วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

หยุดวงจร ! แพร่ระบาดของแมลง หนอน ศัตรูในนาข้าว

สวัสดีครับ ... แฟนคลับชมรมเกษตรปลอดสารพิษทั้งเก่า –ใหม่ทุกๆ ท่านที่ให้ความไว้วางใจสนับสนุนงานวิชาการ สินค้าปลอดสารพิษเสมอมา ผู้เขียนและทีมงานชมรมฯรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายให้ความอุปการคุณ รวมถึงโอกาสในการนำเสนองานวิชาการ สินค้าคุณภาพในลำดับต่อไป สำหรับบทความวิชาการที่จะนำมาเสนอต่อท่าน วันนี้ผู้เขียนได้พิจารณาคัดกรองแล้วว่ามีความเหมาะสมต่อชาวนาที่กำลังประสบปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด รวมถึงนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐเอกชนทุกท่านทุกองค์กรที่ให้ความสนใจ ที่ต้องการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีปราบแมลงศัตรูข้าว ปกติแล้วในนาข้าวจะมีศัตรูธรรมชาติจำพวกแมลง แมงมุม โรคแมลงต่างๆ คอยจัดการควบคุมทำลายแมลงศัตรูข้าว ให้จำนวนประชากรแมลงศัตรูอยู่ในระดับสมดุล ไม่ทำลายข้าวให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะนาข้าวที่ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคแมลง จะทำให้แมลงดังกล่าวสามารถเจริญพันธุ์ต่อไปได้ หากปราศจากแมลงเหล่านี้แล้ว แมลงศัตรูข้าวก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำความเสียหายให้แก่ข้าวในนาได้อย่างมาก สำหรับแมลงศัตรูข้าวที่พบเจอในแปลงนาเกษตรกรทั่วไป ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว บั่ว หนอนกอแถบลาย หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลายสีม่วง หนอนกระทู้กล้า หนอนห่อใบข้าว แมลงสิง เป็นต้น แนวทางควบคุมป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูในนาข้าว 1.ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคแมลง 2.การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลงกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค แมลงศัตรู การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสมดุลของธาตุอาหาร การจัดการน้ำเพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี สมบูรณ์แข็งแรง 3.จัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค แมลงศัตรู อย่างเช่น การกำจัดวัชพืช เศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาวหว่าน 4.รักษาสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน ศัตรูธรรมชาติเพื่อช่วยควบคุมปริมาณแมลงศัตรู 5.ใช้จุลินทรีย์ร่วมกับสมุนไพรป้องกันกำจัดควบคุมวงจรการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูข้าว โดยเฉพาะสภาวะปัจจุบันพบว่ามีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและพื้นที่ใกล้เคียงนำความเสียหายมาสู่เกษตรกรเป็นอย่างมาก และเพลี้ยชนิดดังกล่าวทำให้เกิดอาการฮอพเพอร์เบิร์น( Hopper burn) นั้นคือ อาการข้าวเหลืองคล้ายน้ำร้อนลวก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดมากับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ชาวนามักเรียกว่า “ไอ้จู๋” เขียวเตี้ย ออกรวงไม่พ้นใบ เมล็ดข้าวลีบไม่มีแป้งและแห้งตายไปในที่สุด สำหรับการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นแนะนำให้เกษตรกรใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ซึ่งภายในประกอบด้วยเชื้อราบิวเวอร์เรียและเชื้อราเมธาไรเซียม ตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยให้ใช้ในอัตรา 500 กรัม ผสมร่วมกับสารสกัดสะเดา (มาร์โก้ซีด) ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการกัดกินทำลายของหนอน แมลง โดยให้ใช้ในอัตรา 200 ซีซี.ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตร ทุกๆ 3 - 5 วัน/ครั้ง (รุนแรง) หากควบคุมการระบาดนั้นให้เว้นระยะห่าง 20 วัน/ครั้ง หรืออาจฉีดพ่นสลับกับสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ปเพื่อขับไล่แมลง ในอัตรา 100 กรัม/น้ำ 200 ลิตร (ผสมรวมกันก็ได้) นอกจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแล้ว จุลินทรีย์ทริปโตฝาจสามารถป้องกันกำจัดและควบคุมวงจรแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ อย่างเช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกอข้าว หนอนกระทู้กล้า หนอนปลอก หนอนกระทู้คอรวง หนอนม้วนใบข้าว แมลงสิง บั่ว แมลงหล่า แมลงดำหนาม ได้อีกด้วย ส่วนเกษตรกรท่านใดสนใจต้องการสอบถามหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 , www.ekbiotechagro.blogspot.com ( ศูนย์บริการคลีนิกเกษตร) หรือคุณเอกรินทร์(วัชนะ) ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)โทร.081-3983128 หรือติชมผ่าน Email : thaigreenagro@gmail.com , ekkarin191@gmail.com สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณครูบาร์อาจารย์ที่ประสิทธ์ประสานวิชาและขาดมิได้ชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่คอยสนับสนุ่นอยู่เบื้องหลังตลอดมา

ไม่มีความคิดเห็น: