่วงหน้าแล้ง อากาศร้อน

หน้า แล้งสวนใดมะนาวติดผล เก็บขายได้ราคาได้กำไร ส่วนแปลงไหนที่ไม่ติดดอกออกผลก็จะใส่ปุ๋ยบำรุงต้น เนื่องจากต้นยังไม่พร้อมที่จะให้ติดดอก ซึ่งบ่อยครั้งที่พบปัญหา โดยเฉพาะเกษตรมือใหม่ที่เพิ่งจะเข้าสู่ฤดูร้อนแรกของการปลูกมะนาว แต่ข้อดีของหน้าร้อนคือมะนาวไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเชื้อราหรือแม้แต่โรคฮอท ฮิตอย่างแคงเกอร์ ทำให้ร้านค้าไม่ค่อยมีกำไรจากยารา ขายไม่ค่อยได้ เพราะฉีดพ่นน้อยแค่เดือนละ 1-2 ครั้ง
ปัญหาหน้าแล้งที่ชาวสวนมะนาวกังวนและพบเจอบ่อยครั้ง คงหนีไม่พ้นแมลงค่อมทองที่เกาะผสมพันธุ์อยู่ตามใบมะนาวเป็นคู่ๆ จู๋จี๋น่ารำคาญ(อิจฉา) แถมยังกัดกินใบอ่อน ใบแก่ แหว่ง ร่วงหล่นเสียหาย บางกิ่งเหลือแต่ก้านใบ วันดีคืนดีหมั่นไส้ โมโห บวกอิจฉานิดๆ ก็แอบฉีดพ่นสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ติดๆ กัน 1-2 ครั้ง โดยทิ้งช่วงห่างกัน 6-7 วัน/ครั้ง เพื่อตัดวงจรควบคุมการขยายพันธุ์ ซึ่งวิธีนี้สามารถลดปริมาณค่อมทองลงได้ 60-70 เปอร์เซ็นต์
อาการใบไหม้ก็อีกตัวหนึ่งโดยเฉพาะพันธุ์พิจิตร1 ซึ่งเกิดจากอากาศที่ร้อนจัด บวกกับการใช้เคมี ธาตุอาหารที่มากเกินความจำเป็น ปัญหาข้อนี้แก้ง่ายมากคือควรตามฉลากที่ระบุข้างขวดอย่างเคร่งครัด การฉีดพ่นธาตุอาหารรอง-เสริมให้มะนาวหรือพืชใดก็ตาม ควรฉีดพ่นเช้าๆ แสงแดดอ่อนๆประมาณ 7 โมง, 8 โมงเช้า ส่วนยาป้องกันกำจัดแมลงให้ฉีดพ่นช่วงเย็นๆ เวลาแดดร่มลมตกเพราะแมลงจะออกหากินทำลายใบพืชตอนกลางคืน แต่ที่สำคัญหมั่นตรวจเช็คความชื้นของดิน เมื่อพบว่าดินเริ่มแห้งก็รีบให้น้ำในปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยเฉลี่ย 3-4 วัน/ครั้ง หากต้องการให้ปุ๋ยควรใส่หลังจากการให้น้ำแล้วเสร็จ แต่ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีขอย้ำให้ค่อยๆใส่ทีละน้อยๆ หากมากเกินไปก็อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ใบไหม้ได้เช่นเดียวกัน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13112&Param2=4
วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ทำอย่างไรเมื่อเจอดินเปรี้ยวอย่างองครักษ์ บางน้ำเปรี้ยว ฯลฯ

ดินเปรี้ยวแม้ยกร่อง ไล่น้ำยังไงก็คงไม่หายเปรี้ยว ถ้าไม่มีการปรับสภาพดินบ้าง โดยเฉพาะแล้วที่นาแถวๆ องครักษ์ (นครนายก) บางน้ำเปรี้ยว คลองหลวงแพ่ง(ฉะเชิงเทรา) การปรับสภาพดินที่เปรี้ยวหรือกรดจัดๆนั้น ควรใช้ดินที่มีค่า pH ตรงกันข้ามหรือเป็นด่าง ดินหรือสารปรับปรุงดินที่ภาครัฐ-เอกชน นิยมส่งเสริมให้เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้มักจะเป็นวัตถุปูน อย่างเช่น ปูนมาร์ล โดโลไมท์ ปูนขาว ฯลฯ เนื่องจากต้นทุนต่ำ แต่ในมุมกลับกัน เกษตรกรนำมาใช้บ่อยครั้ง ในปริมาณที่ มากเข้าๆ เรื่อยๆ ก็จะเป็นโทษแก่ดิน ต่อต้นพืชหรือต้นข้าว เนื่องจากปูนก็คือปูนเมื่อเจอน้ำจะทำละลายผสมเข้ากันได้ดี แต่เมื่อแห้งหรือเข้าช่วงหน้าแล้ง จะแข็งตัวจับกันเป็นก้อน ฝนตก รดน้ำ เท่าไรก็จะไม่ละลาย แพ็คหน้าดิน แน่นแข็ง น้ำซึมผ่านขึ้น-ลงไม่ได้ สุดท้ายก็เหี่ยวเฉาตายเพราะขาดออกซิเจน
20110613_PUMICE_New02.jpg
การนำหินแร่ภูเขาไฟ หินลาวา หินลอยน้ำ ที่กำลังผุพังย่อยสลายมาใช้ปรับปรุงดิน เปลี่ยนโครงสร้างดินให้ดี ไม่ให้รัดตัวแน่นแข็งเป็นก้อน น้ำ อากาศผ่านขึ้น-ลงได้สะดวก จากประโยชน์ข้างต้นชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ภายใต้การนำของท่านประธานชมรมฯคนปัจจุบัน พยายามผลักดันแนะนำให้เกษตรกรรู้จักสารปรับปรุงดินที่มาจากหรือผลิตจากหินแร่ภูเขาไฟภายใต้แบรนด์ใบไม้ลายธงชาติ มีทั้งปรับสภาพดิน สภาพน้ำ จับแอมโมเนีย ตรึงไนโตรเจนช่วยให้ปุ๋ยละลายช้าลงลดต้นทุนลดการสูญเสีย ซึ่งหินแร่แต่ละชนิดจะทำหน้าที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่สภาพดินบนแหล่งนั้นๆ โซนดินเปรี้ยวอย่างองครักษ์ บางน้ำเปรี้ยวควรใช้พูมิชปรับสภาพดิน หากเป็นดินชายเขาหินปูนสระบุรีหรือดินด่างนาเกลือบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ก็ควรภูไมท์ซัลเฟตกระสอบสีแดง แต่ถ้าดินทราย ดินปนทรายอย่างอีสานบ้านเฮาแล้วก็ควรใช้ซอยพลัส ฯลฯ สอบถามเพิ่มเติมหรือหาซื้อผลิตภัณฑ์มาทดลองใช้ ติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13072&Param2=17
วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หน้าฝนปราบศัตรูพืชง่ายกว่าหน้าแล้ง


หน้าแล้งอากาศร้อนน้ำร้อน คลองหนองแห้งขอด ความเค็มในน้ำเพิ่มขึ้น ด่างมากขึ้น อัลคาไลเพิ่ม หากไม่ปรับ pH น้ำให้อยู่ที่ 5.0 - 5.5 แล้ว เวลาผสมยาหรือสารเคมีต่างๆ ก่อให้เกิดอัลคาไล อัยโดรลัยสิส ส่งผลให้สารออกฤทธิ์ช้าหรือหมดฤทธิ์ได้ง่าย ก่อนจะได้ผล คล้ายๆอาการดื้อยาในหนอน แมลง เชื้อราโรคพืช ซึ่งจริงๆ แล้วหน้าฝนป้องกันหรือปราบศัตรูพืชง่ายกว่าหน้าแล้งด้วยซ้ำ
Silisic-Acid.gif
การที่ฝนตกชะล้างอินทรียวัตถุต่างๆ แล้วแตกละลายกลายเป็นกรดในธรรมชาติ อาจส่งผลให้น้ำเป็นกรดอ่อน แม้แต่การหมักปุ๋ยจากซากอินทรียวัตถุ เศษไม้ ใบหญ้า ก็ยังได้กรดฮิวมิค ได้ปุ๋ยน้ำสีคล้ำๆดำๆกลิ่นตุๆ แม้แต่น้ำชะล้างกองขยะน้ำสีดำๆก็ยังเป็นกรดอ่อน หากลองสังเกตหรือทดสอบจะพบว่าน้ำในธรรมชาติ ในห้วย หนอง คลอง บึงก็ยังเป็นกรดอ่อน ยกเว้นแต่น้ำที่ไหลผ่านภูเขาหินปูนส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นด่าง หากเป็นเช่นนี้ก่อนฉีดพ่นยา ฮอร์โมนต่างๆก็ให้ปรับ pH ของน้ำด้วยซิลิซิคแอซิค ประมาณ 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งสามารถปรับจากความเป็นด่างให้เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยให้ฤทธิ์ยา ฮอร์โมนกลับมาออกฤทธิ์ได้เหมือนเดิมโดยที่ไม่ถูกหักล้างด้วยด่าง
เช่นเดียวกับนาดินเปรี้ยวยกร่อง ไล่น้ำยังไงก็ไม่หายเปรี้ยว ถ้าไม่มีการปรับสภาพดิน ในการปรับสภาพดินที่เปรี้ยวหรือเป็นกรดจัดๆนั้น ควรใช้ดินที่มีค่า pH ตรงกันข้ามหรือเป็นด่าง ดินหรือสารปรับปรุงดินที่ภาครัฐ-เอกชน นิยมส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรใช้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวัตถุปูน อย่างปูนมาร์ล โดโลไมท์ ปูนขาวซึ่งต้นทุนต่ำ ในมุมกลับกันหากเกษตรกรนำมาใช้บ่อยครั้ง ในปริมาณที่ มากเข้าๆ เรื่อยๆ ก็จะเป็นโทษต่อดิน เนื่องจากปูนเมื่อเจอน้ำจะทำละลายเข้ากันดี แต่ปูนก็คือปูนเมื่อแห้ง แข็งจับตัวเป็นก้อน ฝนตก รดน้ำ สักเท่าไรก็จะไม่ละลาย แพ็คหน้าดิน แน่นแข็ง น้ำซึมผ่านขึ้น-ลงไม่ได้ สุดท้ายต้นไม้ก็เหี่ยวเฉาตายเพราะขาดออกซิเจน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13055&Param2=14
วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กุ้งอยู่ ข้าวอยู่ พึ่งพาอาศัยกันอย่างแฮปปี้


เลี้ยงกุ้งบางครั้งก็ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน เนื่องจากน้ำทิ้งจากบ่อกุ้งจะมีไนโตรเจนปะปนอยู่มาก จะเห็นชัดเจนมากเวลาปล่อยผ่านนาข้าว ใบข้าวจะเขียวมันดำเพราะได้รับไนโตรเจนมากเกินความสมดุลของฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรองและอาหารเสริมอื่น ทำให้ใบมากใบใหญ่เป็นพิเศษ ที่ชาวนาส่วนใหญ่เรียกว่าข้าวบ้าใบหรือเฝือใบ อ่อนแอเป็นโรคง่ายสังเกตจากแมลงชอบรบกวนและล้มง่าย

แนวทางแก้ปัญหาเริ่มจากการป้องกันไม่ให้น้ำจากบ่อกุ้งผ่านไหลแปลงนาโดยตรง ควรมีบ่อพักเพื่อเปิด-ปิดหรือสูบเข้านาช่วงที่ข้าวต้องการไนโตรเจน แต่หากไม่มีบ่อพักหรือไม่ทันจริงๆ เผลอปล่อยผ่านนาไปแล้ว ให้หว่านพูมิชลงไป 20 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยจับไนโตรเจนไม่ให้ต้นข้าวดูดซับมากเกินไป นอกจากนี้ซิลิก้าที่อยู่ในเนื้อพูมิชยังช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานต่อโรคต่อแมลง ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงให้เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
การป้องกันมิให้เกิดปัญหานี้ซ้ำๆซากๆหรือมีบ้างเล็กๆน้อยๆพอเอาอยู่ ควรเริ่มตั้งแต่ในบ่อกุ้ง ไนโตรเจนที่ได้จากแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ที่เกิดจากกการหมักหมมแล้วเกิดการย่อยสลายเศษอาหารหรือขี้กุ้งบนพื้นบ่อ ปล่อยทิ้งไว้ยิ่งทำให้น้ำเขียว ส่งกลิ่นบูดเน่าเหม็น หากเป็นขั้นนี้แล้วให้หว่านด้วยไคลน็อพติโลไลท์ 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคลุกกับอาหาร 3 กิโลกรัมต่อ 100 กิโลกรัมให้กุ้งกินแทน จะได้ช่วยจับสารพิษ สารตะกั่ว โลหะหนัก ที่แขวงมากับความชื้นในอาหาร เวลาขับถ่ายก็จะมีไคลน็อพฯจับอยู่ในทุกส่วนของขี้กุ้ง ย่อยสลายเกิดแอมโมเนียช่วงใดก็จะจับตรึงได้ทันที
แอมโมเนียที่เหลือส่วนใหญ่มักอยู่ในเลนก้นบ่อ จะค่อยสลายตัวปลดปล่อยแอมโมเนียออกมาช้าๆ สังเกตได้จากฟองอากาศที่ผุดออกจากผิวดินพื้นบ่อ พบเห็นอาการดังกล่าวให้หว่านสเม็คโตไทต์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ จับแอมโมเนียส่วนที่เหลือซ้ำอีกครั้ง ทำอย่างนี้จนสิ้นสุดการเลี้ยง ต่อไปน้ำในบ่อกุ้งก็สามารถปล่อยลงนาได้โดยไม่สร้างปัญหาให้ชาวนาหรือสิ่งแวดล้อม อยู่รวมกัน พึ่งพาอาศัยกันได้อย่างแฮปปี้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13033&Param2=8
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

น้ำขี้หมูผ่านนา ข้าวล้มระนาว


การเลี้ยงหมูก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกันหากป้องกันบำบัดไม่เป็น โดยเฉพาะกลิ่นก๊าซที่ปลิวล่องลอยตามลม ซึ่งกล่าวรวมถึงของเสียที่เรียกว่า “ขี้” ในรูปของน้ำทิ้งที่ปล่อยลงบ่อพัก ผ่านลำน้ำ ลงคลองหนองจนผักตบผักปอดเขียวขจี บางครั้งมีมากเกินไปน้ำเขียวไม่ระบายจนปลาตายลอยเป็นแพเพราะขาดออกซิเจน ก่อให้เกิดปัญหามากมาย อันจะปล่อยลงแปลงนาข้างบ้านโดยตรงก็เกรงว่าข้าวจะไม่ได้รวง เฝือใบบ้าใบเพราะรับไนโตรเจนเข้าไปเยอะ อ่อนแอเป็นโรคง่าย แมลงศัตรูรบกวนง่ายและที่สำคัญล้มง่าย
 
จริงแล้วไนโตรเจน(N) ก็เป็นอาหารพืชอาหารต้นข้าวเหมือนกัน แต่บางครั้งการได้รับในอัตราที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี กล่าวคือข้าวจะบ้าใบเฝือใบ ล้มง่าย ไม่ค่อยได้รวง เสียเวลาเสียต้นทุน เป็นปัญหาเดิมๆที่เกษตรกรเคยพบเจอ ซึ่งต่อไปไม่ใช่ปัญหาหากจะนำขี้หมู น้ำขี้หมู มาใช้ในแปลงนา แปลงเกษตรหรือหว่านราดรดต้นไม้ ก่อนหรือหลังปลูกทุกครั้งควรใช้หินแร่ภูเขาไฟอย่างพูมิช รองก้นหลุมหรือหว่านผสมร่วมกันช่วยจับอนุภาคประจุบวกของไนโตรเจนในปุ๋ยขี้หมู น้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงหมู
20110613_PUMICE_New02.jpg
ในนาข้าวที่ขาดอินทรียวัตถุให้เติมโพแทสเซียมฮิวเมทลงไปด้วย จะช่วยให้ธาตุอาหารที่ละลายได้น้อยที่มีอยู่ในดินละลายเพิ่มขึ้น ต้นข้าวได้รับประโยชน์มากขึ้น แม้ว่าธาตุอาหารที่ได้จากขี้หมูน้ำขี้หมูมีประโยชน์อยู่จริง แต่การได้รับปุ๋ยเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เปอร์เซ็นต์ปุ๋ยไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องดึงปุ๋ยเคมีบางสูตรมาร่วมเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตไม่ให้ตกต่ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและไม่ต้องการให้ใช้ปุ๋ยเกินประโยชน์เกินความจำเป็น ให้นำพูมิช 20 กิโลกรัมมาคลุกผสมร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมหรือขี้หมู 100 กิโลกรัมทำเป็นปุ๋ยละลายช้าเสีย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 089-4442366 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12993&Param2=14
วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อยากปลูกมะนาวอย่างเขา แต่ดินปนทรายระบายน้ำเร็วเกินไป



หันทางซ้ายหันทางขวาก็มีแต่คนอยากจะปลูกมะนาว อาจจะเป็นเพราะราคาที่ยั่วใจ ยั่วน้ำลายคนปลูกทีเดียว ราคาเล่นเอาไม่ต่ำกว่าลูกละ 2 บาท สำหรับบางท่านแม้ใจอยากจะปลูกสักแค่ไหน แต่ดินไม่ให้ ดินเป็นทรายระบายน้ำเร็วเกินไป อันจะปลูกลงท่อซิเมนต์ก็เกรงต้นทุนจะสูง ปลูกได้ไม่กี่ต้น ไม่พอกินไม่พอขาย แม้แต่คิดก็ยังติดลบแล้ว ปลูกมะนาวบนดินทรายหรือปนทรายโดยไม่ต้องลงท่อซิเมนต์ทำได้ แค่ปรับสภาพดินให้เหมาะสม ดูดซับน้ำได้ดีไม่ให้ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ให้ผลผลิตดี ต้นไม่โทรมเพราะเสียน้ำ ไม่ค่อยมีปัญหารากเน่าโคนเน่าเหมือนในดินเหนียว


การปรับปรุงดินช่วยปรับค่า pH ของดินใหม่ให้เหมาะสมต่อชนิดพืชที่ปลูก เจริญงอกงาม ดูดซับธาตุอาหารได้ดีผลิตสูงขึ้น พื้นที่บางแห่งปลูกพืชมายาวนาน แต่ขาดการปรับปรุงดิน ไม่รู้ว่าดินเป็นกรดหรือด่าง ปลูกอย่างเดียว ผลผลิตไม่ดีค่อยเอาปุ๋ยเคมีมาช่วย ดินที่ขาดการฟื้นฟูจะจืดไม่มีธาตุอาหาร อินทรียวัตถุหรือหากมีก็มีน้อย อย่างดินทรายหรือดินปนทรายแทบไม่มีธาตุอาหารหลงเหลืออยู่เลย บวกกับดินไม่อุ้มน้ำก็ยิ่งพาให้แย่กันไปใหญ่ เมื่อดินไม่มีความชื้นรากพืชก็ชอนไชได้น้อย แหย่รากโผล่ไปทางไหนก็แห้งกรอบเหมือนเส้นหมี่ รากไม่เดินพืชก็ไม่โตแคระๆแกระๆท้ายสุดก็ยืนต้นตายเพราะขาดน้ำ
Soilplus.gif
หากต้องการปลูกมะนาวบนดินทรายหรือดินปนทรายจริงๆละก็ควรปรับสภาพดินเสียก่อน เนื่องจากดินกลุ่มนี้อุ้มน้ำได้น้อย ไม่เพียงพอต่อการดูดซับนำไปใช้ เมื่อเซลล์พืชขาดน้ำนานๆปากใบก็ปิด ใบก็เหี่ยวเฉา ปล่อยนานเกินไปอาจทำให้ต้นตาย ดินร่วนปนทราย ดินทรายเป็นดินที่มีธาตุอาหารน้อย ไม่เก็บความชื้น น้ำไหลผ่านง่าย ควรปรับปรุงโครงสร้างเนื้อดินด้วยการหว่านซอยพลัส 40-60 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับน้ำ สร้างความชื้นในดิน เมื่อดินดูดซับน้ำได้ดีก็แทบไม่ต้องกังวลเรื่องปลูกพืชบนดินทรายอีกต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12957&Param2=4
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ราแป้งมะละกอแก้ได้ ปลอดสารเคมีด้วย


ราแป้งมะละกอ “ออเดียม คาริเอ” หลายต่อหลายท่านคงรู้จักดีหรืออาจประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ก็เป็นได้ ราแป้งเป็นผงแป้งสีขาวติดตามผล ใบ ก้านใบ หากมองใกล้จะเห็นเป็นปุยสปอร์สีขาวคล้ายกับแป้ง ใบมะละกอที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมักจะเป็นจุดซีดเหลืองกระจายบนใบ แล้วค่อยๆขยายวงกว้างเชื่อมต่อติดกัน หากดูใต้ใบจะพบเชื้อราสีขาว หากระบาดมากก็จะแสดงให้เห็นบนผิวใบเช่นเดียวกับราชนิดอื่นๆซึ่งอาจพบจุดสีขาวๆ ตามผลเหมือนบนใบได้เช่นเดียวกัน อาจทำให้ผิวตกกระไม่สวย ชะงักไม่โต ผลเหลืองหลุดร่วงง่าย หากเกิดในต้นกล้าจะมีอาการใบเหลืองซีดหลุดร่วงง่าย และมักระบาดช่วงอากาศเย็น ความชื้นสูง ลมก็อีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สปอร์เชื้อราแพร่กระจายได้เร็ว
 
ควบคุมการระบาดโดยการตัดแต่งใบที่เป็นโรคออกประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ เว้นไว้บางส่วนให้พอสังเคราะห์แสงได้ เก็บผลใบแห้งที่ร่วงหล่นบนพื้นออกทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง แต่ถ้าฝังกลบได้ก็จะเป็นการดี จากนั้นให้ฉีดพ่นล้างสปอร์ด้วยสารสกัดแซนโธไนท์ 10 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนฉีดพ่นเชื้อหมักขยายบาซิลลัสพลายแก้ว (เชื้อพลายแก้ว 10 กรัม +ไข่ไก่ 10 ฟอง +น้ำเปล่า 30 ลิตร +สเม็คไทต์ 1 กิโลกรัม (จับกลิ่นก๊าซไข่เน่า) + น้ำมันพืช (ตรึงผิวน้ำไม่ให้ฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากันก่อนให้ออกซิเจนแบบในตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 -48 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร ) ทั้งบนใบใต้ใบ ซอกผลให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 3 -5 วันครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ให้เติมซิลิซิค แอซิด 50 กรัม + ซิลิโคเทรซ 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตรร่วมกับสารจับใบ(ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึม
Pumice_Sulpher02.jpg
ก่อนปลูกควรปรับปรุงดินด้วยพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก 1-2 กำมือต่อต้น หรืออาจผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม แต่หากเป็นปุ๋ยเคมีให้ใช้ 50 กิโลกรัมก็พอ ทำเป็นปุ๋ยละลายช้าหว่านใส่ทางดินห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตรเพื่อบำรุงต้น หรืออาจดัดแปลงละลายน้ำ 20 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน 15 นาที ก่อนนำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ซึ่งพูมิชซัลเฟอร์ 1 กระสอบหรือ 20 กิโลกรัมสามารถผสมน้ำซ้ำๆได้ 2-3 ครั้ง ช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 089-4442366 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12946&Param2=3
วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com