วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

ป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเซียริดหรือแมลงหวี่ปีกดำศัตรูเห็ด

หนอนแมลงวันเซียริดหรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ ส่วนหัวจะมีจุดสีดำเล็กๆ เห็นได้ชัดเจน มีลำตัวสีขาวอมส้มอ่อนๆ ยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว กินจุ ประมาณ 10 วันก็เริ่มเข้าดักแด้ ช่วงแรกๆ จะเป็นสีขาวแล้วค่อยๆ เข้มจนเป็นสีดำ ก่อนจะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยที่มีลักษณะมีสีดำโดยเฉพาะที่ปีก ลำตัวมีขนาด 2-3 มิลลิเมตร ช่วงท้องแคบ ตัวเต็มวัยจะไม่ทำลายกัดกินเห็ดแต่อย่างใด วงจรชีวิตตั้งแต่วางไข่จนพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 25-30วัน ผ่านมาพบระบาดนำความเสียหายมาสู่ประเทศไทยประมาณ 30%โดยพบในเห็ดหูหนูที่เพาะด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ อ.แกลง จ.ระยอง ทำให้ดอกเห็ดเสียหาย คุณภาพลดลงและราคาก็ลดต่ำลงจากเดิมกว่า 70% และต่อมาพบในเห็ดแชมปิญองที่จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ เสียหายทำให้ผลผลิตลดลง 26-40% การเข้าทำลายส่วนใหญ่ มักพบในเห็ดหูหนู เห็ดแชมปิญอง เห็ดนางรม และเห็ดที่เพาะในถุงพลาสติกโดยทั่วไป ซึ่งจะพบหนอนแมลงวันดังกล่าวนี้ระบาดเกือบตลอดปีโดยเฉพาะเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ในระยะเห็ดออกดอกก็จะพบเห็นตัวเต็มวัยประมาณ 5-10 % บินวนไป-มาอยู่เสมอๆ อีกประมาณ 70 % กำลังฟักออกจากดักแด้ในช่วงเช้าของทุกวัน จากนั้นจะเกาะตามผนังและมุมอับของโรงเรือน การควบคุมป้องกันกำจัดต้องคอยหมั่นดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเห็ดที่เพาะอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการป้องกันมากกว่าการกำจัด ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการแมลงวันดังกล่าวดังต่อไปนี้ 1.ทำความสะอาดโรงเรือนเพาะเห็ดหรือหากเป็นโรงเรือนเก่าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรว่างเว้น พักทำความสะอาด กำจัดแมลง ไรและเชื้อรา 2.คัดเลือกเชื้อพันธุ์เห็ดหรือก้อนเชื้อเห็ดจากแหล่งผลิตที่ไม่มีประวัติการระบาดทำลายของแมลงวันศัตรูเห็ดมาก่อน หากไม่ทราบแหล่งที่มาของถุงก้อนเชื้อเห็ด ในขณะที่เส้นใยเห็ดเดินมากกว่า 25 % หรือก่อนเปิดดอกควรฉีดพ่น ด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์บ ซึ่งมีขมิ้นชัน,ฟ้าทะลายโจร,ตะไคร้หอมเป็นส่วนผสม ในอัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ตรงก้อนและบริเวณรอบๆ ที่บ่มก้อนเชื้อ 3.ก่อนนำเข้าเปิดดอกในโรงเรือนควรคัดทิ้งถุงก้อนเชื้อเห็ดที่แสดงอาการเข้าทำลายของแมลง โรค เชื้อราและไร หรือหากไม่แน่ใจควรแยกกองไว้ต่างหาก 4.ติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองจำนวน 8-10 จุดต่อโรงเรือน แขวนสูงจากพื้นโรงเรือน 1.50-1.80 เมตร ซึ่งไม่ขวางหรือเกะกะการเข้าปฏิบัติงานและควรเปลี่ยนกับดักกาวเหนียว เมื่อพบว่ามีตัวแมลงมาติดจนเต็มหรือประมาณ 45-60 วันครั้ง 5.ช่วงเปิดดอกหากพบมีการระบาดของหนอนรุนแรงให้ใช้เชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส หมักขยายเชื้อด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน (วิธีตามฉลากข้างกระป๋อง) นาน 24-48ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นทั่วทั้งก้อนแต่ไม่แฉะเกินไป 1-2 วันครั้ง ติดต่อกัน 3ครั้ง จะช่วยลดปัญหาได้ถึง 80 -90 % ลดความเสียหายของผลผลิตได้เป็นอย่างดี 6.ช่วงเก็บดอกหากพบแมลงวันบินไป-มามากผิดปกติ ให้ฉีดพ่นด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์บรอบๆ โรงเรียนเว้นระยะประมาณ 4-5 วันครั้ง และเพิ่มจำนวนกับดักกาวเหนียวเหลืองเป็น 16-20 จุดต่อโรงเรือน และควรแขวนไว้ใกล้ๆ มุมอับ เนื่องจากตัวเต็มวัยของแมลงวันชอบเกาะอยู่ที่มุมอับของโรงเรือน 7.เมื่อสิ้นสุดการเก็บดอกเห็ดแล้ว ถุงก้อนเชื้อเห็ดที่พบการทำลายของหนอนแมลงวันควรทำการฝังหรือเผาทิ้ง เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง เชื้อโรคและไรศัตรูเห็ด ไมให้แพร่กระจายเข้าสู่โรงเรือนเพาะเห็ดข้างเคียงต่อไป 8.การพักโรงเรือนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นในระหว่างพักโรงเรือน เปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 5-7 วัน จากนั้นทำความสะอาดด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์ อัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร หรือผงซักฟอก เมื่อแห้งแล้วจึงปิดโรงเรือน 7-10 วัน แล้วฉีดพ่นด้วยสมุนไพรรวมไทเกอร์เฮิร์ปร่วมกับบาซิลลัส –พลายแก้ว (กำจัดรา)และบาซิลลัส-ไมโตฟากัส (กำจัดไรเห็ด) ให้ทั่วทั้งโรงเรือน 3-5 วันครั้ง ติดต่อกัน 2 ครั้ง ก่อนจะนำก้อนเชื้อเห็ดรุ่นใหม่เข้าเปิดดอกต่อไป พี่น้องเกษตรกรท่านใดที่กำลังเพาะเห็ดอยู่ แล้วมีปัญหาแมลงวันหรือแมลงหวี่รบกวน แก้ปัญหาไม่ตก สามารถโทรศัพท์ปรึกษาได้ที่คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (081-3983128)

ไม่มีความคิดเห็น: