วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กุญแจดอกสำคัญ ปลดล็อคดินที่ไร้ค่าให้มีปุ๋ย


กรด-ด่างของดินมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากกรด-ด่างไปเกี่ยวข้องกับธาตุอาหารในดินที่พืชนำไปใช้ประโยชน์จริง ความเป็นกรด-เป็นด่างของดินบอกเป็นพีเอช ไล่ระดับเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1-14 ตามกรด-ด่างของดิน โดยถือว่าเอาพีเอชที่ 7 เป็นกลาง ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งหมายถึงว่าธาตุอาหารในดินสามารถปลดปล่อยได้ดีที่สุด ครบถ้วนที่สุด ดินบริเวณนั้นต้องมีค่าพีเอช อยู่ระหว่าง 5.8-6.3 หรือเป็นกรดอ่อนๆ ดินเปรี้ยว(ดินกรด)เป็นปัญหาหนึ่งที่มีผลต่อการปลูกพืช เนื่องมาจากปริมาณของกรดในดินที่มากเกิน ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ปริมาณธาตุอาหารในดินที่ถูกปลดปล่อยออกมาอาจจะมากหรือน้อยเกินไป ไม่สมดุลต่อการนำไปใช้ ส่งผลให้พืชได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณน้อย ทั้งๆที่มีการเติมอยู่ตลอดเวลา ความเปรี้ยวของดินส่งผลให้ธาตุอาหารพืชอย่างอะลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีสละลายปลดปล่อยออกมาเยอะเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายต่อพืช ทำให้พืชขาดไนโตรเจนไม่โตแคระแกร็น อาจเลวร้ายถึงขั้นยืนต้นตายได้ แก้ปัญหานั้นไม่ยากเพียงแค่ปรับดินให้เกิดความสมดุลเท่านั้นเอง เมื่อดินเปรี้ยว(ดินกรด)ก็หาสิ่งที่ตรงกันข้ามมาปรับ เกษตรกรส่วนใหญ่ทราบกันดีว่าต้องใช้ปูนมาร์ล โดโลไมท์ เพราะมีฤทธิ์เป็นด่าง(เค็ม)

ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมท์ปรับดินเปรี้ยว(ดินกรด)ควรใช้อย่างชาญฉลาด ต้องรู้ว่าดินเปรี้ยวมากน้อยแค่ไหน ต้องใช้เท่าไรจึงจะพอ ใช่ว่าถูกต้นทุนต่ำแล้วใช้บ่อยใช้เยอะ มากๆเข้าก็จะเกิดโทษได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามปูนก็คือปูนวันยังค่ำ เจอน้ำละลายตัวได้ดีจริงอยู่ พอแห้งหรือเข้าหน้าแล้งเมื่อไรแน่นแข็งจับตัวเป็นก้อนชนิดทุบไม่แตก ฝนตก ราดน้ำไม่ละลาย น้ำผ่านขึ้นลงไม่ได้พืชเหี่ยวเฉาขาดออกซิเจน การปรับตัวรับสิ่งใหม่ๆ อย่างนำหินภูเขาไฟมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างดินให้ดี ไม่ให้รัดตัวเป็นก้อน ทำให้น้ำให้อากาศผ่านได้สะดวก ใช่ว่าคนโง่หรือยอมให้เขาหลอก ซึ่งสิ่งๆนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่เลยกับเกษตรกรบางท่าน แต่มันอาจเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรหลายคนที่ยังไม่ทราบ ไม่มีทางออกยังปิดหูปิดตาทำทั้งๆที่รู้ว่าขาดทุน ต้องกู้หนี้ยืมสินเขามาซื้อปุ๋ยยาราคาแพงๆ เพื่อแก้ที่ปลายเหตุไม่รู้จักจบสิ้น จริงๆแล้วหินภูเขาไฟนอกจากปรับสภาพดินแล้วยังช่วยตรึงไนโตรเจนให้ปุ๋ยละลายช้าลง มีซิลิก้าช่วยให้ต้นพืชแข็งแกร่งไม่เป็นโรค สำหรับดินเปรี้ยว(ดินกรด)ควรใช้หินภูเขาไฟที่ชื่อว่า พูมิช ปรับเนื่องจากพีเอช 7-7.5 (เป็นกลาง) แต่หากตรวจวัดแล้วปรากฏว่าดินของท่านเป็นด่าง(เค็ม)ให้ใช้หินภูเขาไฟที่ชื่อว่า ภูไมท์ซัลเฟต(สีแดง) แทนเนื่องจากพีเอช 4.5 (เป็นกรด) แม้ผลผลิตจะได้เท่าเดิมหรือมากกว่า แต่ที่สำคัญใช้ปุ๋ยใช้ยาน้อยกว่าแน่นอน สอบถามเพิ่มเติมหรือหาซื้อผลิตภัณฑ์มาทดลองใช้ได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13520&Param2=17
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชาวนาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้หนี้ เพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด

ชีวิตชาวนาไทยยุคปัจจุบันไม่ต่างจากทาส ทำทุกอย่างเพื่ออยู่รอดแม้เป็นหนี้เป็นสิน บางคนกู้เงินมาหวังฟื้นตัว เจอแมลงโรคระบาดมากๆเข้า ซื้อยาฉีดป้องกันหนักๆเข้า เงินจมขาดทุนมากกว่าเก่า หาแหล่งเงินทุนใหม่กู้เพิ่มปิดหนี้เก่า แล้วอีกเมื่อไรจะเป็นไท ประเทศไทยประกาศเลิกทาสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำไมปัจจุบันจึงยังมีทาสหลงเหลืออยู่ หรือเป็นเพราะฟุ้งเฟ้อไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณตน ว่าตัวเองเป็นใคร อาชีพอะไร ทำเพื่อใครอยู่ ที่สำคัญทำอย่างไรจึงมีกินมีใช้ ไม่เป็นหนี้ทาสระบบปุ๋ยยา
สมัยก่อน ปู่ย่าตายายทำนาไม่เคยใช้หรือรู้จักปุ๋ยยาทำไมยังได้ผลผลิต มีแค่ขี้วัวขี้ควายไม่กี่ก้อนที่ใส่ลงไปตอนไถคราด ต้นข้าวงามแตกกอดี โรคแมลงก็ไม่ระบาด ทุกวันนี้เราเห็นแก่ตัวมากขึ้นทำลายทุกอย่างเพื่อหวังให้ได้มาแค่ผลผลิต ไม่คิดว่าธรรมชาติจะอยู่อย่างไร เมื่อระบบนิเวศน์ถูกทำลายก็ไม่ต่างจากคนขาเป๋ จะเดินเหินก็ลำบาก ชาวนาส่วนใหญ่มักคิดแค่ว่าหากต้องการผลผลิตข้าวเยอะๆ ต้องใส่ปุ๋ยเยอะๆ และเมื่อไหร่ใส่ปุ๋ยเยอะๆ ก็ต้องฉีดพ่นยาเยอะๆเป็นธรรมดา เพราะต้นข้าวอ่อนแอเป็นโรคแมลงศัตรูทำลายได้ง่าย แมลงศัตรูธรรมชาติในนา อย่างแมงมุม แมลงปอ ฯลฯ ไม่ต้องคุยฉีดพ่นยาตายหมดแล้ว

ปุ๋ยยาเคมีใช้บ่อยๆ เพิ่มปริมาณมากๆ เข้าทำให้ดินเสีย ดินเค็ม ข้าวไม่กินปุ๋ย เมื่อต้นข้าวกินอาหารทางรากไม่ได้ก็ฉีดพ่นให้ทางใบแทน คนเรานี้ก็แปลกชอบปัญหาที่ปลายเหตุ เมื่อดินไม่ดี ดินเสียดินเสื่อมก็ควรแก้ที่ดิน ไม่ใช่ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบแก้ปัญหาให้ผ่านไปวันๆ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องแก้อย่างนี้ไปเรื่อยๆไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อดินไม่ดีก็ควรปรับสภาพดินบ้าง อย่างน้อยปีละครั้งก็ยังดี ซึ่งอาจจะช่วยลดปุ๋ยลดยาลงได้บ้างไม่มากก็น้อยตามสภาพของดินในพื้นที่นั้นๆ การนำหินภูเขาไฟมาปรับดินให้ดี ลดความเค็ม ทำให้ดินไม่รัดตัว น้ำอากาศไหลผ่านสะดวก ที่สำคัญช่วยตรึงปุ๋ยไนโตรเจนให้ละลายช้าลง มีซิลิก้าทำให้ต้นข้าวแข็งล้มยาก ไม่ค่อยเป็นโรค แมลงกัดกินก็ลำบากขึ้นไม่หมูอีกต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารปรับปรุงดินเพื่อไขปัญหาให้ถูกจุดตรง ประเด็น ได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13510&Param2=14
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรด-ด่างในดิน แม่กุญแจที่ล็อคปุ๋ยจนไร้ค่า

ความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากสภาพกรด-ด่างของดินเกี่ยวข้องโดยตรงกับธาตุอาหารในดินที่พืชจะได้ รับและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ความเป็นกรด-เป็นด่างของดินบอกได้เป็นพีเอช แบ่งระดับตัวเลขได้ตั้งแต่ 1-14 ตามกรด-ด่างของดิน โดยถือว่าสภาพดินที่มีค่าพีเอช 7 เป็นกลาง แต่ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือธาตุอาหารในดินสามารถปลดปล่อย ได้ดี ครบถ้วนที่สุดต้องมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 หรือกรดอ่อนๆ
ดิน ที่พีเอชต่ำกว่า 7.0 ถือว่าเป็นกรดหรือดินเปรี้ยว ยิ่งต่ำมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นกรดรุนแรงมากเท่านั้น ซึ่งดินที่เป็นกรดมากๆ จะมีธาตุอาหารบางธาตุ อย่าง แคลเซียม แมกนีเซียม ค่อนข้างต่ำ ส่วนดินที่มีค่าพีเอชสูงกว่า 7.0 ถือว่าเป็นด่างหรือดินเค็ม ทำนองเดียวกันยิ่งสูงมากก็ยิ่งด่างมาก บางครั้งดินที่มีพีเอชสูงกว่า 8.5 มักขาดแคลเซียมหรือมีก็มีน้อย เนื่องจากโซเดียม(เกลือ)ในดินมีมากเกินไปทำให้พืชขาดแคลเซียม แมกนีเซียมในเวลาเดียวกัน โดยปกติในดินจะมีแคลเซียม แมกนีเซียมในปริมาณพอๆกัน ซึ่งสามารถเกิดได้ในดินมีพีเอชต่ำกว่า 5.5 ได้เช่นเดียวกัน

พืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่มีความเป็นกรด-ด่างมากๆ แต่ใช่ว่าจะมีความเหมาะสม ต้องทนต่อการขาดธาตุ เนื่องจากไม่สามารถปลดปล่อยออกจากดินได้ ไม่ต่างจากคนป่วยที่รอยา เริ่มอ่อนแอ เริ่มเป็นโรค มากเข้าๆ ที่สุดก็ยืนต้นตาย อย่างไรก็ตามความเหมาะสมของกรด-ด่างในดิน ที่สามารถปลดปล่อยหรือปลดล็อคธาตุอาหารให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกตัวโดย ที่ไม่ขาด สภาพดินต้องเป็นกรดอ่อนๆ พีเอชอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 ดังที่เกริ่นไว้ข้างต้น ธาตุอาหารที่เคยมีประโยชน์ต่อพืชบางครั้งก็มีโทษได้เช่นกัน หากปล่อยให้พีเอชในดินสูง-ต่ำมากเกินไป มีปัญหาดินกรด ดินด่าง พืชไม่กินปุ๋ย พูดคุยปรึกษาได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13487&Param2=17
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com 

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มะนาวเป็นแคงเกอร์ก็เหมือนคนเป็นเอดส์ แม้ไม่หายขาดแต่ก็ป้องกันได้


ช่วงนี้รู้สึกว่าข่าวคราวการระบาดของแคงเกอร์จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะฝนตกชุกทำให้มะนาวแตกยอดอ่อนเยอะ ดินแฉะไม่ระบาย อ่อนแอเสี่ยงต่อโรคแมลง เกษตรกรเริ่มกังวล เนื่องจากแคงเกอร์กลับมาระบาด ซึ่งมักเกิดกับแปลงมะนาวที่ใช้ปุ๋ยเดี่ยวๆ โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ยิ่งใส่ลงเท่าไรดินก็ยิ่งแย่ลงเท่านั้น แต่หากมีการปรับปรุงดินสลับสับเปลี่ยนก็สามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาลงไปได้ แต่เนื่องด้วยเกษตรกรไทยถูกปลูกฝังด้วยเคมีนิยม จะปลูกอะไรสักอย่างก็ต้องพึ่งพาเคมี เพราะเกษตรกรต่างเชื่อว่าหากไม่มีเคมีช่วย ก็จะไม่ได้ผลผลิต บ่อยให้เป็นแบบนี้เรื่อยๆโดยไม่กระตุ้นสะกิดบ้างก็ยิ่งส่งผลให้แย่ลง โรคแมลงก็ระบาดง่ายขึ้น โดยเฉพาะแคงเกอร์ซึ่งเป็นโรคประจำต้นมะนาวอยู่แล้ว
   
pre7

แคงเกอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด เต็มที่ก็เพียงชะลอการระบาดเท่านั้น เมื่อเป็นที่ใบหรือผล จะเห็นว่าไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาดังเดิม ได้เพียงแต่ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง ไม่ต่างจากคนเป็นเอดส์ เป็นแล้วรักษาไม่หาย ทำได้แค่ชะลอการลุกลามของโรคเท่านั้น เช่นเดียวกับแคงเกอร์ป้องกันได้แต่ต้องสม่ำเสมอ ไม่ต้องรอให้ระบาดก่อนแล้วคิดป้องกัน เริ่มตั้งแต่รองก้นหลุมปลูกด้วยพูมิชหินภูเขาไฟ เพิ่มซิลิก้า เพิ่มความแข็งให้เซลล์ หลังจากลงปลูกไปแล้ว 2 สัปดาห์ ให้ฉีดพ่นบีเอส-พลายแก้วป้องกันแคงเกอร์ให้ ทั่วทั้งต้นอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ15 วัน/ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ พออายุได้ประมาณ 1-5 เดือนให้ตัดแต่งกิ่งที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นมา 15 เซนติเมตร ออกทิ้งให้ลมโกรกผ่านโคนต้น ป้องกันเชื้อราในดินหรือหว่านทับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่าเพิ่มความมั่นใจ เมื่ออายุได้ประมาณ 5-8 เดือน เปลือกลำต้นมะนาวก็เริ่มแตกลายงาสีเขียวสลับลายสีเหลือง บ่งบอกว่ามะนาวของท่านมีสุขภาพดี เมื่อสุขภาพดีก็ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆได้ดีตามไปด้วย ต่อให้แคงเกอร์มาอีกกี่รอบก็ทำลายยาก เนื่องจากต้นมะนาวของท่านสุขภาพดีนั่นเอง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อย่าปล่อยให้เวลาเสียไป พัฒนาเกษตรกรไทย เข้าสู่โลกไร้พรมแดน


อดีตถึงปัจจุบันต้องยอมรับว่าเกษตรกรไทยต้องประสบปัญหามากมาย ตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะเกษตรกรมือใหม่หลายท่านก็ต้องเคยประสบปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์แก้ปัญหาโดยการค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต แทนการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง สอบถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านทางสื่อเกษตรออนไลน์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือประสบการณ์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต แม้ว่าเราไม่รู้จักหน้าตาเขาแต่ก็ได้ประโยชน์เหมือนนั่งพูดคุยกันซึ่งๆหน้า ตัวอย่างเช่น การใส่ปุ๋ยหรือใช้ยาป้องกันกำจัดโรคศัตรูในข้าว ไม้ผล ฯลฯ ไม่ใช่ว่า...จะใช้ยาอะไรก็ได้  ใช้แล้ว...จะได้ผลไปทั้งหมด หากไม่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน...ก็ไม่รู้ไม่ทราบ....ต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆกว่าจะลงตัวก็นาน ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น บางครั้งอาจทำให้ศัตรูพืชขยายวงกว้างระบาดเพิ่ม....จนควบคุมไม่ทันก็มีมาแล้ว
อินเตอร์ เน็ตสามารถขยาย-เพิ่มโอกาสทางการตลาดกว้างไกลรวดเร็วพริบตาเดียว โอกาสการขายผลผลิต กิ่งพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ มีมากขึ้น แม้จะสร้างการรับรู้ระดับพื้นฐานในหมู่บ้าน ขยายออกสู่อำเภอ จังหวัด ประเทศ หรือมองจากตลาดแคบๆ ออกสู่ตลาดที่กว้างขึ้น แต่อย่างไรการใช้อินเตอร์เน็ตก็ย่อมมีโอกาสทางการตลาดเยอะกว่าอยู่ดี สามารถรับรู้ได้ว่าปลูกอะไร ตลาดต้องการแบบไหน แล้วปลูกอย่างไร ลงทุนมากไหม ปลูกแล้วจะขาดทุนไหม ฯลฯ คำถามเหล่านี้ได้ยินค่อนข้างบ่อย แต่ถ้าไม่กล้า ไม่สู้ ก็ไม่มีโอกาสได้ลองทำซักที แล้วเมื่อไรความสำเร็จจะมาหา ที่กล่าวเช่นนี้เพราะทุกวันนี้เป็นยุคออนไลน์ ไร้พรมแดน อยากรู้อะไรเข้าอินเตอร์เน็ตถามกูรู(Google) กูรูช่วยได้ทุกเรื่อง จะแลกเปลี่ยนข้อมูล ขายของบนตลาดออนไลน์ ขยายกิจการ ซึ่งมองเห็นภาพอนาคตที่ชัดเจนกว่า
อินเตอร์เน็ตยังขยายโอกาสให้เกษตรกรได้เลือกอาชีพที่ตรงใจ ใช่เลยนี่แหละตัวเรา ช่วยไขปัญหาชี้ทางถูก-ผิด สร้างพักพวกเพื่อนฝูงร่วมสายอาชีพแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ คนรุ่นเก่าทำเกษตรแบบดั้งเดิม แต่คนรุ่นใหม่ไวไฟใจร้อนขาดประสบการณ์  เมื่อคน 2 กลุ่มมาเจอกัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน ย่อมก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดการเผยแพร่ ทั้งปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช วิธีการป้องกันรักษา ตลอดจนรวมตัวสร้างตลาดต่อรองกับทุนนิยม(พ่อค้าคนกลาง) ตั้งราคาสินค้าโดยไม่ต้องง้อให้ใครมากำหนด  ผู้เขียนเชื่อว่าลูกหลานเกษตรกรใช้อินเตอร์เน็ตเป็น หากมีโอกาสได้อ่านบทความนี้ช่วยนำสื่ออินเตอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้ผสมผสานทำเกษตรให้คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย พ่อแม่ ฯลฯ หรือใครก็ได้ที่เรารัก ผู้เขียนและชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เรายินดีเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ไขปัญหาเกี่ยวกับเกษตรแบบปลอดสารพิษ เพียงแค่ท่านไว้ใจเรา โทรติดต่อเราที่ 02-9861680-2 พร้อมให้บริการทุกวัน (08.30 น.- 17.30 น.)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13325&Param2=13
วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com