วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรคและแมลงศัตรูยางพารา ตอนที่ 1 ไรพืช ( Mites )

ไรพืชนั้นเป็นสัตว์ประเภทเดียวกับแมงมุม แต่มีขนาดเล็กมาก ตัวผู้มีความยาว 0.15 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 0.2 มิลลิเมตร มักอาศัยอยู่บริเวณเส้นใบ เมื่อตรวจดูใบยางที่ถูกไรเข้าทำลายด้วยแว่นขยาย จะเห็นตัวไรมีสีเหลืองใส พบไข่และคราบตัวอ่อนอยู่ทั่วไป ไรในระยะที่เป็นตัวอ่อนจะมีขาเพียง 3 คู่ พอถึงระยะตัวแก่จะมีขา 4 คู่ วงจรชีวิตจากตัวอ่อนไปเป็นตัวแก่จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน ตัวแก่จะมีชีวิตประมาณหนึ่งสัปดาห์ก็เริ่มวางไข่บนใบยาง ซึ่งจะเข้าทำลายต้นยางโดยดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ มีสีซีด ใบแคระแกร็นบิดเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น และร่วงหล่นในที่สุด ตัวไรมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่สามารถสังเกตได้จากลักษณะของใบยางที่ผิดรูปร่าง เนื่องจากการเข้าทำลายและจะระบาดมากในแปลงขยายพันธุ์ ช่วงอากาศแห้งแล้งโดยเฉพาะช่วงยางผลิใบใหม่ วิธีการควบคุมป้องกันกำจัด 1.ปกติไรพืชจะชอบอาศัยอยู่ในที่มีอากาศแห้งมากกว่าที่ชื้น ดังนั้นจะค่อยๆ หมดไปตามธรรมชาติเมื่อเข้าช่วงฤดูฝน 2.ให้ฉีดพ่นด้วยสารสกัดสะเดา(มาร์โก้ซีด)อัตรา 200 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร (เนื่องจากสารสกัดสะเดาจะช่วยยับยั้งการดูดกินหรือเข้าทำลาย ทำให้ตัวอ่อนลอกคราบไม่ได้แล้วตายในที่สุด ส่วนตัวเต็มวัยที่ได้รับสารชนิดดังกล่าวจะยับยั้งการสร้างไข่ )ร่วมกับสารสกัดจากกระเทียม+พริกไทย(ไพเรี่ยม)200 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ทั้งบนใบใต้ใบอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ ทุกๆ 15-20 วันครั้ง (กรณีระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ) 3.ให้ฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ อัตรา 500 กรัม (ซอง)+ไทเกอร์เฮิร์ป อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร โดยเว้นช่วงห่างกันประมาณ 3-4 วันครั้ง กระทำซ้ำเช่นเดียวกัน 2-3 ครั้งโดยให้ห่างกันประมาณ 7 – 10 วันครั้ง จนกระทั้งอาการระบาดลดลงสู่ภาวะปกติ แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนช่วงระยะการฉีดพ่นจาก 7–10วันครั้งเป็น 15 – 20 วันครั้ง หรือตามเหมาะสมเพื่อควบคุมการระบาดของแมลงชนิดนี้ สำหรับในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมนหรือปุ๋ยทุกครั้ง ควรมีการปรับสภาพน้ำด้วย ซิลิซิค แอซิค อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรร่วมกับสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) ทุกครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น)เกษตรกรท่านใดสนใจ สงสัยสามารถสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)โทร.02-9861680-2,หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

ไม่มีความคิดเห็น: