วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปรับน้ำ ปรับ pH ก่อนปล่อยกุ้ง ปล่อยปลา

ก่อนปล่อยลูกกุ้งลูกปลาลงบ่อ ควรปรับสภาพน้ำ ตรวจวัด pH ความเป็นกรดหรือด่าง โดยนำน้ำตัวอย่างในบ่อใส่จานหลุมพลาสติก แล้วหยดน้ำยาตรวจสอบ pH 1 หยด ปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำยาผสมกัน แล้วจึงตรวจสอบสีเทียบสี หากต่ำกว่า 7 แสดงว่าเป็นกรด แต่ถ้าสูงกว่า 7 หมายถึงเป็นด่าง กรณีพบว่าน้ำเป็นกรดก็ให้ใช้โดโลไมท์เนื่องจากเป็นด่างน้อย มีแร่ธาตุที่แพลงค์ตอนพืชต้องการอย่างแมกนีเซียม แคลเซียม แต่ในบางพื้นที่นิยมใช้ปูนขาว ปูนเปลือกหอย เนื่องจากปรับ pH ได้รวดเร็วกว่า หากจำเป็นก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง

ก่อนปรับสภาพน้ำต้องรู้สภาพแวดล้อมตรงจุดนั้นๆด้วยว่า ควรใช้อะไรอย่างไร ใช้ลักษณะใด เพราะสารแต่อย่างให้คุณสมบัติไม่เหมือนกัน ควรใช้อย่างระมัดระวัง ไม่น้อยหรือไม่มากจนทำให้เกิดโทษ  ทำให้น้ำเป็นด่าง  ดินเป็นด่าง แต่หากเป็นเช่นนั้นก็ควรปรับสภาพด้วยภูไมท์ซัลเฟตถุงแดง ซึ่งความเป็นกรดที่ pH 4.5 สามารถช่วยลดความเป็นด่างของดิน ของน้ำได้อย่างลงตัว โดยที่ไม่ก่อให้เกิดโทษต่อแพลงค์ตอนพืชแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ

เมื่อระดับ pH ของน้ำคงที่แล้วให้ใส่จุลินทรีย์บาซิลลัส MT ลงไป เฉลี่ยไร่ละ ? -1 กิโลกรัม สำหรับย่อยอินทรีย์วัตถุ เศษอาหารที่ตกค้างบนพื้นบ่อ ช่วยเพิ่มปริมาณแพลงค์ตอน รักษาระบบนิเวศน์ของน้ำให้คงที่อยู่เสมอ ซึ่งจะใส่มากใส่น้อยดูจากสภาพแวดล้อม การถ่ายน้ำเข้า-ออกจากบ่อบ่อยครั้งไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่กลับทำให้สัตว์น้ำเกิดอาการเครียด ไม่กินอาหาร อัตราการเจริญเติบโตไม่ต่อเนื่อง สังเกตได้จากการเลี้ยงปลาในบ่อปูน ดังนั้นควรควบคุมระบบน้ำตั้งแต่ปล่อยลูกพันธุ์ลงไปจนถึงวันที่จับขาย เพราะน้ำคือตัวแปรสำคัญ ที่อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารต่างๆในสัตว์น้ำได้เช่นเดียวกัน หากต้องการสอบถามหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2) หรือผู้เขียน (081-6929660)

เขียนโดย : คุณเอกรินทร์  ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
แนะนำติชมได้ที่ email:thaigreenagro@gmail.com