วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พูมิชซัลเฟอร์ปรับปรุงดิน ช่วยกระตุ้นน้ำยางให้ไหลเยอะ (ตอนที่ 1)


ยางพาราพืชเศรษฐกิจ 1ใน 5 ที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันราคายางอาจผันผวนลดลงไปบ้าง จากปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาหรืออะไรก็แล้วแต่ ก่อให้เกิดวิกฤตการเมือง บ้างก็รวมกลุ่มม็อบประท้วงขอปรับราคาขึ้น เรียกร้องโน้นเรียกร้องนี้เพื่อความอยู่รอดของกลุ่ม พอวันเวลาผ่านไปนานเข้าๆ  จากที่เคยเรียกร้องเพื่อกลุ่มก็หันมาเรียกร้องเพื่อตนเอง วิเคราะห์กันจริงๆแล้ว ราคายางในปัจจุบันก็พออยู่ได้ ถ้าทุกคนปลูกเองกรีดเองไม่ฮ้อแรงงานมากนัก ค่าใช้จ่ายก็ลดลง พอเพียง พออยู่ พอกิน ปุ๋ยราคาแพงก็ใช้ลดลงตามความเหมาะสม ตามความต้องการของพืช ไม่ใช่ว่า มีเยอะใส่เยอะมีน้อยไม่ใส่เลย อย่างนี้ไม่ดีไม่สมควรทำ พืชก็เหมือนคนจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ก็ย่อมต้องอาศัยอาหารหรือปุ๋ย

ลดต้นทุนการโดยใช้พูมิชซัลเฟอร์ผสมร่วมกับปุ๋ยให้ละลายช้าลงก็อีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากพูมิชซัลเฟอร์ผลิตจากหินภูเขาไฟที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าเป็นลบ สามารถจับตรึงปุ๋ยที่มีค่าประจุเป็นบวก (1) ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินที่ไม่มีในปุ๋ยเคมี (2) ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือไม่ต้องซื้อปุ๋ยสูตรที่มีราคาแพง (3) สร้างจุลินทรีย์ในดินไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักโดยไม่ทำให้ดินเสียหรือดินตาย (4) ลดการสูญเสียปุ๋ยเคมีจำพวกแอมโมเนีย (ไนโตรเจน)ไปโดยเปล่าประโยชน์ ใช้ก็ง่ายเพียงแค่นำพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม มาผสมร่วมกับแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยสูตร 50 กิโลกรัม (2 : 5) แต่หากเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ให้ใช้พูมิซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม (1 : 5) หว่านรอบทรงพุ่มหรือร่องอกตามปริมาณที่เคยใส่ คือเคยใส่อยู่ 1 กิโลกรัมต่อต้นก็คงใส่ 1 กิโลกรัมต่อต้นเหมือนเดิม และนอกจากนี้พูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ปรับpH ของดินปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดี  เพิ่มธาตุรองธาตุเสริมไม่ต้องหาซื้อมาเติมภายหลัง มีซิลิก้า ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งลดการทำลายของโรคแมลงศัตรูพืช

Pumice_Sulpher02.jpg
เมื่อเอ่ยถึงลดต้นทุนการผลิตแล้วถ้าไม่เกริ่นถึงการเพิ่มผลผลิตสักนิดก็กะไรอยู่ ปัจจัย 2 อย่างนี้ต้องมาคู่กัน เนื่องจากเกษตรกรชอบตั้งคำถามให้กับตัวเองเสมอๆว่า เมื่อลดปริมาณปุ๋ยลงโดยใช้สารปรับปรุงดินเข้าไปแทนที่ แล้วน้ำยางที่ได้จะยังคงเท่าเดิมหรือ? ขอยืนยันว่าเท่าเดิมหรือมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่าพูมิชซัลเฟอร์เป็นสารปรับปรุงดินที่ผลิตจากหินภูเขาไฟ ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุอย่างซิลิก้าหรือซิลิซิค,แคลเซียม,แมกนีเซียม,ฟอสฟอรัส,กำมะถัน,เหล็ก,สังกะสี ฯลฯ ในปริมาณที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่มากเว้อหรือน้อยเกินไปจนทำให้พืชขาดธาตุอาหาร เรื่องที่ว่าธาตุตัวไหนทำหน้าที่อะไรจะมาอธิบายให้ทราบในตอนที่ 2 นะครับ เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือหาซื้อมาทดลองได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ WWW.Thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14486&Param2=4

ไม่มีความคิดเห็น: