วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

ฝนมาใช่ว่าจะดี? : ควรระวังโรคพืชที่มากับฝน

ตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มาข่าวฝนตกพายุฝน ลูกเห็บตก บ้านเรือนพัง เสาไฟฟ้าล้ม สร้างความเสียอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่สายฝนก็ช่วยให้อุณหภูมิของประเทศไทยเราเย็นลง คลายความร้อนลงไปได้บ้าง ภาคเกษตรเราก็เริ่มตื่นตัวขึ้นมากันอีกครั้ง ในเขตภาคอีสานชาวนาเริ่มทำการหว่านข้าวนาปีกันแล้ว ยิ่งมีฝนตกลงมาก็ยิ่งสร้างความชื่นใจให้กับเกษตรกรเอง พืชที่ขาดแคลนน้ำมายาวนานในช่วงหน้าแล้ง เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำประหลังก็พลอยได้อานิดสง ที่ฝนกันอย่างถ้วนหน้า

แต่ฝน ที่ตกนำพาความชุ่มชื่นชุ่มฉ่ำมานั้น อาจจะนำพาพวกโรคพืชมาด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อฝนตกทำให้ดินมีความชื้นจุลินทรีย์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในดินไม่ว่าจะเป็น จุลินทรีย์ดีหรือจุลินทรีย์ร้าย ต่างมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง เกษตรกรทั้งหลายต้องคอยระวังการระบาดของเชื้อราโรคพืชต่างๆภายในดิน เช่น ฟัยท็อพธอร่า ที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า ในพืชตระกูลส้ม มะนาว มะละกอ ยางพารา ทุเรียน เชื้อรา ราพิธเธียม ฟิวซาเรียม ไรซอกโทเนีย สเคอร์โรเทียม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคก้านเน่ายุบตายในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก และผักชนิดต่างๆ เกษตรกรไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรจะป้องกันโรคเชื้อราทางดินนี้ตั้งแต่เนิ่นๆโดยการใช้เชื้อราไตรโค เดอร์ม่า นำไปโรย ราด รด รอบๆโคนต้นพืชที่เราปลูกไว้เพื่อให้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเหมือนทหารยาม ค่อยเฝ้ารากพืชไม่ให้เชื้อราโรคพืชต่างๆเข้ามาทำลายรากพืชของเราได้
ส่วนทางใบพืชก็สำคัญไม่แพ้กัน ฝนที่ตกลงมา ยิ่งเป็นฝนแรกของฤดูด้วยแล้ว น้ำฝนจะนำพาสปอร์ของเชื้อราโรคพืชต่างๆมาด้วย เช่นโรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้มและมะนาว โรคกุ้งแห้งในพริก โรคใบไหม้ ใบจุด เมล็ดด่างในข้าว เกษตรกรควรป้องกันด้วยการใช้ แซนโธไนท์(สารสกัดเปลือกมังคุด) ร่วมกับ ฟังก์กัสเครียร์(ผงจุนสี) ฉีดพ่นล้างใบพืชหลังจากฝนตก โดยสาร 2 ตัวนี้จะไปช่วยยับยั้งน้ำย่อยที่เชื้อราขับออกมาย่อยโปรตีน ทำให้เชื้อราขาดกรออมิโนไปเลี้ยง ทำให้เชื้อราไม่เจริญเติบโตและไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ แต่ถ้าสปอร์เชื้อราระบาดเป็นโรคแล้ว ควรเปลี่ยนมาใช้จุลินทรีย์พลายแก้วฉีดพ้นเพื่อยับยั้งเชื้อราแทน
ทางทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษอยากจะเตือนท่านพี่ๆน้องๆที่ทำเกษตรว่าไม่ควรนิ่งนอนใจหรือหลงดีใจกับการที่มีฝนตกลงมากันแล้ว ควรมีการคิดถึงเรื่องโรคพืชต่างๆที่พร้อมจะมากับฝน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจตุโชค จันทรภูมี(ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่เจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2
เขียนและรายงานโดย : คุณจตุโชค จันทรภูมี
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com