วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

น้ำขี้หมูผ่านนา ข้าวล้มระนาว


การเลี้ยงหมูก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกันหากป้องกันบำบัดไม่เป็น โดยเฉพาะกลิ่นก๊าซที่ปลิวล่องลอยตามลม ซึ่งกล่าวรวมถึงของเสียที่เรียกว่า “ขี้” ในรูปของน้ำทิ้งที่ปล่อยลงบ่อพัก ผ่านลำน้ำ ลงคลองหนองจนผักตบผักปอดเขียวขจี บางครั้งมีมากเกินไปน้ำเขียวไม่ระบายจนปลาตายลอยเป็นแพเพราะขาดออกซิเจน ก่อให้เกิดปัญหามากมาย อันจะปล่อยลงแปลงนาข้างบ้านโดยตรงก็เกรงว่าข้าวจะไม่ได้รวง เฝือใบบ้าใบเพราะรับไนโตรเจนเข้าไปเยอะ อ่อนแอเป็นโรคง่าย แมลงศัตรูรบกวนง่ายและที่สำคัญล้มง่าย
 
จริงแล้วไนโตรเจน(N) ก็เป็นอาหารพืชอาหารต้นข้าวเหมือนกัน แต่บางครั้งการได้รับในอัตราที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี กล่าวคือข้าวจะบ้าใบเฝือใบ ล้มง่าย ไม่ค่อยได้รวง เสียเวลาเสียต้นทุน เป็นปัญหาเดิมๆที่เกษตรกรเคยพบเจอ ซึ่งต่อไปไม่ใช่ปัญหาหากจะนำขี้หมู น้ำขี้หมู มาใช้ในแปลงนา แปลงเกษตรหรือหว่านราดรดต้นไม้ ก่อนหรือหลังปลูกทุกครั้งควรใช้หินแร่ภูเขาไฟอย่างพูมิช รองก้นหลุมหรือหว่านผสมร่วมกันช่วยจับอนุภาคประจุบวกของไนโตรเจนในปุ๋ยขี้หมู น้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงหมู
20110613_PUMICE_New02.jpg
ในนาข้าวที่ขาดอินทรียวัตถุให้เติมโพแทสเซียมฮิวเมทลงไปด้วย จะช่วยให้ธาตุอาหารที่ละลายได้น้อยที่มีอยู่ในดินละลายเพิ่มขึ้น ต้นข้าวได้รับประโยชน์มากขึ้น แม้ว่าธาตุอาหารที่ได้จากขี้หมูน้ำขี้หมูมีประโยชน์อยู่จริง แต่การได้รับปุ๋ยเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เปอร์เซ็นต์ปุ๋ยไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องดึงปุ๋ยเคมีบางสูตรมาร่วมเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตไม่ให้ตกต่ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและไม่ต้องการให้ใช้ปุ๋ยเกินประโยชน์เกินความจำเป็น ให้นำพูมิช 20 กิโลกรัมมาคลุกผสมร่วมกับปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมหรือขี้หมู 100 กิโลกรัมทำเป็นปุ๋ยละลายช้าเสีย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ 089-4442366 (เอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=12993&Param2=14
วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556  เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: