วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

ดินจืดเหนียวแน่นแข็ง ปรับดินก่อนเสียบตออ้อย แล้วผลผลิตของท่านจะเปลี่ยน


ผลผลิตอ้อยส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของดิน  ดินที่เหมาะสมต้องร่วนไม่แบ่งเป็นชั้น หน้าดินไม่แพ็คแน่นเป็นดาน พื้นที่ส่วนใหญ่เมื่อปลูกอ้อยไปแล้ว 1-2 รอบ ก็จะระเบิดดินดานด้วยผานสามหรือสี่ก่อนไถ่พรวนอีกรอบ ให้ดินร่วนซุยอ้อยหยั่งรากได้ลึก รากไม่ลอยทำได้หลายตอ อีกทั้งดินยังสามารถซับน้ำซับปุ๋ยได้ดีกว่าเดิม สำหรับเกษตรกรรายย่อยต้นทุนน้อย ไม่สะดวกใช้รถแทรกเตอร์ไถระเบิดดินก็ให้ใช้สารละลายดินดาน ALS 29% แทน

พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ถูกดัดแปลงจากท้องนาซึ่งเป็นดินเหนียวไม่ค่อยระบายน้ำ หากต้องการให้ดินร่วนก็ต้องอาศัยใส่พูมิชซัลเฟอร์อย่างน้อยไร่ละ 20-40 กิโลกรัม ยิ่งใส่ทุกๆปีดินยิ่งร่วนซุยขึ้นเรื่อยๆ ครั้งต่อไปก็ไถง่ายขึ้น ประหยัดค่าน้ำมันได้มาก ดินร่วนขึ้นอ้อยหยั่งรากออกด้านข้างได้ดี และสามารถซึมซับไอน้ำใต้ดินได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยดูดซับน้ำสำรองให้พืชไว้ใช้หลังฝนตกได้นานวันขึ้น ที่สำคัญช่วยจับตรึงไนโตรเจนและโพแทสเซียมให้ละลายช้าลง ลดการชะล้างเวลาฝนตกหรือน้ำขัง ทำให้สามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดินแน่นแข็งกระด้างขาดอินทรียวัตถุให้เติมโพแทสเซียมฮิวเมทร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ  เพราะปุ๋ยอินทรีย์ช่วยให้ปุ๋ยที่ละลายได้น้อยที่มีอยู่ในดินให้ละลายเพิ่มขึ้น ทำให้พืชได้รับประโยชน์มากขึ้น แม้ว่าปุ๋ยอินทรีย์จะมีประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นจริง แต่การให้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว พืชก็ได้รับเปอร์เซ็นต์ปุ๋ยไม่เพียงพอ การใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจึงยังเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่หากต้องการลดต้นทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรใช้พูมิช 20 กิโลกรัมคลุกผสมร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมหรืออินทรีย์ 100 กิโลกรัมเป็นปุ๋ยละลายช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 089-4442366 (เอกรินทร์)

เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: