วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรด-ด่างในดิน แม่กุญแจที่ล็อคปุ๋ยจนไร้ค่า

ความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากสภาพกรด-ด่างของดินเกี่ยวข้องโดยตรงกับธาตุอาหารในดินที่พืชจะได้ รับและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ความเป็นกรด-เป็นด่างของดินบอกได้เป็นพีเอช แบ่งระดับตัวเลขได้ตั้งแต่ 1-14 ตามกรด-ด่างของดิน โดยถือว่าสภาพดินที่มีค่าพีเอช 7 เป็นกลาง แต่ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือธาตุอาหารในดินสามารถปลดปล่อย ได้ดี ครบถ้วนที่สุดต้องมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 หรือกรดอ่อนๆ
ดิน ที่พีเอชต่ำกว่า 7.0 ถือว่าเป็นกรดหรือดินเปรี้ยว ยิ่งต่ำมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นกรดรุนแรงมากเท่านั้น ซึ่งดินที่เป็นกรดมากๆ จะมีธาตุอาหารบางธาตุ อย่าง แคลเซียม แมกนีเซียม ค่อนข้างต่ำ ส่วนดินที่มีค่าพีเอชสูงกว่า 7.0 ถือว่าเป็นด่างหรือดินเค็ม ทำนองเดียวกันยิ่งสูงมากก็ยิ่งด่างมาก บางครั้งดินที่มีพีเอชสูงกว่า 8.5 มักขาดแคลเซียมหรือมีก็มีน้อย เนื่องจากโซเดียม(เกลือ)ในดินมีมากเกินไปทำให้พืชขาดแคลเซียม แมกนีเซียมในเวลาเดียวกัน โดยปกติในดินจะมีแคลเซียม แมกนีเซียมในปริมาณพอๆกัน ซึ่งสามารถเกิดได้ในดินมีพีเอชต่ำกว่า 5.5 ได้เช่นเดียวกัน

พืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่มีความเป็นกรด-ด่างมากๆ แต่ใช่ว่าจะมีความเหมาะสม ต้องทนต่อการขาดธาตุ เนื่องจากไม่สามารถปลดปล่อยออกจากดินได้ ไม่ต่างจากคนป่วยที่รอยา เริ่มอ่อนแอ เริ่มเป็นโรค มากเข้าๆ ที่สุดก็ยืนต้นตาย อย่างไรก็ตามความเหมาะสมของกรด-ด่างในดิน ที่สามารถปลดปล่อยหรือปลดล็อคธาตุอาหารให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกตัวโดย ที่ไม่ขาด สภาพดินต้องเป็นกรดอ่อนๆ พีเอชอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 ดังที่เกริ่นไว้ข้างต้น ธาตุอาหารที่เคยมีประโยชน์ต่อพืชบางครั้งก็มีโทษได้เช่นกัน หากปล่อยให้พีเอชในดินสูง-ต่ำมากเกินไป มีปัญหาดินกรด ดินด่าง พืชไม่กินปุ๋ย พูดคุยปรึกษาได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13487&Param2=17
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com 

ไม่มีความคิดเห็น: