วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

โรคและแมลงศัตรูยางพารา ตอนที่ 2 ใบจุดก้างปลา (Corynespora leaf )

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า-ใหม่ทุกๆท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราทั่วทุกภาคที่กำลังประสบปัญหาจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ ที่ต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบศัตรูโรคพืช สำหรับใบจุดก้างปลาหรือโรคใบจุดก้างปลานั้นเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Corynespora cassiicola (Burk. & Curt.) Wei. เบื้องต้นใบอ่อนจะเริ่มแสดงอาการเป็นแผลจุดกลม ขอบแผลสีน้ำตาลดำ กลางแผลสีซีดหรือเทา ถ้ารุนแรงใบจะบิดงอและร่วง ระยะใบเพสลาดแผลจะกลมทึบสีน้ำตาลหรือดำ ขอบแผลสีเหลืองและขยายลุกลามเข้าไปตามเส้นใบ ทำให้แผลมีลักษณะคล้ายก้างปลา เนื้อเยื่อบริเวณรอยแผลมีสีเหลืองแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบร่วงในที่สุด หากเชื้อเข้าทำลายส่วนของก้านใบ กิ่งแขนงและลำต้นที่เป็นสีเขียว บาดแผลจะมีสีดำยาวรี เนื้อเยื่อตรงกลางแผลบุ๋มลง ถ้าอากาศเหมาะสมจะขยายลุกลามทำให้กิ่งและต้นตาย เชื้อราสาเหตุโรคแห้งชนิดนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายโดยลมหรือฝนและอาการเริ่มระบาดรุนแรงในสภาวะร้อนชื้น วิธีควบคุมป้องกันกำจัด 1.ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชแซมในสวนยางพารา อย่างเช่น งา ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฝ้าย ยาสูบ มะละกอ แตงโม มะเขือเทศ ผักกาดหอม สะระแหน่ ฟักเขียว หญ้ายาง พืชคลุมตระกูลถั่ว ฯลฯ 2.หากมีความจำเป็นต้องปลูกพืชแซมในสวนยางพาราเพื่อสร้างรายได้ ช่วง 1-3 ปีแรก ก่อนปลูกกล้ายางพาราใหม่ให้ไถ่แปรปรับปรุงสภาพดินด้วยหินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ซัลเฟต ,พูมิชซัลเฟอร์) เนื่องจากในหินแร่ภูไฟมีส่วนประกอบของซิลิก้า (H4SiO4) ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ป้องกันการเข้าทำลายของโรคศัตรูดังกล่าว ในการปรับปรุงสภาพดินนั้นควรใช้อย่างน้อย 20-40 กก.ต่อไร่ 3.ก่อนปลูกกล้ายางพาราใหม่ทุกครั้งควรใช้หินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ซัลเฟต ,พูมิชซัลเฟอร์) ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด) และเชื้อไตรโคเดอร์ม่า อัตรา 20 กก.ต่อ 50 กก. ต่อ 1 กก. ตามลำดับ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่รองก้นหลุมก่อนลงปลูกกล้ายาง หลุมละ 300 -500 กรัม 4.กรณีต้นยางพาราปลูกแล้วแต่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี ให้ฉีดพ่นล้างสปอร์ด้วยฟังก์กัสเคลียร์ 25 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ก่อนทำการฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อหมักขยายบาซิลลัส - พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส – พลายแก้ว 5 กรัม+น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตรหรือสอบถามรายละเอียดวิธีการหมักได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ) ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 5-7 วันครั้ง เมื่อเริ่มพบอาการของโรคดังกล่าว 5.กรณีต้นยางพาราโตที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่สามารถฉีดพ่นยา ฮอร์โมนได้หรือแต่ไม่ทั่วถึงนั้น ให้นำเชื้อไตรโครเดอร์ม่า 1 ช้อนแกง ( 20 กรัม) ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 กก.และน้ำเปล่า 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 8 -10 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรฉีดพ่นทั่วทั้งแปลงให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 5-7 วันครั้ง หรืออาจจะกระทำร่วมกับข้อที่ 3 โดยเปลี่ยนจากรองก้นหลุมมาเป็นหว่านรอบทรงพุ่มแทน อัตราต้นละ 1-2 กก.ตามขนาดอายุของต้น สำหรับการฉีดพ่นยา ฮอร์โมนหรือปุ๋ยนั้นควรมีการปรับสภาพน้ำด้วย ซิลิซิค แอซิค อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรร่วมกับสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 , www.ekbiotechagro.blogspot.com (ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์ (วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

ไม่มีความคิดเห็น: