วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หมูไอจามมีน้ำมูกเพราะแอมโมเนีย แก้ได้ไม่ต้องฉีดยา

                                  
          ไอจามมีน้ำมูลน้ำตาไหล นอนซึมนิ่งไม่ยอมกินอาหาร แปดสิบเก้าสิบเปอร์เซ็นต์เกิดจากแอมโมเนียที่ระเหยจากพื้นคอก แอมโมเนียหรือก๊าซพิษภัยอันตรายที่ทำให้คนและสัตว์ระคายเคืองตา จมูก ไอจามบ่อยๆ มากเกินไปบางครั้งก็ทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอนอนซึม น้ำมูกน้ำตาไหล ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจจะไวต่อแอมโมเนีย ยิ่งคอกดินยิ่งเกิดง่าย ไม่ว่าจะเป็นเศษอาหาร มูลหรือฉี่ เมื่อเจอความชื้นมากๆก็จะเกิดการแอมโมนิฟิเคชันทำให้ไนโตรเจน(N)แตกตัวปล่อย แอมโมเนียออกมา ตรงไหนซับน้ำดีก็จะปล่อยแอมโมเนียส่งกลิ่นเหม็นตลอดเวลา ปล่อยไว้มีแต่สร้างความรำคาญให้เพื่อนบ้าน
          คุณสนั่น ช่อคง เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูจากเมืองทองคำโบราณ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง อีกท่านหนึ่งที่เคยประสบปัญหาเรื่องกลิ่นแอมโมเนียคละคลุ้งรบกวนเพื่อนบ้าน แต่เมื่อได้ทดลองใช้ซีโอฟาร์มหว่านพื้นคอก ปรากฏว่ากลิ่นแอมโมเนียค่อยๆลดลงเป็นที่น่าพอใจ ซีโอฟาร์มเป็นซีโอไลท์ที่มีคุณสมบัติในการจับตรึงกลิ่น ก๊าซต่างๆ ที่เกิดจากหมักหมมของเศษอาหาร มูล ฉี่ ฯลฯ ถ้านำมูลสัตว์ที่ผ่านการดับกลิ่นด้วยซีโอฟาร์มไปใส่ต้นไม้ก็ได้ปุ๋ยชั้นดี ที่ละลายช้า ช่วยป้องกันการกัดกินทำลายของหนอน แมลง หรือแม้แต่เชื้อราโรคพืช เนื่องจากในเนื้อของซีโอฟาร์มมีซิลิก้า จึงทำให้ต้นพืชแข็งแรงทนต่อโรค
          นอกจากนี้ซีโอฟาร์มคลุกผสมอาหารในสัดส่วน 3 กก.ต่ออาหาร 100 กก.หรือ 3%ของอาหาร ยังช่วยจับตรึงก๊าซไข่เน่าในลำไส้ถ่ายออกมาไม่เหม็น และยังจับตรึงทำลายสารพิษจากอะฟลาท็อกซินในอาหาร ลดอัตราการตายเนื่องจากอาหารเป็นพิษ ช่วยเสริมการเจริญเติบโตได้อีกทางหนึ่ง เกษตรกรท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มความมั่นใจได้ที่คุณสนั่น ช่อคง (086-0142977) หรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน(081-3983128)

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15841&Param2=7

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จุลินทรีย์จากขี้ควายใช้ง่ายได้ประโยชน์ช่วยลดต้นทุน

ตาม ตำราหรือย้อมูลของทางเว๊บไซด์วิกิพีเดียได้บรรยายความหมายของควายเอาไว้ดัง นี้ ควายหรือภาษาทางการว่ากระบือ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีแกนสันหลัง เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์ที่เมื่อถูกมนุษย์นำมาฝึกมาเลี้ยงก็จะเชื่องและใกล้ชิดกับเกษตรกร โดยถูกนำไปใช้งานในภาคการเกษตรนั่นเอง เพราะชาวนาในอดีตมักจะเลี้ยงควายไว้เพื่อไถนา พาหนะขนย้ายพืชผลทางการเกษตร ใช้เป็นอาหารเมื่อล้มตาย หรือฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหารในพิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานโกนจุก โกนผมไฟ งานบวช งานแต่ง หรือแม้กระทั้งงานศพ

ควาย เป็นสัตว์สี่ขาเท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัว โตเต็มวัยเมื่ออายุ 5-6 ปี น้ำหนักโดยเฉลี่ยของตัวผู้ที่โตเต็มวัย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียโดยเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม คือตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บ้างก็มีสีชมพู เรียกว่าควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว ควายนั้นแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือควายป่าและควายบ้าน โดยควายบ้านก็จะแบ่งได้อีก 2 ชนิดคือควายปลักและควายน้ำ ทั้งสองชนิดอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันคือBubalus. Bubalis. ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจไปหาได้ใน. (Th.wikipedia.org/wiki/หน้าหลัก) นะครับ

แต่ในที่นี้อยากจะกล่าว ถึงคุณลักษณะพิเศษของควายก็คือ การที่เป็นเคี้ยวเอื้อง เหมือน  วัว แพะ แกะ กวาง ซึ่งสัตว์เคี้ยวเอื้องเหล่านี้จะมีกระเพาะอยู่ทั้งหมดสี่ห้อง คือ ห้องที่หนึ่งชื่อ รูเมน (Rumen) ผ้าขี้ริ้ว, ห้องที่สองชื่อ เรทิคูรั่ม (Reticurum) รังผึ้ง, ห้องที่สามชื่อ โอมาซั่ม (omasum) สามสิบกลีบ และห้องที่สี่ชื่อแอพโอมาซั่ม (Abomasum) กระเพาะแท้หรือกระเพาะจริงนั่นเอง โดยการเคี้ยวเอื้องนั่น คือกลืนกินอาหารเข้าคือหญ้าและสามารถคายออกมาเคี้ยวเอื้องอีกได้ในเวลากลาง คืน ก่อนจะถูกส่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย กระบวนการทำงาน คือจะอาศัยน้ำย่อย (เอ็นไซน์) จากจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยหมักหรือย่อยอาหารจากสามกระเพาะแรก คือรูเมน, เรทิคูรั่มและโอมาซั่ม หลังจากนั้นอาหารจะถูกส่งไปยังกระเพาะห้องสุดท้ายคือ แอพโอมาซั่ม ซึ่งร่างกายสัตว์จะขับเอ็นไซน์มาช่วยย่อยจนเป็นสารอาหารที่พร้อมไปเลี้ยง ส่วนต่างของร่างกายสัตว์ เหมือนกับสัตว์กระเพาะห้องเดียวนั่นเอง

จาก ความแตกต่ายที่มีนัยสำคัญนี้เองจึงทำให้กากอาหารหรือมูลที่สัตว์สี่กระเพาะ ขับถ่ายออกมานั้นจึงมีน้ำย่อยเอ็นไซน์และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการนำมา ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกโดยเฉพาะพวกเศษไม้ใบหญ้าตอซังฟางข้าว เพียงนำขี้วัว ขี้ควายเพียงหนึ่งถึงสองกิโลกรัม (ขี้วัวหรือขี้ควายเปียก) ละลายในน้ำ 20 ลิตรและเติมน้ำตาลลงไปอีก 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 7 วันก็สามารถผลิตจุลินทรีย์ขี้วัวนำไปทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก นำไปย่อยตอซังฟางข้าวในแปลงนาได้ไม่ยาก ในกรณีที่ใช้ขี้วัวหรือขี้ควายแห้งก็ให้ใช้ประมาณ 1กระสอบปุ๋ยต่อน้ำและกากน้ำตามที่กำหนดไว้เดิมก็ได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15836&Param2=17

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มะกรูดตัดใบขาย ปลอดภัยปลอดสารตกค้าง

เกษตรกร หลายพื้นที่ประสบปัญหาเพาะปลูกไม่ได้ผล ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำๆกัน ไม่มีการหมุนเวียน ทั้งยังใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ทำให้ดินเป็นกรดขาดสารอาหาร จากที่เคยร่วนซุยกลายเป็นเหนียวแน่นไม่ระบายน้ำ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินต่อพืชจะค่อยๆลดลง ดินก็เริ่มตายใส่ปุ๋ยบำรุงอะไรก็ไม่ได้ผล ทางเลือกที่ดีก่อนปลูกควรเตรียมดิน ปรับสภาพให้เหมาะสม เริ่มตั้งแต่ไถพรวน ย่อยดิน กำจัดวัชพืช ฯลฯ การปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบมาปรุงแต่งรสชาติอาหาร แปรรูปสกัดกลิ่น ซึ่งผู้เขียนมองว่ามันสามารถเป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักให้เกษตรกรได้ไม้แพ้พืชชนิดอื่น
                                                                   
มะกรูดชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขัง pH ระหว่าง 5.8-6.3 และมีอินทรียวัตถุสูง ส่วนระยะปลูกก็มีผลต่อการเตรียมแปลงไม่น้อย เช่นแปลงกว้าง 1 เมตร ก็ควรยกร่องสูง 20-25 เซนติเมตร ห่างจากกึ่งกลาง 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร สลับเป็นฟันปลา ไม่ควรเว้นช่วงห่างเกินไปจะทำให้ตัดใบลำบาก ส่วนพันธุ์นั้นสามารถใช้เมล็ดเพาะ ปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ ที่สำคัญกิ่งที่จะปลูกต้องปลอดแคงเกอร์ หากปล่อยให้แพร่ระบาดเข้าแปลงจะสร้างปัญหาและส่งผลกระทบระยะยาว

 ก่อนปลูกต้นมะกรูดควรนำพูมิชซัลเฟอร์ผสมปุ๋ยคอกก่อนผสมลงดินเพื่อเพิ่มธาตุ อาหาร หลุมปลูกควรมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 80 เซนติเมตร ก่อนวางกล้าพันธุ์ลงปลูกให้หว่านไตรโคเดอร์ม่ารองก้นหลุมช่วยป้องกันรากเน่า กลบโคนต้นแล้วหว่านคลุมดินด้วยเศษไม้ใบหญ้าแห้งรักษาความชื้นหน้าดิน การปลูกที่ดีควรหันหน้าใบไปด้านทิศตะวันออกเพื่อรับแสง และควรปลูกในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะดีที่สุด เพราะถ้าปลูกหน้าฝนก็จะเจอปัญหาราเนื่องจากความชื้นสูง

หลุมปลูกไม่ควรรองก้นด้วยยาฆ่าแมลงหรือคาร์โบฟูราน หากมีปลวกหรือด้วงแมลงในดินให้ใช้เมธาไรเซียมหรือสะเดาบดคลุกผสมรองก้นแทน หลังปลูกได้ประมาณ 1 เดือนให้ใส่ยูเรีย(46-0-0) ผสมกับปุ๋ยคอก(ขี้วัวเก่า)และพูมิชซัลเฟอร์ หว่านห่างจากโคนต้นประมาณ 1-2 คืบ ถ้าเป็นหน้าแล้งก็ให้นำเปลือกถั่วเขียวมาหว่านคลุมรอบๆโคนต้น รักษาความชื้นช่วยกระตุ้นการแตกยอดแตกรากใหม่

แรกๆ ก็ควรหมั่นรดน้ำให้ชื้น ช่วยให้มะกรูดตั้งต้นแตกรากแตกใบอ่อนได้ไวขึ้น การใส่ปุ๋ยควรผสมผสานระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม มะกรูดตัดใบจะใช้ไนโตรเจนค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นปุ๋ยเกร็ดสูตร 30-20-10 หรือสูตร 20-20-20 ทุกๆ 10-15 วัน/ครั้ง สลับกับซิลิโคเทรซ +ซิงค์คีเลท 75%+แมกนีเซียม+ไคโตซาน MTและจิบเบอเรลลิน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มะกรูดตัดใบย่อมต้องการแมกนีเซียม และสังกะสี(ซิงค์) สูงตามไปด้วย ส่วนปุ๋ยเกร็ดสูตร 30-20-10+จิบเบอเรลลินช่วยให้มะกรูดแตกยอดใหม่ไวขึ้น และปุ๋ยเกร็ดสูตร 20-20-20 +ซิลิโคเทรซ ช่วยบำรุงต้นลดการขาดธาตุอาหาร

 แมลงศัตรูของมะกรูดส่วนใหญ่เป็นหนอนที่เกิดจากผีเสื้อกลางคืน ที่คอยจ้องทำลายกัดกินใบช่วงยอดอ่อน เกษตรกรต้องขยันคอยตรวจจับแล้วทำลายทิ้ง หรือฉีดพ่นสมุนไพรที่มีกลิ่นแรงๆ รสชาติขมๆอย่างสะเดาบด บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจรร่วมหรือสลับกับบิวเวอร์เรีย 5-7 วัน/ครั้ง หากหนอนระบาดก็ให้ฉีดพ่นบีที+น้ำสะเดาสลับ 3-4 วัน/ครั้ง ช่วยยับยั้งการกัดทำลายของหนอนก่อนจะเข้าดักแด้อีกแรงหนึ่ง

การดูแลก็จะหนักอยู่ช่วง 1-2 เดือนแรกที่ต้องคอยรดน้ำเช้าเย็นวันละ 2 เวลา พออายุ 8 เดือนก็เริ่มบำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์หว่านรอบโคนต้น ลดน้ำเหลือวันละครั้ง พอย่างเข้าปีที่ 2 ก็เริ่มตัดใบออกจำหน่ายได้ โดยเลือกตัดกิ่งที่ยาวๆไว้ก่อน ไม่ต้องซอยสั้นเหมือนตัดแต่งกิ่ง หรือยาวประมาณ 50 เซนติเมตรขึ้นไป นำมามัดเป็นกำๆละ7-8 กิ่ง เมื่อเก็บผลผลิตเสร็จก็พักต้นประมาณ 4 เดือน ตัดแต่งบำรุงให้แตกกิ่งใหม่ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ขูดดินท้องร่องขึ้นกลบโคนต้น ไม่นานมะกรูดก็จะผลิยอดแตกใบให้ได้เก็บดังเดิม สลับหมุนเวียนทุก 4 เดือน/ครั้ง/รุ่นตลอดทั้งปี

มะกรูดตัดใบขายจะเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตของกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งกิ่งเป็นการกระตุ้นให้แตกยอดแตกใบใหม่ การดูแลรักษาต้นเพื่อไว้ตัดใบขาย ควรดูแลรักษามั่นบำรุงต้นใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นสมุนไพรอย่างสะเดาบดหรือจุลินทรีย์อย่างบิวเวอร์เรีย และบีทีอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ยิ่งเป็นช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาวน้ำค้างแรง ราดำ ราสนิม ราส้มฯลฯ ชอบระบาดให้ฉีดพ่นล้างสปอร์ด้วยน้ำเปลือกมังคุดก่อน แล้วตามด้วยบีเอส-พลายแก้ว 3-5 วัน/ครั้ง แค่นี้ก็สามารถยับยั้งการแพร่กระจายของราและแคงเกอร์ได้แล้วละครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน 081-3983128

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15828&Param2=6 

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำนาปลูกข้าวให้เข้าทางคสช

                          
หลัง จากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เพื่อเรียกตัวหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งให้มาเจรจายุติ ปัญหา แต่ไม่สามารถที่จะระงับความขัดแย้งได้ โดยหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมได้มีการฝากให้ไปทำการบ้านเกี่ยวกับการหา ทางออกให้กับประเทศ แต่พอวันที่ 22 พฤษภาคม2557 สถานการณ์กลับเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม ต่างคนต่างเอาความคิดของตนเองและพวกพ้องเป็นใหญ่ไม่สามารถตกลงกันได้ พลเอกประยุทธ์ จึงประกาศยึดอำนาจนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันในนามคสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)
นโยบายและแนวทางที่จะช่วยเหลือประชาชนในปัจจุบันถือว่าสร้างความพึงพอใจให้ แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการรับคืนเงินจำนำข้าวที่ตกค้างจำนวน 92,000 ล้านบาท, การสานต่อนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เช่น รถไฟรางคู่ไปตามหัวเมืองต่างๆรถไฟฟ้าสีต่างๆที่ยังค้างคา การส่งเสริมการลงทุน การปฏิรูปองค์กรต่างๆ การขจัดคอรัปชั่น การขจัดตู้เกมส์ตู้ม้าเถื่อน การปรับระบบแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้อง การขายสลากกินแบ่งรัฐบาลให้ตรงราคาที่กำหนด ฯลฯ และยังมีอีกหนึ่งโครงกาา คือการลดต้นทุนการปลูกข้าวให้ชาวนา

การลดต้นทุนการปลูกข้าวนั้นกระทำได้ไม่ยาก เพียงงดการใช้ปุ๋ยยาฆ่าแมลงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศปีละเป็นหมื่นเป็นแสน ล้านบาท แล้วหันมาให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว นั่นคือการรักษาเศษซากอินทรีย์วัตถุอย่างตอซังฟางข้าวให้กลับมาเป็นปุ๋ยคืน สู่ดินอีกครั้ง การผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์ขี้ควาย จุลินทรีย์ขุยไผ่เพื่อย่อยสลายตอซังฟางข้าวและทำปุ๋ยชีวภาพด้วยตนเอง การใช้หินแร่ภูเขาไฟที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชช่วยลด การใช้ปุ๋ยเคมียาฆ่าแมลงเนื่องด้วยมีแร่ธาตุซิลิก้าที่ละลายน้ำได้เป็น ประโยชน์ช่วยทำให้เซลล์พืชแข็งแรง การใช้สมุนไพรที่หาได้งาายใช้จากท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นขมิ้นชัน ไพร ฟ้าทลายโจร ตะไคร้หอม  กานพลู ฯลฯ การใช้จุลินทรีย์เฉพาะทางที่อยู่ในประเทศไทยใช้ในการปราบหนอน  เพลี้ย แมลงศัตรูพืช การใช้ธรรมชาติดูแลธรรมชาติจะช่วยทำให้พี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาลดต้นทุน สนใจการทำนาปลอดสารพิษพิชิตต้นทุนติดต่อสอบถามชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680-2 หรืออ่านรายละเอียดจากเว๊บไซด์ www.thaigreenagro.com

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15810&Param2=14

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดับกลิ่นเหม็นในเล้า ลดไอจามน้ำมูลไหลในไก่ได้

หน้า แดง ไอจามน้ำมูลไหล ไม่กินอาหารในไก่ ส่วนใหญ่เกิดจากแอมโมเนียจากเศษอาหารที่เหลือตกหล่นบนพื้นคอก แอมโมเนียเป็นก๊าซพิษที่อันตรายทั้งในคนและสัตว์ ทำให้ระคายเคืองตา หู ปาก จมูก ฯลฯ ทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอ น้ำมูกน้ำตาไหลคล้ายเป็นหวัด เกิดอาการแทรกซ้อนติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะในเป็ดไก่ ซึ่งจะไวต่อแอมโมเนียมากกว่าในสุกร ยิ่งเป็นพื้นดินยิ่งเกิดได้ง่าย ไม่ว่าจะจากเศษอาหาร มูลหรือฉี่ เมื่อเจอความชื้นมากๆก็จะเกิดขบวนการแอมโมนิฟิเคชัน ทำให้ไนโตรเจน(N)แตก ตัวปล่อยแอมโมเนียออกมา พื้นที่ไหนซับน้ำก็จะปล่อยแอมโมเนียง่ายและส่งกลิ่นเหม็นตลอดเวลา ปล่อยไว้มีแต่จะสร้างความรำคาญ บั่นทอนมิตรภาพระหว่างเพื่อนบ้าน

คุณ สมชาย แซ่เล้า เจ้าของฟาร์มไก่เนื้อจาก ต.กลอนโด อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ท่านหนึ่งที่เคยมีปัญหาแอมโมเนียคละคลุ้งรบกวนเพื่อนบ้าน แต่เมื่อวันหนึ่งได้ทดลองใช้ซีโอฟาร์มหว่านพื้นคอก ปรากฏว่ากลิ่นแอมโมเนียค่อยๆลดลงเป็นที่น่าพอใจ ซีโอฟาร์มเป็นซีโอไลท์ที่มีคุณสมบัติในการจับตรึงกลิ่น ก๊าซต่างๆ ที่เกิดจากหมักหมมของเศษอาหาร มูล ฉี่ ฯลฯ หากนำมูลสัตว์ที่ผ่านการดับกลิ่นด้วยซีโอฟาร์มไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินก็จะ เป็นปุ๋ยชั้นดีที่ละลายช้า จะช่วยป้องกันการกัดกินหรือทำลายของแมลง หนอน ไรหรือแม้แต่เชื้อราโรคพืช เนื่องจากเนื้อของซีโอฟาร์มประกอบไปด้วยซิลิก้า นอกจากนี้ซีโอฟาร์มคลุกผสมอาหารในสัดส่วน 3 กก.ต่ออาหาร 100 กก.หรือ 3%ของอาหาร ยังช่วยจับตรึงก๊าซไข่เน่าในลำไส้ ถ่ายออกมาก็ไม่เหม็น และยังจับตรึงทำลายสารพิษพวกอะฟลาท็อกซินในอาหาร ช่วยลดอัตราการตายของสัตว์เนื่องจากอาหารเป็นพิษได้ ช่วยเสริมการเจริญเติบโตได้อีกทางหนึ่ง เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มความมั่นใจได้ที่คุณสมชาย แซ่เล้า (081-2742863) หรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน(081-3983128)
เขียนโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15784&Param2=7