วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พูมิชซัลเฟอร์ปรับปรุงดิน ช่วยกระตุ้นน้ำยางให้ไหลเยอะ (ตอนที่ 2)

25 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการ แจงถึงความคืบหน้าในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราตามโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ปี 2557 จากข้อมูลที่ขึ้นทะเบียนไว้ 69 จังหวัด 1,193,332 ครัวเรือน ล่าสุดได้บันทึกลงระบบสารสนเทศไปแล้ว 1,116,587 ครัวเรือน ซึ่งทั้งนี้ได้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบถูกต้องเรื่องเอกสารสิทธิที่ดินตามกฎหมาย หรือเอกสารสิทธิ ภปท.5 หรือพื้นที่การเปิดกรีดหรือพื้นที่ที่อายุยางเกิน 25 ปี ไปแล้ว 779,010 ครัวเรือน ส่งต่อข้อมูลให้คณะกรรมการเปิดกรีดยางระดับตำบลตรวจสอบจำนวน 704,259 ครัวเรือน ออกใบรับรองแล้ว 341,942 ครัวเรือน ซึ่งได้โอนจ่ายเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้วจำนวน 226,653 ครัวเรือน คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 6,300 ล้านบาท ที่มา http://www.naewna.com/local/78893

ตอนที่ แล้วได้เกริ่นกันถึงการเพิ่มผลผลิตหรือน้ำยาง โดยใช้พูมิชซัลเฟอร์ผสมร่วมกับปุ๋ยหว่านปรับปรุงดิน เพิ่มธาตุหลัก รอง เสริม ให้ต้นยางพาราได้รับธาตุอาหารครบทุกหมู่แบบไม่ขาด พูมิชซัลเฟอร์เป็นชื่อทางการค้าของสารปรับปรุงดินอีกแบรนด์หนึ่งของชมรมฯที่ ผลิตจากหินภูเขาไฟ ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารพืชอย่าง ซิลิก้าหรือซิลิซิค,แคลเซียม,แมกนีเซียม,ฟอสฟอรัส,กำมะถัน,เหล็ก,สังกะสี ฯลฯ ในปริมาณที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่มากเว้อหรือน้อยเกินไปจนทำให้พืชขาดธาตุอาหาร ส่วนที่ว่าธาตุตัวไหนชนิดใดทำหน้าที่อะไร วันนี้จะมาอธิบายให้ทราบตามที่ได้สัญญาไว้ครับ

ธาตุตัวที่ (1) ซิลิก้าหรือซิลิซิค แอซิค ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ลดการทำลายของโรคแมลง (2) แคลเซียม ช่วยกระตุ้นรากกระตุ้นยอด แบ่งโครโมโซม ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์และธาตุอาหาร (3) แมกนีเซียม สร้างคลอโรฟิลล์ เอนไซม์ เพิ่มเม็ดสีเขียว กระตุ้นการสร้างแป้งสร้างน้ำตาล สังเคราะห์น้ำมันร่วมกับกำมะถัน ช่วยดูดซับฟอสฟอรัสและควบคุมปริมาณแคลเซียมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต (4) ฟอสฟอริก ช่วยสังเคราะห์แสง สร้างแป้งสร้างน้ำตาล สร้างรากทำให้ลำต้นแข็งแรง รากเยอะไม่ล้มง่าย ช่วยให้ผลเมล็ดสุกแก่เร็ว สร้างดอกสร้างเมล็ด ส่งเสริมการดูดซึมไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัม

ตัวที่ (5) ซัลเฟอร์ หรือที่เรียกกันว่า กำมะถัน ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ช่วยสร้างคลอโรฟีลล์ สังเคราะห์แสงสร้างไขมันและควบคุมการทำงานของแคลเซียม (6) เหล็ก ช่วยสร้างคลอโรฟีลล์และไซโตโครมที่เกี่ยวกับการหายใจ-คายน้ำ ส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหารชนิดอื่น และท้ายสุดตัวที่ (7) สังกะสี ช่วยสังเคราะห์โปรตีน สังเคราะห์คลอโรฟีลล์ สร้างฮอร์โมนไอเอเอที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และเอนไซม์ต่างๆ ช่วยส่งเสริมให้พืชดูดซับฟอสฟอรัส และไนโตรเจนได้ดี โดยเฉพาะช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อพืชไม่เครียดก็สามารถเจริญเติบโตได้เป็นปกติ เป็นไงละครับ พูมิชซัลเฟอร์ 1กระสอบ 20 กิโลกรัม แต่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ ตอนหน้ามาคุยกันต่อว่าพูมิชซัลเฟอร์มาจากที่ไหน? แล้วไปช่วยเพิ่มน้ำยางให้เยอะได้อย่างไร? เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือหาซื้อมาทดลองได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14523&Param2=4

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พูมิชซัลเฟอร์ปรับปรุงดิน ช่วยกระตุ้นน้ำยางให้ไหลเยอะ (ตอนที่ 1)


ยางพาราพืชเศรษฐกิจ 1ใน 5 ที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันราคายางอาจผันผวนลดลงไปบ้าง จากปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาหรืออะไรก็แล้วแต่ ก่อให้เกิดวิกฤตการเมือง บ้างก็รวมกลุ่มม็อบประท้วงขอปรับราคาขึ้น เรียกร้องโน้นเรียกร้องนี้เพื่อความอยู่รอดของกลุ่ม พอวันเวลาผ่านไปนานเข้าๆ  จากที่เคยเรียกร้องเพื่อกลุ่มก็หันมาเรียกร้องเพื่อตนเอง วิเคราะห์กันจริงๆแล้ว ราคายางในปัจจุบันก็พออยู่ได้ ถ้าทุกคนปลูกเองกรีดเองไม่ฮ้อแรงงานมากนัก ค่าใช้จ่ายก็ลดลง พอเพียง พออยู่ พอกิน ปุ๋ยราคาแพงก็ใช้ลดลงตามความเหมาะสม ตามความต้องการของพืช ไม่ใช่ว่า มีเยอะใส่เยอะมีน้อยไม่ใส่เลย อย่างนี้ไม่ดีไม่สมควรทำ พืชก็เหมือนคนจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ก็ย่อมต้องอาศัยอาหารหรือปุ๋ย

ลดต้นทุนการโดยใช้พูมิชซัลเฟอร์ผสมร่วมกับปุ๋ยให้ละลายช้าลงก็อีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากพูมิชซัลเฟอร์ผลิตจากหินภูเขาไฟที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าเป็นลบ สามารถจับตรึงปุ๋ยที่มีค่าประจุเป็นบวก (1) ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินที่ไม่มีในปุ๋ยเคมี (2) ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือไม่ต้องซื้อปุ๋ยสูตรที่มีราคาแพง (3) สร้างจุลินทรีย์ในดินไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักโดยไม่ทำให้ดินเสียหรือดินตาย (4) ลดการสูญเสียปุ๋ยเคมีจำพวกแอมโมเนีย (ไนโตรเจน)ไปโดยเปล่าประโยชน์ ใช้ก็ง่ายเพียงแค่นำพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม มาผสมร่วมกับแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยสูตร 50 กิโลกรัม (2 : 5) แต่หากเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ให้ใช้พูมิซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม (1 : 5) หว่านรอบทรงพุ่มหรือร่องอกตามปริมาณที่เคยใส่ คือเคยใส่อยู่ 1 กิโลกรัมต่อต้นก็คงใส่ 1 กิโลกรัมต่อต้นเหมือนเดิม และนอกจากนี้พูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ปรับpH ของดินปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดี  เพิ่มธาตุรองธาตุเสริมไม่ต้องหาซื้อมาเติมภายหลัง มีซิลิก้า ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งลดการทำลายของโรคแมลงศัตรูพืช

Pumice_Sulpher02.jpg
เมื่อเอ่ยถึงลดต้นทุนการผลิตแล้วถ้าไม่เกริ่นถึงการเพิ่มผลผลิตสักนิดก็กะไรอยู่ ปัจจัย 2 อย่างนี้ต้องมาคู่กัน เนื่องจากเกษตรกรชอบตั้งคำถามให้กับตัวเองเสมอๆว่า เมื่อลดปริมาณปุ๋ยลงโดยใช้สารปรับปรุงดินเข้าไปแทนที่ แล้วน้ำยางที่ได้จะยังคงเท่าเดิมหรือ? ขอยืนยันว่าเท่าเดิมหรือมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่าพูมิชซัลเฟอร์เป็นสารปรับปรุงดินที่ผลิตจากหินภูเขาไฟ ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุอย่างซิลิก้าหรือซิลิซิค,แคลเซียม,แมกนีเซียม,ฟอสฟอรัส,กำมะถัน,เหล็ก,สังกะสี ฯลฯ ในปริมาณที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่มากเว้อหรือน้อยเกินไปจนทำให้พืชขาดธาตุอาหาร เรื่องที่ว่าธาตุตัวไหนทำหน้าที่อะไรจะมาอธิบายให้ทราบในตอนที่ 2 นะครับ เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือหาซื้อมาทดลองได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ WWW.Thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14486&Param2=4

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เลือกพูมิชซัลเฟอร์-หินภูเขาไฟ ปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มประสิทธิการดูดซึมปุ๋ย

พืชผัก-ไม้ผล-ข้าวราคาขึ้นลงเป็นไปตามระบบกลไกของตลาด เกษตรกรธรรมดาอย่างเราๆไม่สามารถปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงใดๆได้ หากแต่ต้องยอมปล่อยให้มันเป็นไปตามระบบเช่นที่ผ่านมา แม้เกษตรกรทำนาปลูกข้าว จำนำข้าวกับภาครัฐจะได้ราคาสูงก็จริงแต่ต้องรอ 2-3 เดือนถึงจะได้รับเงิน หากนำรายรับรายจ่ายมาเปรียบเทียบเล่นๆแล้ว คงเหลือเก็บนิดหน่อย แค่พอดำรงชีพไปวันๆ สิ่งที่ควรพิจารณาให้มากก็คือทุกวันนี้เราปลูกพืชแต่ละชนิดแต่ละอย่าง ได้ผลผลิตเต็มที่ตามที่ควรจะได้หรือยัง? กรด-ด่างของดินก็ส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการดูดซับปุ๋ย(กินปุ๋ย)หรือธาตุอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการละลายหมดทันทีของปุ๋ย ทำให้พืชเฝือใบ(บ้าใบ) ต้นอ่อนแอเป็นโรคง่าย

ธาตุอาหารจะละลายปลดปล่อยให้ประโยชน์แก่พืชได้ดีที่สุดที่ช่วง pH 5.8-6.3 การตรวจวัด pH ของดินจึงควรกระทำทุกๆ3 เดือนหรืออย่างน้อยปีละ 2 ครั้งก็ยังดี เพราะ pH ของดินมีผลกระทบมาจากการใส่ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องอย่างยาวนาน ซึ่งส่วนใหญ่ทำให้ดินเป็นกรดแร่ธาตุละลายน้อยลง ยิ่งเป็นพืชที่ปลูกบนที่ดอนแล้วยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงจากการชะล้างกำมะถัน(ซัลเฟอร์)ออกไป หากพืชขาดกำมะถันส่งผลให้กระบวนการสร้างโปรตีนไม่สมบูรณ์ ปกติปุ๋ยที่มีการเขียนสัญลักษณ์ (s)ท้ายสูตรเพื่อแสดงว่ามีกำมะถันผสมอยู่ มักจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยสูตรอื่นทั่วไป จึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเท่าไรนัก
Pumice_Sulpher02.jpg
การผสมปุ๋ยใช้เองจะทำให้ประหยัดปุ๋ย สามารถชี้วัดอัตราผลผลิตที่ควรจะเป็นได้  ยิ่งเป็นปุ๋ยละลายช้าด้วยยิ่งทำให้ต้นทุนลดลงอีกเท่าตัว เพียงแค่เกษตรกรนำปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม เทกองพรมน้ำพอชื้นเติมซิลิโคเทรซ 500 กรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนเติมพูมิชซัลเฟอร์ลงผสม 20 กิโลกรัม คลุกเคล้าอีกครั้งก่อนนำไปหว่าน ส่วนการตรวจวัด pH ดิน ทำให้เรารู้ทิศทาง ว่าจะเดินไปทางไหน เลือกวิธีใดปรับปรุงบำรุงดินจึงจะเหมาะสม หาก pH ของดินต่ำกว่า 5.8 ก็ให้ใช้พูมิชซัลเฟอร์ แต่ถ้า pH ของดินสูงกว่า 6.3 ให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงแดงแทน นอกจากนี้ยังช่วยสลายสารพิษในดินไล่เกลือขึ้นสู่ผิวดินลดความเค็ม(ด่าง)ในดิน จับตรึงปุ๋ยให้ละลายช้าลง เมื่อใช้ปุ๋ยน้อย ต้นทุนการผลิตลด ต่อไปไม่ต้องแคร์ว่าราคาจะสูงหรือต่ำ เกษตรกรท่านใดสนใจจะหาซื้อมาทดลองติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14375&Param2=18

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หยวกแกนกล้วย ช่วยยืดช่อ ต่อตาดอก

ในช่วงระยะเวลาที่เราเริ่มเพาะปลูกหรือลงกล้าใหม่ๆ  ไม้ตายก็จะต้องใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ อย่างเช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือจะสูตรอื่นๆ ที่มากหรือน้อยกว่านี้ ร่วมด้วยช่วยกันกับ 46-0-0 หรือยูเรีย เพื่อให้เกิดการแตกตายอดได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วยทำให้เกิดการแตกใบอ่อนเจริญเติบโตกิ่งก้านสาขาได้อย่างทันใจ และก็มีบางช่วงที่มักจะต้องการให้กิ่ง ก้าน ยอด ฝัก ผล ยืดยาวออกมามากกว่าเดิม เพื่อให้เป็นที่ต้องตาติดใจแก่เหล่าแม่ค้าตลาดผักและลูกค้าผู้บริโภคที่ต้องการได้ผักผลไม้ที่สวยสดงดงามนำไปรับประทาน เบื้องหลังการตลาดการขาย จึงเป็นเรื่องของเกษตรกรผู้ผลิต ที่จะต้องคิดวิเคราะห์หาเทคนิควิธีการต่างๆ นำมาพัฒนาการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ไซส์หรือขนาดตามที่ตลาดต้องการ

ส่วนหนึ่งเลยคือการใช้ฮอร์โมนยืดช่อ ยืดก้านอย่าง จิ๊บเบอเรลริคแอซิด (GA) ซึ่งทำหน้าที่ในการยืดขยายแบ่งเซลล์ให้กับพืช โดยปรกติก็จะมีซื้อขายอยู่มากมายในท้องตลาดแตกต่างกันไปตามเปอร์เซ็นต์ และความเข้มข้น ข้อเสียคือถ้าใช้มากก็จะเกิดผลข้างเคียงที่ตรงข้ามและอาจจะเกิดการสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของพืช อีกทั้งทำให้สิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ ถ้าพืชนั้นอยู่ในสภาพของพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เดิมดีอยู่แล้ว สามารถที่จะระดมสั่งสมอาหารจากในดินและสามารถที่จะพัฒนาแตกกอต่อยอดสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นให้แก่ตนเองได้อย่างเพียงพอและสมดุล
Chaitosan-MT.gif  vitalizer.gif
อย่างไรก็ตามบางครั้งเกษตรกรก็อาจจะจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเพื่อนำมาช่วยเหลือให้พืชบางชนิดมีความสามารถในการเปิดตาดอก อย่างเช่นมะม่วง มะนาวที่จะต้องสร้างหรือดึงช่อให้ออกมาพร้อมกับดอกที่จะเกิดขึ้นตามมา หรือพืชผักตระกูลแตง, ถั่วฝักยาว เหล่านี้ก็มักจะมีการใช้ฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลริคแอซิดเช่นกัน  จึงเป็นที่มาในวันนี้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จะนำเทคนิคและวิธีการการทำจิ๊บเบอเรลริค แอซิดอย่างง่ายทำได้เองโดยการคัดเลือกสรรหา ต้นกล้วยที่ออกเครือเรียบร้อยแล้ว จะเหลือก้านเครือหรืองวงกล้วยที่มีความยาวจากปลายด้านนอกลึกเข้าไปในลำต้นของกล้วย ให้ตัดต้นและปลอกหรือผ่ากาบด้านนอกจนเหลือแต่แกน (ถ้าเป็นกล้วยสาวจะเป็นหยวกกล้วย แต่ถ้าออกเครือแล้วจะเป็นแกนกล้วย)  หลังจากที่ผ่าปลอกจนเหลือแต่แกนแล้ว ให้นำมาหั่น สับ บด ตำ โขลกให้ละเอียด แล้วนำมาหมักกับกากน้ำตาลในอัตรา แกนกล้วย 3 ส่วน ต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน หมักให้ได้ 7 – 10 วัน แล้วนำมาฉีดพ่นเพื่อดึงช่อในอัตรา 50 – 100 ซี.ซี. ร่วมกับ ไวตาไลเซอร์  5 กรัม ไคโตซาน MT  5 ซี.ซี. ต่ำน้ำ 20 ลิตร จะช่วยยืดช่อ เปิดตาดอกได้ง่ายขึ้น

คุณมนตรี  บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14307&Param2=13