วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รู้ทันราแป้งมะละกอกับเกษตรปลอดสารพิษ

ผงแป้งสีขาวๆ ที่ติดตาม ผล ใบ ก้านใบ ของมะละกอนั้นเกิดจากเชื้อรา Oidium caricaeF.Noack มองเห็นเป็นปุยสปอร์ เส้นใยสีขาว บนผิวด้านล่างของแผ่นใบคล้ายกับแป้ง มะละกอที่ถูกเชื้อชนิดนี้เข้าทำลายส่วนใหญ่จะแสดงอาการเป็นจุดซีดเหลืองกระจัดกระจายบนใบ ขยายวงกว้างเป็นจุดกลมค่อยๆ เชื่อมต่อติดกัน สังเกตดูใต้ใบจะพบกลุ่มเชื้อราสีขาว หากระบาดมากก็จะปรากฏให้เห็นบนผิวใบด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้วเชื้อรายังเข้าทำลายผลโดยจะแสดงให้เห็นเป็นจุดสีขาวๆ เหมือนที่ใบแล้วค่อยๆ ลุกลามขยายทั่วทั้งผล ทำให้ผิวตกกระไม่สวย ชะงักไม่โต ผลเหลืองหลุดร่วง สำหรับต้นกล้านั้นมักพบอาการใบเหลืองซีด หลุดร่วงได้ง่าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเชื้อราชนิดนี้จะระบาดครอบคลุมทั้งในก้านใบ ยอด รวมถึงผลมะละกอ ส่วนใหญ่จะพบการระบาดในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น มีความชื้นสูง นอกจากนี้ลมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยในการแพร่กระจายของสปอร์เชื้อราดังกล่าวนี้ วิธีควบคุมป้องกันกำจัด 1.ตัดแต่งใบส่วนที่เป็นโรคออกประมาณ 30 -50 เปอร์เซ็นต์ เว้นใบบางส่วนให้พืชได้สังเคราะห์แสง 2.เก็บผลใบแห้งที่พบการเข้าทำลาย ไปฝังกลบเพื่อตัดต้นตอการระบาดของเชื้อโรค 3.ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดแซนโธไนท์ 10 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนฉีดพ่นเชื้อหมักขยายบาซิลลัส - พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส-พลายแก้ว 10 กรัม + ไข่ไก่ 10 ฟอง + น้ำเปล่า 30 ลิตร + เสม็คไทต์ 1 กิโลกรัม (จับกลิ่น ก๊าซไข่เน่า) + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากันก่อนให้ออกซิเจนแบบในตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 -48 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร ) ทั้งบนใบใต้ใบ ซอกผลให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 3 -5 วันครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ให้เติมซิลิซิค แอซิค 50 กรัม + ซิลิโคเทรซ 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตรร่วมกับสารจับใบ(ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น 4.ใช้พูมิช-ซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัมหากเป็นปุ๋ยเคมีให้ใช้ 50 กิโลกรัม เป็นปุ๋ยละลายช้าใส่ทางดินโดยห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร เพื่อบำรุงต้นหรือนำพูมิช-ซัลเฟอร์ละลายน้ำ อัตรา 20 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน 15 นาที ก่อนนำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ (พูมิช-ซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมสามารถผสมน้ำซ้ำได้ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต) มิตรเกษตรท่านใดที่กำลังหรือสนใจปลูกมะละกอ แล้วประสบปัญหาราแป้งรบกวนเข้าทำลายผลผลิต ต้นพันธุ์ เกิดความเสียหาย สามารถติดต่อสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเอกรินทร์ ช่วยชู โทร.081-3983128

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ควบคุมการระบาดของหนอนหน้าแมวปาล์มน้ำมันด้วยสมุนไพรและจุลินทรีย์ แบบปลอดสารพิษ

หนอนหน้าแมวจะเข้าทำลายกัดกินใบปาล์มน้ำมัน ยิ่งช่วงรุนแรงมากๆ จะทำให้ใบเหลือแต่ก้าน ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และกว่าต้นจะฟื้นคืนดังเดิมใช้เวลานานนับปี ในการระบาดแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการกำจัดนานเนื่องจากหนอนมีหลายระยะในเวลาเดียวกันอาทิ ตัวหนอน ดักแด้ ที่แล้วมาจึงไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ในคราวเดียวกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดการและติดตามผล ลักษณะวงจรชีวิต แบ่งออกได้ 3 ช่วง ต่อไปนี้ -ไข่ สีใส แบนราบติดใบผิวเป็นมัน คล้ายหยดน้ำค้าง ถ้าส่องกับแสงแดดจะทำให้เห็นไข่ชัดเจนขึ้น ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ กระจัดกระจายใต้ใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมัน พบมากบริเวณทางใบตอนล่าง -หนอน มีสีขาวใส มีสีน้ำตาลอยู่กลางลำตัว มีกลุ่มขนบนลำตัว 4 แถว แต่มองเห็นไม่ชัดเจน ส่วนหัวหลบซ่อนอยู่ใต้ลำตัว เคลื่อนไหวช้า กินแบบแทะผิวใบ -ดักแด้ รังดักแด้มีสีน้ำตาล ทรงกลม แขวนติดตามซอกโคนทางใบ มุมใบย่อย ส่วนพับของใบย่อย ตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อหากินกลางคืน ส่วนกลางวันจะเกาะนิ่งหุบปีกไม่เคลื่อนไหว แนวทางควบคุมป้องกันกำจัด 1.ตัดแต่งใบปาล์มน้ำมันที่พบการทำลายของหนอน หรือจับผีเสื้อในเวลากลางวันซึ่งเกาะอาศัยตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือดักแด้ตามซอกโคนทางใบรอบลำต้น 2.ใช้กับดักแสงไฟ โดยใช้แสงไฟ Black light หรือหลอดนีออนธรรมดา วางบนกะละมังพลาสติกบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก ให้หลอดไฟเหนือน้ำประมาณ 5-10 ซม.ล่อผีเสื้อกลางคืนช่วงเวลา 18.00 -19.00 น.เพื่อตัดวงจรการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป 3.ฉีดพ่นด้วยสารสกัดสะเดา (มาร์โก้ซีด) 250-300 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร (ยับยั้งการกัดทำลาย ลอกคราบในตัวอ่อน ทำให้ตัวเต็มวัยเป็นหมัน) ก่อนฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ 500 กรัม(ซอง) ร่วมกับไทเกอร์เฮิร์ป 250 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร สลับกับการฉีดพ่นด้วยน้ำหมักเชื้อบีที-ชีวภาพ (บาซิลลัส ธูริงเจนซิส )โดยเว้นช่วงห่างกันประมาณ 2-3 วัน กระทำเช่นเดียวกัน 2-3 ครั้งโดยให้ห่างกันประมาณ7-10 วันครั้ง จนกระทั้งอาการระบาดลดลงสู่ภาวะปกติ แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนช่วงระยะการฉีดพ่นออกเป็น 15-20 วันครั้งหรือตามความเหมาะสมเพื่อควบคุมการระบาดของหนอน(การฉีดพ่นยา ฮอร์โมนหรือปุ๋ยทุกครั้งควรปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรร่วมกับสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้งเพื่อช่วยเพื่อประสิทธิภาพการทำงานของยา ฮอร์โมนหรือกลุ่มปุ๋ยที่ฉีดพ่นเข้าไป) เผยแพร่โดย:นายเอกรินทร์ ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ป้องกันรักษาอาการใบเหี่ยวเหลือง แง่งเน่าขมิ้นด้วยจุลินทรีย์และหินแร่ภูเขาไฟ

อาการใบเหี่ยวเหลือง แง่งเน่า ของขมิ้น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum แพร่ระบาดได้ง่ายในสภาพแวดล้อมที่มี อุณหภูมิค่อนข้างสูง ฝนตกชุก ซึ่งจะเข้าทำลายและอาศัยอยู่แบบข้ามฤดู ซึ่งส่วนใหญ่เชื้อดังกล่าวจะติดมากับแง่งขมิ้นหรือหน่อที่ใช้ทำพันธุ์ โดยจะแสดงอาการในระยะเริ่มแรกหลังจากเชื้อเข้าทำลาย ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ จะเหี่ยว ตกลู่ลง ต่อมาจะม้วนเป็นหลอดและเหลือง อาการจะค่อยๆ ลามจากล่างสูงขึ้นไปยังส่วนบน ต่อมาใบจะม้วน เหลืองแห้งทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ซึ่งต่อมาจะเน่าเปื่อยหักหลุดออกมาจากแง่งโดยง่าย แต่จะไม่มีกลิ่นเหม็น เมื่อตรวจดูที่ลำต้นจะพบว่าส่วนที่เป็นท่อน้ำท่ออาหาร จะถูกทำลายเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม และมีเมือกของแบคทีเรียเป็นของเหลวสีขาวข้นคล้ายน้ำนมซึมออกมาตรงรอยแผลหรือรอยตัดของต้นหรือแง่งที่เป็นโรค สำหรับแง่งจากต้นที่เพิ่งแสดงอาการโรคในระยะแรก หากนำขึ้นมาผ่าออกดู จะพบรอยช้ำฉ่ำน้ำเป็นปื้นๆ โดยเฉพาะแง่งที่ยังอ่อน ต่อมาอาการจะทวีความรุนแรงทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยยุ่ยและสีคล้ำขึ้น อาการเหล่านี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศร้อนชื้น ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการจนทำให้ต้นหักพับตาย จะใช้เวลา 5-7 วัน เป็นอย่างช้า การควบคุมป้องกันรักษา 1.ตัดแต่งใบส่วนที่เป็นโรคออกประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เว้นใบให้พืชได้สังเคราะห์แสง 2.กำจัดวัชพืชออกทำลายนอกแปลง ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดิน เพื่อลดปริมาณความชื้นในแปลง 3.การป้องกันรักษากระทำได้ 2 วิธี ทั้งทางดิน ทางใบหรือกระทำพร้อมๆ กัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น 3.1 วิธีควบคุมป้องกันทางดิน - นำพูมิชซัลเฟอร์หว่านโรยรอบทรงพุ่มหรือแนวร่องบางๆ ทุกๆ 1 เดือน เป็นไปได้ให้นำพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมผสมร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัมและเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม หว่านปรับสภาพดินก่อนเพาะกล้าทุกครั้ง เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราในดินอีกทางหนึ่งด้วย -นำเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) หมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัมน้ำเปล่า 15 ลิตร ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมงก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าหรือน้ำที่ละลายพูมิชซัลเฟอร์ ประมาณ 200 ลิตร ร่วมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วย 400 ซีซี.และโพแทสเซียมฮิวเมท 30 กรัม แล้วราดรดบริเวณทรงพุ่มหรือแนวร่องทุกๆ 15 วันครั้ง หรืออาจจะปล่อยผ่านท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ก็ได้ นานวันละ10 -15 นาที 3.2 วิธีควบคุมป้องกันทางใบ -ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40กรัม(2ช้อนแกง)ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม น้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำเปล่าหรือน้ำที่ละลายพูมิชซัลเฟอร์(พูมิชซัลเฟอร์ 20กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ปล่อยให้ตกตะกอนนานประมาณ 15นาทีหรือน้ำใส )200 ลิตร ร่วมกับไคโตซาน MT 50 ซีซี. ซิลิโคเทรช 100 กรัม และม้อยเจอร์แพล้นหรือสารจับใบ 20 ซีซี.ก่อนนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 10-15วันครั้ง มิตรเกษตรท่านใดสนใจสอบถามหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลสามารถติดต่อได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (02-9861680-2)หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (081-3983128)หรืออาจติชมผ่านทาง email:thaigreenagro@gmail.com

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ใช้แร่ม้อนท์ผสมวัสดุเพาะแทนการฉีดพ่นฮอร์โมนกระตุ้นดอกเห็ด

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับแร่ม้อนท์หรือม้อนท์โมริโลไนท์(Montmorilonite)กันก่อน ม้อนท์หรือแร่ม้อนท์ก็คือกลุ่มของเถ้าของภูเขาไฟ ที่เกิดการระเบิดขึ้นมาจากปล่องภูเขาไฟท่ามกลางลาวา และถูกผลักดันจนลอยขึ้นระเบิดกลางอากาศ โดยจะระเบิด 1-2 หรือ 3 ครั้ง ซึ่งการระเบิดดังกล่าวนี้ทำให้เกิดรูพรุนและโปร่งเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล หากท่านใดเคยดูสารคดีที่ถ่ายทำการระเบิดของภูเขาไฟ จะเห็นว่าตอนที่ระเบิดมีลาวาสีแดงไหลออกมา และมีฝุ่นละอองสีดำ-เทา ที่พวยพุ่งออกด้วย นั้นคือกลุ่มของแร่ม้อนท์ ซึ่งในแร่ม้อนท์จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เทรซซิลิเม้นท์ต่างๆ สามารถดูดซับและเพิ่มความชุ่มชื้น เร่งการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับนำมาผสมก้อนเชื้อเห็ดอย่างมาก การนำแร่ม้อนท์มาใช้เป็นวัสดุสำหรับการเพาะเห็ด ส่วนใหญ่จะนิยมในกลุ่มผู้เพาะเห็ดถุงมากกว่าเห็ดฟาง โดยใช้ในอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อวัสดุเพาะ 100 กิโลกรัม ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตและยืดอายุการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดได้ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ จากการสัมภาษณ์พูดคุยทางโทรศัพท์กับคุณศิริวรรณ หนูริน หรือพี่วรรณ เจ้าของศิริวรรณฟาร์มเห็ด (083-3896281) ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับผลผลิตก่อนและหลังนำแร่ม้อนท์มาผสมวัสดุเพาะเห็ด ความว่า ก่อนหน้านี้ใช้ฮอร์โมนเห็ดฉีดพ่นทุกๆ 3-4 วันครั้ง สามารถเก็บดอกเห็ดได้เฉลี่ยวันละ 5-7 กิโลกรัมต่อเห็ด 3,000 ก้อน แต่พอมาใช้แร่ม้อนท์ผสมวัสดุเพาะพบว่าสามารถเก็บดอกเห็ดได้เฉลี่ยวันละ 7-10กิโลกรัมต่อเห็ด 3,000ก้อน การจัดการง่ายขึ้นไม่ต้องคอยฉีดพ่นฮอร์โมนทุกๆ 4 วัน ที่สำคัญสามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานกว่า

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แก้ใบจุดมะละกอแบบง่ายๆ สไตส์ปลอดสารพิษ

อาการใบจุดในมะละกอเกิดจากเชื้อราชื่อ Cercospora papayae และ Corynespora sp. ซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นได้ 2 กรณี ต่อไปนี้ 1.ทางใบ เกิดจากเชื้อรา Cercospora papayae จะเป็นจุดสีขาวอมเทาเป็นวงๆ มีรูปร่างไม่แน่นอน ใบที่เป็นโรคมากๆ จะเหลืองและแห้งตาย ถ้าเกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. จะเป็นจุดสีขาวกระจัดกระจายบนใบ ใบซีดเหลืองและร่วง 2.ทางผล ที่เป็นโรคนี้จะเกิดจุดเล็ก ๆ มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีสีดำและจะขยายตัวกว้างออก เนื้อเยื่อใต้ผิวของผลจะมีลักษณะแข็ง แต่ไม่มีการเน่าเกิดขึ้น แนวทางควบคุมป้องกัน 1.เก็บผล ใบแห้งที่ร่วงหล่นทำลายทิ้ง โดยการฝังกลบเพื่อตัดต้นตอการระบาดของเชื้อโรค 2.ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดแซนโธไนท์ 10 ซีซี.+กับฟังกัสเคลียร์10 กรัม ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตรก่อนฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ( 1 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร ) หรือเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 10 กรัม + ไข่ไก่ 10 + น้ำเปล่า 30 ลิตร + เสม็คไทต์ 1 กิโล(จับกลิ่น ก๊าซไข่เน่า) + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากัน ให้ออกซิเจนแบตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร ) ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 3-5วัน/ครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ให้เติมซิลิซิค แอซิค 50 กรัม + ซิลิโคเทรซ 50 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตรก่อนผสมทุกครั้ง 3.ให้นำภูไมท์ซัลเฟตหรือพูมิชซัลเฟอร์ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (100 กก.) หรือปุ๋ยเคมี (50 กก.) ตามลำดับ เป็นปุ๋ยละลายช้าใส่ทางดินหรือใส่ถังละลายน้ำ อัตรา 20 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน 15 นาที ก่อนนำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ (ภูไมท์ซัลเฟตหรือพูมิชซัลเฟอร์ 20 กก.สามารถผสมน้ำซ้ำได้ 2 -3 ครั้ง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต 4.สำหรับต้นกล้ามะละกอที่กำลังจะลงปลูกใหม่นั้นแนะนำให้รองก้นหลุมด้วยภูไมท์ซัลเฟต หรือพูมิชซัลเฟอร์(20 กก.) ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ม่า (1 กก.)และปุ๋ยอินทรีย์ (50 กก.) คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนแบ่งใส่รองก้นหลุมๆ ละ 200 – 300 กรัม ( 2 กำมือ) ก่อนนำต้นกล้ามะละกอลงปลูกทุกครั้ง เกษตรกรท่านใดสนใจต้องการสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ คุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือผ่าน Email:accs.thai@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ไวรัสด่างวงแหวนมะละกอแก้ง่ายไม่ต้องใช้เคมีอันตราย

โรคด่างวงแหวนมะละกอ เกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ringspot virus(PRV) ซึ่งเชื้อดังกล่าวจะเข้าทำลายทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอและแสดงอาการให้เห็นในภายหลังดังต่อไปนี้ 1.ต้นกล้า เชื้อเข้าทำลายจะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบ จะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย 2.ผล อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็น รุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้โดยเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ อย่างเช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่เป็นพาหะสำคัญของการแพร่ระบาดในโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง แล้วบินย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายทอดเชื้อไวรัสโรคนี้ในเวลาสั้นๆ ประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้แล้ว ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น แนวทางควบคุมป้องกัน 1.ตัดแต่งใบส่วนที่เป็นโรคออกประมาณ 30 -50 เปอร์เซ็นต์ เว้นใบบางส่วนให้พืชได้สังเคราะห์แสง 2.เก็บผล ใบแห้งและกำจัดวัชพืชออกทำลายนอกแปลงโดยการฝังกลบ ช่วยลดปริมาณแหล่งที่อยู่อาศัยของเพลี้ยและแมลงเจาะดูด เป็นต้น 3.สร้างแนวพืชกันภัยไว้เหนือลมหรือรอบๆแปลงเป็นกับดักล่อแมลง เพลี้ยต่างๆ ลดการปะทะโดยตรง เช่น ข้าวโพด ถั่ว กล้วย และพืชใบอ่อน เป็นต้น 4.ให้ฉีดพ่นสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ 500 กรัม + สารสกัดไพเรี่ยม 250 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ให้ชุ่มโชก ทุก ๆ 7 -10 วันครั้ง เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยและแมลงพาหะนำโรค 5.ให้ใช้วิธีการบำรุงรักษาทั้งทางดินและทางใบ พร้อมๆกันเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น วิธีควบคุมป้องกันทางดิน -นำภูไมท์ซัลเฟต โรยรอบโคนต้นๆละ 200-300 กรัม ( 2-3 กำมือ) ทุกๆ 1 เดือน เป็นไปได้ควรนำภูไมท์ซัลเฟตผสมร่วมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและเชื้อไตรโครเดอร์ม่า อัตรา 20 /50 /1 กก. ตามลำดับ รองก้นหลุม ๆ ละ50กรัม (1/2 กำมือ) ก่อนปลูกมะละกอ) -ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมงก่อนนำมาผสมน้ำหรือน้ำที่ละลายภูไมท์ซัลเฟต อัตรา 200 ลิตร + จุลินทรีย์หน่อกล้วย 400 ซีซี.+โพแทสเซียมฮิวเมท 30 กรัมแล้วราดรดบริเวณโคนต้นๆละ 2 -5 ลิตรขึ้นอยู่กับขนาดของต้นทุก ๆ 15- 20 วันครั้ง หรืออาจจะปล่อยผ่านท่อน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ก็ได้ วันละ10 -15 นาที วิธีควบคุมป้องกันทางใบ -ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า 40 กรัม (2 ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำหรือน้ำที่ละลายภูไมท์ซัลเฟต (ภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร ปล่อยให้ตกตะกอน 15 -20 นาที ) 200 ลิตร +ไคโตซาน MT 50 ซีซี. + ซิลิโคเทรช 100 กรัม + ม้อยเจอร์แพล้น 20 ซีซี. ก่อนนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุก ๆ 7 -15 วัน

ยับยั้ง ! ทะลายเน่าปาล์มน้ำมันแบบปลอดสารพิษไม่ใช้เคมีอันตราย

อาการทะลายเน่าในปาล์มน้ำมันนั้นเกิดจากเชื้อรา Marasmius palmivorusซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นในระยะแรกคือจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบนทะลายปาล์ม เส้นใยเจริญอยู่บริเวณช่องระหว่างผลปาล์มน้ำมัน โคนทะลายที่ติดทางใบต่อมาเส้นใยขึ้นปกคลุมทะลายทำให้ผลเน่าเป็นสีน้ำตาล แห้ง มีเชื้อราชนิดอื่นๆ เข้าทำลายต่อภายหลัง ในแปลงที่ไม่มีการกำจัดทะลายที่แสดงอาการเน่าออกจากต้น เชื้อราดังกล่าวจะกระจายไปยังทะลายใกล้เคียงตลอดจนโคนทาง ก้านทาง และใบย่อย สำหรับการระบาดนั้นส่วนใหญ่จะแพร่กระจายสปอร์โดยลม การควบคุมป้องกันโรค 1.หลีกเลี่ยงการไว้ทะลายปริมาณมาก ช่วงต้นปาล์มน้ำมันกำลังเจริญเติบโตให้ผลผลิตระยะแรก โดยให้ตัดช่อดอก(ทะลาย)ทิ้ง หรือช่วยผสมเกสรช่วงที่มีเกสรตัวผู้หรือแมลงช่วยผสมน้อย และควรตัดทะลายที่ผสมเกสรไม่สมบูรณ์ออกให้หมด ตลอดจนการตัดแต่งก้านทางใบให้สั้นลงเป็นการลดความชื้นที่คอทาง 2.ฉีดพ่นกำจัดสปอร์เชื้อราด้วยสารจุนสี (ฟังกัสเคลียร์) 20 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ใบ ผล ลำต้น โดยเฉพาะบริเวณทะลายที่พบเชื้อสาเหตุให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 4 -5 วันครั้ง(รุนแรง) 3.ให้ฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก. ผสมต่อน้ำ 200 ลิตร หรืออาจจะนำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 20 กรัม ( 1 ช้อนแกง) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 15 ลิตร หมักทิ้งไว้ 6 -8 ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำเพิ่มให้ครบ 200 ลิตรทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ แบบเดียวกับข้อ 2 โดยให้กระทำทุกๆ 7 วันครั้ง(รุนแรง) 4.กรณีฉีดพ่นเพื่อควบคุมการระบาดให้กระทำทุกๆ 20 วันครั้ง หรือหลังจากตัดเก็บทะลาย โดยให้ฉีดพ่นสลับระหว่างข้อ 2 และข้อ 3 ครั้งต่อครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ทุกครั้งให้ปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค 50 กรัม ร่วมกับสารจับใบ(ม้อยเจอร์แพล้นท์) 50 ซี.ซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนผสมฉีดพ่น เกษตรกรท่านใดต้องการสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเอกรินทร์(วัชนะ)ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯโทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email :accs.thai@gmail.com

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แอนแทรคโนสมะละกอ แก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเคมี

มะละกอ(Papaya)เป็นไม้ผลเมืองร้อนที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกากลาง บริเวณประเทศเม็กซิโกตอนใต้และคอสตาริกา จากนั้นก็ค่อย ๆ แพร่กระจายไปยังทวีปต่าง ๆ แหล่งผลิตมะละกอที่สำคัญของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย ศรีลังกา ฮินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น มะละกอเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว ตลอดทั้งปี ส่วนต่างๆ ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย อาทิเช่น ผลสุก นำมาบริโภคจะได้คุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วย วิตามินเอ, บี, ซี, ธาตุเหล็ก,แคลเซียม และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีนช่วยต้านมะเร็ง มีเส้นใยอาหารช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ยางมะละกอ ก็ยังนำมาใช้ในการช่วยย่อยโปรตีน เพราะในยางมะละกอมีน้ำย่อยที่เรียกว่า papain ทั้งยังช่วยเรื่องของปรุงอาหาร เช่น หมักเนื้อให้มีความนุ่ม และยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น เนื้อกระป๋อง ปลากระป๋อง การฟอกหนัง เป็นต้น ยอดและลำต้น ก็นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังนำส่วนต่างๆ มาใช้เป็นยา เช่น ต้นมะละกอใช้เป็นยาช่วยขับประจำเดือน ลดไข้ ดอกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รากแก้กลากเกลื้อน และยาง ยังช่วยกัดแผนตาปลาและหูด ฆ่าพยาธิ เป็นต้น สำหรับแอนแทรคโนส (Anthracnose) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioidesจะแสดงอาการให้เห็นดังนี้ 1.ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง ขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา และมักพบจุดดำเล็กๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ซึ่งคือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา (สปอร์) 2.ผล จะเห็นเด่นชัดเมื่อเกิดกับผลสุก เป็นแผลกลมฉ่ำน้ำยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพูขึ้นฟูเป็นวงชั้นๆ บริเวณแผลและลุกลามขยายวงกว้างออกไป ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว มีความชื้นสูง เชื้อดังกล่าวจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อนและฟักตัวไม่แสดงอาการของโรค แต่จะปรากฏอาการของโรคให้เห็นเมื่อผลมะละกอสุก ส่วนการแพร่ระบาดเชื้อราดังกล่าวจะแพร่กระจายจากแหล่งเพาะเชื้อนั้นคือผล สู่กิ่งก้าน โดยลม ฝน และเข้าทำลายผลอ่อน โดยสปอร์ของเชื้อจะงอกแทงเข้าสู่ผิวผลได้โดยไม่ต้องมีบาดแผลเกิดขึ้น และเจริญฟักตัวอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณใต้ส่วนผิวผลมะละกอ จนผลเริ่มสุกจึงจะเกิดอาการของโรคให้เห็น แนวทางควบคุมป้องกัน 1.เก็บผล ใบแห้งที่ร่วงหล่นทำลายทิ้ง โดยการฝังกลบเพื่อตัดต้นตอการระบาดของเชื้อโรค 2.ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์เชื้อราด้วยสารสกัดแซนโธไนท์ 10 ซีซี./ร่วมกับฟังกัสเคลียร์ 15 กรัม/น้ำเปล่า 200 ลิตรก่อนฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว(เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 10กรัม +ไข่ไก่ 10+น้ำเปล่า 30ลิตร +เสม็คไทต์ 2กิโลกรัม(จับกลิ่น ก๊าซไข่เน่า) + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากัน ให้ออกซิเจนแบบตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร )ทั้งบนใบใต้ใบ ผล ลำต้นให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 3–5วันครั้ง ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ให้เติมซิลิซิค แอซิค 50 กรัม + ซิลิโคเทรซ 50 กรัม/น้ำเปล่า 200 ลิตรก่อนผสมทุกครั้ง 3.ให้ใช้ภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟต (20กก.)ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (100กก.)ปุ๋ยเคมี (50กก.)เป็นปุ๋ยละลายช้าใส่ทางดินหรือใช้ภูไมท์ซัลเฟตใส่ถังละลายน้ำ 20 กก.น้ำ 200 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งให้ตกตะกอน 15 นาที ก่อนนำมาฉีดพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ (ภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.สามารถผสมน้ำซ้ำได้ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต 4.สำหรับกล้ามะละกอที่กำลังจะลงปลูกใหม่นั้นแนะนำให้รองก้นหลุมด้วยภูไมท์ซัลเฟต หรือพูมิชซัลเฟอร์(20 กก.) ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ม่า (1 กก.)และปุ๋ยอินทรีย์ (50 กก.)คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนแบ่งใส่รองก้นหลุมๆ ละ 200–300กรัม 2กำมือ) ก่อนนำต้นกล้ามะละกอลงปลูกทุกครั้ง สอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

หยุดวงจร ! แพร่ระบาดของแมลง หนอน ศัตรูในนาข้าว

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า –ใหม่ทุกๆ ท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่าน วันนี้ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อชาวนาที่กำลังประสบปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ ที่ต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบแมลงศัตรูข้าว ปกติแล้วในนาข้าวจะมีศัตรูธรรมชาติจำพวกแมลง แมงมุม โรคแมลงต่างๆ คอยจัดการควบคุมทำลายแมลงศัตรูข้าว ให้จำนวนประชากรแมลงศัตรูอยู่ในระดับสมดุล ไม่ทำลายข้าวให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะนาข้าวที่ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคแมลง จะทำให้แมลงดังกล่าวสามารถเจริญพันธุ์ต่อไปได้ หากปราศจากแมลงเหล่านี้แล้ว แมลงศัตรูข้าวก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำความเสียหายให้แก่ข้าวในนาได้อย่างมาก สำหรับแมลงศัตรูข้าวที่พบเจอในแปลงนาเกษตรกรทั่วไป ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว บั่ว หนอนกอแถบลาย หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลายสีม่วง หนอนกระทู้กล้า หนอนห่อใบข้าว แมลงสิง เป็นต้น แนวทางควบคุมป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูในนาข้าว 1.ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคแมลง 2.การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลงกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค แมลงศัตรู การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสมดุลของธาตุอาหาร การจัดการน้ำเพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี สมบูรณ์แข็งแรง 3.จัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค แมลงศัตรู อย่างเช่น การกำจัดวัชพืช เศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาวหว่าน 4.รักษาสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน ศัตรูธรรมชาติเพื่อช่วยควบคุมปริมาณแมลงศัตรู 5.ใช้จุลินทรีย์ร่วมกับสมุนไพรป้องกันกำจัดควบคุมวงจรการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูข้าว โดยเฉพาะสภาวะปัจจุบันพบว่ามีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและพื้นที่ใกล้เคียงนำความเสียหายมาสู่เกษตรกรเป็นอย่างมาก และเพลี้ยชนิดดังกล่าวทำให้เกิดอาการฮอพเพอร์เบิร์น( Hopper burn) นั้นคือ อาการข้าวเหลืองคล้ายน้ำร้อนลวก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดมากับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ชาวนามักเรียกว่า “ไอ้จู๋” เขียวเตี้ย ออกรวงไม่พ้นใบ เมล็ดข้าวลีบไม่มีแป้งและแห้งตายไปในที่สุด สำหรับการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นแนะนำให้เกษตรกรใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ซึ่งภายในประกอบด้วยเชื้อราบิวเวอร์เรียและเชื้อราเมธาไรเซียม ตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยให้ใช้ในอัตรา 500 กรัม ผสมร่วมกับสารสกัดสะเดา (มาร์โก้ซีด) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการกัดกินทำลายของหนอน แมลง โดยให้ใช้ในอัตรา 200 ซีซี.ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตร ทุกๆ 3 - 5 วัน/ครั้ง (รุนแรง) หากควบคุมการระบาดนั้นให้เว้นระยะห่าง 20 วัน/ครั้ง หรืออาจฉีดพ่นสลับกับสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปเพื่อขับไล่แมลง ในอัตรา 100 กรัม/น้ำ 200 ลิตร (ผสมรวมกันก็ได้) นอกจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแล้ว จุลินทรีย์ทริปโตฝาจสามารถป้องกันกำจัดและควบคุมวงจรแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ อย่างเช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกอข้าว หนอนกระทู้กล้า หนอนปลอก หนอนกระทู้คอรวง หนอนม้วนใบข้าว แมลงสิง บั่ว แมลงหล่า แมลงดำหนาม ได้อีกด้วย ส่วนเกษตรกรท่านใดสนใจต้องการสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 , www.ekbiotechagro.blogspot.com ( ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

โรคและแมลงศัตรูยางพารา ตอนที่ 2 ใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf )

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ ที่ต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช สำหรับใบจุดก้างปลาหรือโรคใบจุดก้างปลานั้นเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Corynespora cassiicola (Burk. & Curt.) Wei. เบื้องต้นใบอ่อนจะเริ่มแสดงอาการเป็นแผลจุดกลม ขอบแผลสีน้ำตาลดำ กลางแผลสีซีดหรือเทา ถ้ารุนแรงใบจะบิดงอและร่วง ระยะใบเพสลาดแผลจะกลมทึบสีน้ำตาลหรือดำ ขอบแผลสีเหลืองและขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ ทำให้แผลมีลักษณะคล้ายก้างปลา เนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลมีสีเหลืองแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบร่วงในที่สุด หากเชื้อเข้าทำลายส่วนของก้านใบ กิ่งแขนงและลำต้นที่เป็นสีเขียว บาดแผลจะมีสีดำยาวรี เนื้อเยื่อตรงกลางแผลบุ๋มลง ถ้าอากาศเหมาะสมจะขยายลุกลามทำให้กิ่งและต้นตาย เชื้อราสาเหตุโรคแห้งชนิดนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายโดยลมหรือฝนและอาการเริ่มระบาดรุนแรงในสภาวะร้อนชื้น วิธีควบคุมป้องกันกำจัด 1.ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชแซมในสวนยางพารา อย่างเช่น งา ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฝ้าย ยาสูบ มะละกอ แตงโม มะเขือเทศ ผักกาดหอม สะระแหน่ ฟักเขียว หญ้ายาง พืชคลุมตระกูลถั่ว ฯลฯ 2.หากมีความจำเป็นต้องปลูกพืชแซมในสวนยางพาราเพื่อสร้างรายได้ ช่วง 1-3 ปีแรก ก่อนปลูกกล้ายางพาราใหม่ให้ไถ่แปรปรับปรุงสภาพดินด้วยหินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ซัลเฟต ,พูมิชซัลเฟอร์) เนื่องจากในหินแร่ภูไฟมีส่วนประกอบของซิลิก้า (H4SiO4) ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ป้องกันการเข้าทำลายของโรคศัตรูดังกล่าว ในการปรับปรุงสภาพดินนั้นควรใช้อย่างน้อย 20-40 กก.ต่อไร่ 3.ก่อนปลูกกล้ายางพาราใหม่ทุกครั้งควรใช้หินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ซัลเฟต ,พูมิชซัลเฟอร์) ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด) และเชื้อไตรโคเดอร์ม่า อัตรา 20 กก.ต่อ 50 กก. ต่อ 1 กก. ตามลำดับ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่รองก้นหลุมก่อนลงปลูกกล้ายาง หลุมละ 300 -500 กรัม 4.กรณีต้นยางพาราปลูกแล้วแต่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์ด้วยฟังก์กัสเคลียร์ 25 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนทำการฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อหมักขยายบาซิลลัส - พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 5 กรัม+น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตรหรือสอบถามรายละเอียดวิธีการหมักได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ) ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 5-7 วันครั้ง เมื่อเริ่มพบอาการของโรคดังกล่าว 5.กรณีต้นยางพาราโตที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่สามารถฉีดพ่นยา ฮอร์โมนได้หรือแต่ไม่ทั่วถึงนั้น ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 ช้อนแกง ( 20 กรัม) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 8 -10 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 5-7 วันครั้ง หรืออาจจะกระทำร่วมกับข้อที่ 3 โดยเปลี่ยนจากรองก้นหลุมมาเป็นหว่านรอบทรงพุ่มแทน อัตราต้นละ 1-2 กก.ตามขนาดอายุของต้น สำหรับการฉีดพ่นยา ฮอร์โมนหรือปุ๋ยนั้นควรมีการปรับสภาพน้ำด้วย ซิลิซิค แอซิค อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรร่วมกับสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 , www.ekbiotechagro.blogspot.com (ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์ (วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรคและแมลงศัตรูยางพารา ตอนที่ 1 ไรพืช ( Mites )

ไรพืชนั้นเป็นสัตว์ประเภทเดียวกับแมงมุม แต่มีขนาดเล็กมาก ตัวผู้มีความยาว 0.15 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 0.2 มิลลิเมตร มักอาศัยอยู่บริเวณเส้นใบ เมื่อตรวจดูใบยางที่ถูกไรเข้าทำลายด้วยแว่นขยาย จะเห็นตัวไรมีสีเหลืองใส พบไข่และคราบตัวอ่อนอยู่ทั่วไป ไรในระยะที่เป็นตัวอ่อนจะมีขาเพียง 3 คู่ พอถึงระยะตัวแก่จะมีขา 4 คู่ วงจรชีวิตจากตัวอ่อนไปเป็นตัวแก่จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน ตัวแก่จะมีชีวิตประมาณหนึ่งสัปดาห์ก็เริ่มวางไข่บนใบยาง ซึ่งจะเข้าทำลายต้นยางโดยดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ มีสีซีด ใบแคระแกร็นบิดเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น และร่วงหล่นในที่สุด ตัวไรมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่สามารถสังเกตได้จากลักษณะของใบยางที่ผิดรูปร่าง เนื่องจากการเข้าทำลายและจะระบาดมากในแปลงขยายพันธุ์ ช่วงอากาศแห้งแล้งโดยเฉพาะช่วงยางผลิใบใหม่ วิธีการควบคุมป้องกันกำจัด 1.ปกติไรพืชจะชอบอาศัยอยู่ในที่มีอากาศแห้งมากกว่าที่ชื้น ดังนั้นจะค่อยๆ หมดไปตามธรรมชาติเมื่อเข้าช่วงฤดูฝน 2.ให้ฉีดพ่นด้วยสารสกัดสะเดา(มาร์โก้ซีด)อัตรา 200 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร (เนื่องจากสารสกัดสะเดาจะช่วยยับยั้งการดูดกินหรือเข้าทำลาย ทำให้ตัวอ่อนลอกคราบไม่ได้แล้วตายในที่สุด ส่วนตัวเต็มวัยที่ได้รับสารชนิดดังกล่าวจะยับยั้งการสร้างไข่ )ร่วมกับสารสกัดจากกระเทียม+พริกไทย(ไพเรี่ยม)200 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ใบอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 15-20 วันครั้ง (กรณีระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ) 3.ให้ฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ อัตรา 500 กรัม (ซอง)+ไทเกอร์เฮิร์ป อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร โดยเว้นช่วงห่างกันประมาณ 3-4 วันครั้ง กระทำซ้ำเช่นเดียวกัน 2-3 ครั้งโดยให้ห่างกันประมาณ 7 – 10 วันครั้ง จนกระทั้งอาการระบาดลดลงสู่ภาวะปกติ แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนช่วงระยะการฉีดพ่นจาก 7–10วันครั้งเป็น 15 – 20 วันครั้ง หรือตามเหมาะสมเพื่อควบคุมการระบาดของแมลงชนิดนี้ สำหรับในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมนหรือปุ๋ยทุกครั้ง ควรมีการปรับสภาพน้ำด้วย ซิลิซิค แอซิค อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรร่วมกับสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น)เกษตรกรท่านใดสนใจ สงสัยสามารถสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)โทร.02-9861680-2,หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 5.2) ปัจจัยของสิ่งมีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาเห็ดไม่ออกดอก รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ ที่ต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช การที่ดอกเห็ดเจริญเติบโตได้ดีนั้นจะต้องมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเห็ดด้วย ดังนั้นฤดูฝนจึงเป็นฤดูกาลที่พบดอกเห็ดในธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดแบบกว้างๆได้ 2 ปัจจัยหลัก คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งย่อยออกได้อีก 2 ปัจจัย นั้นคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงปัจจัยของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ดไปแล้ว ส่วนสัปดาห์นี้จะกล่าวต่อถึงปัจจัยของสิ่งมีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ซึ่งประกอบไปด้วย 1. สาหร่ายหรือตะไคร้น้ำ (Algae) เป็นพืชชั้นต่ำมีสีเขียว ติดมากับน้ำที่ใช้รดเห็ด เมื่อถูกแสงจะเจริญเติบโตเป็นสีเขียวบริเวณปากถุงหรือโคนดอกเห็ดทำให้เกิดกลิ่น เนื่องจากดอกเห็ดจะดูดซับกลิ่นเอาไว้ทำให้ดอกไม่น่ารับประทานดูเหมือนราเขียวติดอยู่ 2. ฟังไจ (Fungi) ซึ่งประกอบไปด้วย เชื้อรา (mold) เห็ด (Mushroom) และยีสต์ (yeast) 2.1 เชื้อรา (mold) เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมและอาหารคล้ายกับเห็ดจึงทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ง่ายมีผลต่อการเพาะเห็ดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะราเขียว ราดำ ราเมือก ราส้ม มักปะปนมากับอาหารเพาะเห็ด อากาศ น้ำ ลม และแมลง 2.2 เห็ด (Mushroom) เป็นเชื้อราที่มีพัฒนาการสูงสุด ซึ่งมีการสืบพันธ์แบบใช้เพศและไม่ใช้เพศ 3. แบคทีเรีย (Bacteria) เจริญเติบโตได้ดีในสภาพความชื้นสูง อาหารเป็นกลาง ส่งผลทำให้เกิดการบูดเน่า เกิดความร้อน และกลิ่นแอมโมเนีย มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด ในการเพาะเห็ดถุงโดยใช้ขี้เลื่อยใหม่หลังบรรจุถุงแล้วควรนึ่งภายใน 24 ชั่วโมงทำให้รำเกิดการบูดเน่าเนื่องจากแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดก๊าซแอมโมเนีย (NH3) * ในการนึ่งฆ่าเชื้อแบคทีเรียพวกบาซิลลัส (Bacillus sp.) จะต้องใช้อุณหภูมิประมาณ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 – 18 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นานไม่น้อยกว่า 15 นาที 4. แอคติโนมัยสิท (Actinomycetes) เป็นจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรีย แต่มีเส้นใยคล้ายกับเชื้อรา ส่วนใหญ่พบตามกองปุ๋ยหมัก สามารถย่อยสลายอินทรีย์อินทรียวัตถุในสภาพอุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส สามารถผลิตสารยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้ 5. ราเมือก(Slime Mold ) เป็นเชื้อราที่มีสร้างเส้นใยคล้ายร่างแห มีสีเหลือง มีกลิ่นเหม็นคาว มักเกิดกับก้อนเชื้อที่ใกล้หมดอายุ ในสภาพความชื้นสูง โรงเรือนสกปรก การถ่ายเทอากาศไม่ดี ราชนิดนี้จะย่อยเส้นใยและดอกเห็ด ทำให้ก้อนเห็ดหมดอายุเร็วกว่าปกติ ซึ่งกันได้โดยการรักษาโรงเรือนให้สะอาด พักโรงเรือนแต่ละรุ่นอย่างน้อย 20 วันขึ้นไป 6. ไวรัส (Virus) เป็นศัตรูเห็ดที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนี้ 6.1 ประโยชน์ : ทำให้เกิดเห็ดพันธุ์ใหม่ 6.2 โทษ : ทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะผิดปกติ โดยเฉพาะเห็ดนางรม ดอกเห็ดจะคดงอ ดอกไม่บานเป็นพุ่มหรือที่เรียกกันว่าโรคหงอนไก่ 7. ไรเห็ด (Mite) เป็นศัตรูเห็ดที่มีขนาดเล็ก มี 8 ขา จะกัดกินเส้นใยเห็ด ทำให้เส้นใยขาด ดอกเหี่ยวแคระแกร็น หรือกินเส้นใยในก้อนเชื้อทำให้เส้นใยหมดไป กลายเป็นสีขี้เลื่อยเหมือนก้อนที่ยังไม่หยอดเชื้อ หากกัดกินดอกเห็ดจะทำให้ดอกเห็ดเป็นขุยๆ และอาจจะนำเชื้อราเขียวมาระบาด ไรเห็ดจะเข้าทำลายเห็ดตั้งแต่อาหารวุ้น เชื้อข้าวฟ่าง ก้อนเชื้อเห็ด ส่งผลทำให้ก้อนเห็ดหมดอายุเร็วกว่าปกติ ผลผลิตลดลง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เพาะเห็ดเกิดอาการคัน * สำหรับการป้องกันทำได้โดยรักษาความสะอาดภายในและรอบบริเวณโรงเรือนเพาะเห็ด รวมถึงสถานที่ผสมและอุปกรณ์ โรงพักก้อน ตลอดจนการจัดการก้อนเชื้อเก่า ตามวิธีการดังต่อไปนี้ 7.1 ใช้สมุนไพร หนอนตายยาก บอระเพ็ด กากน้ำตาล อัตราส่วน 1:1:1 สับละเอียดผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วัน ก่อนนำมาฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดในอัตราส่วน 1 ช้อนแกง/น้ำ 1 ลิตร แบบวันเว้นวัน 7.2 พักโรงเรือนเปิดระบายอากาศ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตก้อนเห็ดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วัน 7.3 ใช้เชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส ไมโตฟากัส Bacillus mitophagus ขนาด 1 ช้อนชา (5 กรัม) หมักด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อ ปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดให้นำน้ำมะพร้าวอ่อนที่หมักเชื้อแล้วมาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นควบคุมกำจัดการระบาดทุก ๆ 3 วันครั้ง (กรณีระบาดในก้อน) หรือฉีดพ่นเพื่อควบคุมทุก ๆ 7 – 10 วันครั้ง 8. แมลงสาบ (Cockroach) จะกัดกินทำลายดอกเห็ดทั้งในระยะบ่มก้อนเชื้อและเปิดดอก โดยจะกัดถุงก้อนเห็ดให้ขาด ทั้งยังนำเชื้อโรคสู่เห็ดส่งผลทำให้ผลผลิตลดลง 9. หนู (Rat) เข้าทำลายกัดกินหัวเชื้อข้าวฟ่างและก้อนเชื้อให้ผลผลิตเสียหาย 10. แมลงหวี่เห็ด (Drosophila mushroom) จะเข้าทำลายเห็ดช่วงบ่มก้อนเชื้อและเปิดดอก โดยเฉพาะก้อนเชื้อที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว หากพบว่าสำลีเปียกแล้วไม่เปลี่ยน แมลงหวี่จะชอบหยอดไข่ กลายเป็นตัวหนอนกัดกินอาหารเห็ดและนำโรคมาสู่ก้อนเชื้อเห็ด ส่วนใหญ่พบในตระกูลเห็ดนางรม หรืออาจเกิดจากการเก็บดอกเห็ดไม่หมด มีโคนเห็ดคาปากถุงทำให้แมลงหวี่บินมาตอมและหยอดไข่ได้ 11. หนอนผีเสื้อกลางวันหรือหนอนกินเห็ด (Caterpillar eat mushrooms) จะหยอดไข่แล้วเกิดเป็นตัวหนอน กัดกินขี้เลื่อยเป็นรูพรุน ทำให้เส้นใยขาดและชักใยหน้าก้อนเป็นขุย ทำลายตุ่มดอกเห็ด 12. ด้วงเจาะเห็ด (Beetles drill mushrooms) จะดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ดอกเห็ด ทำให้ดอกเห็ดแห้ง ขอบดอกม้วนงอ นอกจากนี้ยังพบศัตรูเห็ดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ดอีกหลายชนิด อาทิเช่น ปลวก หอยทาก ไส้เดือนฝอย กบ เขียด เป็นต้น ซึ่งการระบาดของศัตรูเหล่านี้จะแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ เกษตรกรท่านใดสนใจ สงสัยสามารถสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 , www.ekbiotechagro.blogspot.com (ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์ (วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ป้องกันควบคุมกินูนหลวงแมลงทำลายพืชผักแบบง่ายปลอดภัยต่อผู้บริโภค

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้คัดกรองและพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับแมลงนูนหลวงเข้าทำลายผลิตภัณฑ์เกษตรลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช สำหรับแมลงนูนหลวง ( Sugar white Grub ) หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนามแมลงกินูน Lepidiota stigma Fabricius เป็นอีกหนึ่งแมลงศัตรูพืชในหลายๆชนิด ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะทำลายกัดกินบริเวณ รากใบพืช ทำให้ต้นเหี่ยวแห้งตาย เนื่องจากรากถูกกัดขาด พื้นที่ที่พบการระบาดส่วนมากจะเป็นดินทรายซึ่งจะระบาดในที่ดอนมากกว่าในที่ลุ่ม ไข่ของแมลงชนิดนี้กว้างประมาณ 4 ม.ม. ไข่ฟักตัว 15 - 28 วัน จากนั้นไข่จะพัฒนาเป็นตัวหนอนและมีการลอกคราบ 3 ครั้ง หนอนโตเต็มที่มีขนาดกว้าง 20 - 25 ม.ม. ยาว 65 - 70 ม.ม. ส่วนกะโหลกกว้าง 10 ม.ม. หนอนจะมีอายุ 8 - 9 เดือน จากนั้นจะเป็นดักแด้ประมาณ 2 เดือน แต่ก่อนที่หนอนเข้าดักแด้นั้นจะมุดตัวลงในดินลึก 30 - 60 ซม.ส่วนตัวเต็มวัยจะเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาด 15 - 20 ม.ม. ยาว 32 - 40 ม.ม. ส่วนท้ายของปีกมีจุดสีขาวด้านละจุด ตัวผู้มีสีน้ำตาลดำตลอดลำตัว ส่วนตัวเมียมีสีน้ำตาลปนเทาสีอ่อนกว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยเมื่อออกจากดักแด้ตอนพลบค่ำจะบินวนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยตัวเมียจะใช้ขาเกาะกิ่งไม้ ส่วนตัวผู้ขณะผสมพันธุ์จะห้อยหัวลงทิ้งดิ่งประมาณ 15-30 นาทีแล้วแยกจากกัน ต่อจากนั้นประมาณ 14 - 25 วัน ตัวเมียจึงเริ่มวางไข่ในดินลึกประมาณ 15 ซม. ติดต่อกัน 5 - 6 วัน ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 15 - 28 ฟอง วิธีป้องกันควบคุมแมลงนูนหลวง ควรใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกันจะผลดีที่สุด 1. ก่อนปลูกพืชรุ่นใหม่ควรไถพรวนหลายๆ ครั้ง เพื่อให้นกช่วยทำลายไข่ หนอน ดักแด้ 2. จับตัวเต็มวัยมาประกอบเป็นอาหาร ประหยัดและได้ผลมากที่สุด เนื่องจากแมลงนูนออกเป็นตัวเต็มวัยปีละครั้งในช่วงฝนแรก ประมาณเดือนเมษายน - มิถุนายน การจับตัวเต็มวัยที่เพิ่งออกจากดักแด้ไม่ควรเกิน 10 วันแรกของการเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นช่วงที่ผสมพันธุ์แล้วแต่ยังไม่วางไข่ * สำหรับวิธีจับให้ใช้ไม้ตีตามกิ่ง หรือเขย่าให้ตกลงมาขณะที่กำลังผสมพันธุ์ ใช้เวลาจับประมาณวันละ 30 นาที โดยเริ่มจากเวลา 18.30-19.00 น. และจับต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 เดือน จะช่วยลดการระบาดของแมลงนูนในปีถัดไป 3. ให้ใช้สมุนไพรที่มีรสขม อย่างเช่น สะเดา ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ฉีดพ่นเพื่อช่วยยับยั้งการเข้าทำลายของแมลงดังกล่าว สำหรับในการแนะนำให้ฉีดพ่นด้วยผงสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปที่มีส่วนประกอบของฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน กานพลู ตะไคร้หอม หัวไพล ซึ่งจะช่วยป้องกันยับยั้งการเข้าทำลายของแมลง ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ในอัตรา 250 กรัมต่อ 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ตามลำดับ ** ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ปุ๋ย ทุกครั้งแนะนำให้ผสมน้ำยาจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) และปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค ทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือดูดซับสะสารได้ดียิ่งขึ้น สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือwww.ekbiotechagro.blogspot.com ( ศูนย์บริการคลินิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 5.1)ปัจจัยของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาก้อนเห็ดไม่ออกดอก กล่าวรวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจหรือต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช การที่ดอกเห็ดจะเจริญเติบโตได้ดีนั้นจะต้องมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเห็ดด้วย ฤดูฝนจะเป็นฤดูกาลที่พบการออกดอกของเห็ดในธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดโดยกว้างๆได้ 2 ปัจจัยดังนี้ ข้อแรก : พันธุกรรม ก่อนทำการเพาะเห็ดจะต้องมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีลักษณะตามที่ต้องการ เช่น แข็งแรง ปราศจากศัตรูเห็ด ดอกเห็ดตรงต่อความต้องการของตลาด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อม ฤดูกาล แหล่งที่เพาะนั้นๆ ข้อสอง : สิ่งแวดล้อม การที่เห็ดจะให้ผลผลิตดอกเห็ดสูงนั้นสภาพแวดล้อมจุดนั้นๆจะต้องมีความเหมาะสม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สิ่งไม่มีชีวิต และสิ่งมีชีวิต แต่สำหรับตอน 5.1 นี้จะกล่าวถึงปัจจัยของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด สิ่งไม่มีชีวิต เห็ดเป็นพืชชั้นต่ำจำพวกราไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างพืชสีเขียวทั่วไป อาหารของเห็ดได้จากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุที่ผุพังและอาหารที่เห็ดย่อยง่ายนั้นคือกลูโคส เห็ดหลายชนิดสามารถเจริญได้ดีบนอาหารจำพวกแป้ง เซลลูโลส ลิกนิน แต่สำหรับเห็ดบางชนิดก็เลือกที่ย่อยไม้ มูลสัตว์ และปุ๋ยหมัก 1.1วัสดุเพาะที่ใช้เพาะเห็ดจึงมีความแตกต่างกัน เช่น -เห็ดที่ขึ้นได้ดีบนท่อนไม้ เช่น เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดมะม่วง เห็ดขอนขาว -เห็ดที่ขึ้นได้ดีบนปุ๋ยหมัก เช่น เห็ดกระดุม เห็ดฟาง เห็ดตีนแรด -เห็ดที่ขึ้นเนื่องจากการทำกิจกรรมของแมลง เช่น เห็นโคนใหญ่ (เห็ดปลวก) -เห็ดที่ขึ้นบนรากร่วมกับต้นไม้หรือเห็ดไมคอร์ไรซ่า เช่น เห็ดเสม็ด เห็ดตับเต่า เห็ดตีนแรด สำหรับวัสดุเพาะเห็ดควรเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นนั้นๆ ราคาถูก ใช้ได้สะดวก เห็ดเจริญเติบโตและพัฒนาให้ผลผลิตสูง อันได้แก่ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย ทะลายปาล์ม เป็นต้น 1.2อาหารเสริมที่นิยมใช้คลุกผสมในวัสดุเพาะก่อนบรรจุถุงหรือแปลงเพาะเห็ดฟาง อย่างเช่น -รำละเอียด จะให้อาหารพวกโปรตีน วิตามินบี -ข้าวโพดป่น จะให้อาหารพวกกลูโคสและแร่ธาตุต่างๆ -กากถั่ว จะให้อาหารพวกโปรตีน -ใบกระถิ่น จะให้อาหารพวกโปรตีน (ห้ามใส่มากเนื่องจากจะทำให้ดอกเห็ดกระด้าง) -กากเหล้า (โรงงานสุรา) จะให้อาหารพวกโปรตีน -แป้งข้าวเหนียว เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่อจุลินทรีย์ ในขบวนการย่อยสลายอินทรีวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่ใส่ในส่วนผสมของเห็ดนางฟ้าภูฐานและเห็ดฟาง -ไส้นุ่น ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารต่อการเพาะเห็ดฟาง -ขี้ฝ้าย (สำลีสีเทา) ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารต่อการเพาะเห็ดฟาง -ทะลายปาล์ม ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ต้องผ่านขบวนการหมักก่อนนำมาใช้ ส่วนใหญ่ใช้เพาะเห็ดฟาง (กองเตี้ย,โรงเรือน) 1.3อาหารเสริมที่ได้จากแร่ธาตุ (ธาตุอาหาร)จากปุ๋ยหรือสารอนินทรีย์ต่างๆ ประโยชน์ต่อการทำงานของจุลินทรีย์หลังจากการย่อยสลายแล้วเห็ดนำไปใช้ต่อ ซึ่งได้แก่ -ปุ๋ยยูเรีย ( 46-0-0) ให้กรดอะมิโนแก่เห็ด -ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ (ขึ้นอยู่กับโรงเรือนหรือท้องถิ่นนั้นๆ) เช่น แอมโมเนี่ยมซัลเฟต (21-0-0) -ดีเกลือ ( MgSo4 ) เป็นองค์ประกอบของเซลล์เห็ด ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยของเส้นใยเห็ด -ยิปซั่ม ( CaSo4 ) เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เห็ด ทำให้ดอกเห็ดแข็งแรง ดอกสมบูรณ์ขึ้น -ปูนขาวหรือแคลเซี่ยม (CaO) มีฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยปรับค่าpH (Potential of Hydrogen ion) ปุ๋ยหมักให้มีสภาพเป็นกลางทำให้เห็ดดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังให้แคลเซี่ยม (Calcium)แก่เห็ด ช่วยป้องกันโรคแมลงศัตรูเห็ด -ภูไมท์ หรือแร่พัมมิช เป็นสารอาหารที่ได้จากหินแร่ภูเขาไฟ ใช้ปรับสภาพความเป็นกรดด่าง ทำให้โครงสร้างเส้นใยและดอกเห็ดมีความแข็งขึ้น ป้องกันไรศัตรูเห็ด นอกจากนี้ยังให้ธาตุอาหารแก่เส้นใยเห็ดจำพวก แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม ซิลิก้า เป็นต้น ทำให้ดอกเห็ดมีรสชาติดี กรอบ ยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวได้นานกว่าเดิม (เหี่ยวช้า) -แร่ม้อนท์ ( Montmorillonite ) เป็นสารอาหารที่ได้จากเถ้าภูเขาไฟ ที่เกิดจากการระเบิดขึ้นจากปล่องภูเขาท่ามกลางลาวา ถูกผลักดันจนลอยขึ้นระเบิดกลางอากาศต่อ หนึ่ง สอง หรือสามครั้ง ทำให้เกิดรูพรุนโปร่งอุดมไปด้วยธาตุอาหาร เทรซซิลิเม้นท์ต่างๆ ช่วยดูดซับความชื้น ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดให้มีปริมาณมากขึ้น ยืดอายุการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดให้นานกว่าเดิม 1.4อุณหภูมิ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ดมาก ทั้งระยะเจริญเติบโตของเส้นใย ออกดอกและการปล่อยสปอร์ ปกติอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยจะสูงกว่าช่วงออกดอกประมาร 3-5 องศาเซลเซียส ซึ่งเห็ดแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิแตกต่างกัน ดังนี้ (ตามตารางที่ 1) 1.5ความชื้นสัมพัทธ์ ในธรรมชาติเห็ดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพความชื้นสูง แบ่งย่อยออกได้ 2 ประเภท คือ -ความชื้นในวัสดุเพาะ (Moisture) หมายถึงความชื้นในปุ๋ยหมักเพาะเห็ดและกองฟางที่เหมาะสมคือประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ ถ้ามากเกินไปเส้นใยจะขาดออกซิเจนทำให้เส้นใยอ่อนแอเชื้อราศัตรูและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลทำให้เส้นใยเห็ดเกิดความเสียหาย -ความชื้นในอากาศ (Humidity) หมายถึงความชื้นรอบก้อนเชื้อเห็ดหรือในกองเห็ดฟาง ถ้าน้อยเกินไปทำให้ดอกเห็ดแห้งเป็นสีเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต แต่ถ้ามากเกินไปดอกเห็ดจะฉ่ำน้ำ คุณภาพต่ำไม่ได้ราคา 1.6ความเป็นกรด-ด่าง (pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion ) เห็ดเจริญเติบโตได้ดีในอาหารที่มีสภาพเป็นกลาง หรือกรดอ่อนๆ (pH 6.5-7)ถ้าอาหารเป็นกรดเส้นใยเห็ดเจริญเติบโตปกติแต่ไม่ออกดอกหรือออกบ้างเล็กน้อย สำหรับ pH ของน้ำก็เช่นเดียวกันจะต้องมีความเหมาะสมนั้นคือเป็นกลาง (pH 7)หรือน้ำที่ใช้ดื่มกินในชีวิตประจำวันและจะต้องสะอาดปราศจากสารเคมีตกค้าง 1.7การถ่ายเทอากาศ เห็ดมีความต้องการออกซิเจนโดยเฉพาะระยะออกดอก ซึ่งต้องการออกซิเจนมากกว่าระยะของเส้นใย สำหรับคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยทำให้เส้นใยเจริญเติบโตดี แต่ในระยะออกดอกบวกกับโรงเรือนทึบและการถ่ายเทอากาศไม่ดีส่งผลทำให้ดอกเห็ดไม่บาน ดอกเล็ก ก้านยาวผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบเห็นในเห็ดถุง 1.8แสง มีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย ถ้าแสงน้อยเส้นใยจะเจริญเติบโตได้เร็ว สำหรับระยะออกดอกแสงจะช่วยกระตุ้นการสร้างตุ่มดอกเห็ด ( Primodia ) และการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ดังนี้ -เห็ดหูหนู แสงจะช่วยให้สีเข้มขึ้น หากแสงน้อยดอกจะซีด -เห็ดฟาง แสงจะทำให้ดอกสีคล้ำ หากแสงน้อยดอกเห็ดจะมีสีขาว -เห็ดนางรม นางฟ้า นางฟ้าภูฐาน แสงจะช่วยให้การปล่อยสปอร์ดีขึ้น โดยเฉพาะแสงแดดตอนสายๆ เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ www.ekbiotechagro.blogspot.com(ศูนย์บริการข้อมูลทางวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ )หรือคุณเอกรินทร์ (วัชนะ) ช่วยชู(นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128หรือติชมผ่านEmail : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com และติดตามอ่านบทความวิชาการปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด ตอน 5.2ปัจจัยของสิ่งมีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ในสัปดาห์ถัดไป สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 4) เห็ดถุงกับอาการหยุดชะงักไม่เจริญต่อของเส้นใยหลังหยอดเชื้อ

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาก้อนเห็ดไม่ออกดอก กล่าวรวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจหรือต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช สำหรับปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ดหรือเพาะเห็ดที่มีผลเกี่ยวข้องกับการเดินหรือเจริญของเส้นใย สามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ เส้นใยไม่เดินบนก้อนขี้เลื่อย ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ 1.หัวเชื้อเห็ดเป็นเชื้ออ่อน หรือเชื้อเห็ดนั้นผ่านการแต่งเชื้อมาหลายครั้งแล้วทำให้เส้นใยอ่อนแอ 2.หัวเชื้อเห็ดมีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปลอมปนและเจริญแข่งกับเส้นใยเห็ด 3.วัสดุที่ใช้เพาะมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเห็ดโดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อราผู้เพาะควรเลือกวัสดุเพาะที่ปราศจาสารเคมี 4.สภาพความเป็นกรด - ด่าง (pH) ควรปรับให้อยู่ระหว่าง 6.5 - 6.8 จะช่วยให้เส้นใยเห็ดเจริญดีขึ้น 5.ส่วนผสมมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ในขณะที่สภาพดังกล่าวเอื้อต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียศัตรูเห็ด เส้นใยเดินบางมากและเมื่อนำไปเปิดดอกพบว่าจะไม่ค่อยเกิดดอกหรือให้ผลผลิตน้อยมาก ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ 1.วัสดุที่ใช้เพาะสลายตัวเกือบหมดแล้ว ทำให้อาหารเหลืออยู่น้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย หรือใส่อาหารเสริมน้อยเกินไป ดังนั้นจึงควรใส่อาหารเสริมในอัตราส่วนที่เหมาะสม 2.การนึ่งฆ่าเชื้อไม่ดีพอ ทำให้จุลินทรีย์อื่นๆเจริญเติบโตแข่งกับเห็ดได้ ดังนั้นการนึ่งก้อนเชื้อควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด เส้นใยเห็ดเดินแล้วหยุด อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ 1.ถุงก้อนเชื้อมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญได้ดี แล้วเชื้อเห็ดไม่สามารถเจริญเติบโตได้ 2.เชื้อเห็ดอ่อนแอ เมื่อเจริญได้ระยะหนึ่งแล้วก็ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นควรเลือกเชื้อที่แข็งแรง เห็ดออกดอกช้าหลังจากเปิดดอกแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1.เกิดจากการเปิดปากถุงเร็วเกินไป หลังจากเส้นใยเดินเต็มแล้ว ควรปล่อยให้เส้นใยรัดตัวและมีการสะสมอาหารก่อนเปิดถุงประมาณ 8-10 วัน 2.การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนไม่ดี ทำให้มีการสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง 3.อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงหรือต่ำเกินไปหรือความชื้นไม่เพียงพอทำให้การพัฒนาของเส้นใยไปเป็นดอกเห็ดช้า ดอกเห็ดเกิดขึ้นแต่ไม่พัฒนาเป็นดอกเห็ด โดยพบว่าบางครั้งดอกเห็ดเจริญเป็นดอกเล็กๆ บนก้อนเชื้อเต็มไปหมดแต่ดอกมีขนาดเล็กแล้วไม่เจริญต่อ ซ้ำดอกเห็ดจะเหี่ยวแห้งในที่สุด ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1.หัวเชื้อเห็ดอ่อนแอทำให้ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์ 2.การเปิดปากถุงกว้างเกินไปทำให้เส้นใยเจริญไปเป็น ดอกเห็ดจำนวนมากและ อาหารภายในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ ทำให้ดอกที่งอกออกมาแคระแกร็น และแห้งดังนั้นการเปิดปากถุงไม่ควรเปิดกว้างมากนัก 3.ความชื้นไม่เพียงพอทำให้ดอกที่กำลังเติบโตแห้งได้ 4.รดน้ำมากเกินไป และรดไม่ถูกวิธี ทำให้น้ำขังในถุงพลาสติก ทำให้เห็ดภายในถุงพลาสติกเน่าเสียได้ 5.เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายก้อนเชื้อหลังเปิดถุง เนื่องจากโรงเรือนสกปรก 6.อาจมีแมลงเข้าไปกัดและทำลายก้อนเชื้อ แนวทางควบคุมป้องกันการหยุดชะงักไม่เจริญต่อของเส้นใยหลังหยอดเชื้อ โดยแบ่งเป็นกรณีๆ ดังนี้ 1.หลังหยอดหัวเชื้อข้าวฟางลงก้อน 5-7 วันแล้วพบว่าเชื้อไม่เดิน (หยุดนิ่งอยู่ที่เม็ดข้าวฟ่าง) กรณีเช่นนี้เกิดจากหัวเชื้ออ่อนหรือแก่เกินไปไม่เหมาะสมที่จะพักทิ้งไว้เพื่อให้เชื้อเจริญต่อเนื่องจากไม่คุ้มกับผลผลิตที่จะได้รับ 1.1นำก้อนเชื้อเห็ดที่พบอาการดังกล่าวไปนึ่งแล้วนำมาหยอดหัวเชื้อใหม่อีกครั้ง แต่ใช้หัวเชื้อจากแหล่งอื่น 1.2ให้ใช้จุลินทรีย์กำจัดศัตรูเห็ด (บาซิลลัส- พลายแก้ว , บีที-ชีวภาพ , บาซิลลัส-ไมโตฟากัส) ผสมทำก้อนเห็ดก่อนทำการนึ่งฆ่าเชื้อทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ศัตรูที่ติดมากับวัสดุเพาะซึ่งเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถทนความร้อนได้ถึง 121 .C นาน 3 - 5 ชั่วโมง 2.เส้นใยเห็ดเดินได้ระยะหนึ่งแล้วหยุดนิ่งไม่เดินต่อซึ่งเกิดจากความชื้นในก้อนเห็ดมากเกินไป ให้นำก้อนเห็ดที่พบอาการดังกล่าวไปเทผสมวัสดุเพาะแล้วนำมานึ่งใหม่หรือใช้ไม้ปลายแหลมจิ้มแทงบริเวณก้นถุงเพื่อระบายความชื้นบางส่วน (แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) 3.เห็ดออกดอกช้าผิดปกติหลังจากเปิดดอก โดยปกติดอกเห็ดจะสะสมอาหารนานประมาณ 8-10 วัน หากเกินจากนี้ให้ลองใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเดินของเส้นใย (แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ด) ฉีดพ่น 1-2 ครั้งหากกันประมาณ 3 วัน แล้วคอยสังเกตการเดินของเส้นใย หากพบว่าเส้นใยเดินเพิ่มหนาขึ้น สัณฐานได้ว่าอาหารภายในก้อนเชื้อมีปริมาณน้อยเกินไป 4.เส้นใยเห็ดไม่พัฒนาเป็นดอกเห็ดหรือพัฒนาแต่ดอกเห็ดมีขนาดเล็กและเหี่ยวแห้งในที่สุด กรณีเช่นนี้ให้หมั่นเช็คอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนให้มีความเหมาะสมต่อเห็ดชนิดนั้นๆ (ควรมีการติดตั้งเครื่องอุณหภูมิและความชื้นไว้ในโรงเรือนอย่างน้อย 1 ชุด ซึ่งราคาทั่วไปไม่เกินชุดละ 700 บาท) เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ www.ekbiotechagro.blogspot.com (ศูนย์บริการข้อมูลทางวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่านEmail : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 3) เห็ดถุงกับการควบคุมการระบาดของราศัตรู

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้เพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหาราศัตรูเข้าทำลายก้อนเห็ด กล่าวรวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจหรือต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช ราศัตรูเห็ดที่พบว่าเป็นปัญหาอุปสรรคของการเพาะเห็ดโดยเฉพาะเห็ดถุงสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ 1.ราดำโดยแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ 1.1แอสเพอร์จิลลัส Aspergillus sp. สามารถพบได้ทั่วไปในถุงเห็ด ซึ่งบางส่วนมีสีเขียวเข้มเกือบดำโดยอาจจะเกิดที่ส่วนบนใกล้ปากถุงแล้วลามลงไปข้างล่างหรือเกิดจากด้านล่างขึ้นไปก็ได้ และบางส่วนมีสีน้ำตาลเกิดขึ้นติดกับบริเวณที่มีสีเขียวเข้มดังกล่าวด้วย 1.2โบไตรดิฟโพลเดีย Botryodiplodia sp. จะพบว่าขี้เลื่อยในถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ซึ่งในระยะแรกเชื้อราจะมีสีขาว ต่อมาเจริญขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทิ้งไว้นาน จะเกิดก้อนเล็กๆ สีดำ ที่เป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรานูนออกมาที่ผิวของถุงพลาสติก 2.ราเขียวโดยแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ 2.1ไตรโคเดอร์ม่าและกลิโอคลาเดียม Trichoderma sp ,Gliocladium sp. สามารถมองเห็นได้ง่ายเนื่องจากสปอร์ของเชื้อรามีสีเขียวอ่อนใส เมื่อรวมกันหนาแน่นจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวเข้มในถุงเห็ด 2.2เพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส Penicillium sp., Paecelomyces sp.ราทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วสามารถสร้างสปอร์ได้เป็นจำนวนมาก ราเพนนิซีเลียมเป็นราที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง สามารถพบเป็นหย่อมๆมีสีเขียวตองอ่อน สีเหลืองอ่อนอมเขียวและสีเทาอ่อนดูคล้ายฝุ่นเกาะติดข้างถุง มักเกิดบริเวณด้านล่างของก้อนเห็ด ส่วนสำหรับราเพซีโลไมซีสเป็นราชอบร้อน สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดีมักจะเกิดกับก้อนเห็ดหอม มีลักษณะเป็นฝุ่นสีน้ำตาลซีดปนเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองซีดจางๆ ซึ่งสามารถมองเห็นเส้นการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดและเชื้อราศัตรูได้อย่างชัดเจน 3.ราส้ม Neurospora sp. มักเกิดเป็นกระจุกบริเวณปากถุงมีลักษณะเป็นสีชมพูอมส้ม 4.ราเมือก Slime mould จะเกิดกับถุงเห็ดที่เปิดถุงเก็บดอกไปแล้วหลายรุ่นและเป็นถุงที่อยู่ด้านล่างสุด จะสังเกตเห็นเส้นใยสีเหลืองชัดเจนบริเวณด้านข้างถุงและบริเวณปากถุงโดยมากมักจะเกิดกับถุงเห็ดหูหนูที่มีการกรีดถุงด้านข้างและรดน้ำนานๆ จนทำให้ถุงชื้นแฉะนอกจากนี้ยังเกิดได้กับถุงเห็ดฐานที่หมดรุ่นแล้วแต่ยังไม่มีการขนย้ายทำความสะอาดโรงเรือน(ขอขอบพระคุณอาจารย์อนันท์ กล้ารอด ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8(ครูชำนาญการพิเศษ)วิชาการเพาะเห็ดและผลิตเชื้อเห็ด โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ) โรคของเห็ดถุงที่เกิดจากเชื้อราโดยทั่วไปเกิดได้ทั้งเชื้อราปนเปื้อนและเชื้อราโรคเห็ด ซึ่งเชื้อราปนเปื้อนส่วนใหญ่เป็นพวกที่มีเส้นใยเจริญเร็วมาก ทำให้เส้นใยเห็ดชะงักการเจริญเติบโต สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตที่เส้นใยเห็ดมาบรรจบกันเส้นใยของเชื้อราปนเปื้อน การเกิดเชื้อราปนเปื้อนในถุงเพาะเห็ดมักเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเห็ดลดลง ถ้ามีเชื้อราเหล่านี้เกิดบริเวณปากถุงก็จะเป็นเหตุให้เกิดการระบาดไปทั่วทั้งโรงเรือนเพาะเห็ดได้รับความเสียหายได้ผลผลิตลดลง สาเหตุของการเกิดเชื้อราปนเปื้อนมีหลายประการ ดังต่อไปนี้ 1.การทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดเสียหรือหมดอายุแล้วไว้ในบริเวณฟาร์มทำให้เชื้อรากระจายอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อมีฝนตก ลมพัด หรือตกลงไปในน้ำที่นำใช้รดเห็ด 2.หัวเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ 3.ขั้นตอนนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเห็ดไม่สามารถทำลายเชื้อราศัตรูได้หมด 4.ถุงแตกหรือถูกแมลงทำลาย 5.ฯลฯ วิธีควบคุมป้องกันกำจัดการติดเชื้อราปนเปื้อนในการเพาะเห็ดถุง มีดังนี้ 1.ตรวจสอบความสะอาดและความบริสุทธิ์ของหัวเชื้อก่อนซื้อ 2.การถ่ายเชื้อควรทำในห้องที่สะอาด ปราศจากฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคอื่นๆ หรือเป็นบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท 3.คัดแยกถุงเห็ดเสีย ถุงเห็ดแตก ถุงเห็ดที่มีจุกสำลีชื้น แล้วนำไปนึ่งใหม่หรือเผาทำลายเพื่อลดการระบาดของเชื้อรา 4.รักษาความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ด และบริเวณโดยทั่วไปรอบๆ ฟาร์ม 5.เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วควรพักโรงเรือนเพาะเห็ดประมาณ 2-3 อาทิตย์ เพื่อทำความสะอาดฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงหรือเชื้อราที่อาจซุกซ่อนตามพื้น เสา และฝาผนังก่อนนำถุงเชื้อเห็ดชุดใหม่เข้ามาด้วยเชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส-พลายแก้ว (กำจัดเชื้อรา) บาซิลลัส-ไมโตฟากัส (กำจัดไรเห็ด)และสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปหรือพรีเว้นท์ขับไล่แมลงต่างๆภายในโรงเรือนเห็ด (สามารถสอบถามวิธีการใช้เพิ่มเติมได้ที่ ... ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 ทุกวันตั้งแต่ 08.00 น.-17.00น.) 6.ถ้าเป็นไปได้ควรแยกโรงเรือนบ่มกับโรงเรือนเปิดดอกไว้คนละหลังกัน *** เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ)ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128หรือผ่านEmail: thaigreenagro@gmail.com,ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แก้ปัญหาเปลือกเน่า – แห้งยางพาราแบบง่ายๆ สไตล์ปลอดสารพิษ

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้คัดกรองและพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหายางพาราเปลือกเน่า – แห้ง ลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช 1.เปลือกเน่า ( Mouldy rot ) เกิดจากเชื้อรา Ceratocystis fimbriata Ellis & Halst. ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งทำให้เปลือกที่งอกใหม่เสียหายจนกรีดซ้ำไม่ได้ พบว่าในระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกที่งอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทาขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่นเหลือแต่เนื้อไม้สีดำ แนวทางการป้องกันกำจัด 1.เนื่องจากโรคชนิดนี้มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงจะได้ลดลง 2.หากพบว่าต้นยางที่กำลังกรีดมีอาการ “เปลือกเน่า” ควรหยุดกรีดประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราโรคพืชแพร่กระจายไปสู่ต้นอื่น ๆ 3.หากพบมีการระบาดของโรคพืชดังกล่าวในพื้นที่ให้ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักเชื้อบาซิลลัส ซับติลิส พลายแก้วโดยใช้หัวเชื้อบาซิลลัส-พลายแก้ว 5 กรัม (1ช้อนชา)หมักน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผลหรือนมกล่องยูเอสที หนองโพ ชนิดหวานจำนวน 1 กล่อง นาน 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณหน้ายางหรือเปลือกยางที่พบการเข้าทำลายของเชื้อราให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุก ๆ 7-10 วันครั้งจนกว่ามีเปลือกใหม่งอกขึ้นมาทดแทน 2.เปลือกแห้ง (Tapping panel dryness) เกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษาและการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในท่อน้ำยางเองด้วย สามารถพบอาการได้หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุด ๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้าหากฝืนกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและหลุดล่อนออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา แนวทางการป้องกันกำจัด อาการแบบนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ายางที่กรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมอาการดังกล่าวในต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว แนะนำให้ใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบว่ายางพาราต้นใดมีอาการดังกล่าวนี้เพียงบางส่วนหรือเล็กน้อย ให้ใช้สิ่วเซาะร่องโดยให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรค ให้ร่องห่างจากบริเวณที่พบอาการประมาณ 2 เซนติเมตร จากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ สำหรับการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่ตำหนิ และหยุดกรีดในช่วงยางพาราผลัดใบ ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นโดยเฉพาะสูตรเสมอหรือสูตรเสมอร่วมกับภูไมท์ซัลเฟต อัตรา 20 กิโลกรัมต่อปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มธาตุอาหารรอง ซิลิก้า ช่วยรักษาความสมดุล (อุดมสมบูรณ์) ของดิน ทำให้ยางพาราดูดกินธาตุอาหารได้ดี ต้นยางพาราสมบูรณ์แข็งแรงช่วยป้องกันอาการเปลือกแห้ง ทั้งยังยืดอายุการกรีดออกไปอีกด้วย ****เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หนึ่งคำยืนยันจากเกษตรกรที่ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่ารักษาอาการยืนต้นตายในยางพารา

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนในงานวิชาการและสินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ทางผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการและสินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป ส่วนบทความหรืองานวิชาการที่นำมาเสนอต่อท่านวันนี้ผู้เขียนได้นำคำยืนยันจากคุณสาธิต สารพัฒน์ (081-1034948) เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในเขต อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มาบอกกล่าวเล่าต่อสู่เกษตรกรชาวสวนยางพาราท่านที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูบาร์อาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช ก่อนหน้านี้คุณสาธิต สารพัฒน์ เลขที่ 185/5 หมู่ 4 ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 86160 เคยประสบปัญหาต้นยางพาราที่ปลูกใหม่อายุประมาณ 2 ปี อยู่ๆ ยางพารายืนต้นตายไม่ทราบสาเหตุจนกระทั้งได้ไปปรึกษาชมรมเกษตรปลอดสารพิษและได้รับคำแนะนำให้ทดลองใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าคลุกผสมปุ๋ยคอก (อัตรา 1 กก.ต่อปุ๋ยคอก 50 กก.) แล้วนำไปหว่านรอบๆ ทรงพุ่ม ปรากฏว่าอาการระบาดเริ่มลดลง ต้นยางพาราที่เคยแสดงอาการใบเหี่ยว เหลือง ร่วง กลับผลิใบแตกยอดอ่อนสดชื่นอีกครั้ง สำหรับอาการยืนต้นตายในยางพารานั้นเกิดได้หลายประการ อาทิเช่นการใช้สารเร่งหรือสารกระตุ้นการไหลของน้ำยางในปริมาณที่ไม่เหมาะสมหรือขาดความรู้ความเข้าใจในสารประเภทนั้นๆ ประการต่อมาเกิดจากการเข้าทำลายระบบรากของเชื้อราโรคพืชซึ่งแบ่งออกตามประเภทเชื้อราที่เข้าทำลายได้ดังต่อไปนี้ 1. โรครากขาว (Disease White Root)เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus (Klotzsch) lmazeki สามารถพบเห็นการเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปโดยจะแทงเส้นใยเข้าไปในเนื้อเยื่อ ทำให้การทำงานของเชลล์รากเสียหายไม่สามารถดูดน้ำดูดอาหารได้เต็มที่ ทำให้ขบวนการสังเคราะห์แสงของยางพาราค่อยๆ ลดลง เมื่อระบบรากถูกทำลาย ยางพาราจะแสดงอาการให้เห็นที่ทรงพุ่มและนั่นเป็นระยะที่รุนแรงไม่สามารถจะรักษาได้ บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏเส้นใยราสีขาวเจริญแตกสาขาปกคลุม เกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคในระยะแรกจะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีดในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม หากพบในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม ดอกเห็ดชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล ขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว ส่วนใหญ่พบการแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกและมีความชื้นสูง *โชคชัย พรหมแพทย์ ,ความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา 2. โรครากแดง (Red root disease) เกิดจากเชื้อราGonoderma pseudojerreum ซึ่งเส้นใยของเชื้อราโรคชนิดนี้จะมีสีแดง เป็นมันปกคลุมผิวรากยางพาราที่เป็นโรค หากเชื้อราอยู่ในระยะเจริญเส้นใยจะมีสีขาวครีม เมื่อแก่ขึ้นจะกลายเป็นสีแดง รากของยางที่เป็นโรคชนิดนี้ระยะแรก ๆ จะมีสีน้ำตาลซีด แข็งและต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเนื้ออ่อน ส่วนของเนื้อไม้จะเป็นรูพรุนซึ่งอาจจะเปียกหรือแห้งขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นดินบริเวณนั้น ส่งผลให้เนื้อเยื่อแต่ละวง (วงปี) จะหลุดลุ่ยแยกออกจากกันได้ง่าย ดอกเห็ดของเชื้อราชนิดนี้จะเป็นวงแข็ง ผิวด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม ผิวด้านล่างเป็นสีขาวขี้เถ้ารอบ ๆ ขอบดอกเห็ดมีสีขาวครีมคล้ายกับดอกเห็ดรารากขาว *สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. โรครากน้ำตาล (Brown root disease) เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius (Corner) G.H.Cunn ส่วนใหญ่พบกับต้นยางพาราที่หักโค่นซึ่งอาการของโรคชนิดนี้จะคล้ายกับโรครากขาวและโรครากแดง แต่ต่างกันที่บริเวณรากที่ถูกทำลายจะปรากฏเส้นใยเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง เป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ เมื่อแก่เส้นใยจะเป็นสีน้ำตาลดำ เนื้อไม้ในระยะแรก ๆ จะเป็นสีน้ำตาลซีดต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้ สำหรับรากยางพาราที่เป็นโรคชนิดนี้มานาน เมื่อตัดลองตามขวางจะเห็นสายเส้นใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง เนื้อไม้จะเบาและแห้ง ดอกเห็ดของเชื้อราดังกล่าวจะเป็นแผ่นหนาแข็ง รูปครึ่งวงกลมค่อนข้างเล็กผิวด้านบนเป็นรอยย่นเหมือนกับเห็ดรารากแดงแต่ขอบดอกเป็นวงสีน้ำตาลเข้มและผิวด้านล่างเป็นสีเทา ส่วนใหญ่พบการระบาดในช่วงฤดูฝนเนื่องจากมีฝนตกชุกความชื้นสูง *สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4. โรคใบร่วงและผลเน่า ( Phytophthora leaf fall) เกิดจากเชื้อรา Phytophthora botryosa chee, P. palmivora (Butl.) Butl., P.nicotianae Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouseโดยจะแสดงอาการให้เห็นในผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนใบจะร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย หากนำใบที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคชนิดนี้จะสัมพันธ์กับโรคเส้นดำเนื่องจากเกิดจากเชื้อราชนิดเดียวกัน ส่งผลทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตลดลงและยืนต้นตายในที่สุด *พูนผล ธรรมธวัช ,ยางพารา แนวทางป้องกันควบคุมโรคที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราโรคพืช 1. เลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรค (หากเป็นยางพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ TG 1) 2. สำหรับยางพาราที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีหรือต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก.ผสมน้ำเปล่า 200 ลิตรทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ 15 วันครั้งหรืออาจจะนำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 20 กรัม (1ช้อนแกง) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 8 -10 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 7 วันครั้ง 3. กรณีปลูกกล้ายางพาราใหม่ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 กก. ผสมร่วมกับปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) 50 กก.และภูไมท์ซัลเฟต 20 กก.คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปคลุกเคล้ารองก้นหลุมอัตราต้นละ 1/2 กก.หรือหว่านรอบทรงพุ่ม โดยห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร อัตรา 1-2 กก.ต่อต้น ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ย เกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือ คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณ คุณสาธิต สารพัฒน์ (081-1034948) เกษตรกรชาวสวนยางพารา อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ตลอดจนครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา เขียนและรายงานโดย นายเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการ) ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เหตุผลของการใช้ภูไมท์ซัลเฟตในสวนปาล์มน้ำมัน

ภูไมท์ซัลเฟตจัดอยู่ในกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงสภาพดิน ปรับเปลี่ยนสภาพดินที่เสื่อมโทรม (ดินตาย) ให้มีชีวิตเหมาะสมต่อการปลูกพืชและยังช่วยปรับค่า pH ของดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลดปล่อยหรือเคลื่อนย้ายของธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อต้นพืชนั้นๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ภูไมท์ 50 % ซัลเฟต (กำมะถัน) 7 % แคลเซียมคาร์บอเนต 12 % ฟอสฟอริกแอซิค 0.20 % แมกนีเซียมคาร์บอเนต 0.01 % เหล็ก 0.01 % สังกะสี 0.005 % และวัตถุปุ๋ย เป็นต้น ข้อดีข้างต้นของภูไมท์ซัลเฟตนี้เองที่เกษตรกรหลายคนหลายท่านที่ให้ความสนใจเรียกหาถามหาหรือนำไปใช้ในแปลงปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ช่วยปรับค่า pH ของดิน อีกทั้งช่วยสร้างจุลินทรีย์ในดินพร้อมๆกับการเพิ่มธาตุอาหารหลัก N P K ที่ใส่อยู่เป็นปกติอยู่แล้ว  หากจำแนกข้อดีข้อเสียของการนำภูไมท์ซัลเฟตมาผสมร่วมกับปุ๋ยเคมี ข้อดี - ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินที่ไม่มีในปุ๋ยเคมี - ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือไม่ต้องซื้อปุ๋ยสูตรที่มีราคาแพง - สามารถสร้างจุลินทรีย์ในดินไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักโดยไม่ทำให้ดินเสียหรือดินตาย - ลดการสูญเสียปุ๋ยเคมีจำพวกแอมโมเนียมไปโดยเปล่าประโยชน์ ข้อเสีย - การจัดการมากขึ้น อาทิต้องนำแม่ปุ๋ยเคมีมาผสมร่วมกับภูไมท์ซัลเฟตและปุ๋ยอินทรีย์  สูตรแนะนำการผสมปุ๋ยบำรุงต้นบำรุงดินในปาล์มน้ำมันหลังการเก็บเกี่ยว - ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด 200 กก. - ปุ๋ยเคมีสูตร 46 - 0 – 0 50 กก. - ปุ๋ยเคมีสูตร 18 – 46 – 0 50 กก. - ปุ๋ยเคมีสูตร 0 – 0 – 60 50 กก. - ภูไมท์ซัลเฟตเม็ด 50 กก. สูตรข้างต้นจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของดินในพื้นที่นั้นๆและพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยในปีทีผ่านมาด้วย อัตราการใส่ปุ๋ย - ปาล์มน้ำมันอายุ 3 – 4 ปี 4 กก./ ต้น/ปี - ปาล์มน้ำมันอายุ 5 – 8 ปี 6 กก./ ต้น/ปี - ปาล์มน้ำมันอายุ 8 ขึ้นไป 8 – 10 กก./ ต้น/ปี สำหรับเกษตรกรท่านใดที่สนใจหรือกำลังคิดจะปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจสามารรถติดต่อสอบถามได้ที่ ร้านชมพู่การเกษตรสุราษฎร์ธานี ( 089 – 8719547 )นักวิชาการชมรมฯ ( 081 – 3983128 )

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทคนิคในการปรับปรุงสภาพดินในสวนปาล์มน้ำมันเสื่อมโทรม ที่เหนือคลอง จ .กระบี่

เกษตรกรเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ในจังหวัดกระบี่ที่ให้ความสนใจในการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอาชีพหลักแทนการปลูกยางพารา ข้าว และพืชไร่อย่างในอดีต ฉะนั้นการปลูกปาล์มน้ำมันในแต่ละพื้นที่ย่อมจะพบเจอปัญหาไม่เหมือนกัน อาทิเช่นตัวอย่างที่จะนำเสนอแก่เกษตรกรเพื่อนำไปประยุกต์หรือปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่สวนของท่านเองได้ สวนปาล์มน้ำมันตัวอย่าง ที่จะนำเสนอเป็นสวนของคุณอาวุธ แก้วแย้ม (ร้านปกาสัยวัสดุก่อสร้าง) คุณอาวุธ กล่าวว่าในอดีตปาล์มน้ำมันของท่านเป็นปาล์มสีทอง ต้นแคระแกร็น ไม่โตตามอายุอย่างที่สมควรจะเป็น ด้วยความวิตกกังวลจึงได้ศึกษาหาวิธี จนกระทั่งได้รู้จักกับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ได้เล่าปัญหาให้ทางนักวิชาการฟังกระทั่งได้รับคำตอบว่า ดินบริเวณนั้นเป็นที่ดินนาเคยใช้ปุ๋ยเคมีมาก่อนทำให้ดินเป็นกรดส่งผลให้ดินตาย ล็อคปุ๋ยไม่สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้ส่งผลให้พืชใบเหลืองหรือปาล์มสีทองอย่างที่กล่าวข้างต้นยังไงครับ สำหรับเทคนิควิธีที่คุณอาวุธนำมาใช้ในปรับปรุงดินที่ตายให้กลับคืนฟื้นชีวิตอีกครั้งนั้นก็คือ ใช้ภูไมท์กระสอบสีขาวร่วมกับขี้เค้ก(ส่วนที่เหลือจากโรงหนีบน้ำมันปาล์ม)และปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกชนิดปุ๋ยเย็น(มูลสัตว์กินพืช) อัตรา 20 : 10 : 80 กก.ตามลำดับโดยแบ่งใส่ 2 ครั้งๆละ 2.5 กก. /ต้น/ไร่ ช่วงต้นและปลายฤดูฝน ระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1 ปีพบว่าใบปาล์มน้ำมันมีสีเขียวเข้ม คอต้นมีขนาดใหญ่สมบูรณ์ และที่สำคัญพบว่าบริเวณโคนต้นมีขี้ของไส้เดือนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ข้อควรระวัง : ในการใช้ขี้เค้กควรใช้ในอัตราที่เหมาะสม ไม่ควรใช้บ่อยครั้งเพราะเป็นต่อต้นพืชได้ คือขี้เค้กจะมีส่วนผสมของกรดไขมันอิ่มตัวซึ่งมีผลต่อการสลายตัวและขบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ฉะนั้นในการขี้เค้กควรศึกษารายละเอียดและผลที่จะตามมาให้ถ่องแท้เสียก่อน สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจขอข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณอาวุธ แก้วแย้ม(ร้านปกาสัยวัสดุก่อสร้าง)อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ โทร. 085 -7828235 หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการชมรมฯ โทร. 081 – 3983128,02 – 9861680 – 2

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไตรโคเดอร์ม่ารักษาโรครารากขาวในยางพารา

เชื้อไตรโคเดอร์ม่า หรือราเขียวอาจจะเป็นศัตรูโรคร้ายแรงในกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ดเนื่องจากเชื้อดังกล่าวจะชอบกินหรือเข้าขัดขวางการพัฒนาการของเห็ดรา แต่สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา ทุเรียน กลุ่มไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือพืชผักที่มีปัญหารากเน่าโคนเน่า เน่ายุบในผักตระกูลคะน้า เป็นต้น สำหรับในยางพาราจะพบว่าเป็นโรครากเน่าโคนเน่าหรือยืนต้นตายหรือที่เรียกกันว่า “โรครากขาวในยางพารา” จะพบการเข้าทำลายของเชื้อราในระบบรากส่งผลให้น้ำยางหยุดไหล ใบเหลืองร่วงและยืนต้นตายในที่สุด คุณดนัยเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่ายางพาราในแปลงปลูกของตนเองที่อำเภอบ้านนาสารซึ่งเปิดหน้ากรีดมีอาการน้ำยางหยุดไหล ใบเหลืองเริ่มมีอาการร่วง กระทั้งยืนต้นตาย มีการระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้โทรศัพท์ปรึกษานักวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษและได้แนะนำให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าโดยหว่านรอบโคนต้นๆละ100 กรัมหลังฝนตกหรือสภาพดินที่ยังคงมีความชื้นอยู่ หลังจากหว่านเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 4 สัปดาห์ พบว่าอาการระบาดของเชื้อราเริ่มลดลง ต้นยางพาราเริ่มทรงตัว ตายน้อยลง ส่วนอาการใบเหลืองให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21 – 7 – 18 หรือปุ๋ยเคมีมีสูตร N และ K สูง ต้นละ 1 กก.เพื่อกระตุ้นการสร้างใบใหม่และการไหลของน้ำยาง หากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นควรใช้ภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีและตรวจวัดค่า pH ดินก่อนทำการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ นักวิชาการชมรมฯ (081 – 3983128 )หรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ( 02 – 9861680 – 2 )

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภูไมท์ซัลเฟตร่วมกับแม่ปุ๋ยเคมีกระตุ้นการไหลของน้ำยางพารา

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศปีละไม่น้อยซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าติดอันดับ 1ใน 5 อันดับต้นๆของพืชเศรษฐกิจภายในประเทศ นิยมปลูกกันมากในแถบจังหวัดภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรตลอดถึงจังหวัดนราธิวาส และต่อมาได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคต่างๆหันมาปลูกกันมากขึ้น อย่างเช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น การปลุกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักประจำบ้านนั้นๆสิ่งที่จำเป็นมากเป็นอันดับแรกคือปริมาณและเปอร์เซ็นต์ของน้ำยาง รองลงมาคือภูมิอากาศ ส่วนด้านราคานั้นเราควบคุมไม่ได้ขึ้นลงตามกระดานน้ำมันในตลาดโลก (สำหรับประเทศไทยอิงตลาดกลางสิงคโปร์) สิ่งเดียวที่เกษตรกรพึงกระทำได้คือการลดต้นทุนการผลิตโดยนำแม่ปุ๋ยเคมีมาผสมร่วมกับภูไมท์ซัลเฟตเพื่อปรับสภาพดิน ปรับ pH ของดิน เพิ่มธาตุรองธาตุเสริมให้แก่ต้นยางพาราโดยไม่ต้องหาซื้อมาเติมเมื่อสายไป ที่สำคัญภูไมท์ซัลเฟตมีส่วนผสมที่เป็นซิลิก้า (ซิลิซิค แอซิด) ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ต้นยางพาราลดการเข้าทำลายของโรคแมลงศัตรูพืชและยังสามารถดูดซับตรึงปุ๋ยเคมีให้เป็นปุ๋ยละลายช้าได้อีกด้วย ตัวอย่าง ปุ๋ยผสม สูตร 25 – 5 – 18 กระตุ้นการไหลของน้ำยางพารา อัตราการผสมปุ๋ย 1. ไนโตรเจน (N) 46 - 0 – 0 50 กก. 2. ฟอสฟอรัส (P) 18 – 46 – 0 (DAP) 11 กก. 3. โพแตสเซี่ยม (K) 0 – 0 – 60 30 กก. 4. ภูไมท์ซัลเฟต (FL) 9 กก. หลังผสมเสร็จให้หว่านรอบโคนต้นยางพาราที่เปิดกรีดแล้ว ต้นละ 1 กก. ในช่วงการใส่ปุ๋ยปกติคือช่วงต้นฝนและปลายฝนเพราะต้นยางพาราสามารถนำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้ทันที หมายเหตุ ก่อนทำการผสมปุ๋ยให้พึงสังเกตพฤติกรรมหรืออาการของต้นยางพาราในสวนนั้นๆด้วยว่าขาดธาตุรอง ธาตุเสริมด้วยหรือไม่ เช่น ขาดกำมะถัน (S) อย่างรุนแรง ให้เปลี่ยนแม่ปุ๋ยเคมีจากสูตร 46 – 0 – 0 มาเป็น สูตร 21 – 0 – 0 แทนเนื่องจากในปุ๋ยเคมีสูตร 21 – 0 – 0 จะมีส่วนผสมของกำมะถันอยู่ประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญและขาดไม่ได้ ค่า pH ของดินว่าเป็นกรดหรือด่าง หากเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปจะทำให้เป็นอุปสรรคในเคลื่อนย้ายธาตุอาหารที่มีประโยชน์ในดินสู่ต้นพืชนั้นๆ ทำให้ต้นไม้ต้นนั้นขาดธาตุอาหารได้ทั้งๆที่ใส่ปุ๋ยหรือธาตุอาหารชนิดนั้นลงไป เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ร้านชมพู่การเกษตรสุราษฎร์ธานีหรือ นักวิชาการชมรมฯ ( 081 – 3983128 )

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใช้ฮอร์โมนไข่ผสมอาหารเร่งการเจริญโตในกุ้ง

การเลี้ยงกุ้งเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ต้นทุนรายรับรายจ่ายต้องมีความสัมพันธ์กัน กล่าวง่ายๆ ว่า เมื่อลงทุนเลี้ยงกุ้ง 1 บ่อต้องมีกำไร จะมากหรือน้อยอยู่ที่การเอาใจใส่เลี้ยงดู เกษตรกรต้องพึงเข้าใจว่าเราไม่สามารถควบคุมราคาภาคตลาดได้แต่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้โดยเฉพาะอาหารกุ้ง แรงงาน ค่าจ้างค่าจัดการต่างๆรวมถึงช่วยลดอัตราการตายหรือเป็นโรคในกุ้งให้มีปริมาณน้อยลงอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ อาทิ การนำฮอร์โมนไข่มาผสมอาหารเร่งการเจริญเติบโตในกุ้งช่วยลดต้นทุน ช่วยให้กุ้งโตไว ไม่ตกไซด์ได้ขนาดตามความต้องการของตลาด ที่สำคัญกุ้งแข็งแรงไม่เป็นโรค ซึ่งได้มีโอกาสแนะนำวิชาการดังกล่าวให้กับ คุณวิโรจน์ เอ่งฉ้วน เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดกระบี่ ลองทดสอบในแปลงนากุ้งของตนเอง โดยให้ทำการหมักฮอร์โมนไข่ขึ้นมาใช้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการหมักก็ไม่ยาก วัสดุประกอบด้วย 1. ไข่ไก่เบอร์ 0 (ทั้งเปลือก) 5 กก. (80-100 ฟอง) 2. กากน้ำตาล 5 ลิตร 3. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก 4. ยาคูลย์ 1 ขวด 5. ไคโตซาน MT 10 ลิตร วิธีการทำ 1. ให้นำไข่ไก่มาล้างให้สะอาดปั่นทั้งเปลือกด้วยเครื่องปั่นหรือกรณีไม่เครื่องปั่นให้ใช้วิธีนำไข่ใส่ถังหมักแล้วคนไข่ในทิศทางเดียวกันจนไข่และเปลือกไข่แตกละเอียดหมดทุกฟอง 2. นำไข่ไก่ที่ปั่นละเอียดผสมกับกากน้ำตาลแล้วคนจนเข้ากันโดยคนในทิศทางเดียวกัน 3. บี้ลูกแป้งข้าวหมากให้ละเอียดก่อนหว่านลงพร้อมทั้งยาคูลย์และไคโตซาน MT คนให้เข้ากันในทิศทางเดียวกัน ปิดฝาป้องกันแมลงวันแล้วหมักทิ้งไว้ 7 วันหมักเสร็จจะได้ปริมาณ 15 ลิตร (ต้นทุนการหมักประมาณ 2,000 บาท) นำมาผสมกับอาหารกุ้งอัตรา 135 ซีซี ( 1 ถ้วยกาแฟ)ต่ออาหาร 10 กก. ในการหมัก 1 ชุดสามารถผสมอาหารให้กุ้งได้ ประมาณ 1,000 กก. โดยผสมทุกครั้งที่มีการให้อาหาร ผลจากการติดต่อสอบถามเก็บข้อมูลจาก คุณวิโรจน์ พบว่ากุ้งมีพัฒนาการดีขึ้น โตเร็ว ได้ขนาด แข็งแรง ขี้ยาวและใหญ่ขึ้น ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่ากุ้งมีสุขภาพดีขึ้น กินอาหารได้เยอะ อีกทั้งอัตราการตายเนื่องจากโรคลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด หากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ให้ใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกับการใช้จุลินทรีย์บาซิลลัส MT สำหรับย่อยเศษซากอาหารหรือขี้กุ้งไม่ให้เป็นพิษภายหลังนอกจากนี้ให้ใช้สเม็คไทค์ในการดูดซับแอมโมเนียหรือแก๊สที่เกิดจากการหมักหมมหรืออาจจะเกิดจากขบวนการย่อยของจุลินทรีย์ในบ่อกุ้ง สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณวิโรจน์ เอ่งฉ้วนหรือนักวิชาการชมรมฯ ( 081 – 3983128 ) หรือที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680 – 2 ได้ทุกวันทำการ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.00 น.

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 2) อาการเน่าเละของเห็ดฟางกับการควบคุมกำจัดการระบาด

อาการเน่าเละของเห็ดฟาง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซูโดโมแนส ( Pseudomonas sp.) พบในเห็ดฟางในโรงเรือนช่วงฤดูฝน ซึ่งพบว่าดอกเห็ดผิวไม่เรียบ มีจุดขาวคล้ายประแป้ง แล้วเปลี่ยนเป็นตะปุ่มตะป่ำผิวขรุขระทั้งดอก มีอาการช้ำ สีของดอกเริ่มเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อนอย่างรวดเร็ว เน่ามีน้ำไหลเยิ้มออกมา (กองโรคพืชและจุลวิทยา) ทำให้เก็บผลผลิตไม่ได้เสียหายทั้งโรง สำหรับเชื้อชนิดนี้จะแพร่ระบาดได้ดีช่วงเวลาที่ความชื้นในโรงเรือนสูงโดยมีแมลงเป็นพาหะ การควบคุมกำจัด การที่ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเพาะจนถึงสิ้นสุดการเก็บผลผลิตเห็ดฟาง มีเพียง 13 - 17 วันเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลอันหนึ่งที่ไม่มีการใช้ยาเคมีในพืชผักชนิดนี้ ดังนั้น วิธีการสำคัญในการป้องกันกำจัดศัตรูเห็ดฟาง คือวิธีการรักษาความสะอาดและการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอและการเอาใจใส่ใกล้ชิด ดังนี้ 1. เลือกหัวเชื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง ปนเปื้อนน้อยที่สุดหรือไม่มี 2. เลือกตอซังหรือฟางข้าวนวดที่สะอาดปราศจากเชื้อราเม็ดผักกาด ฟางต้องมีลักษณะแห้งสนิทและอมน้ำได้ง่าย วัสดุเพาะทุกชนิดไม่ควรทิ้งให้ตากแดดตากฝนหรือเก็บค้างปี 3. มีความเข้าใจถึงสภาพความต้องการต่าง ๆ ในการเจริญเติบโตของเห็ดฟาง เพื่อจะได้ปฏิบัติดูแลกองเพาะอย่างถูกต้อง เช่น เรื่องอุณหภูมิในกองเพาะ ขณะเส้นใยเจริญเติบโต ต้องการอุณหภูมิระหว่าง 35 - 38 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าในกองเพาะร้อนหรือเย็นเกินไป ก็ควรจะต้องระบายอากาศ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทออกซิเจนหรือต้องเผารอบกองเพาะ เพื่อให้ความร้อนแก่กองฟางในฤดูหนาว นอกจากนี้ยังควรเข้าใจเรื่องความชื้น แสงสว่าง ความเป็นกรด-ด่าง และความสามารถในการใช้อาหารของเห็ดฟางอีกด้วยถ้าเป็นการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม ควรศึกษาถึงการเตรียมปุ๋ยเพาะเห็ดอย่างถูกวิธี ตลอดจนการอบไอน้ำฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อให้ได้ปุ๋ยเพาะเห็ดที่มีคุณภาพดีซึ่งเชื้อเห็ดใช้ประโยชน์ได้สูงสุด 4. ความสะอาดของแปลงเพาะ ก่อนเพาะควรจะได้ถางหญ้าเตรียมดินไว้เสียก่อน และเมื่อการเพาะเสร็จสิ้นควรนำฟางที่ใช้แล้วเป็นปุ๋ยหมัก เผาหรือตากดินบริเวณแปลงเพาะที่ใช้แล้วทิ้งไว้ประมาณ 4 - 5 วัน เพื่อฆ่าเชื้อราที่สะสมในบริเวณนั้น เป็นการเตรียมที่เพาะในครั้งต่อไป และเป็นการลดประมาณเชื้อราที่อาจมีอยู่ในดิน สำหรับการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนแบบอุตสาหกรรม ควรมีการพักโรงเรือนเป็นครั้งคราวและทำความสะอาดโรงเรือนเพื่อทำลายศัตรูเห็ดฟาง ก่อนที่จะเพาะในรุ่นต่อไปเมื่อสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ ท่านก็สามารถที่จะเพาะเห็ดฟางได้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน 5. หมักขยายเชื้อบีเอส - พลายแก้วด้วยมะพร้าวอ่อน นมกล่องรสหวาน หรือใช้สูตรหมักไข่แล้วให้อากาศผ่านท่อออกซิเจนตู้ปลา ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อย่างภาคใต้ปลูกมะพร้าวก็ควรใช้วิธีหมักด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน โดยใช้มะพร้าวอ่อน 1 ผล ต่อเชื้อบีเอส - พลายแก้ว 1 ช้อนชา ( 5 กรัม ) นาน 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลงเพาะหรือบน - ล่างชั้นวางรวมถึงผนัง – พื้นที่โรงเรือนด้วย เกษตรกรหรือคนรักเห็ดท่านใดสนใจต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกสาขา (สนญ.บางเขน 02-9861680 – 2 ) หรือนายเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการชมรมฯ (081-3983128) หรือ Email : thaigreenago@gmail.com. ,ekkarin191@gmail.com.

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใช้จุลินทรีย์ควบคุมการคุกคามจากปลวกในยางพาราปลูกใหม่

การปลูกยางพาราอาจไม่ใช่เรื่องยากในสายตาของผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการปลูกสร้างสวนยางพารามาแล้วเช่นชาวสวนยางพาราในภาคใต้หรือภาคตะวันออก ซึ่งถือเป็นเขตปลูกยางพาราเดิมของประเทศไทย แต่ขณะนี้ภาวะราคายางพาราขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง (ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ราคาน้ำยางแผ่นดิบและน้ำยางสดที่ตลาดกลางหาดใหญ่อยู่ที่ 100.50 และ 98.50 บาท/กิโลกรัม ) ปัจจุบันนี้ภาครัฐได้ส่งเสริมการปลูกยางพาราทั่วทุกภาคของประเทศ จึงทำให้มีเถ้าแก่สวนยางพารามือใหม่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าการปลูกยางพาราจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราจะปฏิบัติหรือจัดการต่อสวนยางพาราอย่างไรเพื่อให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าที่สุด และต้องยอมรับว่าสิ่งใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน ควบคู่ไปกับปัญหาใหม่ๆ ที่คอยติดตามทดสอบภูมิปัญญาของผู้คนทุกกลุ่มอาชีพ การมีความรู้ การสร้างสังคมแห่งความรู้ การเชื่อมต่อถึงกันบนพื้นฐานของการมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันของผู้คนที่มีอาชีพที่เกี่ยวกับยางพารา เช่น ปัญหาปลวกกัดกินรากยางพาราที่ลงปลูกใหม่ เชื่อได้ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถพบเจอทุกภาคส่วนของประเทศ ฉะนั้นจะแก้อย่างไรให้ปลอดภัย ง่าย ลดต้นทุนได้ผลประโยชน์สูงสุด จะกล่าวถึงวิธีแก้ปัญหาเรามารู้จักกับปลวกกันก่อน เรามักพบเห็นจอมปลวกขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างกระจายอยู่ทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าปลวกมีวงจรชีวิตเช่นใดภายในกองดินอันแข็งแกว่ง จอมปลวกหรือรังของปลวกถือเป็นอาณาจักรของแมลงที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากที่สุดรังปลวกบางพันธุ์ในทวีปแอฟริกามีความสูงเหนือพื้นดินถึง 6 เมตร มีอุโมงค์เชื่อมต่อใต้ดินครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 5 ไร่ และมีปลวกอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 5 ล้านตัว รังของปลวกที่มีลักษณะเป็นกองดินขนาดใหญ่ในบ้านเรามักเป็นปลวกในสกุล Macrotemes ปัจจุบันทั่วโลกค้นพบปลวกแล้วไม่ต่ำกว่า 1,800 ชนิด 200 สกุล สำหรับประเทศไทยพบว่ามีปลวกอยู่นับร้อยชนิด ซึ่งปลวกแต่ละชนิดต่างมีกลวิธีและรูปแบบในการสร้างรังไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะมีขนาดมหึมาราวหอคอยหรือเล็กเพียงแค่เนินดิน ปลวกจำนวนมากมายในแต่ละรังจะแบ่งออกได้เป็น 3 วรรณะคือ ปลวกงาน ผู้คอยวิ่งวุ่นทำงานทุกอย่างภายในรัง เริ่มตั้งแต่ตอนก่อสร้างจอมปลวก ซ่อมแซมรังถ้ามีการสึกหรอ ดูแลรักษาไข่ของนางพญาไปจนถึงการหาอาหารมาเลี้ยงดูปลวกในวรรณะอื่น ถัดมาคือ ปลวกทหาร ซึ่งมีรูปร่างทะมัดทะแมงมีส่วนหัวและกรามใหญ่โตกว่าส่วนอื่น เพื่อใช้เป็นอาวุธในการออกรบ ปลวกทหารจะเป็นผู้ต้อนรับด่านแรกหากมีผู้บุกรุกเข้ามาภายในจอมปลวก และปลวกในวรรณะสุดท้ายได้แก่ ปลวกสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นพวกเดียวที่มีโอกาสเจริญเติบโตจนสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ และเชื่อไหมว่าภายในจอมปลวกหนึ่ง ๆ ซึ่งมีปลวกนับหมื่นนับแสนตัวล้วนถือกำเนิดมาจากพญาปลวกเพียงตัวเดียว (14 ฟอง ในทุก 3 วินาที )ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนประชากรปลวกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับการสร้างจอมปลวกเริ่มขึ้นโดยปลวกงานจะช่วยกันกัดดินและขนดินมาทีละก้อน แล้วใช้น้ำลายเป็นตัวเชื่อมติด ค่อย ๆสร้างผนังจอมปลวกแน่นหนาขึ้นทีละน้อย โดยมีปลวกทหารคอยทำหน้าที่รักษาปลอดภัยไม่ให้ศัตรูมารบกวน(มด) ซึ่งจะสร้างห้องนางพญา ห้องเก็บรักษาไข่ปลวกงานส่วนหนึ่งทำการขุดช่องระบายอากาศเพื่อให้ภายในจอมปลวกเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนขุดอุโมงค์ใต้ดินสู่ภายนอกเพื่อใช้หาเสบียงอาหารอันได้แก่ เศษไม้ ใบหญ้า ความจริงแล้วปลวกไม่สามารถย่อยไม้ได้เองอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นโปรโตซัวซึ่งอาศัยอยู่ในกระเพาะของมันที่ช่วยย่อยเซลลูโลสให้กลายเป็นสารอาหาร ปลวกงานจะนำเชื้อราที่ได้จากการย่อยมาสร้างเป็นสวนเห็ดขึ้นภายในจอมปลวกเพื่อลดภาระในการออกหาอาหาร สำหรับปลวกที่กัดกินทำลายไม้สดหรือรากยางพารานั้น คือ ปลวกงานหรือคอปโตเทอเมส เซอวิคนาตัส (Coptotermes curvignathus)พบเข้าทำลายกัดกินส่วนรากของต้นยางที่มีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะบริเวณโคนต้นใต้ผิวดินต่อไปภายในลำต้นจนเป็นโพรง ระยะนี้ต้นยางจะแสดงอาการใบเหลือง ต่อมาเมื่อระบบรากถูกทำลาย เป็นส่วนมากต้นยางจะตายในที่สุด ส่วนมากจะยืนต้นตายอย่างรวดเร็ว การระบาดของปลวกสังเกตได้จากต้นยางที่แสดงอาการใบผิดปกติ จะลุกลามออกไปยังต้นข้างเคียงค่อนข้างรวดเร็ว ในระยะเวลาอันสั้น โดยที่เจ้าของสวนไม่สามารถมองเห็นโพรงที่ปลวกทำลายตามส่วนต่าง ๆ ภายนอกได้เลย ถ้าไม่ขุดดินบริเวณโคนต้นดู หรือลมพัดต้นยางล้ม การควบคุมกำจัดประชากรของปลวก โดยการใช้เชื้อรากินปลวก (เชื้อราเขียว หรือ Metarrhizium) คลุกผสมกับปุ๋ยคอก (มูลโค มูลไก่ ฯลฯ ) และภูไมท์ในอัตรา 1 กก. ต่อ 50 กก. ต่อ 20 กก. ตามลำดับ ระหว่างผสมให้ฉีดพรมน้ำเพิ่มความชื้นกระตุ้นการขยายของเชื้อให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน (24 ชั่วโมง) ก่อนนำไปหว่านหรือใส่ถุงกระดาษหรือกระบอกไม้ไผ่แห้งแล้วนำไปฝังดินไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณโคนต้นยางพารา โดยขุดหลุมให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินที่ขุดขึ้นมาอย่างหลวม ๆ (ไม่กดดินจนแน่น) ตัวปลวกที่อยู่ในดินจะออกมากินถุงกระดาษและราเขียวที่อยู่ในถุง ทำให้เชื้อราเขียวติดไปกับตัวปลวกเข้าสู่ภายในรังปลวกและสามารถเข้าทำลายตัวปลวกให้ตายหมดทั้งรัง การใช้ราเขียวจำเป็นต้องหยุดสารเคมีหรือเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อรา ในระยะแรก ๆ ยังเห็นผลไม่ชัดเจน ควรกระทำซ้ำๆ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 สัปดาห์ครั้ง สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680–2หรือนักวิชาการชมรมฯ 081 – 3983128(คุณ เอกรินทร์ ช่วยชู)หรือติชมผ่านทาง email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com )

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาอุปสรรคของคนทำเห็ด (ตอน 1) ไรศัตรูเห็ดกับการควบคุมกำจัดการระบาด

ไรเห็ด เป็นศัตรูเห็ดที่มีขนาดเล็กมากต้องอาศัยแว่นขยายเข้าช่วยจึงจะเห็นได้ชัด ตามสภาพธรรมชาติมักจะเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาวใส่อยู่กระจายเต็มไปหมด แต่ที่น่าสนใจคือไรที่ทำลายเห็ดนั้นจะมีวงจรชีวิต (ไข่-ตัวเต็มวัย)สั้นมาก โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วันเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ประมาณ 4 เท่า โดยที่ตัวเมียยังสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการออกไข่และเป็นตัว ไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้อีกด้วย จึงทำให้ไรสามารถเกิดระบาดทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ออกไป หากมีการระบาดก็จะทำให้เส้นใยขาดออกจากกันและไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากไรชอบทำลายกัดกินส่วนของเส้นใย ไรศัตรูเห็ดที่พบในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็น“ไรไข่ปลา (Luciaphorus sp.)”โดยเฉพาะเห็ดหูหนูจะพบว่ามีปัญหาไรเห็ดเข้าทำลายเส้นใยเห็ดที่เจริญอยู่ในถุงพลาสติกก่อนเปิดดอก ทำให้ดอกแคระแกร็น ถุงเห็ดที่ถูกไรเข้าทำลาย จะพบเม็ดกลมเล็ก ๆ เหมือนไข่ปลากระจายทั่วไปในถุงเห็ด ชาวบ้านเข้าใจว่าเห็ดเป็นโรค จึงเรียกลักษณะอาการดังกล่าวว่า "โรคไข่ปลา" แต่จริงแล้วเป็นไรเห็ดชนิดหนึ่งที่ไปกินเส้นใย สำหรับเม็ดไข่ปลาที่เห็นนั้น เป็นส่วนท้องของไรตัวเมียที่ขยายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 - 2 ม.ม. โดยมีไข่ และตัวอ่อนเจริญอยู่ภายในท้อง หากพบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรงแล้วก็จะเห็นซากของตัวเต็มวัยที่ตายแล้วด้วยตาเปล่าหรือเห็นคราบทับถมอยู่บริเวณปากถุงเห็ด และชั้นที่ว่างถุงเห็ดอย่างหนาแน่น เป็นผงฝุ่นสีน้ำตาลอ่อนคล้าย ๆ ขี้เลื่อยละเอียดเต็มไปหมด ไรไข่ปลาที่ระบาดในเห็ดหูหนูที่เพาะเป็นการค้า อยู่ติดกันเป็นแพ ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่าที่เห็นเป็นสีขาว ๆ กลมเล็ก ถ้าเราสามารถป้องกันกำจัดไรได้ อาการดังกล่าวก็จะหายไป ไรไข่ปลาในเห็ดมีการดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากไรแดงที่พบเข้าทำลายในพืช กล่าวคือ ไรไข่ปลาตัวเต็มวัยเพศเมียจะว่างไข่อยู่ภายในลำตัว แทนที่จะว่างไข่ออกมาภายนอกลำตัว เหมือนไรแดงที่ทำลายพืช นอกจากนั้นแล้ว เมื่อไข่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่แล้ว แทนที่จะออกมาจากตัวแม่กลับเจริญเติบโตอยู่ภายในท้องแม่ จนกว่าโตเต็มวัยจึงจะเจาะผนังท้องของแม่ออกมาภายนอก การผสมพันธุ์ระหว่างตัวแก่ตัวผู้และตัวเมียนั้น ส่วนใหญ่ผสมพันธุ์กันอยู่ภายในท้องแม่ ก่อนออกจากท้องแม่ สำหรับไข่บางฟองที่อยู่ภายในท้องแม่ที่ยังไม่เจริญเป็นตัวอ่อน เมื่อท้องแม่แตกแล้ว ก็สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนภายหลัง จากนั้นจึงเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต่อไป ระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโต ตั้งแต่วางไข่จนกระทั้งเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 5-7 วัน การควบคุมกำจัดการระบาดของไรศัตรูเห็ดแบบปลอดสารพิษ 1. ใช้สมุนไพร หนอนตายยาก บอระเพ็ด กากน้ำตาล อัตราส่วน 1:1:1 สับละเอียดผสมให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วัน นำมาฉีดพ่นที่ก้อนเห็ดในอัตราส่วน 1 ช้อนแกง/น้ำ 1 ลิตร แบบวันเว้นวัน 2. พักโรงเรือนเปิดระบายอากาศ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตก้อนเห็ดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วัน 3. ใช้เชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส ไมโตฟากัส Bacillus mitophagus ขนาด 1 ช้อนชา (5 กรัม) หมักด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อ ปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดให้นำน้ำมะพร้าวอ่อนที่หมักเชื้อแล้วมาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นควบคุมกำจัดการระบาดทุก ๆ 3 วันครั้ง (กรณีระบาดในก้อน) หรือฉีดพ่นเพื่อควบคุมทุก ๆ 7 – 10 วันครั้ง เกษตรกรหรือคนรักเห็ดท่านใดสนใจต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกสาขา (สนญ.บางเขน 02-9861680 – 2 ) หรือนายเอกรินทร์ ช่วยชู นักวิชาการชมรมฯ (081-3983128) หรือ Email : thaigreenago@gmail.com. ,ekkarin191@gmail.com.