วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เลี้ยงกบแบบพอเพียงต้นทุนต่ำ



อาศัย ธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเกษตรกร ประหยัดต้นทุนในการเลี้ยง ใช้วัสดุหาง่ายในพื้นที่ในครัวเรือน ขนาดของบ่อก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่ 2-3 เมตรก็พอ แต่พื้นที่แสงแดดต้องส่องได้ถึง พื้นดินต้องเรียบ ล้อมรั้วรอบด้วยตาข่ายไนลอนสูง 1 เมตร โดยให้ฝังตีนตาข่ายลึกลงไปในดินประมาณ 20 เซนติเมตร ป้องกันกบมุดหนีหรือศัตรูภายนอกมุดเข้ามากินกบ ด้านในต้องมีแหล่งน้ำหรือบ่อเล็กๆไว้ใหักบว่ายน้ำเล่น 

ท่าน ที่ฟักไข่เองช่วงแรกๆก็ให้ลูกอ๊อดกินไรน้ำ หรือไรแดง สลับกับผักกาดลวกกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือเศษปลาต้มสุก บด หรือเครื่องในสัตว์ต้มสุก หรือหอยเชอร์รี่ต้มสุกบด นำมาผสมกับรำละเอียด เมื่อลูกอ๊อดเริ่มโตขึ้นก็เริ่มผสมหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูป แต่ค่อยๆผสมให้ทีละน้อยๆกินหมดในหนึ่งวัน การฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปแต่เนิ่นๆเป็นเรื่องที่ดี ช่วยลดปัญหากรณีอาหารธรรมชาติอย่างปลวก ไส้เดือน จิ้งหรีด หนอนนก ฯลฯ ไม่เพียงพอหรือหายากราคาแพงลงได้ 

เมื่อลูกกบอายุ 2 เดือนก็เริ่มให้อาหารสำเร็จรูปได้ หรือผสมร่วมกับอาหารธรรมชาติเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะผสมอยู่ประมาณ 3:1ของอาหาร ยกอย่างเช่น ปลาสดบดผสมรำ 3 กิโลกรัมต่ออาหารสำเร็จรูป 1 กิโลกรัม ช่วงเวลาจากลูกอ๊อดไปเป็นลูกกบใช้เวลา 40-45 วัน และจากลูกกบไปเป็นกบเนื้อพร้อมจำหน่ายใช้เวลา 4-5 เดือน นั้นหมายถึงกบมีความยาวประมาณ 4 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 200-300 กรัมต่อตัว ช่วงไหนราคาไม่ดีปล่อยเลี้ยงต่อยังไม่จับ เพราะยิ่งไซด์ใหญ่ยิ่งได้ราคาดีเป็นเงาตามตัว 

ปัญหา น้ำเน่าเสียก็ไม่แพ้เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง อยู่เหมือนกัน ยิ่งให้อาหารเยอะก็ยิ่งกินเยอะและเหลือเยอะ แถมถ่ายเยอะอีกตังหาก ไม่เกินหนึ่งสัปดาห์น้ำก็เริ่มส่งกลิ่นเหม็น กลิ่นคาว กลิ่นฉุนของแอมโมเนียคละคลุ้งทั่วบริเวณ แหละนั้นก็ต้องคอยถ่ายน้ำเสียทิ้งแล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ตลอดเวลา เพราะถ้าไม่เปลี่ยนหรือถ่ายทิ้ง แอมโมเนียก็เพิ่มขึ้นจนทำลายเนื้อเยื้อบางๆหรือผิวหนัง ทำให้กบเคลียดหรือตายได้เช่นเดียวกัน บางครั้งต้องอาศัยหินภูเขาไฟอย่างสเม็คโตไทต์ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ มาคอยดักจับแอมโมเนียซึ่งมีเป็นประจุไฟฟ้าเป็นบวก ช่วยยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำและลดอัตราการตายลงได้ สอบถามข้อมูลวิชาการได้ที่ 02-9861680-2 หรือผู้เขียน(081-3983128) ท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ Hotline สายด่วน 084-5554205-9 

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 11 กันยายน 2557 เสนอแนะติชมได้ที่ email : thaigreenagro@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: