วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

สายใยรักเพลี้ยแป้ง-มดแดงในสวนฝรั่ง


เมื่อ เร็วๆ นี้ผู้เขียนได้มีโอกาสโทรศัพท์พูดคุยกับเกษตรกรที่ทำสวนฝรั่งท่านหนึ่งแถวๆ นครชัยศรี เกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชที่คอยช่วยพึ่งพาอาศัยกัน แต่ถ้าพี่น้องเกษตรกรไม่ทราบข้อมูลเลยการป้องกันกำจัดก็เป็นไปได้ยาก อาจทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลไปอย่างน่าเสียดาย ยิ่งหน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานๆก็มักจะพบเพลี้ยแป้งระบาดเป็นจำนวนมากชนิด ที่ว่าขาวโพลนทั้งต้น 

เพลี้ยแป้งเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบฝรั่ง ส่งผลทำให้คุณภาพของผลผลิตตกต่ำ และในขณะเดียวกันก็จะเห็นมดโดยเฉพาะมดแดงเดินป้วนเปี้ยนไป-มาใกล้ๆตัวเพลี้ยตลอดเวลา เนื่องมาจากสัตว์ทั้ง 2 ชนิดต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อเพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นฝรั่งแล้วก็จะถ่ายมูลออกมา จากนั้นมดแดงก็จะเข้าไปกินน้ำหวานจากมูลต่อโดยที่ไม่ทำร้ายเพลี้ย แต่เมื่อไหร่ที่ตัวเพลี้ยแป้งร่วงหรือตกจากต้นฝรั่ง มดแดงก็จะทำหน้าที่ไปคาบเพลี้ยขึ้นมาเกาะบนต้นฝรั่งดังเดิม ดูแล้วก็เหมือนสายสัมพันธ์รักที่ดีต่อกัน ทำสวนฝรั่งจะไปยึดถืออย่างนั้นก็คงไม่ได้ ผลผลิตเสียหายหมดกันพอดี 

ชีวภาพอย่างสมุนไพรและจุลินทรีย์ก็อีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยควบคุมปริมาณเพลี้ยแป้ง ช่วยลดสารเคมี ลดต้นทุน ป้องกันสารพิษตกค้าง ที่สำคัญดินก็ไม่เสื่อมระบบนิเวศน์ก็ไม่เสีย ตัวห้ำตัวเบียนก็ไม่ถูกทำลายอย่างทุกวันนี้ ท่านเคยสังเกตไหมว่าแมงมุมที่คอยชักใยตามกิ่งใบฝรั่งหายไปไหน? ผู้เขียนกำลังจะบอกว่าที่มันหายก็เพราะว่าสวนแต่สวนมีแต่สารเคมี สารพิษที่คอยทำลายชีวิตห่วงโซ่อาหารของแมลงหรือแมงพวกนี้ หากไม่อนุรักษ์ไว้จองแต่จะทำลาย วันหน้าก็จะไม่มีแมลงดีๆคอยพิทักษ์สวนคอยป้องกันแมลงศัตรูพืช 

เมื่อผู้พิทักษ์น้อยลงแต่ปริมาณศัตรูเท่าเดิมหรือมากกว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องหาตัวช่วย อันจะใช้น้ำไปฉีดพ่นหรือรอให้ฝนตกลงมาชะล้างเพลี้ยออกจากต้นก็คงไม่ทันกาล บางครั้งอาจต้องใช้ยาป้องกันกำจัดบ้างสลับสับเปลี่ยนกันไป จะเลือกยามาฉีดพ่นซักขวดก็ต้องดูพิจารณาให้ดีว่า เป็นยาอะไร? ใช้แล้วปลอดภัยมั้ย? ตกค้างหรือป่าว? ระยะยาวเป็นยังไง? ถ้าทุกคนคิดได้อย่างนี้รับรองเลยว่าสินค้าเกษตรของไทยปลอดภัยจากสารพิษ100%ชัวร์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 081-3983128 (ผู้เขียน) 

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 23 กันยายน 2557 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com 

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย(ทริปโตฝาจ)

Triptophaj-New.gif+

บทความตอนนี้ข้อนำเสนอข้อมูลการจัดการกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างที่กำลังระบาดอย่างหนักในเวลานี้ ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลของ คุณไพทูน   วงศ์ใหญ่  อยู่บ้านเลขที่ 199 หมู่ที่16 ต.หนองฮี อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี  โทร.081-7744449
- ทำนาข้าวอยู่ 200 ไร่ (พันธุ์ ก.ข.15) ซึ่งการทำนาของคุณไพบูลย์ จะทำเป็นแนวปลอดสารพิษ จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงเลย เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา จังหวัดอุบลราชธานีประสบกับปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในนาข้าวอย่างหนัก ซึ่งนาของคุณไพบูลย์เองก็เจอเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเล่นงานเหมือนกัน แต่ที่ต่างจากชาวนาคนอื่นในระแวกบ้าน คือคุณไพบูลย์จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่มีขายตามร้านขายยา แต่จะหาข้อมูลการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบชีวภาพปลอดสารพิษในอินเตอร์เน็ตและได้มาอ่านเจอบทความเรื่องการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวแบบปลอดสารพิษของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ด้วยการใช้จุลินทรีย์”ทริปโตฝาจ”(เชื้อราบิวเวอเลีย) แล้วเกิดความสนใจ เลยได้เข้าไปซื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษสาขาอุบลราชธานี ตรงแยกนาเมือง ไปทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 ก่อนที่จะฉีดสั่งเกตุในแปลงนาพบว่าข้าวในนาเริ่มแสดงอาการเหลือง บางพื้นที่ข้าวเริ่มยุบให้เห็น เลยได้รียฉีดทริปโตฝาจในเย็นวันที่ 1 นั้นเอง
- หลังจากฉีดพ่นทริปโตฝาจไป 4-5 วัน ทางเจ้าหน้าที่ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้โทรไปสอบถามเก็บข้อมูลผลการใช้ จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ กับทางคุณไพบูลย์ ได้ข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ คุณไพบูลย์ให้ข้อมูลมาว่า หลังจากฉีดไปแล้ว3 วันได้ไปตรวจดูที่แปลงนาพบว่า แทบไม่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาเลย แต่จะพบตัวที่ตายลอยอยู่ในน้ำหรือไม่ก็แห้งตายขึ้นเป็นใยสีขาวเกาะตายคาต้นข้าว ทำให้คุณไพบูลย์รู้สึกพอใจเป็นอย่างมาก และเมื่อวาน คุณไพบูลย์ได้โทรมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ว่าข้าวที่นาเริ่มฟื้นกลับมาเขียวเกือบจะเหมือนเดิมแล้ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ยังไม่มีอีกเลยตั้งแต่ฉีดทริปโตฝาจไปตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับชาวนาแปลงข้างๆ ที่ใช้ยาฆ่าแมลงในการกำจัดเพลี้ยกระโดดด้วยว่า ชาวนาแปลงข้างๆต้องฉีดยาเพลี้ยกระโดดทุก 3 วัน แต่ข้าวก็ไม่ดีขึ้น แนะนำให้ใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ก็ไม่เอา หาว่ายาที่คุณไพบูลย์ใช้ราคาถูกจะได้ผลหรา ขนาดยาฆ่าแมลงแรงๆแพงๆยังไม่ได้ผลเลย เกษตรกรที่ทำนาท่านอื่นๆในพื้นที่ที่กำลังมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดก็ลองนำทริปโตฝาจไปทดลองใช้กันได้นะครับสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้เขียน โทร.085-9205846 

เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

หินแร่ภูเขาไฟช่วยให้พืชกินอาหารได้ต่อเนื่อง ไม่เปลืองปุ๋ย ต้นทุนลดผลผลิตเพิ่ม


Pumice_Sulpher02.jpg

เหลือ เชื่อนะครับท่านผู้อ่านที่ในห้วงช่วงนี้ ผู้คนให้ความสนใจการใช้หินแร่ภูเขาไฟปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก มาย มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงดินออกมาเยอะแยะมากมายหลายยี่ห้อ บ้างก็เอาดินเบาลำปาง (diatomite) บ้างก็เอาดินขาว (Kaolinite)บ้างก็เอาปูนมาร์ล ปูนเผา ปูนขาว ยิปซั่ม (Lime) ที่หนักข้อขึ้นไปอีกก็คือใช้ดินเหนียว (Mineral Clay) อาจจะเป็นด้วยดินที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ทำให้การปลูกพืชของพี่น้องเกษตรกรไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงต้องพยายามหาสิ่งที่ต้องบำรุงปรุงดินให้ดีขึ้น เพื่อให้พืชเจริญเติบโตงอกงามและให้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น 

การ ทดลองและวิจัยเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟในการปรับปรุงบำรุงดินเท่าที่ เห็นเป็นรูปธรรมคือตั้งแต่ปี 1999 ก็คือ Silicon In Agriculture. และ Zeolite In Agriculture. ซึ่งเป็นข้อเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาให้ความชุ่มชื้น ให้ความแข็งแกร่งทนทานต่อโรคแมลง ทนทานต่อสภาพดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินด่าง ฯลฯซึ่งความจริงอาจจะมีข้อมูลเกี่ยวกับด้านนี้มาก่อนเยอะแยะมากมายก็ได้ แต่ด้วยเทคโนยีด้านข้อมูลข่าวสารในอดีตไม่ได้รวดเร็วเหมือนสมัยนี้ จึงทำให้ความแพร่หลายในอดีตจากอีกซีกโลกหนึ่งมาถึงเราช้า...แต่ดีกว่าไม่ มา! 

หินแร่ภูเขาไฟ.(Volcanic Rock) ซึ่งมีองค์ประกอบของความอุดมสมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโตทั้งของพืช สัตว์และจุลิทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่มนุษย์อย่างเราไม่สามารถ มองได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพืชสัตว์แพลงค์ตอนถ้ามีแหล่งหินแร่ภูเขาไฟบนพื้นดิน ภูเขาหรือใต้ท้องทะเล สิ่งมีชีวิตที่ได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่หินแร่ภูเขาไฟปลดปล่อยย่อย สลายออกมาก็จะเจริญเติบโตสมบูรณ์งอกงามจนแทบไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารจากการ สังเคราะห์หรือปุ๋ย ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่นพืชที่ปลูกบนเกาะชวา บาหลี แพลงค์ตอน ปลากระตัก นกนานาชนิดที่ปากอ่าวชิลี เปรู 

การ ใช้กลุ่มวัสดุปูน lime, ดินเบา diatomite และดินขาว Kaolinite ซึ่งส่วนใหญ่ใช้แก้ปัญหาดินเปรี้ยวดินกรด ไม่มีค่าความสามารถในการจับตรึงปุ๋ยให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า ไม่มีซิลิก้าทำให้พืชแข็งแรง ไม่มีคุณสมบัติที่สามารถปลดปล่อยย่อยสลายตนเองให้กลายเป็นอาหารของสิ่งมี ชีวิตได้ทีละน้อยๆ จึงแตกต่างจากหินแร่ภูเขาไฟ พื้นที่เกษตรที่มีการเติมสารปรับปรุงบำรุงดินด้วยหินแร่ภูเขาไฟ พืชจึงเจริญได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุดหยุดการรรับสารอาหาร สามารถดูดซับจับความชื้นจากอากาศ รับแร่ธาตุกักเก็บสารอาหารที่ถูกน้ำพัดพาทำหน้าที่คล้ายตู้เย็นพืช จึงทำให้พืชโตเร็ว ต่อเนื่อง ผลผลิตเพิ่ม ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีที่ซื้อมาเสริมเพิ่มเติมลงไป 

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เลี้ยงกบแบบพอเพียงต้นทุนต่ำ



อาศัย ธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเกษตรกร ประหยัดต้นทุนในการเลี้ยง ใช้วัสดุหาง่ายในพื้นที่ในครัวเรือน ขนาดของบ่อก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่ 2-3 เมตรก็พอ แต่พื้นที่แสงแดดต้องส่องได้ถึง พื้นดินต้องเรียบ ล้อมรั้วรอบด้วยตาข่ายไนลอนสูง 1 เมตร โดยให้ฝังตีนตาข่ายลึกลงไปในดินประมาณ 20 เซนติเมตร ป้องกันกบมุดหนีหรือศัตรูภายนอกมุดเข้ามากินกบ ด้านในต้องมีแหล่งน้ำหรือบ่อเล็กๆไว้ใหักบว่ายน้ำเล่น 

ท่าน ที่ฟักไข่เองช่วงแรกๆก็ให้ลูกอ๊อดกินไรน้ำ หรือไรแดง สลับกับผักกาดลวกกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือเศษปลาต้มสุก บด หรือเครื่องในสัตว์ต้มสุก หรือหอยเชอร์รี่ต้มสุกบด นำมาผสมกับรำละเอียด เมื่อลูกอ๊อดเริ่มโตขึ้นก็เริ่มผสมหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูป แต่ค่อยๆผสมให้ทีละน้อยๆกินหมดในหนึ่งวัน การฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปแต่เนิ่นๆเป็นเรื่องที่ดี ช่วยลดปัญหากรณีอาหารธรรมชาติอย่างปลวก ไส้เดือน จิ้งหรีด หนอนนก ฯลฯ ไม่เพียงพอหรือหายากราคาแพงลงได้ 

เมื่อลูกกบอายุ 2 เดือนก็เริ่มให้อาหารสำเร็จรูปได้ หรือผสมร่วมกับอาหารธรรมชาติเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะผสมอยู่ประมาณ 3:1ของอาหาร ยกอย่างเช่น ปลาสดบดผสมรำ 3 กิโลกรัมต่ออาหารสำเร็จรูป 1 กิโลกรัม ช่วงเวลาจากลูกอ๊อดไปเป็นลูกกบใช้เวลา 40-45 วัน และจากลูกกบไปเป็นกบเนื้อพร้อมจำหน่ายใช้เวลา 4-5 เดือน นั้นหมายถึงกบมีความยาวประมาณ 4 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 200-300 กรัมต่อตัว ช่วงไหนราคาไม่ดีปล่อยเลี้ยงต่อยังไม่จับ เพราะยิ่งไซด์ใหญ่ยิ่งได้ราคาดีเป็นเงาตามตัว 

ปัญหา น้ำเน่าเสียก็ไม่แพ้เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง อยู่เหมือนกัน ยิ่งให้อาหารเยอะก็ยิ่งกินเยอะและเหลือเยอะ แถมถ่ายเยอะอีกตังหาก ไม่เกินหนึ่งสัปดาห์น้ำก็เริ่มส่งกลิ่นเหม็น กลิ่นคาว กลิ่นฉุนของแอมโมเนียคละคลุ้งทั่วบริเวณ แหละนั้นก็ต้องคอยถ่ายน้ำเสียทิ้งแล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ตลอดเวลา เพราะถ้าไม่เปลี่ยนหรือถ่ายทิ้ง แอมโมเนียก็เพิ่มขึ้นจนทำลายเนื้อเยื้อบางๆหรือผิวหนัง ทำให้กบเคลียดหรือตายได้เช่นเดียวกัน บางครั้งต้องอาศัยหินภูเขาไฟอย่างสเม็คโตไทต์ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ มาคอยดักจับแอมโมเนียซึ่งมีเป็นประจุไฟฟ้าเป็นบวก ช่วยยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำและลดอัตราการตายลงได้ สอบถามข้อมูลวิชาการได้ที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน(081-3983128) ท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205-9 

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 11 กันยายน 2557 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

โรงเรือนเห็ดต้นทุนต่ำทำจากเหล็กแป๊ปเต้นรถเก่า



การ ทำโรงเรือนเห็ดให้เหมาะสมต่อชนิดของเห็ดก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าโรง เรือนไม่สามารถกักเก็บและควบคุมได้ก็จะทำให้เห็ดชนิดนั้นๆ ไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ต้องเสียเงิน เสียทอง และที่สำคัญเสียเวล่ำเวลาลาในการสาเหตุและทำการแก้ไข โรงเรือนเห็ดที่ไม่สามารถบริหารจัดการเรื่องอุณหภูมิและความชื้นได้ เมื่อเพาะเห็ดที่ชอบหนาวมาก ร้อนมากก็จะมีปัญหาคือเห็ดไม่ออกดอก หรือในห้วงช่วงที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น และกลางคืน อุณหภูมิและสภาพอากาศผันแปรอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็ทำให้เห็ดที่ออกดอกง่ายอย่างฮังการี่ก็มีจู้จี้งอแงบ้างเหมือน กัน 

ปัจจุบัน การเพาะเห็ดนั้นมีปัจจัยที่เข็มขัดสั้น (แฮะๆ คาดไม่ถึง) หรือไม่คาดคิดหลายอย่างนะครับ เช่นสถานการณ์โลกร้อน (Global Warming) และสภาพอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีตเทียบกับปัจจุบัน (Climate Change) สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างเห็ดรา (Macro Fungi) ที่สามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าสัตว์ตัวโตๆและ มนุษย์ จึงทำให้เกิดปัญหาในการดูแลให้เกิดดอก เรื่องโลกร้อนนั้น ผู้ที่ติดตามข่าวก็จะทราบว่า คลื่นความร้อนนั้น (Heat Wave) นั้นก็คร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายชีวิตอยู่เหมือนกัน หรือแม้แต่ภาคเหนือ เท่าที่ได้รับรู้ข้อมูลคือจังหวัดน่าน อำเภอบ่อเกลือนั้นปัจจุบันก็เริ่มรับรู้ถึงปัญหาจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อน ขึ้นและปัญหาของเชื้อราแมลงศัตรูข้าวที่กำลังระบาดกันอยู่ในขณะนี้ จากแต่ก่อนไม่เคยพาลพบก็ยังต้องมาประสบพบเจอและที่สำคัญในระยะยาวถ้าเรายัง ปล่อยให้โลกร้อน การประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั่นคงจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายอย่างเพิ่มขึ้นมา อย่างแน่นอน 

ที่ จะมาแนะนำกับท่านผู้อ่านในวันนี้ก็ใช่ว่าจะหาของแพงๆให้เสียสตุ้งสตางค์กัน ดอกหรอกนะครับ เพียงแต่อยากจะให้รู้จักสังเกตุ วิเคราะห์ และดัดแปลงวัสดุที่หาได้ใช้จากท้องถิ่น ในกรณีที่จะพูดถึงนี้ก็คือการใช้เหล็กแป๊ปทำโรงเรือนอย่างง่าย กว้างคูณยาวคูณสูง 4 x 6 x 2.5 หรือ. 3 เมตรก็ตามสะดวกให้ผลลัพธ์หรือประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญการทำโรงเรือนในลักษณะนี้จะเน้นที่ความง่าย ย้ายสะดวก ต้นทุนไม่สูงมากนัก ไม่เกิน 5,000 บาท คือพยายามให้ช่างต่อแบบประกอบข้อต่อที่ถอดออกและสวมเข้าได้ง่ายๆด้วยนะครับ รอบตัวโรงเรือนอาจจะใช้แสลนด์ขึงพันรอบและทำหลังคาใช้ผ้าใบและถุงพลาสติกบุ ด้านในหรือด้านนอกตามความเหมาะสม ถ้าไม่ลำบากมากนักหลังคาแนะนำให้จากหรือหญ้าคานะครับ ส่วนด้านข้างเป็นแสลนด์ไม่มีปัญหา เพราะหน้าฝนนั้นหลังคาที่เป็นแสลนด์หรือผ้าใบอาจจะมีปัญหาเรื่องน้ำฝนรั่ว ซึมหรือท่วมขังค้างบนหลังคา น้ำหนักที่หน่วงหนักมากเกินไปอาจทำให้ผ้าใบหรือถุงพลาสติกฉีกขาดพังลงมาได้ ครับ สามารถไปดูต้นแบบได้ที่ ไทยกรีนอะโกรฟาร์ม 197 หมู่9 ต. รำมะสัก อ. โพธิ์ทอง จ. อ่างทอง 14120 หรือโทร. 084-555-4205-9 ดูนะครับ

วัตถุ ประสงค์หลักเน้นการบริหารจัดการโรงเรือนให้สอดคล้องเหมาะสมกับเห็ดแต่ละชนิด ถ้าเป็นเห็นชอบร้อนก็ควรบุพลาสติกและผ้าใบให้แน่นหนา ส่วนเห็ดที่ชอบเย็นก็สามารถที่จะปิดเปิดสแลนด์ระบายอากาศได้ไม่ยาก โรงเรือนในลักษณะนี้ได้ไอเดียมาจากพี่ประดิษฐ์ นักธุรกิจที่เจอปัญหาวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ได้นำเต้นรถเก่าที่ส่วนใหญ่เป็นเหล็กแป๊ปไปดัดแปลงเพาะเห็ด จุดเด่นที่สำคัญคือเคลื่อนย้ายไปตามจุดต่างได้ง่าย ปรับแต่งได้ตามใจชอบ สำหรับผู้เพาะเห็ดมือใหม่จะนำไปดัดแปลงปรับใช้ก็ไม่ว่ากันนะครับ  

นตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



การ ปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในยุคปัจจุบันนั่นถือว่ามีทางเลือกที่หลากหลาย มีหนทางอีกมากมายให้เลือกสรร ทั้งหนังสือ วารสาร วิทยุ ทีวี และ อินเทอร์เน็ต แต่ที่อยากให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้ก็อยากจะให้เป็นไปในรูปแบบที่ปลอดภัยไร้ สารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต และไม่เป็นมลพิษกับสิ่งแวดล้อม เจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นสามารถแพร่ขยายพันธุ์ตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็ม วัยใกล้เคียงกับหนึ่งเดือน แถมยังชนิดปีกสั้นสามารถวางไข่ได้ 300 ฟอง และชนิดปีกยาววางไข่ได้ 100 ฟอง นำมาถัวเฉลี่ยคือหารสองก็เท่ากับว่าเพลี้ยกระโดดวางไข่ได้ประมาณ 200 ฟอง แบ่งเป็นตัวผู้ 100 ตัวและตัวเมียอีก 100 ตัว เพียงห้วงช่วงสองสามเดือนก็จะสามารถแพร่กระจายขยายพันธุ์ได้เป็นร้อยถึงสอง ร้อยล้านตัว จึงทำให้การควบคุมโดยแมลงศัตรูธรรมชาติไม่ได้ผลโดยเฉพาะในห้วงช่วงที่มีการ ระบาดรุนแรง 

การทำให้พื้นนาราบเรียบเสมอกันก็จะช่วยทำ ให้ต้นข้าวแข็งระบายถ่ายเทน้ำก็สามารถปล่อยน้ำออกได้อย่างทันท่วงทีแตกต่าง จากพื้นนาที่ลุ่มๆดอนๆ เพราะเราจะสังเกตุเห็นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดเป็นที่แรกตรงบริเวณที่ต้น ข้าวขึ้นในแอ่งที่เป็นที่ลุ่ม การใช้เมล็พันธุ์เพียง 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ก็สามารถช่วยทำให้การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดน้อย กว่าแปลงนาที่มีการหว่านเมล็ดพันธุ์หนาแน่นมากถึง 20-30 กิโลกรัม เพราะข้าวที่ได้รับแสงแดด ใบตั้งตรง จะไม่อ่อนแอจากการทำลายของเชื้อราฉวยโอกาศทำให้ยากต่อการเข้าทำลายของแมลง ศัตรูพืชด้วยเช่นกัน ข้าวที่ได้รับซิลิก้ามากๆ ก็ให้ผลในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน (Silicon In Agriculture)  

การ ใช้มะพร้าวขูด 200 กรัม ยาฉุน 100 กรัม คั้นกับน้ำต้มสุกอุ่นๆ 1 ลิตร แล้วนำน้ำที่ได้ไปผสมกับกาแฟแท้ 100% อีก 50 กรัม นำส่วนผสมทั้งหมดไปผสมกับน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรสูตรนี้ท่านอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา ท่านว่ากระทิช่วยเป็นตัวแทนสารจับใบและกาแฟและยาฉุนจะทำให้หัวใจของเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาลเต้นแรงคือมีผลกระทบต่อระบบประสาทและออกฤทธิ์เป็นยาเบื่อนั่น เอง. และีกวิธีหนึ่งที่ฮอทฮิตติดอันดับความนิยมต้นๆ ก็คือการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย โดยเฉพาะบิวเวอร์เรียที่เสริมฤทธิ์ด้วยเมธาไรเซียมด้วยแล้วจะถือว่าให้ผลใน การปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดีค่อนข้างมากทีเดียวเชียวละครับ (ทริปโตฝาจ Triptophaj) ใช้ผงสปอร์ประมาณ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 3-7 วันเพลี้ยกระโดดจะเจ็บป่วยอ่อนแอหยุดนิ่งจากการติดยาเชื้อชีวภาพ  

สปอร์ ของเชื้อราบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียมจะงอกออกมาชอนไชแทงทะลุเข้าไปในลำตัว เพลี้ยจนอวัยวะภายในถูกทำลายจนเหลวแหลก ตัวเพลี้ยที่ล้มตายและจะกลายเป็นแหล่งอาหารให้จุลินทรีย์พร้อมที่จะเจริญ เติบโตแพร่เชื้อต่อออกไปอีกเรื่อยๆเพราะสภาพแวดล้อมในแปลงนาที่หนาแน่นไป ด้วยต้นข้าวมีความชื้นสูงเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราทั้งสองชนิดนี้ เป็นอย่างดี ทำให้แปลงนาข้าวที่มีจุลินทรีย์ชีวภาพอาศัยอยู่โดยปราศจากสารเคมีกำจัดศัตรู พืชที่บ่อนทำลายชีวิตของเขาจะอยู่รอดปลอดภัย มักจะไม่ได้รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แตกต่างจากแปลงนาที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษรุนแรง เพราะจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดื้อยาและต้านสารเคมีทำให้ต้นข้าวยังถูก ทำลายต่อไป ท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรที่ชื่นชอบแนวทางปลอดสารพิษพิชิตต้นทุนลองนำ เทคนิคและวิธีการต่างๆดังที่ได้เขียนนี้ไปลองใช้กันดูนะครับ 

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

อยากรู้ไหมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบระบาดในแปลงนาลักษณะใด



การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถ้านับย้อนไปในอดีตก็ตั้งแต่ปี 2520 และก็จะระบาดอีกในปี 2530 และในปี 2540 รูปแบบการระบาดก็ยังห่างๆอยู่ ในระยะปี 2530-2540 นี้ก็เริ่มมีการค้นพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกสอง สามสายพันธุ์ที่แปลกๆจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปรกติ นี่อาจจะเป็นเพราะในห้วงช่วงนี้เรามีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันมากมาย หลากหลายชนิดนั่นเองจึงทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างเจ้าเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาลนั้นกลายพันธุ์ขึ้นมา ซึ่งถ้ามองมาถึงปัจจุบันก็จะมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมายมายหลายชนิดทั้งปีก สั้น ปีกยาว ปีกลาย ปีกหยัก ตัวผอม ตัวกลม ตัวเขียว ตัวดำ และที่สำคัญความหนาแน่นต่อต้นต่อกอก็มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมายหลายเท่าตัว จนหลักการที่จะให้แมลงตัวดีหรือตัวห้ำตัวเบียนคอยควบคุมจับกินในอัตรา ตัวดีหนึ่งตัวคุมแมลงศัตรพืชตัวร้ายเก้าหรือสิบตัวนั้นไม่ได้ และที่สำคัญมาในช่วงปี 2550 เป็นต้นมานั้นเราจะสังเกตุว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นระบาดติดต่อกันเป็นประจำแทบทุกปีเลยทีเดียวเชียว ล่ะครับ 

และมีการระบาดหนักมากๆในห้วงช่วงปี 2552 จนเป็นข่าวดังไปทั้งประเทศในกรณีที่มีเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพร รรณบุรีที่มีการปลุกเสกยันต์กันเพลี้ยแจกชาวบ้านนำไปปักไว้ในแปลงนา ปรากฎว่าชาวบ้านนิยมชมชอบมากกว่าการใช้ยาฆ่าแมลงเสียอีกเพราะใช้แล้วดู เหมือนว่าจะให้ผลลัพธ์ดีกว่า ในห้วงช่วงนั้นชาวบ้านจะยังไม่ค่อยรู้จักยาเชื้อบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม กันแพร่หลายมากเท่าใดนักเหมือนในปัจจุบันนี้ การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จากระยะตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ออกไข่ใช้ระยะเวลาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้นสี่ซ้าห้าวันก็เป็นตัวอ่อนและลอกคราบอีกห้าครั้งใข้ระยะเวลา ประมาณ 15-16 วัน คือประมาณสามสี่วันลอกคราบครั้งหนึ่งจึงเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเฉลี่ยไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลออกมา 200 ฟอง เป็นตัวผู้ 100 ฟองและเป็นตัวเมีย 100 ฟอง ใช้ระยะเพียงสองสามเดือนเค้าจะสามารถขยายจำนวนได้หลายล้านตัว นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่แมลงศัตรูพืชธรรมชาติไม่สามารถควบคุมประชากรของ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ในภาวะที่มีการระบาดหนักเกินระดับเศรษฐกิจ 

หาก เราย้อนไปดูและสังเกตุการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นจะเห็นเข้า ระบาดในพื้นที่ลุ่มก่อนเป็นลำดับแรก เพราะพื้นที่ลุ่มเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุสารอาหารหรือปุ๋ยที่หว่านลงไปมากองรวม ทำให้ข้างงอกงามอวบอ้วนอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และถ้าเราหัดสังเกตุต่อไปในพื้นที่บนคันนาที่มีเมล็ดข้าวร่วงหล่นแบบไม่ ตั้งใจและเจริญเติบโตเป็นกอข้าวที่ไม่มีใครใส่ใจดูแล จะพบว่าข้าวที่เติบโตบนคันนาจะไม่พบเพลี้ยกระโดดเข้าทำลายแม้แต่ตัวเดียว การแก้ปัญหาของพี่น้องเกษตรชาวนาด้วยไขระบายน้ำออกเมื่อมีการระบาดของเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาลเพื่อบรรเทาการระบาด แต่แปลงนาที่มีพื้นนาไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งแปลงจะไม่สามารถหยุดการเข้า ทำลายของเพลี้ยได้เลย เพราะจะอย่างไรพื้นที่นาที่ลุ่มๆดอนๆน้ำก็ไหลออกไปไม่หมดอย่างแน่นอน 

สาเหตุ อีกอย่างหนึ่งของการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลคือการหว่านข้าวแน่น ใช้เมล็ดเยอะ และสุดท้ายก็ต้องใข้ปุ๋ยเพิ่มตามมาด้วย ทำให้ต้นข้าวกลับไปสู่เงื่อนไขอวบอ้วนใบโค้งงอคำนับเจ้าของ ง่ายต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ง่าย ฉะนั้นการทำให้ต้นข้าวเตี้ยแข็งใบตั้งชูสู้แสงจึงช่วยลดการเข้าทำลายได้มาก จึงยากฝากพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาให้พึงระลึกนึกถึงการปลูกข้าวทำนา ต้องพยายามทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่อ่อนแอจากการใส่ปุ๋ยที่มากเกินควร. และในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือใส่ปุ๋ยช่วงระยะแตกกอ ทำพื้นนาให้เรียบเสมอทั้งแปลง หรือเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์ด้วยซิลิก้าจากหินแร่ภูเขาไฟก็จะช่วย ผ่อนปัญหาที่รุมเร้าอย่างหนักให้กลายเป็นเบาได้ไม่ยาก 

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีป้องกันกำจัดโรคข้าวที่กำลังระบาดทางภาคอีสานด้วย” จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า”


Tricoderma_Bottle2012.gif

ปัญหา เรื่องโรคต่างๆเกี่ยวกับข้าว ถ้าเป็นชาวนาในเขตภาคกลางหรือภาคเหนือตอนล่างแล้ว ส่วนมากจะรู้จักกันเป็นอย่างดี สามารถสังเกตุอาการ วิเคราะห์อาการ และหาวิธีแก้ไขกันได้อย่างทันท่วงที แต่ถ้าเป็นเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบนหรือว่าทางเขตภาคอีสานของประเทศไทยแล้ว ต้องบอกว่าถือเป็นอะไรที่ใหม่มากๆ โดยปกติแล้วการทำนาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนหรือทางภาคอีสานจะทำนาได้ปีล่ะ 1 ครั้ง เรียกกันว่าการทำนาปี ซึ่งพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันจะเป็นข้าวหอมมะลิ(ทำไว้เพื่อขาย) และก็ข้าวเหนียว(ทำไว้รับประทาน) ในการทำนาในเขตภาคอีสานนั้นแทบจะไม่มีปัญหาเรื่องโรคของข้าวรบกวนเลย จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เป็นคนพื้นเพภาคอีสาน เป็นลูกชาวนา ทำนามาตั้งแต่เด็กแล้ว การทำนาในพื้นที่ภาคอีสานจะไม่มีการฉีดย่าฆ่าแมลงเลยจะเรียกว่าการทำนาในภาค อีสานเป็นข้าวปลอดสารพิษก็ว่าได้ ส่วนมากก็ใส่ปุ๋ยตามระยะเวลาของการเจริญเติบโตของข้าว เท่านั้น จนกระทั่งมาปีที่แล้ว ปี พ.ศ.2556 มีการระบาดของโรคข้าวขึ้นในเขตภาคอีสาน ซึ่งโรคที่เกิดขึ้นก็คือโรคใบไหม้ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคใบไหม้ ใบข้าวจะเริ่มเหลืองที่ปลายยอดไล่ลงมาเรื่อยๆจนถึงโคนต้น ใบข้าวจะค่อยๆเหี่ยวและข้าวก็จะยุบตายในที่สุด แต่ชาวนาในภาคอีสานเมื่อเห็นอาการข้าวปลายเริ่มเหลืองก็คิดว่าเป็นอาการขาด ปุ๋ยของข้าว รีบไปหาซื้อปุ๋ยมาใส่กันใหญ่แต่ข้าวก็ไม่เขียวขึ้นมาแต่กลับเหลืองลงไปอีก จนมารู้อีกทีข้าวก็ยุบตายไปหมดแล้ว พอมาปีนี้ก็มีการระบาดของโรคเชื้อราในนาข้าวเกิดขึ้นมาอีกแล้ว ทางผู้เขียนเลยต้องรีบมาเตือนให้เกษตรกรที่ทำนาในพื้นที่ภาคอีสานรับทราบ ข้อมูลและวิธีการแก้ไขให้ทันท่วงที

เกษตรกรที่ทำ นาควรไปสำรวจแปลงนาข้าวของตัวท่านเองว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ เช่น ต้นข้าวปลายใบเหลืองเป็นหย่อมๆ หรือเริ่มเหลืองทั่วทั้งแปลง อาการเหมือนข้าวขาดปุ๋ย หรือว่าข้าวที่นายังเขียวดีแต่แปลงใกล้ๆเริ่มแสดงอาการใบเหลือง ถ้าเกษตรกรไปสังเกตแปลงนาแล้วพบอาการเหมือนที่ผู้เขียนกล่าวมาให้รีบนำ ไตรโคเดอร์ม่า(จุลินทรีย์ป้องกันกำจัดเชื้อรา) ไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนาเพื่อยับยั้งโรคใบไหม้ การฉีดพ่นไตรโคเดอร์ม่าควรฉีดพ่นให้ระเอียดฉีดให้ทั่วทั้งบนใบปลายใบ ลำต้น และไม่ควรใช้ไตรโคเดอร์ม่าร่วมกับยาฆ่าเชื้อราที่เป็นเคมีเพราะจะทำให้ ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าลดลงหรือทำให้เชื้อตายไปเลย ข้อแนะนำเพิ่มเติมควรผสม ซิลิโคเทรซ(ธาตุอาหารรองเสริมรวม) ผสมฉีดร่วมกับไตรโคเดอร์ม่าเพื่อให้ซิลิโคเทรซเป็นอาหารเสริมทางใบช่วยให้ ข้าวที่เหลืองกลับมาฟื้นเขียวดังเดิม ซิลิโคเทรซจะช่วยทำหน้าที่เปรียบเสมือนน้ำการให้น้ำเกลือแก่คนป่วยที่นอนโรง พยาบาล ให้ข้าวฟื้นมีชีวิตชีวาขึ้นมา ข้าวกลับมามีภูมิต้านทานต่อโรคเชื้อรา สอ[ถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณจตุโชค จันทรภูมี (ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่เบอร์ call center โทร.0845554205 – 9 

เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

เมลาโนสลงผลมะนาว ผิวเปลือกแห้งไหม้เสียหายขายไม่ออก



ผู้ ที่ปลูกมะนาวไม่ว่าจะเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ก็ไม่ควรมองข้ามโรคเมลาโนสหรือราน้ำหมาก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใบและผลมะนาวเสียหาย ถ้าเกิดที่ผลจะทำให้สีผิวของเปลือกจากที่เคยเขียวมันเงา ก็จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงด้านคล้ายๆกับว่าโดนไฟไหม้ แล้วค่อยๆขยายลุกลามจาก 1 ลูก 2 ลูก 3 ลูกเพิ่มขึ้นออกไปเรื่อยๆจนระบาดทั้งสวน 

เมลา โนสหรือราน้ำหมากมักพบระบาดในมะนาวแป้นพิจิตร1ที่ปลูกระยะชิด เริ่มจากใบเป็นจุดด่างๆหรือกระที่บริเวณผิวใบ มีคราบคล้ายๆน้ำหมากเป็นจุดๆสีน้ำตาลบริเวณใต้ใบ พบระบาดช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน โดยเฉพาะใบหรือผลที่อยู่ใกล้โคนต้นและแสงแดดส่องไม่ถึง ปกติจะเป็นเฉพาะใบเพสลาดจนถึงใบแก่ ใบอ่อนจะไม่ค่อยพบระบาดเท่าใดนัก 

เกษตรกร ที่ปลูกแป้นพิจิตร1หลายต่อหลายท่านต่างก็บ่นใหัผู้เขียนฟังว่าที่สวนก็เป็น เหมือนกัน ยิ่งไว้ยิ่งเสียหายยิ่งลุกลามไม่รู้จะแก้ยังไงแล้ว และอีกอย่างไม่มีนูนหรือตกสะเก็ดเหมือนแคงเกอร์ เนื้อและน้ำข้างในดีปกติ แต่แค่ผิวเปลือกไหม้อย่างเดียว ผิวไม่สวยไม่มีราคาชนิดที่ว่าแม่ค้าไม่หันมองเลยแล้วกันละครับ เมลาโนสหรือราน้ำหมาก เกิดจากเชื้อรา Cercospora citri ระบาดมากช่วงแล้งหรือประมาณเดือนตุลาคมถึงเมษายน มักพบที่ใบมากกว่าผล รุนแรงมากๆอาจทำให้กิ่งแห้งตายได้เช่นเดียวกัน 

ส่วน การป้องกันนั้นเหรอครับเริ่มจากตัดแต่งกิ่งหรือทรงพุ่มไม่ให้รกทึบแสงสามารถ ส่องผ่านได้ถึง จากนั้นก็ฉีดพ่นด้วยพลายแก้ว 100 กรัม(5ช้อนแกง)ร่วมหรือสลับกับซิลิโคเทรซ 10 กรัม+ซิงค์คีเลท 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5-7 วันครั้ง ที่สำคัญก่อนผสมยาฮอร์โมนทุกครั้งให้ปรับสภาพน้ำเสริมซิลิก้าด้วยซิลิซิคแอ ซิค เท่านี้เมลาโนสหรือราน้ำหมากก็ค่อยๆลดลงและหายไป รุ่นใหม่ๆออกมาผลก็จะเต่งผิวก็จะสวยมันวาวขึ้นเงาเหมือนธรรมชาติ สอบถามข้อมูลวิชาการได้ที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน (081-3983128) ส่วนท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205-9 

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.comวันที่ 3 กันยายน 2557 
เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

เซฟมะนาวผิวเสียตกเกรดด้วยพลายแก้ว



มะนาว ตกเกรดไม่ได้คุณภาพ ขายไม่ออก ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่พอตัวอยู่สำหรับผู้ปลูก แปดสิบเปอร์เซ็นต์มาจากแคงเกอร์ที่คอยระบาดสร้างปัญหาทั้งที่ลำต้น บนกิ่งก้านใบหรือแม้แต่ผล จะทิ้งจุดสีน้ำตาลคล้ายสนิมเหล็กดูไม่สวย ผลพวงมาจากเชื้อแบคทีเรียโรคพืชและยังแพร่ขยายลุกลามระบาดไม่จบไม่สิ้น มักพบในมะนาว มะกรูด ส้มโอฯลฯ โดยจะทิ้งร่องรอยแผลเป็นจุดนูนสีน้ำตาลเล็กๆล้อมรอบด้วยวงสีเหลืองตรงกลางมี รอยบุ๋ม เกษตรกรส่วนใหญ่มักแก้ปัญหาด้วยการฉีดพ่นคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์หรือคอปเปอร์ออก ซีคลอไรด์ หากใช้บ่อยๆและติดต่อกันนานๆอาจทำให้มะนาวติดผลน้อยหรือดอกร่วงได้

 แค งเกอร์มักพบระบาดช่วงหน้าฝน ยิ่งฝนตกชุกตกบ่อยก็ยิ่งระบาดมาก เนื่องจากหน้าฝนมะนาวจะแตกใบอ่อนและอ่อนแอกว่าหน้าแล้ง สาเหตุหนึ่งที่ทำให้แคงเกอร์ระบาดแพร่กระจายได้รวดเร็ว โชคดีก็แค่เป็นจุดเหลืองลายตามใบไม่ถึงผล รอบใหนโชคไม่ดีแคงเกอร์ลงที่ผล ผิวขลุขละคล้ายขี้กลากดูไม่สวย ถึงแม้ผลจะโตแต่ตลาดก็ไม่ต้องการ ราคาตกหรือได้ก็ไม่เต็มราคา มีแต่เสียกับเสีย รู้แล้วก็อย่าปล่อยให้แคงเกอร์ระบาดจนควบคุมไม่ทันละครับ

 แค งเกอร์หรือจุดสนิมตามใบป้องกันได้ด้วยพลายแก้วไม่จำเป็นต้องใช้ผงเขียวคอ ปเปอร์ไฮดรอกไซด์หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เพียงแค่ฉีดพ่นพลายแก้ว 100 กรัม(5ช้อนแกง)ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 วันครั้ง แค่นี้มะนาวของท่านก็ปราศจากแคงเกอร์แล้วละครับ เนื่องจากพลายแก้วเป็นจุลินทรีย์ที่ควบคุมการระบาดของแคงเกอร์โดยตรง มะนาวที่ฉีดพ่นพลายแก้ว ผลก็จะเขียว ผิวก็จะมันวาวขึ้นเงาจากแว็กธรรมชาติ และที่สำคัญช่วยประหยัดต้นทุนผลิต สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน (081-3983128) 

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com 
วันที่ 2 กันยายน 2557 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com