วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชาวนาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้หนี้ เพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด

ชีวิตชาวนาไทยยุคปัจจุบันไม่ต่างจากทาส ทำทุกอย่างเพื่ออยู่รอดแม้เป็นหนี้เป็นสิน บางคนกู้เงินมาหวังฟื้นตัว เจอแมลงโรคระบาดมากๆเข้า ซื้อยาฉีดป้องกันหนักๆเข้า เงินจมขาดทุนมากกว่าเก่า หาแหล่งเงินทุนใหม่กู้เพิ่มปิดหนี้เก่า แล้วอีกเมื่อไรจะเป็นไท ประเทศไทยประกาศเลิกทาสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำไมปัจจุบันจึงยังมีทาสหลงเหลืออยู่ หรือเป็นเพราะฟุ้งเฟ้อไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณตน ว่าตัวเองเป็นใคร อาชีพอะไร ทำเพื่อใครอยู่ ที่สำคัญทำอย่างไรจึงมีกินมีใช้ ไม่เป็นหนี้ทาสระบบปุ๋ยยา
สมัยก่อน ปู่ย่าตายายทำนาไม่เคยใช้หรือรู้จักปุ๋ยยาทำไมยังได้ผลผลิต มีแค่ขี้วัวขี้ควายไม่กี่ก้อนที่ใส่ลงไปตอนไถคราด ต้นข้าวงามแตกกอดี โรคแมลงก็ไม่ระบาด ทุกวันนี้เราเห็นแก่ตัวมากขึ้นทำลายทุกอย่างเพื่อหวังให้ได้มาแค่ผลผลิต ไม่คิดว่าธรรมชาติจะอยู่อย่างไร เมื่อระบบนิเวศน์ถูกทำลายก็ไม่ต่างจากคนขาเป๋ จะเดินเหินก็ลำบาก ชาวนาส่วนใหญ่มักคิดแค่ว่าหากต้องการผลผลิตข้าวเยอะๆ ต้องใส่ปุ๋ยเยอะๆ และเมื่อไหร่ใส่ปุ๋ยเยอะๆ ก็ต้องฉีดพ่นยาเยอะๆเป็นธรรมดา เพราะต้นข้าวอ่อนแอเป็นโรคแมลงศัตรูทำลายได้ง่าย แมลงศัตรูธรรมชาติในนา อย่างแมงมุม แมลงปอ ฯลฯ ไม่ต้องคุยฉีดพ่นยาตายหมดแล้ว

ปุ๋ยยาเคมีใช้บ่อยๆ เพิ่มปริมาณมากๆ เข้าทำให้ดินเสีย ดินเค็ม ข้าวไม่กินปุ๋ย เมื่อต้นข้าวกินอาหารทางรากไม่ได้ก็ฉีดพ่นให้ทางใบแทน คนเรานี้ก็แปลกชอบปัญหาที่ปลายเหตุ เมื่อดินไม่ดี ดินเสียดินเสื่อมก็ควรแก้ที่ดิน ไม่ใช่ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบแก้ปัญหาให้ผ่านไปวันๆ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องแก้อย่างนี้ไปเรื่อยๆไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อดินไม่ดีก็ควรปรับสภาพดินบ้าง อย่างน้อยปีละครั้งก็ยังดี ซึ่งอาจจะช่วยลดปุ๋ยลดยาลงได้บ้างไม่มากก็น้อยตามสภาพของดินในพื้นที่นั้นๆ การนำหินภูเขาไฟมาปรับดินให้ดี ลดความเค็ม ทำให้ดินไม่รัดตัว น้ำอากาศไหลผ่านสะดวก ที่สำคัญช่วยตรึงปุ๋ยไนโตรเจนให้ละลายช้าลง มีซิลิก้าทำให้ต้นข้าวแข็งล้มยาก ไม่ค่อยเป็นโรค แมลงกัดกินก็ลำบากขึ้นไม่หมูอีกต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารปรับปรุงดินเพื่อไขปัญหาให้ถูกจุดตรง ประเด็น ได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-3983128 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13510&Param2=14
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: