วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เกาะกระแสการเมืองร้อน : ทางออกชาวสวนยางพารา


คอลัมน์ข่าวจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้าออนไลน์ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 รายงานว่า นายสมคิด สืบตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจ.กระบี่ เปิดเผยถึงยางพาราสามารถสร้างรายได้ให้ชาวสวนยาง จ.กระบี่ ได้ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท/ปี จึงถือว่ายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่จะผลักดันเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 จึงจัดการสัมมนา เตรียมความพร้อม ให้ความรู้เกษตรกร ร่วมถึงเชื่อมโยงเครือข่ายชาวสวนยาง แนวทางการลดต้นทุนในการสร้างสวนยาง เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยาง จ.กระบี่ได้เกิดแนวคิดร่วมกันลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความเข้มแข็ง นำโดยผู้ว่าเมืองกระบี่ นายประสิทธิ โอสถานนท์
ที่ผ่านมาราคายางพาราในตลาดโลกผันผวนตลอดเวลา ส่งผลกระทบต่อราคายางพาราในประเทศ อีกทั้งพื้นที่ปลูกยางพาราไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ยังมีมาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมไปถึงพี่ใหญ่อย่างจีน อีก 2 ปีข้างหน้าราคายางอาจแย่กว่านี้หากไม่หาทางรับ เพราะว่ายางพาราจีนเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ทางรอดทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต คือการนำพูมิชซัลเฟอร์มาผสมร่วมกับปุ๋ยที่จะหว่านบำรุงต้นให้ละลายช้าลง เนื่องจากพูมิชซัลเฟอร์ผลิตจากหินภูเขาไฟที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าเป็นลบ สามารถจับตรึงปุ๋ยที่มีค่าประจุเป็นบวก (1) ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินที่ไม่มีในปุ๋ยเคมี (2) ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือไม่ต้องซื้อปุ๋ยสูตรที่มีราคาแพง (3) สร้างจุลินทรีย์ในดินไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักโดยไม่ทำให้ดินเสียหรือดินตาย (4) ลดการสูญเสียปุ๋ยเคมีจำพวกแอมโมเนีย (ไนโตรเจน)ไปโดยเปล่าประโยชน์ ใช้ก็ง่ายเพียงแค่นำพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม มาผสมร่วมกับแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยสูตร 50 กิโลกรัม (2 : 5) แต่หากเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ให้ใช้พูมิซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม (1 : 5) หว่านรอบทรงพุ่มหรือร่องอกตามปริมาณที่เคยใส่ คือเคยใส่อยู่ 1 กิโลกรัมต่อต้นก็คงใส่ 1 กิโลกรัมต่อต้นเหมือนเดิม และนอกจากนี้พูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ปรับpH ของดินปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดี เพิ่มธาตุรองธาตุเสริมไม่ต้องหาซื้อมาเติมภายหลัง นอกจากนี้ยังมีซิลิก้าที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งลดการทำลายของแมลงโรคพืช เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลหรือหาซื้อมาทดลองได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15088&Param2=15

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ลดต้นทุนการทำนา ทางรอดเดียวของชาวนาในยามนี้

ใน สภาวะการในประเทศไทย ณ เวลานี้ที่บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวายไปหมด เรื่องที่เป็นกระแสมากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของชาวนา เรื่องใบประทวนข้าว เรื่องเงินรับจำนำข้าว ที่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าจะจบลงเมื่อไหร่ ทำให้ชาวนาที่ทำนาในรอบหลังๆ ไม่กล้านำผลผลิตข้าวที่ได้ไปเข้าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเพราะกลัวไม่ ได้เงินแต่จำนำข้าวที่ได้ไปขายเอาเงินสดกับทางโรงสีเลย แต่ว่าราคาข้าวที่ซื้อขายกันในปัจจุบัน ราคาอยู่ที่ตันละ 6000 – 7000 บาท ซึ่งถือว่าต่ำมากๆเมื่อเทียบกับราคาที่รัฐบาลรับจำนำ แต่ในเมื่อชาวนาไม่มั่นใจในโครงการรับจำนำข้าวก็จำเป็นต้องขายให้โรงสี ซึ่งเมื่อดูราคาที่โรงสีรับซื้อกับต้นทุนการทำนา ณ เวลานี้แล้ว ชาวนาแทบไม่เหลืออะไรเลยบางรายถึงกับขาดทุนก็มี ในเมื่อเรารู้แล้วว่าราคาข้าวที่ซื้อขายในเวลานี้อยู่ที่ตันละไม่ถึง 7000 บาท และสถานการณ์ด้านการเมืองยังไม่นิ่ง สิ่งที่ทำได้ในเวลานี้ก็คือ ชาวนาต้องช่วยตัวเองก่อนด้วยการลดต้นทุนการทำนาให้สอดคล้องกับราคาข้าวที่ตก ต่ำ ถ้ายังจำกันได้เมื่อย้อนกลับไปดูเมื่อปี 2552 ชาวนา เราเคยเจอวิกฤตราคาข้าวตกต่ำมาแล้วแต่ก็ผ่านมาได้ด้วยการลดต้นทุนการทำนา ด้วยการหันมาใช้สารที่ทำให้ปุ๋ยละลายช้าใช้ปุ๋ยใช้ยาที่ราคาถูกๆ
 
แนวทางการลดต้นทุนของชมรมเกษตรปลอดสารพิษเรา
1. เริ่มจากการไม่เผาฟางในนา เปลี่ยนจากการเผาฟางเป็นหมักฟางแทนเพราะในฟางข้าวมีทั้ง ธาตุอาหารหลัง รอง เสริม ที่เป็นอาหารของข้าวอยู่ครบเลย ถ้าเราเผาฟางก็เหมือนว่าเราเผาปุ๋ยดีๆไป 1 ลูกต่อไร กลับกันถ้าเราไม่ทำการเผาฟางแต่หันมาหมักฟางก็เหมือนเราได้ปุ๋ยมาฟรีๆ 1 ลูกต่อไร่
2. การทำให้ต้นข้าวแข็งแรงแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ด้วยการใช้หินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์หว่านตอนทำเทือกไร่ละ 20-40 กิโลกรัมเพื่อให้ข้าวมีธาตุซิลิก้าซึ่งเป็นสารที่สร้างความแข็งแกร่งจากพูมิ ชซัลเฟอร์กินตั้งแต่แรก จะช่วยให้ข้าวมีความแข็งแกร่ง ไม่ค่อยเป็นโรคเชื้อรา ลดการเข้าทำลายของเพลี้ยหนอนได้เนื่องจาก เพลี้ยหนอนกัดกินใบข้าวหรือดูดน้ำเลี้ยงไม่ได้เพราะข้าวเซลล์แข็งได้แต่ อาศัยอยู่ในแปลงนา วิธีการทำให้ข้าวแข็งแรงนี้จะช่วยลดต้นทุนเรื่องการฉีดยาฆ่าแมลง ทั้งค่ายาฆ่าแมลง ค่าฉีด(กรณีที่จ้างฉีด)
3. การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแค่ 1-2 ถัง แทนที่จะใช้พันธุ์ข้าว 3-4 ต่อไร่ ซึ่งราคาข้าวปลูก 1 ถังประมาณ 200 บาท ถ้าเราใช้ข้าวปลูกแค่ 1-2 ถัง เราจะลดต้นทุนเรื่องค่าเมล็ดพันธุ์ไปได้ไร่ละ 200 - 400 บาททันที่ตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำนาด้วยซ้ำ แต่เกษตรกรก็ยังกลัวที่จะหว่านบางบางเพราะกลัวไม่ได้ผลผลิต บ้างก็บอกว่าหว่านข้าวเยอะเพราะหว่านเผื่อนกเผื่อหนูมากิน แต่ถ้าเราทำให้ข้าวที่หว่านไปมีรสชาติขม
โดย การผสมผงสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บไป ทำให้นก หนูกินไม่อร่อยก็ช่วยลดการกินของหนูได้ การหว่านข้าวบางยังมีประโยชน์ในเรื่องของการระบาดของโรคและแมลงอีกด้วยเพราะ ข้าวบางทำให้แสงแดดส่องถึงพื้นน้ำช่วยให้เชื้อราไม่ระบาดละไม่เป็นที่อาศัย ของแมลงศัตรูข้าวอีกด้วย นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลดต้นทุนแบบชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ขนาดยังไม่เริ่มทำนาเลยก็ลดต้นทุนลงไปไปได้มากแล้ว เรายังมีเทคนิคการลดต้นทุนการทำนาอีก ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย ลดต้นทุนเรื่องยา ลดต้นทุนเรื่องการฉีดยา การทำให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ขอนำเสนอในบทความตอนหน้า โปรดติดตามการลดต้นทุนการทำนาได้ในตอนต่อไปนะครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่ม เติมได้ที่คุณจตุโชค จันทรภูมี(ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2

เขียนและรายงานโดย
นายจตุโชค จันทรภูมี

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ภัยน้ำท่วม ภัยหนาว ภัยแล้ง มิได้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี


ปัญหาภัยธรรมชาตินั้นยังคงย่างกรายทายท้ามนุษยชาติไม่เว้นไปในแต่ละปี ในรูปแบบที่ผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างก็เพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นฝนตก น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินไหว ภัยหนาว ความแห้งแล้ง มีผลกระทบต่อผู้คนชนบนโลกในรูปแบบที่แตกต่างกันไป บ้างก็พออกพอใจ บ้างก็อกสั่นขวัญหายไปกับการสูญเสียจากผลกระทบที่ได้รับ บางครั้งก็ถึงแก่ชีวิต บางครั้งก็เกิดการพลัดพราก บางครั้งก็นำความสุขสบายมาในรูปแบบอากาศที่เย็นฉ่ำโดยเฉพาะในตัวเมืองที่มี ฝุ่นควัน ไอเสีย ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากๆ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว จึงทำให้อากาศในโซนดังกล่าวนั้นก็จะมีความรู้สึกที่พอเหมาะพอดีโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตามภัยธรรมชาตินั้นก็มีหนักหน่วงรุนแรงและบางเบาแตกต่างกันไปและสร้างผลกระทบต่อผู้คนไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ก็ต้องดัดแปลงแก้ไขให้มีความสามารถที่จะดำรงคงอยู่ให้ได้ในโลกใบนี้ โดยเฉพาะผู้คนชนเกษตรกรรมนั้นมักจะต้องมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นโอกาสหรืออุปสรรคที่เข้ามาล้วนจะต้องมีความรู้สึกที่ฉับไวกว่าผู้คนชนโรงงานและออฟฟิศ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องกังวลกับเรื่องสภาพภูมิอากาศมากเหมือนกับอาชีพ เกษตรกร เนื่องด้วยไม่ว่าจะหนาวร้อนหรือฝน(ยกเว้นน้ำท่วม) เขาเหล่านั้นก็ยังคงจะสามารถทำงานกันได้ภายใต้อาคารหรือสถานที่ที่กำหนดไว้ แตกต่างจากผืนนาผืนไร่เรือกสวนไร่นาที่ตากแดดตากลมห่มฟ้าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจึงไม่พ้นที่จะต้องได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติโดยตรงไม่ว่าใน กรณีใดๆ จะมีอยู่บ้างที่อาชีพเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเล็กน้อยก็จะ เป็นกลุ่มที่ปลูกแบบทดลอง วิจัย ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ปลูกแบบคนเมือง ซึ่งก็เป็นส่วนน้อยนักเมื่อเทียบกับบรรพชนคนไทยทั้งประเทศที่มีพื้นฐานการทำ อาชีพเกษตรกรรมทำหรือผลิตอาหารมาป้อนคนเมือง และผู้คนชนทั่วโลก

จาก ฝน พ้นหนาว บ้านเมืองเราขณะนี้ก็กำลังย่างก้าวเข้าสู่ภัยแล้งอีกแล้วล่ะครับท่านผู้อ่าน งานที่สำคัญด้านการเกษตรในระยะนี้เห็นทีจะไม่พ้นการเตรียมแหล่งกักเก็บน้ำ ประจำไร่นา จะต้องดูแลรักษาให้มีคุณภาพในการดำรงคงอยู่ของน้ำไว้ให้มากที่สุด มิให้หลุดลอดรั่วไหลออกไปโดยไม่จำเป็นให้มากเกินไปนัก เกษตรกรที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำแหล่งชลประทานและยังมิได้เตรียมการเรื่องบ่อ เรื่องสระน้ำประจำไร่นาก็ควรรีบเตรียมการจะขุดจะกักแล้วรีบนำน้ำเข้ามาสำรอง เตรียมไว้ใช้ อาจจะขุดเจาะบ่อบาดาล หรือบ่อโยกบ่อสาว เพื่อให้ได้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรก็รีบทำ อนึ่งพื้นบ่อที่อยู่ในพื้นที่ดินทรายมีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำไม่ค่อยจะ ดีนัก ก็ควรจะใช้ สารอุดบ่อ (กลุ่มของคาร์โบฮัยเดรท ในรูปโพลิเอคริลาไมด์) ในอัตรา 2 กิโลกรัม คลุกผสมกับ เบนโธไนท์ หรือ สเม็คโตไทต์ ในอัตรา 100 กิโลกรัม คลุกผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อหรือริมผนังกั้นบ่อให้ทั่ว สารอุดบ่อจะทำปฏิกิริยา สเม็คโตไทต์ ทำหน้าที่คล้ายดินเหนียวและสารอุดบ่อจะพองขยายขนาดอุดรูรั่วรอยโหว่ที่จะทำ ให้น้ำนั้นรั่วซึมออกไป บางคนอาจจะเตรียมการหลังขุดบ่อใหม่ๆ ด้วยการใช้รดแทรกเตอร์บด อัด พื้นบ่อให้แน่น ด้วยกรวดหยาบ กรวดละเอียด แล้วจึงโรยด้วยสารอุดบ่อตามสูตรที่ได้แนะนำไป จึงค่อยปล่อยน้ำ สารอุดบ่อจะช่วยทำให้เกิดเมือก (คล้ายนิทานเรื่องไอ้ขี้มูกมาก ที่สั่งขี้มูกอุดรูรั่วของเรือ) ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมในสระน้ำประจำไร่นา ช่วยให้พีน้องเกษตรกรสามารถมีแหล่งกักเก็บน้ำไว้ทำการเกษตรกรรมประจำปี เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีและต้นทุนของเมืองนอกเมืองนาที่จะต้องใช้เงินตรา มากกว่าแสนบาทต่อไร่ หรือบางครั้งเป็นล้านบาทต่อไร่ ใช้วิธีการทำแบบไทยๆ ใช้สารอุดบ่อ ใช้เมือกธรรมชาติต้นทุนประมาณ 1,500 บาทต่อไร่ใช้กักเก็บน้ำได้เป็นแรมปี สนใจก็ติดต่อสอบถามข้อมูลไปยังชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทรศัพท์ 0-2986-1680 -2 หรือเว็บไซด์ www.thaigreenagro.com

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15031&Param2=17

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตามหนอนให้ทัน มิฉะนั้นจะคุณแย่



เมื่อกล่าวถึงหนอนไม่แคล้วนึกถึงหนอนศัตรูเจาะดอกมะลิ ซึ่งเล่นทำลายตั้งแต่ดอกที่ตูมๆสวยๆ ใบอ่อน บางครั้งก็ล้อไปพร้อมๆกันเลย ส่วนใหญ่มักเข้าทำลายช่วงกลางคืน ส่วนกลางวันจะทิ้งตัวลงเอนกายพักผ่อนที่โคนต้น หลบซ่อนตัวตามรอยแตกของผิวดิน บ้างก็หลบซ่อนตามใบที่ม้วนงอ รอให้ถึงเย็นแล้วค่อยๆย่องออกมากัดกินต่อ การควบคุมกำจัดเพื่อลดความเสียหายอาจต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน ขึ้นอยู่กับการระบาดทำลาย ปัจจุบันนี้มีนักวิชาการหลายคนยังส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารเคมีซึ่งรู้ทั้งรู้ว่าอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานที่สังกัดหรือตนเองจากภาษีนำเข้าสารเคมี อย่างนี้ไทยจะเป็นไทได้อย่างไร เพราะยังคิดเสนอตัวเป็นทาสอยู่ร่ำไปเป็นอย่างนี้อีก 10 ปีข้างหน้าประเทศชาติก็ยังไม่พัฒนาหรอกครับ   นอกเรื่องไปเยอะแล้ว กลับที่การป้องกันหนอนเจาะมะลิกันต่อ การควบคุมที่ถูกวิธีปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพแบบยั่งยืน โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีกำจัดแมลงแม้แต่หยดเดียวนั้นก็คือใช้ธรรมชาติป้องกันธรรมชาติ



อย่างกรณีหนอนที่ว่าเราสามารถใช้จุลินทรีย์บาซิลลัสธูริงเจนซิสควบคุมกำจัด โดยใช้หัวเชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส 5-10 กรัม หมักขยายเชื้อในน้ำมะพร้าวอ่อนนาน 24 ชั่วโมง จากนั้นค่อยนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทั้งบนใบใต้ใบในเวลาเย็นๆ ช่วงแดดร่มลมตก 3-4 วัน/ครั้ง เท่านี้ก็สามารถควบคุมปริมาณหนอนได้แล้ว เพิ่มประสิทธิภาพโดยการฉีดพ่นสลับด้วยจุลินทรีย์ทริปโตฝาจอีกตัวเพื่อทำลาย ไข่ตัดวงจรหรือฉีดพ่นลงดินบริเวณโคนต้นเพื่อกำจัดหนอนขี้เกียจที่กินอิ่มแล้วหลบลงไปหนอนตามพื้นที่หรือตามซอกรอยแตกของผิวดิน นอกจากนี้อาจเสริมฤทธิ์ด้วยสารสกัดจากหางไหล,หนอนตายยากฯลฯช่วยขับไล่แมลง เบรกหนอนให้หยุดทำลายช่วง1-2วันที่เชื้อจุลินทรีย์กำลังออกฤทธิ์

เมื่อตัวหนอนได้รับเชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส เข้าไปแล้ว เชื้อจะไปขยายทำลายระบบย่อยอาหาร,ลำไส้ จนตายประมาณ 3 วันหลังฉีดพ่น ซึ่งปลอดภัยทั้งคนใช้คนซื้อ,สัตว์เลี้ยง แต่ไม่ปลอดภัยสำหรับหนอน ไม่จำเป็นต้องหนอนเจาะดอกมะลิ หนอนอะไรก็ได้...ได้ทุกชนิด ส่วนเกษตรกรที่เคยใช้หรือกำลังทดลองใช้ ต้องบอกก่อนว่าการทำควบคุมด้วยวิธีนี้อาจจะต้องใจเย็นและตามหนอนให้ทัน อาจจะไม่เห็นผลปรู๊ดปร๊าดเหมือนยาเคมีก็จริง รับรอง 3วันให้หลัง ปริมาณหนอนลดลงแน่นอน กลัวใจร้อนจนใช้วิชากังฟูปราบหนอนจนราบเป็นหน้ากลองซะก่อน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ( 02-9861680-2 )หรือผู้เขียน( 081-3983128)

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com