วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปลูกพืชบนดินที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีเคมีเพิ่ม


ตำรับตำราแทบทุกเล่มเขียนส่งเสริมต่อๆกันมา ว่าก่อนปลูกต้นไม้ต้องขุดหลุมกว้าง x ยาว x ลึก(50 x 50 x 50) ไม่เข้าใจจริงๆ ถามว่า...กว้างกว่าหรือเล็กกว่าได้ไหม? ก็ย่อมได้ จากนั้นก็จะบอกต่อไปว่าให้แบ่งดินเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่าง โดยใช้เศษไม้ ใบหญ้าที่แห้งมารองก้นหลุม โรยฟูราดาน 1 ช้อนแกง กำจัดแมลงในดิน ตามด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ 1 ช้อนแกง ดินชั้นบน ชั้นกลาง ตามลำดับ เจาะหลุมเล็กๆ นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก รดน้ำ พรางแสงให้ร่มเงา ลองคิดดูซิว่า ทำไมตำราทุกเล่มต้องเขียนเหมือนกัน คล้ายกันทั้งๆ ที่วันเวลาผ่านมาเป็น10ๆ ปีแล้ว ก็เนื่องจากถูกครอบงำด้วยเคมีนิยมมาตลอด ซ้ายก็เคมี ขวาก็เคมี หนี้สินเลยท้วมหัว
“ต้นไม้จะงอกงามดี ติดลูกดก ก็ต้องปลูกบนดินที่ดี”และ“ดินที่ดี ก็ต้องปลดปล่อยธาตุอาหาร เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช” ปรัชญานี้บ่งบอกถึงความเป็นไทยในอดีตได้ดี รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด ทำนาปลูกต้นไม้ไม่เคยใช้สารเคมีก็ได้ผลผลิตดีเหมือนเช่นเดียวทุกวัน ที่สำคัญสมัยนั้นไม่ปัญหาโรคแมลงระบาดเพราะต้นไม้แข็งแรง ไม่มีตัวกระตุ้นสร้างอ่อนแออย่างปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยเคมี ยากำจัดโรค กำจัดแมลงอย่างทุกวันนี้ เรากำลังเดินทางผิดที่แนะนำส่งเสริมสนับสนุนให้ต่างชาติร่ำรวย บนความลำบากของพวกกันเอง ใจความคร่าวๆ ง่ายๆ เกษตรกรกำลังสูญเสียเอกราช เริ่มมีหนี้สิน เพราะดินเสื่อมคุณภาพ ดินตายจากการใช้สารเคมี สอบถามปัญหาหาแนวทางแก้ไขได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13294&Param2=13
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มะนาววงซีเมนต์กับลงดิน แบบไหนคือตัวคุณ

ได้รับโทรศัพท์สอบถามจากเกษตรกรเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการปลูกมะนาวทั้งสองแบบค่อนข้างบ่อย เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าจะเริ่มแบบไหนดี ย้อนกลับไปพบว่าพฤติกรรมผู้ปลูกมะนาวในอดีตนิยมเน้นปริมาณมากกว่าการจัดการ คนๆหนึ่งลงปลูกหลายสิบไร่ บางคนอาจจะไปถึงร้อยไร่ ไม่มีการทำนอกฤดูแต่จะอาศัยปริมาณต้นที่มีมาก ส่งผลให้มีกิน มีใช้ มีขายอยู่ไม่ขาด ยิ่งเป็นสกูลแป้นด้วยแล้วออกดอกติดผลผลิตให้เก็บทั้งปี ในปัจจุบันการปลูกลักษณะนี้ก็ยังมีอยู่มากในหลายๆจังหวัด ถึงแม้ทุกวันนี้มีคนเริ่มปลูกในวงซีเมนต์มากขึ้น ง่ายต่อการจัดการให้ออกดอกช่วงหน้าแล้ง เพราะช่วงนี้ผลผลิตออกน้อยได้ราคาดี เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปลูกในวงซีเมนต์ต้นทุนต่อต้นค่อนข้างสูง จะปลูกสักสิบไร่คิดแล้วต้นทุนคงจะสูงโข จึงหารายใหญ่ๆ ดูได้น้อยมาก

เกษตรกรส่วนมากปลูกเป็นอาชีพเสริมรองจากงานหลักที่ทำกันอยู่แล้ว ประมาณ 20-100 ต้น ซึ่งมักจะนิยมปลูกลงวงซีเมนต์มากกว่าลงดิน ใช้พื้นที่น้อยแต่กำหนดปริมาณต้นได้มากกว่า เน้นทำนอกฤดูเพื่อจำหน่าย เนื่องจากต้นทุนการทำนอกฤดูต่ำและได้ผลแทบทุกต้น ที่สำคัญดูแลรักษาน้อยเหมาะกับคนที่มีงานประจำทำ ต่างจากปลูกลงดินที่ต้องอาศัยพื้นที่เยอะ น้ำท่วมขัง ต้องมีเวลาเอาใจใส่ ดูแลบำรุงรักษาต้น ผู้ปลูกส่วนใหญ่เน้นขายกิ่งพันธุ์และผลผลิตทั้งปี หากจะทำนอกฤดูก็ใช้ต้นทุนสูง อุปสรรคเยอะ โอกาสไม่ได้ผลมีมากกว่า
พิจารณาดูว่าคุณต้องการอะไร แบบไหนเป็นแบบวิธีที่เหมาะสมกับคุณ และเป็นคำตอบที่ใช่ ถูกต้องก่อนตัดสินใจลงปลูก ขอเสริมอีกนิดเท่าที่ทราบมะนาวในวงซีเมนต์ทำนอกฤดูได้ปีละครั้ง ก็นั้นหมายความว่ามะนาว 1 ต้นให้ผลผลิตได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้นเอง ส่วนช่วงเวลาอื่นให้บำรุงต้นให้สมบูรณ์ อาจจะต้องหารายได้เสริมจากจุดอื่นอย่าง ตอนกิ่งขาย เสียบยอดขาย ฯลฯ รับรองไม่มีคำว่าขาดทุนแน่นอน สำหรับผู้ที่ปลูกลงดินให้เน้นปริมาณต้นที่มาก ปล่อยให้ติดผลตามฤดูกาลเน้นขายตลอดปี หากจะทำนอกฤดูไม่ควรทำหมดทั้งแปลง ป้องกันมะนาวเลตลาด ราคาถูก ส่วนหนึ่งหารายได้จากการตอนกิ่งพันธุ์ขายไปด้วย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13214&Param2=4
วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มะนาวกับเส้นทางสู่ความสำเร็จอยู่แค่เอื้อม

มะนาวตลาด ผลผลิตที่ตรงใจพ่อค้าแม่ค้าและผู้บริโภคจะต้องเปลือกบาง เมล็ดน้อย ผลโต กลิ่นหอม ที่สำคัญผลเกลี้ยง ผิวมัน ไม่มีตำหนิจากแคงเกอร์ หรือร่องรอยทำลายของเพลี้ย หากคุณสมบัติข้างต้นครบถ้วนแล้ว รับรองได้เลยว่าผลผลิตขายได้ตลอดปีแน่นอน คอนเฟิร์ม! ปัญหาอยู่ที่ว่าแล้วจะทำอย่างไรจึงจะทำได้ผลผลิตแบบนั้น

เริ่มตั้งแต่เลือกกิ่งพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคหรืออมโรค เชื้อแฝงหมายถึงกิ่งพันธุ์ที่มองดูแล้วไม่เห็นเป็นโรค แต่ต้นแม่ กิ่งก้านอื่นๆเป็น สังเกตได้ว่าเมื่อปลูกไประยะหนึ่ง พออุณหภูมิความชื้นเหมาะสมเชื้อที่แฝงอยู่ก็จะแสดงอาการออกมาให้เห็นทันที ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ต้องดูให้แน่ใจ หากเป็นไปได้ไปดูสถานที่จริงให้ได้เห็นกับตาตัวเอง
ต่อมาการดูแลรักษาบำรุงต้นให้สมบูรณ์ หากเปรียบเทียบต้นมะนาวเป็นตัวเรา กินอาหารดีๆ ถูกสุขลักษณะ ร่างกายก็จะแข็งแรง อากาศเปลี่ยนแปลงโอกาสเป็นหวัดหรือเป็นไข้ก็มีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ต้นมะนาวก็เช่นเดียวกัน หากดูแลรักษาดี ถูกต้อง ยิ่งไม่มีเชื้อโรคแฝงมาด้วยแล้ว ปลูกดูแลรักษาให้ต้นแข็งแรงสมบูรณ์ก็ง่าย โรคต่างๆที่ตามมาก็น้อยหรือเป็นไปได้ยาก ผลพลอยได้ที่เห็นได้ชัดเมื่อต้นสมบูรณ์ผิวก็จะบางลง ต้นที่สุขภาพดีนั้นผิวลำต้นจะตึง มีสีเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแตกลายงาสม่ำเสมอรอบๆต้น ไม่มีแผลหรือร่องรอยผิดปกติ ใบสีเขียวเข้มเต็มใบไม่ว้าวแหว่ง หากแตกยอดอ่อนยอดอ่อนจะตั้งขึ้นตรง
สำหรับมะนาวบางสายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค หากดูแลดีๆตามวิธีข้างต้นตั้งแต่เริ่มแรกก็จะไม่ค่อยเป็นโรค ถ้าจะเป็นก็น้อย การป้องกันที่ดีที่สุดก่อนลงปลูกให้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ร่วมปุ๋ยคอก มูลสัตว์ และเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ใส่รองก้นหลุม ช่วยกระตุ้นให้รากเดินเร็ว กำจัดเชื้อราในดินป้องกันรากเน่า เพิ่มธาตุอาหารเพิ่มซิลิก้าให้ลำต้นแข็งแกร่งแมลงกัดแทะไม่เข้า หากได้กิ่งพันธุ์ดี ดูแลถูกวิธีแล้วละก็ รับรองได้เลยว่าความสำเร็จได้มาไม่ยากอยู่แค่เอื้อม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13201&Param2=4
วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

“น้ำ”ที่ใช้ผสมยา สิ่งเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม


เคยสังเกตน้ำในสระหรือคูร่องน้ำที่ขุดไว้ข้างสวนหรือเปล่า ทำไมหลังฝนตกใหม่ๆ น้ำจึงมีสีขุ่น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตะกอนดินที่สะสมอยู่ปริมาณมาก โดยเฉพาะตะกอนดินเหนียว และจะต้องนำน้ำจากตรงนั้นมาผสมยาฉีดพ่นในสวน เกษตรกรหลายคนไม่เคยทราบเลยว่า ถ้าใช้น้ำที่มีตะกอนดินผสมยา ยิ่งตะกอนมากเท่าไรยิ่งทำให้ประสิทธิภาพของยาเคมีที่ใช้ลดน้อยลงเท่านั้น เนื่องจากสารเคมีจะสลายตัวเมื่อสัมผัสดิน ในที่นี้หมายถึงตะกอนแขวนลอยในน้ำ ซึ่งเป็นตัวทำลายฤทธิ์ของสารเคมีให้ลดน้อยลง

เลือก แหล่งน้ำที่ใสและสะอาดเพื่อนำมาผสมปุ๋ยยาหรือฮอร์โมนสำหรับฉีดพ่นเรือกสวน ไร่นา หาไม่ได้จริงๆก็ต้องรองน้ำใส่ภาชะหรือโอ่งทิ้งให้ตกตะกอน 15-20 นาที ก่อนนำน้ำมาผสมยาเพื่อฉีดพ่นป้องกันโรคแมลงหรือเพิ่มธาตุอาหารทางใบแทนหว่าน ปุ๋ยให้ทางดิน หากพบว่าน้ำที่นำมาผสมยามีฤทธิ์หักล้าง ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยยาหรือฮอร์โมนที่เคยนำมาฉีดพ่นอย่างแต่ก่อน ลองใช้ซิลิซิคแอซิค 5 กรัม ปรับสภาพในน้ำ 20 ลิตร ก่อนผสมสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์)และปุ๋ยยาหรือฮอร์โมน อาจเป็นเรื่องเล็กๆสำหรับร้านขายยา แต่เกษตรกรถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว ที่ไม่ควรมองข้ามเพราะหากประสิทธิภาพของยาหรือเคมีที่ใช้คุณภาพไม่เต็มร้อย ก็จะส่งผลกระทบตามมาอีกมากมาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13161&Param2=17
วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มะนาวให้น้ำแบบหยดโทษมากกว่าคุณ

โดยธรรมชาติมะนาวเป็นพืชที่มีรากกระจัดกระจายตามผิวหน้าดินรอบๆทรงพุ่ม ไม่ลึกมากมองเห็นชัดเจน แตกรากใหม่เป็นฝอยๆ สีเหลืองอ่อนหรือเขียวตลอดเวลา ส่งผลทำให้ดูดซับธาตุอาหารได้รวดเร็ว หลังใส่ปุ๋ยไปประมาณ 4-5 วัน ก็จะเห็นได้ว่าใบเขียวตั้งขึ้น แตกยอดอ่อนออกมา ถ้าหยุดให้น้ำเมื่อไรใบก็จะเริ่มเหี่ยวเฉา การให้น้ำมะนาวไม่ว่าจะลงดินหรือในวงบ่อซีเมนต์ จะต้องให้ทั่วถึง ดินอิ่มตัว ความชื้นพอเหมาะ เพื่อให้รากที่กระจายตามผิวดินได้น้ำในปริมาณเท่าๆกัน โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง ชาวสวนมือใหม่หลายๆท่าน อาจมีแนวคิดว่าการให้น้ำแบบน้ำหยดปล่อยให้ไหลเรื่อยๆ ดี เพราะไม่ต้องคอยให้น้ำบ่อยครั้ง
อย่างที่กล่าวมะนาวรากจะแผ่กระจายไปทั่ว ต้องการน้ำเป็นตัวทำละลายในการดูดซับธาตุอาหาร หากให้น้ำเพียงจุดหนึ่งจุดใดบริเวณโคนต้น ไม่ทั่วถึงไปยังรากส่วนอื่น ทำให้มะนาวไม่สมบูรณ์ ใบเหลือง ผลผลิตตกต่ำ ที่สำคัญน้ำหยดลงดินจุดเดียวนานๆทำให้รากอ่อนแอเป็นเชื้อรา ในที่สุดทำให้มะนาวต้นนั้นเป็นโรคไม่โตหรือตายได้  หากเป็นโรคเนื่องจากรากเน่าให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม หว่านรอบๆ ทรงพุ่มเดือนละครั้ง เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราในดิน
การรดน้ำควรให้น้ำกระจายไปรอบๆทรงพุ่ม ซึ่งอาจใช้สปริงเกอร์ หรือมินิสปริงเกอร์ ช่วงหน้าแล้งมะนาวที่ลงดินควรให้น้ำ 3-5 วันต่อครั้ง โดยแต่ละครั้งควรให้อย่างชุ่มฉ่ำไปเลย ส่วนในวงบ่อซีเมนต์สามารถให้ได้ทุกวัน ช่วงไหนก็ได้เนื่องจากวงซีเมนต์ดูดความชื้นออกไปด้วยส่วนหนึ่ง ทำให้ความชื้นในดินหายไป จริงๆแล้วใช่ว่าระบบน้ำหยดไม่ดี แต่ระบบนี้เหมาะสมกับปลูกพืชล้มลุกที่มีรากแผ่ไม่ไกลมากกว่า ส่วนพืชที่มีรากกระจายรอบๆทรงพุ่มนั้นเหมาะสมกับการให้น้ำแบบกระจายตัวมากกว่า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13140&Param2=4
วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com