วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หน้าฝนปราบศัตรูพืชง่ายกว่าหน้าแล้ง


หน้าแล้งอากาศร้อนน้ำร้อน คลองหนองแห้งขอด ความเค็มในน้ำเพิ่มขึ้น ด่างมากขึ้น อัลคาไลเพิ่ม หากไม่ปรับ pH น้ำให้อยู่ที่ 5.0 - 5.5 แล้ว เวลาผสมยาหรือสารเคมีต่างๆ ก่อให้เกิดอัลคาไล อัยโดรลัยสิส ส่งผลให้สารออกฤทธิ์ช้าหรือหมดฤทธิ์ได้ง่าย ก่อนจะได้ผล คล้ายๆอาการดื้อยาในหนอน แมลง เชื้อราโรคพืช ซึ่งจริงๆ แล้วหน้าฝนป้องกันหรือปราบศัตรูพืชง่ายกว่าหน้าแล้งด้วยซ้ำ
Silisic-Acid.gif
การที่ฝนตกชะล้างอินทรียวัตถุต่างๆ แล้วแตกละลายกลายเป็นกรดในธรรมชาติ อาจส่งผลให้น้ำเป็นกรดอ่อน แม้แต่การหมักปุ๋ยจากซากอินทรียวัตถุ เศษไม้ ใบหญ้า ก็ยังได้กรดฮิวมิค ได้ปุ๋ยน้ำสีคล้ำๆดำๆกลิ่นตุๆ แม้แต่น้ำชะล้างกองขยะน้ำสีดำๆก็ยังเป็นกรดอ่อน หากลองสังเกตหรือทดสอบจะพบว่าน้ำในธรรมชาติ ในห้วย หนอง คลอง บึงก็ยังเป็นกรดอ่อน ยกเว้นแต่น้ำที่ไหลผ่านภูเขาหินปูนส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นด่าง หากเป็นเช่นนี้ก่อนฉีดพ่นยา ฮอร์โมนต่างๆก็ให้ปรับ pH ของน้ำด้วยซิลิซิคแอซิค ประมาณ 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งสามารถปรับจากความเป็นด่างให้เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยให้ฤทธิ์ยา ฮอร์โมนกลับมาออกฤทธิ์ได้เหมือนเดิมโดยที่ไม่ถูกหักล้างด้วยด่าง
เช่นเดียวกับนาดินเปรี้ยวยกร่อง ไล่น้ำยังไงก็ไม่หายเปรี้ยว ถ้าไม่มีการปรับสภาพดิน ในการปรับสภาพดินที่เปรี้ยวหรือเป็นกรดจัดๆนั้น ควรใช้ดินที่มีค่า pH ตรงกันข้ามหรือเป็นด่าง ดินหรือสารปรับปรุงดินที่ภาครัฐ-เอกชน นิยมส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรใช้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวัตถุปูน อย่างปูนมาร์ล โดโลไมท์ ปูนขาวซึ่งต้นทุนต่ำ ในมุมกลับกันหากเกษตรกรนำมาใช้บ่อยครั้ง ในปริมาณที่ มากเข้าๆ เรื่อยๆ ก็จะเป็นโทษต่อดิน เนื่องจากปูนเมื่อเจอน้ำจะทำละลายเข้ากันดี แต่ปูนก็คือปูนเมื่อแห้ง แข็งจับตัวเป็นก้อน ฝนตก รดน้ำ สักเท่าไรก็จะไม่ละลาย แพ็คหน้าดิน แน่นแข็ง น้ำซึมผ่านขึ้น-ลงไม่ได้ สุดท้ายต้นไม้ก็เหี่ยวเฉาตายเพราะขาดออกซิเจน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 081-6929660 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=13055&Param2=14
วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: