วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กุ้งอยู่ ข้าวอยู่ พึ่งพาอาศัยกันอย่างแฮปปี้


เลี้ยงกุ้งบางครั้งก็ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน เนื่องจากน้ำทิ้งจากบ่อกุ้งจะมีไนโตรเจนปะปนอยู่มาก จะเห็นชัดเจนมากเวลาปล่อยผ่านนาข้าว ใบข้าวจะเขียวมันดำเพราะได้รับไนโตรเจนมากเกินความสมดุลของฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรองและอาหารเสริมอื่น ทำให้ใบมากใบใหญ่เป็นพิเศษ ที่ชาวนาส่วนใหญ่เรียกว่าข้าวบ้าใบหรือเฝือใบ อ่อนแอเป็นโรคง่ายสังเกตจากแมลงชอบรบกวนและล้มง่าย

แนวทางแก้ปัญหาเริ่มจากการป้องกันไม่ให้น้ำจากบ่อกุ้งผ่านไหลแปลงนาโดยตรง ควรมีบ่อพักเพื่อเปิด-ปิดหรือสูบเข้านาช่วงที่ข้าวต้องการไนโตรเจน แต่หากไม่มีบ่อพักหรือไม่ทันจริงๆ เผลอปล่อยผ่านนาไปแล้ว ให้หว่านพูมิชลงไป 20 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยจับไนโตรเจนไม่ให้ต้นข้าวดูดซับมากเกินไป นอกจากนี้ซิลิก้าที่อยู่ในเนื้อพูมิชยังช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานต่อโรคต่อแมลง ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงให้เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
การป้องกันมิให้เกิดปัญหานี้ซ้ำๆซากๆหรือมีบ้างเล็กๆน้อยๆพอเอาอยู่ ควรเริ่มตั้งแต่ในบ่อกุ้ง ไนโตรเจนที่ได้จากแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ที่เกิดจากกการหมักหมมแล้วเกิดการย่อยสลายเศษอาหารหรือขี้กุ้งบนพื้นบ่อ ปล่อยทิ้งไว้ยิ่งทำให้น้ำเขียว ส่งกลิ่นบูดเน่าเหม็น หากเป็นขั้นนี้แล้วให้หว่านด้วยไคลน็อพติโลไลท์ 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือคลุกกับอาหาร 3 กิโลกรัมต่อ 100 กิโลกรัมให้กุ้งกินแทน จะได้ช่วยจับสารพิษ สารตะกั่ว โลหะหนัก ที่แขวงมากับความชื้นในอาหาร เวลาขับถ่ายก็จะมีไคลน็อพฯจับอยู่ในทุกส่วนของขี้กุ้ง ย่อยสลายเกิดแอมโมเนียช่วงใดก็จะจับตรึงได้ทันที
แอมโมเนียที่เหลือส่วนใหญ่มักอยู่ในเลนก้นบ่อ จะค่อยสลายตัวปลดปล่อยแอมโมเนียออกมาช้าๆ สังเกตได้จากฟองอากาศที่ผุดออกจากผิวดินพื้นบ่อ พบเห็นอาการดังกล่าวให้หว่านสเม็คโตไทต์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ จับแอมโมเนียส่วนที่เหลือซ้ำอีกครั้ง ทำอย่างนี้จนสิ้นสุดการเลี้ยง ต่อไปน้ำในบ่อกุ้งก็สามารถปล่อยลงนาได้โดยไม่สร้างปัญหาให้ชาวนาหรือสิ่งแวดล้อม อยู่รวมกัน พึ่งพาอาศัยกันได้อย่างแฮปปี้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13033&Param2=8
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: