วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไตรโคเดอร์ม่ารักษาโรครารากขาวในยางพารา

เชื้อไตรโคเดอร์ม่า หรือราเขียวอาจจะเป็นศัตรูโรคร้ายแรงในกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ดเนื่องจากเชื้อดังกล่าวจะชอบกินหรือเข้าขัดขวางการพัฒนาการของเห็ดรา แต่สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพารา ทุเรียน กลุ่มไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือพืชผักที่มีปัญหารากเน่าโคนเน่า เน่ายุบในผักตระกูลคะน้า เป็นต้น สำหรับในยางพาราจะพบว่าเป็นโรครากเน่าโคนเน่าหรือยืนต้นตายหรือที่เรียกกันว่า “โรครากขาวในยางพารา” จะพบการเข้าทำลายของเชื้อราในระบบรากส่งผลให้น้ำยางหยุดไหล ใบเหลืองร่วงและยืนต้นตายในที่สุด คุณดนัยเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่ายางพาราในแปลงปลูกของตนเองที่อำเภอบ้านนาสารซึ่งเปิดหน้ากรีดมีอาการน้ำยางหยุดไหล ใบเหลืองเริ่มมีอาการร่วง กระทั้งยืนต้นตาย มีการระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้โทรศัพท์ปรึกษานักวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษและได้แนะนำให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าโดยหว่านรอบโคนต้นๆละ100 กรัมหลังฝนตกหรือสภาพดินที่ยังคงมีความชื้นอยู่ หลังจากหว่านเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 4 สัปดาห์ พบว่าอาการระบาดของเชื้อราเริ่มลดลง ต้นยางพาราเริ่มทรงตัว ตายน้อยลง ส่วนอาการใบเหลืองให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 21 – 7 – 18 หรือปุ๋ยเคมีมีสูตร N และ K สูง ต้นละ 1 กก.เพื่อกระตุ้นการสร้างใบใหม่และการไหลของน้ำยาง หากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นควรใช้ภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีและตรวจวัดค่า pH ดินก่อนทำการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ นักวิชาการชมรมฯ (081 – 3983128 )หรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ( 02 – 9861680 – 2 )

ไม่มีความคิดเห็น: