วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ควบคุมการระบาดของหนอนหน้าแมวปาล์มน้ำมันด้วยสมุนไพรและจุลินทรีย์ แบบปลอดสารพิษ

หนอนหน้าแมวจะเข้าทำลายกัดกินใบปาล์มน้ำมัน ยิ่งช่วงรุนแรงมากๆ จะทำให้ใบเหลือแต่ก้าน ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และกว่าต้นจะฟื้นคืนดังเดิมใช้เวลานานนับปี ในการระบาดแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการกำจัดนานเนื่องจากหนอนมีหลายระยะในเวลาเดียวกันอาทิ ตัวหนอน ดักแด้ ที่แล้วมาจึงไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ในคราวเดียวกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดการและติดตามผล ลักษณะวงจรชีวิต แบ่งออกได้ 3 ช่วง ต่อไปนี้ -ไข่ สีใส แบนราบติดใบผิวเป็นมัน คล้ายหยดน้ำค้าง ถ้าส่องกับแสงแดดจะทำให้เห็นไข่ชัดเจนขึ้น ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ กระจัดกระจายใต้ใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมัน พบมากบริเวณทางใบตอนล่าง -หนอน มีสีขาวใส มีสีน้ำตาลอยู่กลางลำตัว มีกลุ่มขนบนลำตัว 4 แถว แต่มองเห็นไม่ชัดเจน ส่วนหัวหลบซ่อนอยู่ใต้ลำตัว เคลื่อนไหวช้า กินแบบแทะผิวใบ -ดักแด้ รังดักแด้มีสีน้ำตาล ทรงกลม แขวนติดตามซอกโคนทางใบ มุมใบย่อย ส่วนพับของใบย่อย ตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อหากินกลางคืน ส่วนกลางวันจะเกาะนิ่งหุบปีกไม่เคลื่อนไหว แนวทางควบคุมป้องกันกำจัด 1.ตัดแต่งใบปาล์มน้ำมันที่พบการทำลายของหนอน หรือจับผีเสื้อในเวลากลางวันซึ่งเกาะอาศัยตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือดักแด้ตามซอกโคนทางใบรอบลำต้น 2.ใช้กับดักแสงไฟ โดยใช้แสงไฟ Black light หรือหลอดนีออนธรรมดา วางบนกะละมังพลาสติกบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก ให้หลอดไฟเหนือน้ำประมาณ 5-10 ซม.ล่อผีเสื้อกลางคืนช่วงเวลา 18.00 -19.00 น.เพื่อตัดวงจรการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป 3.ฉีดพ่นด้วยสารสกัดสะเดา (มาร์โก้ซีด) 250-300 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร (ยับยั้งการกัดทำลาย ลอกคราบในตัวอ่อน ทำให้ตัวเต็มวัยเป็นหมัน) ก่อนฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ 500 กรัม(ซอง) ร่วมกับไทเกอร์เฮิร์ป 250 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร สลับกับการฉีดพ่นด้วยน้ำหมักเชื้อบีที-ชีวภาพ (บาซิลลัส ธูริงเจนซิส )โดยเว้นช่วงห่างกันประมาณ 2-3 วัน กระทำเช่นเดียวกัน 2-3 ครั้งโดยให้ห่างกันประมาณ7-10 วันครั้ง จนกระทั้งอาการระบาดลดลงสู่ภาวะปกติ แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนช่วงระยะการฉีดพ่นออกเป็น 15-20 วันครั้งหรือตามความเหมาะสมเพื่อควบคุมการระบาดของหนอน(การฉีดพ่นยา ฮอร์โมนหรือปุ๋ยทุกครั้งควรปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรร่วมกับสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้งเพื่อช่วยเพื่อประสิทธิภาพการทำงานของยา ฮอร์โมนหรือกลุ่มปุ๋ยที่ฉีดพ่นเข้าไป) เผยแพร่โดย:นายเอกรินทร์ ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128

ไม่มีความคิดเห็น: