วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

อ้อยผลผลิตดี ลดการใช้ปุ๋ย ต้นทุนต่ำ ด้วยพูมิชซัลเฟอร์

เรื่องที่ผู้เขียนจะนำเสนอในวันนี้เป็นเรื่องของเกษตรกรที่ปลูกอ้อยแล้วได้ผลผลิต ค่อนข้างสูงเลยที่เดียวมาบอกเล่าเก้าสิบให้กับท่านสมาชิกที่ปลูกอ้อยอยู่ใน เวลานี้ได้ทราบข้อมูลของเพื่อนสมาชิกที่ปลูกอ้อยเหมือนกัน เผื่อจะได้เป็นข้อมูลหรือเทคนิคใหม่ๆไปปรับใช้ในไร่ของท่าน เกษตรกรท่านนี้ไม่ใช่ใครอื่นคือคุณบุญลอง ประทุมมาหรือพี่ลอง อาชีพหลักมนุษย์เงินเดือนในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งย่านนวนคร ที่ปลูกอ้อย 5 ไร่ เป็นที่ของพ่อตาเดิมทีตรงไม่ได้ทำอะไร รกร้างว่างเปล่า พี่ลองเลยขอพ่อตาลองเอาอ้อยไปปลูกดู ซึ่งก็ปลูกแบบฝากเทวดาเลี้ยง ไม่ได้ดูแลอะไรมากมายนัก แบบชาวไร่อ้อยท่านอื่นๆทั่วไป
หลังจากนำพันธุ์อ้อยมาปักลงในแปลงประมาณ 1 เดือนก็ได้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 6 กระสอบ ผสมร่วมกับพูมิชซัลเฟอร์ 5 กระสอบหว่านไปในไร่อ้อยทั้ง 5 ไร่ที่ทำเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วไม่ได้ใส่ปุ๋ยอีกเลยจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต จากการสอบถามเก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้คำตอบว่า พี่ลองได้ปลูกอ้อยมา 2 ปีหรือว่าปลูกอ้อยมา 2 ตอแล้วผลผลิตที่ได้ 2 ปีที่ผ่านมาพอๆกันคือเกือบ 100 ตัน ซึ่งปีแรกขายอ้อยเป็นท่อนพันธุ์ให้กับเกษตรกรใกล้เคียงส่วนปีนี้ที่พึ่งตัดไปได้ผลผลิต 98 ตัน ได้ขายเข้าโรงงานอ้อยไปแล้ว นอกจากยังบอกตบท้ายอีกว่า ผลผลิตที่ไร่ของพ่อตาตัวเองนั้นสูงกว่าไร่อ้อยเจ้าอื่นๆในย่านอำเภอตากฟ้า อำเภอตาคลี กว่าครึ่ง
Pumice_Sulpher02.jpg
แถบนี้ผลผลิตอ้อยอย่างมากสุดไม่เกิน12 ตันต่อไร่ แถมยังต้องใส่ปุ๋ย 2-3 ครั้ง ต่อรอบ ต่างจากพี่ลองที่ใส่ปุ๋ยแค่รอบเดียว และยังบอกอีกว่าปัจจัยที่ทำให้อ้อยที่ปลูกได้ผลผลิตดีน่าจะมาจากพูมิชซัล เฟอร์ ที่คอยจับตรึงปุ๋ยให้ละลายช้าลง ทำให้อ้อยมีปุ๋ยกินเป็นเวลานาน ประกอบกับดินที่ปลูกเป็นดินใหม่ยังไม่เคยเพาะปลูกอะไรเลยทำให้สารอินทรีย์ วัตถุและธาตุอาหารต่างๆที่อยู่ในดินยังอุดมสมบูรณ์ทำให้อ้อยที่ปลูกได้สาร อาหารที่เพียงพอ ทำให้การเจริญเติบโตดี พี่ลองบอกว่าตอนนี้กำลังจะใส่ปุ๋ยอ้อยตอที่ 3 แต่ก็ไม่ลืมนำพูมิชซัลเฟอร์มาผสมปุ๋ยหว่านเหมือนก่อน ได้ผลเป็นอย่างไรผู้เขียนจะเก็บข้อมูลมาบอกเล่าเก้าสิบให้กับพี่น้องชาว เกษตรปลอดสารพิษอย่างแน่นอนครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ 085-9205846 (คุณจตุโชค)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12918&Param2=3
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

ปรับปรุงดินทรายให้อุ้มน้ำ เหมาะกับพืชหน้าแล้ง

อากาศ ร้อนแผดเผาพื้นดิน พื้นน้ำ ใบไม้ใบหญ้าจนแห้งกรอบ ความชุ่มชื้นหาย ใบไม้ที่เคยเขียวกลับเป็นสีน้ำตาลแดง ไม่สดชื่น เหี่ยวเหลืองลงทุกวันๆ ไม่สามารถปรุงอาหารส่งเสบียงไปเลี้ยง กิ่ง ก้าน ใบได้ เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลด์(ส่วนที่มีสีเขียว) ต่างก็เป็นผลพวงจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทั้งนั้น ปกติพืชเปิดปากใบรับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อสังเคราะห์แสงเวลากลางวันแล้วจะ ปิดปากใบช่วงกลางคืนแทน แต่ถ้าอุณหภูมิสูง อากาศแห้ง ความชื้นในดินน้อย พืชขาดน้ำส่งผลให้ปากใบปิดในเวลากลางวันได้เช่นกัน

อากาศร้อนส่งผลกระทบต่อพืชไร่ ไม้ผลไม้ดอก ฯลฯ พากันสูญเสียน้ำ คายน้ำคืนสู่บรรยากาศในรูปไอน้ำผ่านทางปากใบ แสงแดดที่ร้อนจ้าบวกกับอุณหภูมิที่ยิ่งทวีสูงขึ้น ผนวกกับน้ำในดินที่น้อยเกินไปทำให้พืชดูดซับน้ำได้ไม่เพียงพอ  เมื่อขาดน้ำนานๆเข้า ปากใบเริ่มปิด ใบเริ่มเหี่ยวเฉา ไม่เต่งตึงอย่างก่อน ปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้พืชต้นนั้น ชนิดนั้น ยืนต้นตายได้
Soilplus.gif
ยิ่งเป็นดินร่วนปนทราย ดินทรายยิ่งแล้วใหญ่ เนื่องจากดินทรายเป็นดินที่ธาตุอาหารน้อย ไม่เก็บความชื้น น้ำไหลผ่านได้ง่าย ควรปรับสภาพดิน เปลี่ยนโครงสร้างเนื้อดินด้วยการหว่านซอยพลัส 40-60 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับน้ำ เพิ่มความชื้นในดินให้พืชมากยิ่งขึ้น เมื่อดินทรายดูดซับน้ำได้ดีก็แทบไม่ต้องกังวลเรื่องปลูกพืชบนพื้นที่ดินทรายอีกต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12910&Param2=17
วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

ผักปลอดสารต้นทุนต่ำทำได้ แม้ราคาผันผวนก็ไม่ต้องแคร์ ขอแค่คนยังกินผัก

การปลูกพืชผักให้ปลอดจากสารพิษ โรคแมลงศัตรูเข้าทำลายน้อย เริ่มจากสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืช จนศัตรูพืชไม่สามารถเข้าทำลายได้หรือหากเข้าได้แต่น้อยกว่าเดิม ต้นพืชโดยปกติจะแข็งแรงตามชนิด พันธุ์พืชนั้นๆ แต่อาจกลับอ่อนแอได้ด้วยปัจจัยต่อจากนี้ เช่น รากพืชขาดอากาศหายใจเนื่องจากน้ำท่วมหรือน้ำขังนานเกินไป หรือสาเหตุจากดินเปรี้ยวจัดจนกระทั้งฟอสฟอรัสและจุลธาตุบางตัวถูกจับตรึงไว้ไม่สามารถปลดปล่อยให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่กลับสร้างปัญหาให้โดยปลดปล่อยสารละลายอะลูมิเนียมพวก เหล็ก แมงกานีส ออกมาแทน จนเป็นพิษต่อพืช ส่งผลให้พืชอ่อนแอลง ยิ่งใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกวิธีไม่สมดุลแล้วละก้อ ยิ่งสร้างปัญหาหนักเข้าไปอีก

เติมไนโตรเจนลงดินหรือหว่านให้พืชในปริมาณมากเกินจำเป็น ไม่สมดุลกับธาตุอื่น ส่งผลให้พืชบ้าใบเฝือใบ ลำต้นอ่อนเปราะหักล้มง่าย เป็นที่ชื่นชอบของโรคแมลง ยิ่งใช้ซ้ำๆ เดิมๆ อย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้พืชอ่อนแอหนัก แมลงศัตรูก็เข้าทำลายได้ง่าย ยิ่งถ้าฉีดพ่นเคมีฆ่าแมลงกำจัดราด้วยแล้วยิ่งทำให้พืชผักปนเปื้อนสารพิษมากตามไปด้วย ดังนั้นควรลดโรค แมลงศัตรูโดยงดใช้สารเคมี เพื่อป้องกันรักษาตัวห้ำตัวเบียนแมลงศัตรูธรรมชาติ โดยใช้ไฟล่อแมลงกลางคืนออกนอกแปลงปลูก ผสมผสานกับการฉีดพ่นจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ สมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ป แต่หากมีเชื้อราพบเข้าทำลายให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่าหรือบาซิลลัส-พลายแก้ว ป้องกันควบคุมการระบาด
BS_Plaikeaw.gif  Tricoderma_Bag.gif
ก่อนหว่านปุ๋ยลงดินไม่ว่าจะปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือตรวจสภาพดินว่าเป็นกรดหรือด่าง ให้รู้ทิศทางว่าปรับปรุงดินอย่างไรถึงเหมาะสม หากดินเป็นกรด pH ต่ำกว่า 5.8 ก็ให้ใช้พูมิช หากแต่ดินเป็นด่าง pH สูงกว่า 6.3 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตกระสอบแดงแทน ซึ่งสารปรับปรุงดินดังกล่าวยังช่วยสลายสารพิษในดิน ไล่เกลือขึ้นผิวดินลดความเค็ม จับตรึงปุ๋ยละลายช้าลง ประหยัดต้นทุน ไม่แคร์ราคาสูงหรือต่ำ ขายได้ไม่ขาดทุน ขอแค่มีคนกิน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12897&Param2=3
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

“ปุ๋ย” ใช้ให้เป็นใช้ให้ถูก ประโยชน์มากกว่าเสียแน่นอน

ปุ๋ยยูเรียหรือไนโตรเจนใช้เดี่ยวๆ บ่อยๆ นานๆ จะทำให้พืชอ่อนแอเพราะขาดธาตุอาหารหลักอย่างฟอสฟอรัส โพแทสเซียม อีก 2ตัว เมื่อใช้ไปเรื่อยๆอย่างไม่สมดุลความแข็งแกร่งของต้นพืชลดลง ไม่ว่าชนิดหรือพันธ์พืชจะดี จะเก่ง สักแค่ไหนก็ไม่สามารถต้านทานโรคแมลงได้ไหว สุดท้ายแล้วพืชก็อ่อนแอเป็นโรคง่าย แต่หากก้มมองข้างกระสอบสังเกตว่าจะระบุแนะนำให้ใช้เดี่ยวๆ กับพืชบ้างชนิดอย่างข้าว อ้อยฯลฯ แม้แต่หน่วยงานภาครัฐก็ยังส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ในทิศทางเช่นเดียวกัน อย่างเช่นใช้ยูเรียแต่งหน้าข้าวในนาให้ใบดูเขียวเสมอ โดยที่ไม่เติมปุ๋ยธาตุอาหารใดเลย

พืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม) ธาตุรอง (แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน) ธาตุเสริม (เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินัมและคลอรีน) ในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่ชนิดพันธุ์พืชนั้นๆด้วย สภาพดินที่ง่ายต่อการถูกชะล้างอย่างดินทราย มักจะขาดธาตุอาหารหรือปุ๋ยเทียบทุกตัว ดินประเภทนี้ควรใช้ปุ๋ยคอกเข้ามาร่วมมากหน่อย ปุ๋ยเคมีที่นำมาใช้ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ตัว ซึ่งอาจเป็นสูตรเสมอก็ได้เพราะง่ายต่อการจดจำ แต่หากต้องการปรับปรุงดินในสภาพดินทรายไปด้วยให้ใช้ซอยพลัส 40-60 กิโลกรัมคลุกผสมร่วมปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมหว่านกระจายทั่วแปลงหรือรอบๆทรงพุ่ม 2-3 เดือนครั้ง
20110613_Dolomite.jpg     Phausphet02.jpg
ดินลุ่มน้ำหรือที่ลุ่มสองฝั่งลำน้ำดินเหนียวมีโพแทสเซียมเยอะเพราะน้ำท่วมบ่อยหรือเขตดินดำอย่างปทุมธานี อยุธยา ฉะเชิงเทรา ฯลฯ ซึ่งแถบนี้จะมีโพแทสเซียมธรรมชาติในเนื้อดินค่อนข้างมากไม่จำเป็นต้องปุ๋ยตัวท้าย (K) เลยก็ยังได้ แต่ที่ควรระวังคือดินแถบนี้ส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นกรดถึงกรดจัด ควรใช้โดโลไมท์ ปูนมาล์ลหรือหินฟอสเฟตปรับปรุงดินก่อน เพื่อลดความเป็นกรดในเนื้อดินไม่ให้เป็นพิษต่อพืชที่จะปลูก ก่อนปรับปรุงดินทุกครั้งควรตรวจวัด pH ของดินก่อนทุกครั้ง ซึ่งอาจจะตรวจวัดเองหรือใช้บริการพัฒนาที่ดินหรือหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ดินแต่ที่แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน เซลล์ขายปุ๋ยมักเหมารวมแนะนำสูตรอะไรก็ได้ที่หว่านแล้วเขียวเร็ว ผลที่ตามมาแก้ปัญหาทีหลังเพื่อขายยาต่อ ชนิดที่ว่า “ยิงกระสุนนัดเดียวได้นก 2 ตัว” สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12888&Param2=17
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

ผลผลิตมะนาวออกตรงใจ ได้เงินได้กำไร

หากต้องการมีผลผลิตมะนาวไว้ขายช่วงเดือนมีนา-เมษา เราต้องให้มะนาวออกติดผลช่วงเดือนตุลา-พฤศจิกา หรือประมาณ 5-6 เดือนตั้งแต่วันที่บังคับให้ออกดอก แต่โดยมากมะนาวจะไม่ค่อยออกดอกติดผลใหม่หากบนต้นยังผลติดอยู่มาก  ดังนั้นต้องเก็บผลผลิตให้หมดตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนหรือช้าสุดก็เดือนตุลาคม จากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 บำรุงทางดินให้ออกดอก แต่ถ้าต้นงาม เฝือใบ บ้าใบจัด ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 คลุกเคล้าร่วมกับพูมิชแทน ต้นละ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
หากให้ปุ๋ยทางดินผิดบ้างไม่ต้องตกใจ ไม่มีผลกระทบกับมะนาวมากนัก ไม่เหมือนปุ๋ยน้ำที่ฉีดพ่นให้ทางใบที่ต้องคอยละเมียดระวัง ต้องใช้ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะบางอย่างให้มากไปใบไหม้ ดอกร่วง ผลอ่อนร่วง ต้นไหนที่ใบเยอะเขียวมันอยู่แล้วอาจฉีดพ่นแค่ปุ๋ย 0-52-34  2 ช้อนแกงร่วมกับน้ำตาลทราย 2 ช้อนแกง และซิลิโคเทรซ 5 กรัม ผสมในน้ำเปล่า 20 ลิตร ทุกๆ 7 วัน/ครั้ง ให้แก่มะนาวที่ใบเต็มต้นและเก็บผลหมดแล้ว ตลอดช่วงเดือนกันยา-ตุลา จนกว่ามะนาวจะออกดอกติดผลเต็มต้น
20110613_PUMICE_New02.jpg
เอ็นเอเอ, จิบเบอเรลลินใช้ได้บ้างช่วงที่มะนาวเริ่มติดผลดีแล้ว ทำให้ขั้วเหนียวขึ้น ลดการหลุดร่วงหรืออาจฉีดพ่นไวตาไลเซอร์ร่วมกับไคโตซานMT และแคลเซียม-โบรอนแทนก็ได้ นอกจากนี้อาจเสริมโดยการฉีดพ่นโพแทสเซียมฮิวเมทร่วมกับปุ๋ยสูตร 5-55-20 ป้องกันดอก-ผลหลุดร่วง ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12860&Param2=4
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

หนอนเจาะไส้ดอกมะลิ แก้ได้ไม่ต้องปนเปื้อนสารเคมี

ปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับคนปลูกมะลิมีไม่กี่อย่าง หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นหนอนเจาะไส้ดอกมะลิ ส่งผลให้ดอกมะลิที่ถูกทำลายกลายเป็นสีม่วงไม่โต เหี่ยวแห้งติดต้นเก็บขายไม่ได้ หนอนเจาะไส้ดอกเกิดจากผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ชอบวางไข่บนดอกอ่อนของมะลิ ฟักตัวเป็นหนอนเจาะกินไส้ดอก ทำให้ดอกร่วงหล่น จากนั้นจะทิ้งตัวเข้าดักแด้ตามเศษใบไม้แห้งบนดินบริเวณโคนต้น

พฤติกรรมการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ปุ๋ยของเกษตรกร ส่วนใหญ่ฉีดพ่นเฉพาะซอกใบ ช่อดอกบนต้นเพียงเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ดักแด้ไม่ตายสามารถลอกคราบออกมาเป็นผีเสื้อผสมพันธุ์วางไข่ได้อีก ด้วยความที่ไม่รู้ไม่เข้าใจเกษตรกรก็เลยผสมยาในอัตราที่เข้มข้นหวังจะน็อกให้อยู่หมัด และแล้วก็โดนน็อกเสียเองเนื่องจากยาเคมีราคาแพง จริงๆแล้วการใช้ยาเคมีไปนานๆหรือบ่อยครั้งทำให้สารพิษตกค้างในดินในต้นมะลิที่เราฉีดพ่น รวมถึงคนเก็บดอก คนร้อยพวงมาลัยที่ใจดีรับสารพิษ(ความตาย)ไปโดยที่เขาไม่รู้ตัว จะรู้อีกทีร่างกายเขาเริ่มอ่อนล้าอ่อนแรง
การผลิตดอกมะลิให้ปลอดสารเคมี ปลอดหนอนเจาะไส้ดอกนั้นไม่ยาก อยู่ที่ใจว่าพร้อมหรือเปล่า ถ้าพร้อมเริ่มตั้งแต่การศึกษาขั้นตอนการปลูก การปรับปรุงดินว่าสภาพดินอย่างนี้ควรปรับปรุงอย่างไรจึงเหมาะ ดินเปรี้ยว(กรด)ควรใช้สารตัวไหนปรับ แล้วดินเค็ม(ด่าง)ล่ะใช้ตัวไหนถึงจะดี ชาวสวนสมัยใหม่สมควรรู้ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกทาง แล้วต้นมะลิต้องการธาตุอาหารอะไร เท่าไร ช่วงไหน เก็บดอกได้เมื่อไรเหล่านี้เป็นต้น
ดินเปรี้ยวหรือที่ทางการเรียกว่า “ดินกรด” คือดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.8 ให้ใช้โดโลไมท์หรือปูนมาร์ลหว่านปรับสภาพ แต่ถ้าเมื่อวัดแล้ว pH กลับสูงกว่า 6.3 แสดงว่าดินตรงนั้นเค็มหรือ “ดินด่าง”นั้นเองให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตกระสอบสีแดงหว่านปรับสภาพแทน ส่วนพื้นที่ใดที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.8-6.3 แสดงว่าพื้นที่ของท่านมีเหมาะสมต่อการปลูกพืชมากที่สุด เพราะที่ pH 5.8-6.3 แร่ธาตุในดินสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้ใช้ประโยชน์มากที่สุด โอกาสขาดธาตุโดยเฉพาะธาตุเสริมก็มีน้อยลง
20110613_PUMICE_New02.jpg
เมื่อต้นมะลิได้รับธาตุอาหารเหมาะสม ต้นแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่ค่อยเป็นโรค สามารถให้ผลผลิตเต็มที่ แต่หากต้องการเพิ่มภูมิต้านทานป้องกันโรคแมลงแล้วล่ะก็ เวลาใส่ปุ๋ยครั้งใดให้คลุกผสมด้วยพูมิชในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมหรือหากเป็นปุ๋ยคอกให้ใช้ 100 กิโลกรัม ซิลิก้าที่อยู่ในเนื้อพูมิชสามารถช่วยป้องกันหรือเป็นเกราะป้องกันโรคแมลงได้ แต่หากช่วงไหนมีหนอนเจาะไส้ดอกระบาดให้หมักขยายเชื้อบีทีชีวภาพร่วมกับสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ป ฉีดพ่น 3 วันหรือ 5 วันครั้งตามเหมาะสมกับโปรแกรมที่ท่านวาง ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 089-4442366 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12831&Param2=5
วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

ฉีกตำรามะนาวนอกฤดูแบบเก่าๆ “ไม่งดน้ำ ออกดอกดี ลูกดกอีกต่างหาก”

ที่ผ่านมาการทำมะนาวนอกฤดูโดยเฉพาะมะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ เป็นที่ทราบกันดีว่าจะต้องให้มะนาวอดน้ำก่อน 10-15 วัน จึงเริ่มให้ปุ๋ยให้น้ำตามปกติ จากนั้นไม่นานมะนาวก็จะเริ่มออกดอกตามกิ่งก้าน วิธีนี้เหมาะสมกับมะนาวที่ออกดอกติดผลยาก แต่ปัจจุบันมีคนนำเอาวิธีดังกล่าวมาใช้กับมะนาวที่ออกดอกติดผลตลอดปี มองแล้วไม่สมควรเพราะยังไงๆไม่กระตุ้นมะนาวก็ออกดอกอยู่ดี เพียงแค่เราทำหน้าที่ผู้ดูแลที่ดี ให้น้ำให้ปุ๋ยถูกช่วงถูกจังหวะแค่นั้นเอง หากต้องทำนอกฤดูจริงๆก็ไม่จำเป็นต้องอดน้ำอย่างที่หลายต่อคนทำกัน
มะนาวที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อทำนอกฤดู ส่วนใหญ่แล้วเป็นแป้นรำไพ เนื่องจากเป็นมะนาวแป้น ผลโต น้ำมาก เปลือกบาง ที่สำคัญเป็นที่ต้องการของตลาด แถมติดผลง่ายชนิดที่ว่าต้นไหนสมบูรณ์ออกดอกทันทีที่ไม่มีลูกค้างต้นมากเกินไป พูดง่ายว่าออกดอกได้ทั้งปี เมื่อเข้าใจอย่างแล้วปลูกมะนาวแป้นรำไพทำนอกฤดู จึงไม่ใช่เรื่องยาก ไม่จำเป็นต้องอดน้ำอดปุ๋ยอย่างที่นักวิชาการหลายต่อหลายท่านแนะนำกัน เราสามารถทำมะนาวนอกฤดูแบบธรรมชาติได้ ขั้นตอนก็ง่ายไม่สลับซับซ้อน ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย ฝนตกแดดออกก็ไม่ใช่อุปสรรค แต่ที่สำคัญต้นมะนาวที่ต้องการทำนอกฤดูจะต้องมีอายุปีครึ่งเป็นอย่างต่ำ เพราะถ้าอายุน้อยเกินไปเดี่ยวต้นจะโทรมปรับสภาพไม่ทัน
ประมาณเดือนเมษายนหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ หากมีมะนาวที่ยังค้างต้นอยู่ยังไม่ต้องเอาออก ปล่อยเก็บไปเรื่อยๆ ช่วงนี้ห้ามให้มะนาวขาดน้ำเด็ดขาดต้องให้น้ำทุกวัน สำหรับเกษตรกรท่านที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ให้เติมดินที่ผสมปุ๋ยคอกเกลี่ยให้เต็มวงบ่อซีเมนต์ก่อน ส่วนท่านที่ปลูกบนดินโดยตรงให้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 ต้นละ 3 กำมือสลับกับปุ๋ยสูตร 46-0-0 (ห่างจากโคนต้น)ทุก 25 วัน ก่อนหรือหลังให้ปุ๋ยทุกครั้งต้องรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ในเวลาเดียวกันต้องรักษายอดอ่อนที่ออกใหม่อย่าให้มีเพลี้ยไฟหรือหนอนชอนใบเข้าเล่นงานได้ หากมีดอกให้ปลิดทิ้งเสีย
เดือนกรกฎาคมช่วงนี้ต้นมะนาวจะสมบูรณ์สุดๆ ให้งดปุ๋ยสูตร 46-0-0 ยังคงให้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 แต่เพิ่มความถี่เป็น 20 วัน/ครั้งๆละ2 กำมือแทน ส่วนน้ำยังคงให้สม่ำเสมอเช่นเดิมแต่หากช่วงไหนฝนตกก็ควรงดน้ำบ้างตามความเหมาะสมเพราะช่วงนี้เข้าหน้าฝน ประมาณปลายเดือนกรกฎาคมให้ตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มออก ประมาณ30% โดยเน้นกิ่งไขว้ไม่มีประโยชน์หรือปลายกิ่งที่มีรอยเพลี้ยไฟหรือหนอนชอนใบทำลาย นอกจากนี้ให้ปลิดลูกที่ค้างต้นออกให้หมด หากมีดอกก็ให้ปลิดดอกทิ้งด้วย
Triptophaj-New.gif
ย่างเข้าเดือนสิงหาคม-กันยายน จะเห็นได้ว่ามะนาวของท่านจะเริ่มแตกยอดอ่อนออกมา ให้งดปุ๋ยสูตร 25-7-7 เหลือต้นละ1 กำมือ แต่ยังคงให้น้ำปกติ  กิ่งใดที่มีดอกออกมาให้ปลิดทิ้งทันทีไม่ต้องหวง จากนั้นให้ฉีดพ่นด้วยทริปโตฝาจร่วมกับไทเกอร์เฮิร์ปเพื่อป้องกันเพลี้ยไฟ หนอนผีเสื้อหรือแมลงที่จะเข้ามากัดทำลายยอดอ่อน จากนั้นประมาณเดือนตุลาคมให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ต้นละ 3 กำมือ 2 ครั้ง ห่างกัน 20 วัน สังเกตว่ามะนาวของท่านจะเริ่มออกดอกเรื่อยๆ ซึ่งดอกที่ออกมาเป็นดอกคุณภาพดีคือออกมาพร้อมยอดอ่อนและออกจากซอกใบ หลังจากนี้ให้บำรุงด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 20-20-20 หรือ 15-15-15 เป็นต้น นอกจากใส่ปุ๋ยบำรุงต้นแล้วที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือให้ฉีดพ่นบีเอสพลายแก้วป้องกันรักษาดอกจากเชื้อราต่างๆ เนื่องจากช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวเย็น ความชื้นสูงมีน้ำค้างเยอะ เหมาะต่อการระบาดของเชื้อรา เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12778&Param2=4
วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

ดินจืดเหนียวแน่นแข็ง ปรับดินก่อนเสียบตออ้อย แล้วผลผลิตของท่านจะเปลี่ยน


ผลผลิตอ้อยส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของดิน  ดินที่เหมาะสมต้องร่วนไม่แบ่งเป็นชั้น หน้าดินไม่แพ็คแน่นเป็นดาน พื้นที่ส่วนใหญ่เมื่อปลูกอ้อยไปแล้ว 1-2 รอบ ก็จะระเบิดดินดานด้วยผานสามหรือสี่ก่อนไถ่พรวนอีกรอบ ให้ดินร่วนซุยอ้อยหยั่งรากได้ลึก รากไม่ลอยทำได้หลายตอ อีกทั้งดินยังสามารถซับน้ำซับปุ๋ยได้ดีกว่าเดิม สำหรับเกษตรกรรายย่อยต้นทุนน้อย ไม่สะดวกใช้รถแทรกเตอร์ไถระเบิดดินก็ให้ใช้สารละลายดินดาน ALS 29% แทน

พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ถูกดัดแปลงจากท้องนาซึ่งเป็นดินเหนียวไม่ค่อยระบายน้ำ หากต้องการให้ดินร่วนก็ต้องอาศัยใส่พูมิชซัลเฟอร์อย่างน้อยไร่ละ 20-40 กิโลกรัม ยิ่งใส่ทุกๆปีดินยิ่งร่วนซุยขึ้นเรื่อยๆ ครั้งต่อไปก็ไถง่ายขึ้น ประหยัดค่าน้ำมันได้มาก ดินร่วนขึ้นอ้อยหยั่งรากออกด้านข้างได้ดี และสามารถซึมซับไอน้ำใต้ดินได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยดูดซับน้ำสำรองให้พืชไว้ใช้หลังฝนตกได้นานวันขึ้น ที่สำคัญช่วยจับตรึงไนโตรเจนและโพแทสเซียมให้ละลายช้าลง ลดการชะล้างเวลาฝนตกหรือน้ำขัง ทำให้สามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดินแน่นแข็งกระด้างขาดอินทรียวัตถุให้เติมโพแทสเซียมฮิวเมทร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ  เพราะปุ๋ยอินทรีย์ช่วยให้ปุ๋ยที่ละลายได้น้อยที่มีอยู่ในดินให้ละลายเพิ่มขึ้น ทำให้พืชได้รับประโยชน์มากขึ้น แม้ว่าปุ๋ยอินทรีย์จะมีประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นจริง แต่การให้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว พืชก็ได้รับเปอร์เซ็นต์ปุ๋ยไม่เพียงพอ การใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจึงยังเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่หากต้องการลดต้นทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรใช้พูมิช 20 กิโลกรัมคลุกผสมร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมหรืออินทรีย์ 100 กิโลกรัมเป็นปุ๋ยละลายช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 089-4442366 (เอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com