วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใช้ฮอร์โมนไข่ผสมอาหารเร่งการเจริญโตในกุ้ง

การเลี้ยงกุ้งเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ต้นทุนรายรับรายจ่ายต้องมีความสัมพันธ์กัน กล่าวง่ายๆ ว่า เมื่อลงทุนเลี้ยงกุ้ง 1 บ่อต้องมีกำไร จะมากหรือน้อยอยู่ที่การเอาใจใส่เลี้ยงดู เกษตรกรต้องพึงเข้าใจว่าเราไม่สามารถควบคุมราคาภาคตลาดได้แต่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้โดยเฉพาะอาหารกุ้ง แรงงาน ค่าจ้างค่าจัดการต่างๆรวมถึงช่วยลดอัตราการตายหรือเป็นโรคในกุ้งให้มีปริมาณน้อยลงอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ อาทิ การนำฮอร์โมนไข่มาผสมอาหารเร่งการเจริญเติบโตในกุ้งช่วยลดต้นทุน ช่วยให้กุ้งโตไว ไม่ตกไซด์ได้ขนาดตามความต้องการของตลาด ที่สำคัญกุ้งแข็งแรงไม่เป็นโรค ซึ่งได้มีโอกาสแนะนำวิชาการดังกล่าวให้กับ คุณวิโรจน์ เอ่งฉ้วน เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดกระบี่ ลองทดสอบในแปลงนากุ้งของตนเอง โดยให้ทำการหมักฮอร์โมนไข่ขึ้นมาใช้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการหมักก็ไม่ยาก วัสดุประกอบด้วย 1. ไข่ไก่เบอร์ 0 (ทั้งเปลือก) 5 กก. (80-100 ฟอง) 2. กากน้ำตาล 5 ลิตร 3. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก 4. ยาคูลย์ 1 ขวด 5. ไคโตซาน MT 10 ลิตร วิธีการทำ 1. ให้นำไข่ไก่มาล้างให้สะอาดปั่นทั้งเปลือกด้วยเครื่องปั่นหรือกรณีไม่เครื่องปั่นให้ใช้วิธีนำไข่ใส่ถังหมักแล้วคนไข่ในทิศทางเดียวกันจนไข่และเปลือกไข่แตกละเอียดหมดทุกฟอง 2. นำไข่ไก่ที่ปั่นละเอียดผสมกับกากน้ำตาลแล้วคนจนเข้ากันโดยคนในทิศทางเดียวกัน 3. บี้ลูกแป้งข้าวหมากให้ละเอียดก่อนหว่านลงพร้อมทั้งยาคูลย์และไคโตซาน MT คนให้เข้ากันในทิศทางเดียวกัน ปิดฝาป้องกันแมลงวันแล้วหมักทิ้งไว้ 7 วันหมักเสร็จจะได้ปริมาณ 15 ลิตร (ต้นทุนการหมักประมาณ 2,000 บาท) นำมาผสมกับอาหารกุ้งอัตรา 135 ซีซี ( 1 ถ้วยกาแฟ)ต่ออาหาร 10 กก. ในการหมัก 1 ชุดสามารถผสมอาหารให้กุ้งได้ ประมาณ 1,000 กก. โดยผสมทุกครั้งที่มีการให้อาหาร ผลจากการติดต่อสอบถามเก็บข้อมูลจาก คุณวิโรจน์ พบว่ากุ้งมีพัฒนาการดีขึ้น โตเร็ว ได้ขนาด แข็งแรง ขี้ยาวและใหญ่ขึ้น ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่ากุ้งมีสุขภาพดีขึ้น กินอาหารได้เยอะ อีกทั้งอัตราการตายเนื่องจากโรคลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด หากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ให้ใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกับการใช้จุลินทรีย์บาซิลลัส MT สำหรับย่อยเศษซากอาหารหรือขี้กุ้งไม่ให้เป็นพิษภายหลังนอกจากนี้ให้ใช้สเม็คไทค์ในการดูดซับแอมโมเนียหรือแก๊สที่เกิดจากการหมักหมมหรืออาจจะเกิดจากขบวนการย่อยของจุลินทรีย์ในบ่อกุ้ง สำหรับเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ คุณวิโรจน์ เอ่งฉ้วนหรือนักวิชาการชมรมฯ ( 081 – 3983128 ) หรือที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680 – 2 ได้ทุกวันทำการ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.00 น.

ไม่มีความคิดเห็น: