วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การป้องกันกำจัดหนอนชอนใบในมะนาว



สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาวชมรมเกษตรปลอดสารพิษทุกๆท่านครับ วันนี้จะมาพูดถึงหนอนชอนใบที่นับได้ว่าเป็นศัตรูพืชของมะนาวที่ร้ายกาจมาก  เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ความกว้างขณะกางปีกออก เพียง 0.8 มิลลิเมตร เท่านั้น เพศเมียตัวเต็มวัยหลังผสมพันธุ์แล้ว บินมาวางไข่ที่ผิวใบอ่อนของมะนาว ที่มีอายุ 1-7 วัน ไข่มีขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุด หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น รูปร่างกลมรี สีเหลืองใส ไข่ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน แล้วเจาะเข้าไปชอนไชภายในใบอ่อนมะนาวเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์อ่อนของใบระยะเป็นตัวหนอน 7-10 วัน จากนั้นจะเข้าดักแด้เป็นเวลา 5-10 วัน อยู่ในใบมะนาว ก่อนฟักออกเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัย ลักษณะการทำลาย มองเห็นเป็นทางสีขาว คดเคี้ยวไปมาตามทางที่ตัวหนอนเคลื่อนผ่าน ต่อมาใบจะหงิกงอ การระบาดรุนแรง ใบและต้นมะนาวแคระแกร็น การระบาดเกิดขึ้นได้ตลอดปี แต่มักระบาดรุนแรงระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายน นอกจากหนอนชอนใบเข้าทำลายมะนาวแล้ว ยังสามารถเข้าทำลายได้ทั้งส้มโอ ส้มเขียวหวาน และมะกรูด ประการสำคัญ หนอนชอนใบยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการระบาดของโรคแคงเกอร์อีกด้วย

แนวทาง การป้องกันอันดับแรกคือใช้สารปรับปรุงบำรุงดินพูมิช-ซัลเฟอร์หว่านให้ทั่ว ทรงพุ่มเพื่อทำให้เซลล์ของใบมะนาวแข็งแกร่งต้านทานการเข้าทำลาย อีกประการหนึ่งคือเมื่อการทำให้มะนาวมีใบอ่อนนั้นจะต้องฉีดยากำจัดหนอนทุกๆ อย่างเช่นทริปโตฝาจหรือบีทีชีวภาพทุกๆ 3 วันครั้งในช่วงที่มะนาวยังเป็นใบอ่อนและจะต้องผสมกับสารสกัดสมุนไพรไล่แมลง เช่นแพล้นท์เซฟMT จะทำให้ระยะการเข้าทำลายของหนอนไม่สามารถทำลายได้ในระยะใบอ่อนนั่นเองครับ แล้วโดยปรกติถ้ามะนาวใบอ่อนนั้นผ่านช่วงไปยังช่วงใบแก่การระบาดหรือการเข้าทำลายของหนอนนั้นก็จะแทบไม่มีเลย

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
สอบถามเพิ่มเติมที่ 02-9861680-2 หรือ www.thaigreenagro.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=14231&Param2=4

ไม่มีความคิดเห็น: