วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อากาศหนาว ข้าวชะงักการเจริญเติบโต


อากาศหนาวเริ่มย่างกรายเข้ามาทีละน้อยแล้วนะครับปีนี้  ปัญหาน้ำท่วมก็ยังคงกล้ำกรายรบกวนพี่น้องชาวไทยอยู่เช่นเดิม เพียงแต่ว่าปีนี้กรุงเทพฯและปริมณฑลรอดพ้น แต่ไปกระหน่ำซ้ำเติมพี่น้องภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคอีสานเสียเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ระดับน้ำจะไม่สูงขึ้นมาจนทำให้ถนนหนทางหลักขาดการติดต่อเหมือนเช่นปี 2554 แต่พื้นที่ทำมาหากินของพี่น้องเกษตรกรก็ถูกน้ำกระหน่ำซ้ำซัดจนเสียหาย และต้องทิ้งช่วงการเพาะปลูกทำให้รายได้หายหดเยอะพอสมควร

แต่ที่ สำคัญในขณะนี้ภัยธรรมชาติลูกใหม่ที่เข้าใกล้พี่น้องเกษตรกรนั่นก็ภัยภัยหนาว ซึ่งเป็นบรรยากาศที่สวยงามสำหรับประชาชนคนธรรมดาที่ต้องการสัมผัสบรรยากาศ ที่เย็นฉ่ำช่ำชื่นหลังจากที่ผ่านกาลเวลาที่ร้อนอบอ้าวมายาวนานพอสมควร แต่พี่น้องเกษตรกรทั้งภาคเหนือที่มีปัญหาแม่คะนิ้งที่ทำให้ใบของพืชไร่ไม้ผล ถูกมวลน้ำที่มีอยู่ในเซลล์เกิดการแข็งตัวขยายมวลใหญ่ขึ้น ทำให้เนื้อเซลล์ของพืชฉีกขาดแตกหัก เมื่อเข้าสู่ช่วงสายน้ำแข็งหรือแม่คะนิ้งละลายและมีความร้อนจากแสงอาทิตย์ เพิ่มความเข้มข้นเข้ามามากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการใบไหม้สร้างความเสียหายแต่พืชผักอยู่มากเช่นกัน, หรือพี่น้องเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา ก็จะมีปัญหาน้ำเน่าเสียจากอาหารและของเสียที่ตกค้าง เพราะกุ้งหรือปลาจะกินอาหารน้อย และพี่น้องชาวไร่ชาวนาที่มีรอบระยะการปลูกในช่วงนี้ ก็จะมีปัญหาข้าวกระทบหนาว ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต เป็นโรคอั้นโรคจู่ ตามมา
Ricegreenplus02.jpgPumice_Sulpher02.jpg
ก็ขอฝากพี่น้องเกษตรกรให้เตรียมตัวรักษาป้องกันกันให้ดีนะครับ อย่างน้อยการใช้หินแร่ภูเขาไฟ พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) หว่านกระจายตั้งแต่ช่วงเตรียมเทือก หรือช่วงใกล้ระยะเวลาแตกกอ หรือก่อนข้าวตั้งท้องอายุ 5060 วัน ก็จะช่วยทำให้ข้าวมีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวจัดหรือร้อนจัดได้เป็นอย่างดี (Agricultural Utilization of Silicon in China by Hailong Wang1, Chunhua Li2 and Yongchao liang3,  Effect of Silicon on Yield by Gaspar H. Korndorfer) หรือจะใช้กลุ่ม ไรซ์กรีนพลัส ซึ่งเป็นของจุลธาตุอย่างสังกะสี, แมกนีเซียม, กำมะถัน นิกเกิ้ล ที่จัดสรรคัดสูตรมาโดยเฉพาะเพื่อต่อสู้กับอากาศหนาวจัดที่จะเข้ามาสร้างผลกระทบด้านลบแก่พืช อันนี้ก็ขอฝากไว้ด้วยนะครับ ว่าสามารถใช้แนวทางปลอดภัยไร้สารพิษช่วยในการดูแลป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายแก่พืชไร่ไม้ผลของพี่น้องเกษตรกร เพราะบางท่านเมื่อพืชกระทบหนาวหยุดชะงักการเจริญเติบโต แล้วไปเชื่อผู้หวังดีให้ใช้ยูเรีย 46-0-0 กระตุ้นหว่านทับลงไป ซึ่งไม่เกิดผลอะไรเลย หลังจากพ้นหนาวแล้ว ไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในดินครั้งก่อนจำนวนมากก็จะถาโถมลำเลี้ยงขึ้นไป ทำให้เฝือใบอ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรค แมลง เพลี้ย หนอน ราและไร  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 081-313-7559

คุณมนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14296&Param2=14

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หินแร่ภูเขาไฟ ช่วยลดสารพิษ เพิ่มความปลอดภัยในอาหาร

การเฝ้าระแวดระวังอย่างไม่ไว้วางใจจากสหภาพยุโรปเกี่ยวกับพืชผักผลไม้จากประเทศไทยเรา เนื่องด้วยมีรายงานว่าเราได้ใช้สารเคมีที่เป็นพิษในภาคการเกษตรมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)  พืชผักผลไม้ที่วางจำหน่ายทั่วไปและเป็นที่นิยมสำหรับการบริโภคของคนไทย อย่างเช่น ข้าว กาแฟ ถั่วฟักยาว ผักชี ผักกาด อ้อย คะน้า และพืชตระกูลแตง มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานถึง 40 % ในจำนวนนั้นเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้ายแรง 4 ชนิดที่หลายประเทศทั่วโลกได้ประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีเหล่านี้แล้ว ได้แก่ สารไดโครโดฟอส สารเมโทบิล หรือ แลนเนท สารคาร์โบฟูราน หรือฟูราคาน สารอีพีเอ็น หรือคูมิฟอส,
ล่าสุดนี้ก็มีข่าว ยูเอสเอฟดีเอ ซึ่งเป็นองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาปฏิเสธนำเข้าอาหารจากไทย 12 รายการ ได้แก่ มะขามหวาน มะขาม เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก น้ำปลา ชนิด Mud Fish Sauce และ Gouramy Fish Sauce เพราะพบสิ่งสกปรก/เน่าเสียเจือปน, ลิ้นจี่กระป๋องในน้ำเชื่อม พบการบวมของภาชนะบรรจุ หรือมีการรั่วซึม, เครื่องแกงเขียวหวาน และเครื่องแกงแดง พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนการเป็นผู้ผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ หรือทะเบียนผู้ผลิตอาหารที่ใช้กรดเป็นส่วนประกอบ, มะม่วงหั่นเป็นชิ้นในน้ำเชื่อม พบสารเคมีจำพวกยาปราบศัตรูพืชเจือปน, กล้วยอบแห้ง พบสารซัลไฟต์ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากสินค้า, ปลาแมกเคอเรลทอดรสเผ็ด และปลาแมกเคอเรลทอด ในซอสพริก พบว่าสินค้าถูกผลิต บรรจุ หรือเก็บอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกต้องตามสุขอนามัย  สาเหตุต่างๆเหล่านี้จึงทำให้ทางการสหรัฐเตรียมทำลายทิ้ง หรือส่งกลับใน 90 วัน
Pumice_Sulpher02.jpg
พืชพรรณธัญญาหารต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่เป็นวัตถุดิบ กึ่งสำเร็จรูป หรือสำเร็จรูป แต่ส่วนใหญ่ก็ยังต้องอาศัยวัตถุดิบที่จากภาคการเกษตรเป็นหลัก  และภาคเกษตรกรรมของเรานั้น เกษตรกรยังมีความรู้ความเข้าใจที่มากเพียงพอหรือไม่ในการผลิตพืชผักผลไม้หรือผลิตผลภาคการเกษตรในสาขาอาชีพอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัยไร้สารพิษเพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้บริโภคในประเทศอย่างเราๆที่เป็นชาวไทยด้วยกันเอง  ภาครัฐควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจแบบเข้มข้นเพื่อ ปฏิวัติทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญา แก่พี่น้องเกษตรกร เพื่อให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยทางอาหารต่อสังคมส่วนรวม
การนำหินแร่ภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็นซีโอไลท์ (Zeolite), พูมิช (Pumice), ม้อนท์โมริลโลไนท์ (Montmorillonite), ไคลน็อพติโลไลท์ (Clinoptilolite), ซิลิคอน (Silicon), ซิลิก้า (silica), ซิลิสิค แอซิด (silisic acid) ฯลฯ มาใช้ในการเกษตรกรรม (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหินแร่ภูเขาไฟใช้ในการเกษตร ท่านผู้อ่านสามารถค้นหาเพิ่มเติมได้จากคีย์เวิร์ด Silicon In Agriculture ซึ่งจะมีด๊อกเตอร์ทั่วโลกทั้ง ญี่ปุน, จีน, อเมริกา, บราซิล, อินเดีย, เกาหลี, ออสเตรเลีย ฯลฯ มาประชุมสุมหัวทำการวิจัยและทดลองเรื่องนี้โดยตรง) ประโยชน์จากหินแร่ภูเขาไฟจะช่วยทำให้พืชไร่ไม้ผลได้รับแร่ธาตุอาหารสารอาหาร ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม ธาตุรอง ธาตุเสริม และซิลิก้าที่ละลายน้ำออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์และแข็งแรง เหมือนการทำการเกษตรเชิงท่องเที่ยวที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจไปศึกษาดูงานกันอย่างมากมาย อย่างน้อยก็ช่วยทำให้การผลิตพืชไร่ไม้ผลแบบปลอดภัยไร้สารพิษ ทำได้ง่ายขึ้น มีทางเลือกมากขึ้น และลด ละ เลี่ยง เลิกการใช้สารพิษไปโดยปริยาย

คุณมนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14294&Param2=13

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปัญหากุ้งลอยและตาย ในระยะฝนตก?

ในอดีตประเทศยักษ์ใหญ่ที่รับซื้อกุ้งจากประเทศไทยเราคือ ญี่ปุ่นและอเมริกา  หลังจากอเมริกาโดนก่อการร้ายถล่มตึกเวิลด์เทรดในปี 2001 ก็ทำให้ตลาดกุ้งจากประเทศไทยเราก็พลอยซบเซาลงไปด้วย ยิ่งมีการฟ้องร้องจากเกษตรกรของอเมริกาเองเกี่ยวกับเรื่องการทุ่มตลาด (Anti and Dumping) จาก ฝั่งเราก็ยิ่งทำให้เกิดการต่อรองฟ้องร้องกันวุ่นวาย จึงทำให้ราคากุ้งกุลาดำตกต่ำประกอบกับผลกระทบจากการเลี้ยงที่มีการปล่อยน้ำ จากบ่อเลี้ยงกุ้งสู่แปลงนาข้าวของเกษตรกรเกิดการทะเลาะเบาะแว้งในยุคของ รัฐบาลบรรหาร ศิลปะอาชา ซึ่งเกี่ยวดองข้องเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วยจึงทำให้อาชีพ เลี้ยงกุ้งหลังจากปี 2544 ไม่ค่อยสดใสมากนัก  แต่ก็ยังพอมีกุ้งขาวแวนาไมด์ ที่เลี้ยงง่ายโตเร็วเข้ามาทดแทนไปพลางๆ ราคาสูงบ้างต่ำบ้าง แต่ก็ยังพอไปได้

แต่เดิมอเมริกาและญี่ปุ่นนั้นไม่ได้รับซื้อกุ้งจากประเทศไทยเรา แต่ได้ซื้อกุ้งจากประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องด้วยวิธีการเลี้ยงของทางอินเดียนั้นปล่อยกุ้งที่ไม่หนาแน่นมาก ประมาณ 50,000 ตัวต่อไร่ สามารถเลี้ยงได้นานมากกว่า 4 เดือน กุ้งตัวใหญ่ได้น้ำหนัก สุขภาพแข็งแรง คุณภาพดี จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดไปโดยปริยาย แต่หลังจากที่อินเดียได้ทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจแก่ญี่ปุ่นและอเมริกา และคว่ำบาตรอินเดียไม่รับซื้อกุ้ง วิกฤตของประเทศอินเดียส่งผลทำให้ตลาดการซื้อขายกุ้งของไทยเราดีขึ้นเป็นลำดับ หรือนับว่าบูมมากๆในปี 2538 – 2541 ซึ่งเรียกว่าเป็นยุคทองของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งภาคตะวันออก, ภาคใต้, ภาคตะวันตก และภาคอีสานอย่างถ้วนหน้า

มูลค่าการส่งออกในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ปีละประมาณ 48,000 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่าเป็นมูลค่าที่สูงอยู่มิใช่น้อย จึงยังทำให้มีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกระจัดกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มนายทุนใหญ่เสียเป็นส่วนมาก ซึ่งมีกำลังความสามารถในการบริหารจัดการฟาร์มให้ดำรงคงอยู่ได้อย่างยาวนาน ส่วนเกษตรกรรายย่อยนั้นก็ต้องหมั่นขยันขันแข็งในการดูแลรักษาบ่อให้สะอาด และระแวดระวังโรคภัยที่จะเข้ามากร้ำกราย  การป้องกันแก้ไขอย่างหนึ่งก็คือการปล่อยลูกกุ้งที่ไม่หนาแน่นมากเกินไป ดูแลทำความสะอาดบ่อด้วยการเพิ่มจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายขี้กุ้ง อาหารกุ้งโดยตรง ไม่ควรใช้จุลินทรีย์ที่หลากหลายสายพันธุ์ ควรใช้จุลินทรีย์ที่เฉพาะเจาะจง หรือได้รับการคัดเลือกมาโดยเฉพาะ การเลี้ยงที่มีกุ้งอยู่อาศัยจำนวนมาก ก็จะมีขี้กุ้งมากตามมา เมื่อจำนวนเดือนเพิ่มขึ้น กุ้งโตขึ้น ของเสียและก๊าซแอมโมเนีย, ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ก็เพิ่มขึ้น ควรใช้หินแร่ภูเขาไฟ ซึ่งมีค่าความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุบวก (C.E.C. = Cation Exchange Capacity) เข้ามาช่วยจับตรึงก๊าซพิษเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น แต่ในระยะหน้าฝน ฟ้าหลัว อากาศปิด กุ้งจะกินอาหารน้อย น้ำแยกชั้น ควรกดใบพัดตีผิวน้าให้ลึกลงไปด้วยการใช้ก้อนหินหรืออิฐบล็อควางทับบนทุ่น เพื่อให้ใบพัดวักอากาศลงไปปล่อยด้านล่างได้ลึกขึ้น ควรลดการให้อาหารให้พอเหมาะพอดีด้วยการเช็คยอ หากเหลือมากก็ควรงดลดน้อยลงกว่าเดิม เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้กุ้งไม่เครียด ลดการตายก่อนจับ ลงไปได้มาก

คุณมนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14257&Param2=8

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การหยุดใช้สารพิษ คือการสร้างชีวิตให้แก่ตำรวจธรรมชาติ

ปัจจุบันการใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อราและรวมถึงการใช้สารพิษในรูปแบบต่างๆ ในวงการเกษตรกรรมซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่นำไปสู่สังคมมวลหมู่มากอีกหลากหลายอาชีพ เนื่องด้วยสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ยังคงต้องกินต้องใช้ผลิตผลจากภาคการเกษตรกันถ้วนทั่วทุกตัวตน โดยเฉพาะประเทศที่บริโภคข้าว แป้งสาลี ขนมปัง แฮมเบอร์เกอร์ ซูชิ ฯลฯ นอกจากจะอาศัยแป้งที่ผลิตจากธัญพืช และก็จะต้องมีท็อปปิ้งเครื่องเคียงที่เป็นผักหรือผักสลัด ผลไม้นานาชนิดเข้ามาตกแต่งประดับประดาเพื่อสร้างคุณค่าทางโภชนาการและสีสันในด้านมูลค่า แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการผลิตว่าจะมีความปลอดภัยไร้สารพิษ ไม่สร้างสิ่งเจือปนตกค้างไปยังผู้บริโภคจนก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาอีกนานาชนิด ทั้งมะเร็ง ภูมิแพ้ อัมพฤต อัมพาต ความหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สารพิษตกค้างในเลือด อัลไซเมอร์ และอื่นอีกมากมาย
ตราบใดที่ยังมีการนำเข้าสารพิษที่ ใช้ในการผลิตพืชผลทางเกษตรอยู่หลายหมื่นล้านบาทและผู้บริโภคยังคงไม่ตระหนัก ตรึกตรองสิ่งต่างๆที่จะป้อนเข้าสู่ปากอย่างใคร่ครวญหวนคิดคำนึงถึงสิ่งแวด ล้อม การปนเปื้อนในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตต่างๆทั้ง คน สัตว์ ต้นไม้ และจุลินทรีย์ ว่าจะมีการล้มหายตายจากไปมากน้อยเพียงใดจากสารพิษเหล่านี้ เมื่อนั้นโลกหรือประเทศของเราก็คงยังจะต้องมีสารพิษต่างๆเหล่านี้เข้ามาอยู่ ในกระบวนการผลิตอาหารให้แก่มนุษย์และสัตว์อยู่ร่ำไป ไม่มีวันจบสิ้น แต่ถ้าเริ่มจากผู้บริโภคที่สร้างดีมานด์หรือความต้องการในรูปแบบใหม่ที่ ปลอดภัยไร้สารพิษ เมื่อนั้นผู้ผลิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรชาวไร่ชาวนาก็คงจะคัดกรองสร้างวิธี การที่ปลอดภัยไร้สารพิษให้แก่ผู้บริโภคได้ไม่ยาก เนื่องด้วยมีพื้นฐานและองค์ความรู้เดิมมาอย่างยาวนาน ยิ่งมีหน่วยงานจากภาครัฐที่น่าเชื่อถือให้สัญลักษณ์มาตรฐานรับรองและมีราคา ที่น่าจูงใจ ผมว่ากระแสรับประทานพืชพันธ์ธัญญาหารแบบปลอดสารพิษก็คงจะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก และยังส่งผลกระทบด้านบวกไปยังวงกว้างอีกทั้งภาคการโรงแรม ท่องเที่ยว โรงพยาบาล การส่งออก และช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่คุ้มกับค่าเหนื่อย
         
การทำเกษตรกรรมแบบปลอดภัยไร้สารพิษ นอกจากจะได้อานิสงส์ไปยังทุกภาคส่วนทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำแล้ว อีกมุมมองหนึ่งคือการรักษาชีวิตของแมลงต่างๆ ที่คอยควบคุมสร้างสมดุลให้แก่ระบบนิเวศน์ให้ดำรงคงอยู่แบบพึ่งพิงอิงอาศัย ซึ่งกันและกัน ทั้ง ไส้เดือน ด้วงดิน ก้นกระดก ด้วงเต่า แมลงช้างปีกใส แมงมุม จิงโจ้น้ำ ต่อแตน มด ตัวห้ำตัวเบียน มวนเพชรฆาต ตั๊กแตนตำข้าว ฯลฯ สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้จะหมดสิ้นไปถ้าเรายังไม่กระตือรือร้นที่จะรักษา หรือช่วยกันรณรงค์ส่งเสริมเนื่องด้วยปริมาณสารเคมีที่เป็นพิษร้ายเข้มข้น (เนื่องด้วยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงติดต่อกันมาอย่างยาวนานทำให้แมลงศัตรูพืชดื้อ ยา) ปริมาณการออกฤทธิ์ของสารเคมีจึงต้องเข้มข้นมากขึ้นไปเรื่อยๆเพื่อฆ่าแมลง ศัตรูพืชให้ล้มตายลงอย่างรวดเร็ว แต่ผลข้างเคียงคือการทำให้คนที่เป็นผู้ผลิต คนที่บริโภคและสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเหล่า แมลงดีที่ทำหน้าตำรวจธรรมชาติคอยควบคุมเหล่าแมลงร้ายที่จะเข้าทำลายพืชไร่ ไม้ผลของเกษตรกรจะต้องมีอันเป็นไปล้มหายตายจากลงไปอย่างน่าเสียดาย

คุณมนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14256&Param2=13

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การป้องกันกำจัดหนอนชอนใบในมะนาว



สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่านครับ วันนี้จะมาพูดถึงหนอนชอนใบที่นับได้ว่าเป็นศัตรูพืชของมะนาวที่ร้ายกาจมาก  เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ความกว้างขณะกางปีกออก เพียง 0.8 มิลลิเมตร เท่านั้น เพศเมียตัวเต็มวัยหลังผสมพันธุ์แล้ว บินมาวางไข่ที่ผิวใบอ่อนของมะนาว ที่มีอายุ 1-7 วัน ไข่มีขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุด หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น รูปร่างกลมรี สีเหลืองใส ไข่ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน แล้วเจาะเข้าไปชอนไชภายในใบอ่อนมะนาวเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์อ่อนของใบระยะเป็นตัวหนอน 7-10 วัน จากนั้นจะเข้าดักแด้เป็นเวลา 5-10 วัน อยู่ในใบมะนาว ก่อนฟักออกเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัย ลักษณะการทำลาย มองเห็นเป็นทางสีขาว คดเคี้ยวไปมาตามทางที่ตัวหนอนเคลื่อนผ่าน ต่อมาใบจะหงิกงอ การระบาดรุนแรง ใบและต้นมะนาวแคระแกร็น การระบาดเกิดขึ้นได้ตลอดปี แต่มักระบาดรุนแรงระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายน นอกจากหนอนชอนใบเข้าทำลายมะนาวแล้ว ยังสามารถเข้าทำลายได้ทั้งส้มโอ ส้มเขียวหวาน และมะกรูด ประการสำคัญ หนอนชอนใบยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการระบาดของโรคแคงเกอร์อีกด้วย

แนวทาง การป้องกันอันดับแรกคือใช้สารปรับปรุงบำรุงดินพูมิช-ซัลเฟอร์หว่านให้ทั่ว ทรงพุ่มเพื่อทำให้เซลล์ของใบมะนาวแข็งแกร่งต้านทานการเข้าทำลาย อีกประการหนึ่งคือเมื่อการทำให้มะนาวมีใบอ่อนนั้นจะต้องฉีดยากำจัดหนอนทุกๆ อย่างเช่นทริปโตฝาจหรือบีทีชีวภาพทุกๆ 3 วันครั้งในช่วงที่มะนาวยังเป็นใบอ่อนและจะต้องผสมกับสารสกัดสมุนไพรไล่แมลง เช่นแพล้นท์เซฟMT จะทำให้ระยะการเข้าทำลายของหนอนไม่สามารถทำลายได้ในระยะใบอ่อนนั่นเองครับ แล้วโดยปรกติถ้ามะนาวใบอ่อนนั้นผ่านช่วงไปยังช่วงใบแก่การระบาดหรือการเข้าทำลายของหนอนนั้นก็จะแทบไม่มีเลย

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14231&Param2=4

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พูมิชซัลเฟอร์ สารปรับปรุงบำรุงดินจากหินภูเขาไฟ ช่วยจับตรึงปุ๋ย เสริมธาตุอาหารพืช


สวัสดีครับเพื่อนสนิท มิตรสหาย ชาวเกษตรปลอดสารพิษที่มีสนใจทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ วันนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการใช้พูมิชซัลเฟอร์ สารปรับปรุงบำรุงดินที่ได้จากหินภูเขาไฟ อาจทำให้หลายต่อหลายท่านสงสัย ไม่คุ้นชื่อ ว่าพูมิชซัลเฟอร์คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง วันนี้เรามีคำตอบ
Pumice_Sulpher02.jpg
พูมิชซัลเฟอร์เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินที่ได้จากหินแร่ภูเขาไฟ ช่วยจับตรึงปุ๋ยทำปุ๋ยให้ละลายช้า ปลดปล่อยซิลิคอนหรือซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ แล้วไปตกผลึกอยู่ในเซลล์ทำให้ต้นพืชที่สารดังกล่าวแข็งแกร่งต้านทานต่อหนอน แมลง ไร รา ช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้ร่วนซุย ปรับความสมดุลของกรด-ด่างในดินให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช
บางท่าน มองว่าประโยชน์ไม่แตกต่างจากภูไมท์ซัลเฟต อาจแตกต่างแค่ชื่อเท่านั้นด้านในยังเหมือนเดิม แท้ที่จริงพูมิชซัลเฟอร์เป็นสารปรับปรุงดินผลิตจากหินแร่ภูเขาไฟคนละชนิดกับ ภูไมท์ซัลเฟต  มีซิลิก้าและธาตุอาหารพืชในปริมาณที่มากกว่า จับตรึงปุ๋ยได้ดีกว่า เหมาะต่อการปรับปรุงบำรุงดิน รองก้นหลุมหรือผสมหว่านร่วมกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยเพิ่มซิลิก้าให้แก่เซลล์พืช สร้างภูมิคุ้มกันให้ต้านทานต่อโรคแมลงไม่ต้องฉีดพ่นยาบ่อยๆ
ในนาข้าวหว่านรองพื้นหรือลูบเทือก 20-40 กิโลกรัม/ไร่ ในกรณีต้องการปรับปรุงบำรุงดิน อาจต้องดูค่า pH ของดินก่อน ว่า pH เท่าไร เป็นกรดหรือเป็นด่าง เหมาะต่อปลูกหรือไม่ ซึ่ง pH ที่ดีเหมาะสมต่อการปลูกพืชควรจะอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 เพราะว่าพืชสามารถดูดลำเลียงธาตุอาหารไม่ว่าจะเป็นธาตุหลัก, รอง, เสริม ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยที่กรดหรือด่างไปกดตรึงธาตุอาหารเอาไว้ ส่งผลให้พืชโตเร็วได้ขนาด ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ ไม่สิ้นเปลืองปุ๋ย ไม่ต้องคอยโหมบำรุงเพื่อหวังเพิ่มผลผลิต เพียงแค่นี้ก็ทำให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยยาลงได้แล้ว อาจเป็นแค่เรื่องเล็กๆน้อยๆสำหรับบางท่าน แต่ขอบอกว่าไม่ควรมองข้าม ก่อนปลูกพืชทุกครั้งควรปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะสมเสียก่อน เท่านี้ต้นทุนของท่านก็ลดลง ผลผลิตของท่านก็จะเพิ่มขึ้น “ ฝาก พูมิชซัลเฟอร์ สารปรับปรุงบำรุงดินจากหินแร่ภูเขาไฟ ไว้ในใจของท่านด้วยนะครับ ”

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14211&Param2=21

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทรงพุ่มแผ่กว้าง สร้างพื้นที่รับแสง โรคแมลงไม่รบกวน


ท่านผู้อ่านคงอดจะนึกแปลกใจไม่ได้ว่า หัวข้อวันนี้ผู้เขียนจะพูดคุยในเรื่องของอะไร เป็นพืชชนิดไหน ก็จะขอบอกเสียตอนนี้เลยนะครับว่า สามารถที่จะติดตามรับอ่านกันได้ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นท่านที่ปลูก พริก มะเขือ แตงกวา น้อยหน่า มะม่วง มะกรูด มะนาว มะพร้าว ส้มโอ ฯลฯ ถือว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันได้ทั้งหมด เนื่องด้วยในระยะที่มีพายุ นารีกำลังเข้ามาระบาดอาละวาดในบ้านเราอยู่ในขณะนี้ จนอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงชื่อพายุจาก นารีเป็น นารีพิฆาตเสียแล้วกระมัง
เพราะ การกระหน่ำซ้ำเติมพี่น้องไทยเราเสียจนพินาศราบเป็นหน้ากลองเสียหลายแห่งหนจน ได้รับความเดือดร้อนกันเกือบทั่วทุกถิ่นที่ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับพี่น้องไทยเราที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม กันด้วยทุกคนนะครับ เพราะเรื่องน้ำท่วมนี่ใครไม่เจอ จะไม่รู้จริงๆว่ามันทุกข์ทรมานเพียงใด ชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราก็ประสบพบเจอมาหนักอยู่เหมือนกันครับเมื่อปี 54 จนคิดว่าไม่อยากจะพบจะเจออีกต่อไปทีเดียวเชียวล่ะครับ
พายุ นารีกับความชื้นที่สั่งสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากๆ และความเข้มของแสงที่ลดน้อยถอยลงในช่วงฝนฟ้าครึ้มนั้นจะทำให้พืชที่มีลักษณะ ของทรงพุ่มที่ไม่ปลอดโปร่งโล่งเตียนก็จะทำให้เกิดปัญหาการหมักหมมอมเชื้อโรค ง่ายต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราโรคพืชให้เข้าฉกฉวยทำลายได้ง่าย เพียงเพาะสาเหตุแรกเริ่มจากการที่พืชไร่ไม้ผลนั้นขาดการดูแลตกแต่งกิ่ง ก้าน ใบให้ถูกวิธี โดยยังคงปล่อยให้มีทรงพุ่มด้านใน มีใบและกิ่งกระโดงกิ่งน้ำค้างเบียดเสียดยัดเยียดอยู่ด้านในจำนวนมาก อีกทั้งลักษณะทรงพุ่มก็อาจจะเล็กเรียวแหลมมีพื้นที่รับแสงได้น้อย ทำให้แม่ครัวหรือผู้ปรุงอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ เมื่อสภาพของทรงพุ่มแน่นทึบจึงทำให้การระบายถ่ายเทอากาศทำได้ยากมากขึ้น มิหนำซ้ำความชื้นที่มีอยู่มากในทรงพุ่มทำให้เชื้อราและแบคทีเรียที่เป็น ปรสิตหรือเชื้อโรคของพืชก็สามารถที่เจริญเติบโตเบ่งบานจนก่อให้เกิดอันตราย แก่พืชได้โดยง่าย อีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงศัตรูอย่างเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งให้เข้ามาหลบอาศัยค่อยๆขยายพันธุ์และเข้าทำลายพืชผักผลไม้ให้เสีย หายได้ง่าย
Pumice_Sulpher02.jpg
พี่น้องเกษตรกรจะสังเกตเห็นหลักการง่ายๆได้แล้วนะครับว่า วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงโรคแมลงรบกวนได้ง่ายด้วยการทำให้ทรงพุ่มของพืชนั้นมีความโปร่ง โล่ง เตียน มีการระบายถ่ายเทอากาศได้อย่างสะดวกสบาย ด้วยการตัดแต่งกิ่งที่อยู่ใต้ร่มเงา ไม่ได้รับแสงแดด ซึ่งเขาจะเรียกว่ากิ่งกระโดงกิ่งน้ำค้าง  กิ่งต่างๆเหล่านี้จะอาศัยกินฟรีเพียงอย่างเดียว ไม่ทำงาน คือดูดกินอาหารแต่ไม่ทำหน้าที่ปรุงอาหารเพราะไม่ได้รับแสงแดด จึงทำให้พี่น้องเกษตรกรที่ปลูกพืชมีลักษณะทรงพุ่มหนาทึบนี้จะหมดสะตุ้งสตังค์ไปกับการซื้อปุ๋ยมาบำรุงโดยเกินความจำเป็น อีกทั้งก็จะสิ้นเปลืองไปกับค่าหยูกค่ายาในการรักษาโรคและแมลงที่จะเข้ามารบกวนอยู่ตลอดเวลาดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ฉะนั้นเกษตรกรที่หมั่นดูแลปรับปรุงตัดแต่งกิ่งก้านใบให้มีความสะอาดปลอดโปร่งอยู่เสมอก็จะช่วยลดต้นทุนในด้านการดูแลรักษาไปได้มากอยู่ พี่น้องเกษตรกรที่ต้องการปรึกษาปัญหาเพิ่มเติมติดต่อสอบถามเข้ามาได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 0-2986-1680-2 หรือ 081-313-7559 ได้นะครับ
 คุณมนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้าวต้นแกร่ง ต้านโรคแมลง แตกกอดี ใบตั้งชูสู้แสง ด้วยหินแร่ภูเขาไฟ”พูมิชซัลเฟอร์”สารปรับปรุงบำรุงดิน



ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้เคยนำเสนอบทความของสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ใช้หินแร่พูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์ ในนาข้าวแล้วได้ผลดีในด้านต่างๆมาแล้วมากมาย ทั้งช่วยเพิ่มผลผลิตข้าว ช่วยให้ข้าวกินปุ๋ยดี ข้าวแตกกอดี ใบตั้งชูสู้แสง ลดการเข้าทำลายของโรคและแมลง และอีกหนึ่งสรรพคุณของหินแร่พูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์ก็คือเรื่องของการทำให้เซลล์พืชแข็งแรง หรือที่ชาวนาเรียกกันว่าข้าวต้นแข็ง ผู้เขียนเลยนำข้อมูลการใช้พูมิชซัลเฟอร์แล้วทำให้ต้นแข็งของท่านสมาชิกมายกตัวอย่างให้ท่านสมาชิกท่านอื่นๆได้รับทราบข้อมูลกัน

คุณแฉล่ม แจ่มจรรยา อยู่บ้านเลขที่ 45 หมู่ที่3 ต.ประชาสุขสรรค์ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร เป็นสมาชิกของชมรมเกษตรปลอดสารพิษมาหลายปี มีอาชีพทำนาตอนนี้ทำอยู่ 8 ไร่ เดิมที่คุณแฉล่มจะใช้ผลิตภัณฑ์ของทางชมรมกลุ่มธาตุอาหารพืช ซิลิโคเทรซกับไวตาไลเซอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารเสริมทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ออกรวงดีเพิ่มน้ำหนักเมล็ด แต่ยังไม่มีโอกาสได้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มั่นใจและหาซื้อลำบาก แต่พอหลังจากนักวิชาการของทางชมรมฯได้ติดต่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีสมาชิก ท่านอื่นที่ได้ใช้แล้วได้ผลทำให้คุณแฉล่มตัดสินใจทดลองใช้พูมิชซัลเฟอร์ ในนาข้าว คุณแฉล่มใช้ พูมิชซัลเฟอร์  หว่านไร่ละ 2 กระสอบ (40 กิโลกรัม)หว่านตอนก่อนลูบเทือกเพื่อเป็นการหมักให้พูมิชซัลเฟอร์ ไปจับตรึงธาตุอาหารต่างๆที่อยู่ภายในดินไว้รอข้าว


หลังจากใช้พูมิชซัลเฟอร์ทางผู้เขียนได้โทรไปเก็บข้อมูลกับคุณแฉล่มได้ทราบข้อมูลว่า ตอนนี้ข้าวอายุได้ 45 วันแล้วข้าวแตกกอดีมากแตกกอมาชนกันพอดีกำลังสวยเลยระหว่างกอ(ไม่แน่นหรือไม่บางเกินไป) เพราะคุณแฉล่มหว่านข้าวแค่ไร่ละ 2 ถังเป็นข้าวพันธ์ กข.31 กอข้าวก็ใหญ่ กอแข็งมาก ใบคมหรือใบหญ้าคา รากข้าวก็ยาว เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนกับแต่ก่อนที่ไม่ได้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ ทำให้คุณแฉล่มถึงกับทึ่งถึงความแตกต่างระหว่างที่ใช้พูมิชซัลเฟอร์กับที่ไม่ได้ใช้ ตอนนี้คุณแฉล่มพอใจเป็นอย่างมากกับการทำนาเที่ยวนี้ถ้าทางคุณแฉล่มเกี่ยว ข้าวแล้วได้ผลผลิตเป็นอย่างไรเพิ่มขึ้นมามากน้อยเพียงไรทางผู้เขียนสัญญา ครับว่าจะมารายงานให้ทราบแน่นอนครับ
เกษตรกรที่ทำนาท่านอื่นๆที่สนใจแต่ยังเขินอายไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ยังยึดวิธีทำนาแบบเดิมๆสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของหินแร่พูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์ได้ที่ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ www.thaigreenagro.com
เขียนและรายงานเมื่อ 15 ตุลาคม 2556
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14167&Param2=14