วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

หนอนเจาะไส้ดอกมะลิ แก้ได้ไม่ต้องปนเปื้อนสารเคมี

ปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับคนปลูกมะลิมีไม่กี่อย่าง หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นหนอนเจาะไส้ดอกมะลิ ส่งผลให้ดอกมะลิที่ถูกทำลายกลายเป็นสีม่วงไม่โต เหี่ยวแห้งติดต้นเก็บขายไม่ได้ หนอนเจาะไส้ดอกเกิดจากผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ชอบวางไข่บนดอกอ่อนของมะลิ ฟักตัวเป็นหนอนเจาะกินไส้ดอก ทำให้ดอกร่วงหล่น จากนั้นจะทิ้งตัวเข้าดักแด้ตามเศษใบไม้แห้งบนดินบริเวณโคนต้น

พฤติกรรมการฉีดพ่นยา ฮอร์โมน ปุ๋ยของเกษตรกร ส่วนใหญ่ฉีดพ่นเฉพาะซอกใบ ช่อดอกบนต้นเพียงเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ดักแด้ไม่ตายสามารถลอกคราบออกมาเป็นผีเสื้อผสมพันธุ์วางไข่ได้อีก ด้วยความที่ไม่รู้ไม่เข้าใจเกษตรกรก็เลยผสมยาในอัตราที่เข้มข้นหวังจะน็อกให้อยู่หมัด และแล้วก็โดนน็อกเสียเองเนื่องจากยาเคมีราคาแพง จริงๆแล้วการใช้ยาเคมีไปนานๆหรือบ่อยครั้งทำให้สารพิษตกค้างในดินในต้นมะลิที่เราฉีดพ่น รวมถึงคนเก็บดอก คนร้อยพวงมาลัยที่ใจดีรับสารพิษ(ความตาย)ไปโดยที่เขาไม่รู้ตัว จะรู้อีกทีร่างกายเขาเริ่มอ่อนล้าอ่อนแรง
การผลิตดอกมะลิให้ปลอดสารเคมี ปลอดหนอนเจาะไส้ดอกนั้นไม่ยาก อยู่ที่ใจว่าพร้อมหรือเปล่า ถ้าพร้อมเริ่มตั้งแต่การศึกษาขั้นตอนการปลูก การปรับปรุงดินว่าสภาพดินอย่างนี้ควรปรับปรุงอย่างไรจึงเหมาะ ดินเปรี้ยว(กรด)ควรใช้สารตัวไหนปรับ แล้วดินเค็ม(ด่าง)ล่ะใช้ตัวไหนถึงจะดี ชาวสวนสมัยใหม่สมควรรู้ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกทาง แล้วต้นมะลิต้องการธาตุอาหารอะไร เท่าไร ช่วงไหน เก็บดอกได้เมื่อไรเหล่านี้เป็นต้น
ดินเปรี้ยวหรือที่ทางการเรียกว่า “ดินกรด” คือดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.8 ให้ใช้โดโลไมท์หรือปูนมาร์ลหว่านปรับสภาพ แต่ถ้าเมื่อวัดแล้ว pH กลับสูงกว่า 6.3 แสดงว่าดินตรงนั้นเค็มหรือ “ดินด่าง”นั้นเองให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตกระสอบสีแดงหว่านปรับสภาพแทน ส่วนพื้นที่ใดที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.8-6.3 แสดงว่าพื้นที่ของท่านมีเหมาะสมต่อการปลูกพืชมากที่สุด เพราะที่ pH 5.8-6.3 แร่ธาตุในดินสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้ใช้ประโยชน์มากที่สุด โอกาสขาดธาตุโดยเฉพาะธาตุเสริมก็มีน้อยลง
20110613_PUMICE_New02.jpg
เมื่อต้นมะลิได้รับธาตุอาหารเหมาะสม ต้นแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่ค่อยเป็นโรค สามารถให้ผลผลิตเต็มที่ แต่หากต้องการเพิ่มภูมิต้านทานป้องกันโรคแมลงแล้วล่ะก็ เวลาใส่ปุ๋ยครั้งใดให้คลุกผสมด้วยพูมิชในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมหรือหากเป็นปุ๋ยคอกให้ใช้ 100 กิโลกรัม ซิลิก้าที่อยู่ในเนื้อพูมิชสามารถช่วยป้องกันหรือเป็นเกราะป้องกันโรคแมลงได้ แต่หากช่วงไหนมีหนอนเจาะไส้ดอกระบาดให้หมักขยายเชื้อบีทีชีวภาพร่วมกับสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์ป ฉีดพ่น 3 วันหรือ 5 วันครั้งตามเหมาะสมกับโปรแกรมที่ท่านวาง ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 089-4442366 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12831&Param2=5
วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: