วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ป้องกันควบคุมกินูนหลวงแมลงทำลายพืชผักแบบง่ายปลอดภัยต่อผู้บริโภค

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เถ้าแก่สวนยางพาราเก่าใหม่ทุกท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้อุปการคุณรวมถึงโอกาสในการเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่านวันนี้ ผู้เขียนได้คัดกรองและพิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อเกษตรกรทั่วทุกภาคที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับแมลงนูนหลวงเข้าทำลายผลิตภัณฑ์เกษตรลองนำมาปฏิบัติดู รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่มีความสนใจต้องการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช สำหรับแมลงนูนหลวง ( Sugar white Grub ) หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนามแมลงกินูน Lepidiota stigma Fabricius เป็นอีกหนึ่งแมลงศัตรูพืชในหลายๆชนิด ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะทำลายกัดกินบริเวณ รากใบพืช ทำให้ต้นเหี่ยวแห้งตาย เนื่องจากรากถูกกัดขาด พื้นที่ที่พบการระบาดส่วนมากจะเป็นดินทรายซึ่งจะระบาดในที่ดอนมากกว่าในที่ลุ่ม ไข่ของแมลงชนิดนี้กว้างประมาณ 4 ม.ม. ไข่ฟักตัว 15 - 28 วัน จากนั้นไข่จะพัฒนาเป็นตัวหนอนและมีการลอกคราบ 3 ครั้ง หนอนโตเต็มที่มีขนาดกว้าง 20 - 25 ม.ม. ยาว 65 - 70 ม.ม. ส่วนกะโหลกกว้าง 10 ม.ม. หนอนจะมีอายุ 8 - 9 เดือน จากนั้นจะเป็นดักแด้ประมาณ 2 เดือน แต่ก่อนที่หนอนเข้าดักแด้นั้นจะมุดตัวลงในดินลึก 30 - 60 ซม.ส่วนตัวเต็มวัยจะเป็นแมลงปีกแข็ง ขนาด 15 - 20 ม.ม. ยาว 32 - 40 ม.ม. ส่วนท้ายของปีกมีจุดสีขาวด้านละจุด ตัวผู้มีสีน้ำตาลดำตลอดลำตัว ส่วนตัวเมียมีสีน้ำตาลปนเทาสีอ่อนกว่าตัวผู้ ตัวเต็มวัยเมื่อออกจากดักแด้ตอนพลบค่ำจะบินวนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยตัวเมียจะใช้ขาเกาะกิ่งไม้ ส่วนตัวผู้ขณะผสมพันธุ์จะห้อยหัวลงทิ้งดิ่งประมาณ 15-30 นาทีแล้วแยกจากกัน ต่อจากนั้นประมาณ 14 - 25 วัน ตัวเมียจึงเริ่มวางไข่ในดินลึกประมาณ 15 ซม. ติดต่อกัน 5 - 6 วัน ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 15 - 28 ฟอง วิธีป้องกันควบคุมแมลงนูนหลวง ควรใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกันจะผลดีที่สุด 1. ก่อนปลูกพืชรุ่นใหม่ควรไถพรวนหลายๆ ครั้ง เพื่อให้นกช่วยทำลายไข่ หนอน ดักแด้ 2. จับตัวเต็มวัยมาประกอบเป็นอาหาร ประหยัดและได้ผลมากที่สุด เนื่องจากแมลงนูนออกเป็นตัวเต็มวัยปีละครั้งในช่วงฝนแรก ประมาณเดือนเมษายน - มิถุนายน การจับตัวเต็มวัยที่เพิ่งออกจากดักแด้ไม่ควรเกิน 10 วันแรกของการเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นช่วงที่ผสมพันธุ์แล้วแต่ยังไม่วางไข่ * สำหรับวิธีจับให้ใช้ไม้ตีตามกิ่ง หรือเขย่าให้ตกลงมาขณะที่กำลังผสมพันธุ์ ใช้เวลาจับประมาณวันละ 30 นาที โดยเริ่มจากเวลา 18.30-19.00 น. และจับต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 เดือน จะช่วยลดการระบาดของแมลงนูนในปีถัดไป 3. ให้ใช้สมุนไพรที่มีรสขม อย่างเช่น สะเดา ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ฉีดพ่นเพื่อช่วยยับยั้งการเข้าทำลายของแมลงดังกล่าว สำหรับในการแนะนำให้ฉีดพ่นด้วยผงสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปที่มีส่วนประกอบของฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน กานพลู ตะไคร้หอม หัวไพล ซึ่งจะช่วยป้องกันยับยั้งการเข้าทำลายของแมลง ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ในอัตรา 250 กรัมต่อ 500 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ตามลำดับ ** ในการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ปุ๋ย ทุกครั้งแนะนำให้ผสมน้ำยาจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) และปรับสภาพน้ำด้วยซิลิซิค แอซิค ทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือดูดซับสะสารได้ดียิ่งขึ้น สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือwww.ekbiotechagro.blogspot.com ( ศูนย์บริการคลินิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

ไม่มีความคิดเห็น: