วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

อยากรู้ไหมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบระบาดในแปลงนาลักษณะใด



การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถ้านับย้อนไปในอดีตก็ตั้งแต่ปี 2520 และก็จะระบาดอีกในปี 2530 และในปี 2540 รูปแบบการระบาดก็ยังห่างๆอยู่ ในระยะปี 2530-2540 นี้ก็เริ่มมีการค้นพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกสอง สามสายพันธุ์ที่แปลกๆจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปรกติ นี่อาจจะเป็นเพราะในห้วงช่วงนี้เรามีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันมากมาย หลากหลายชนิดนั่นเองจึงทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างเจ้าเพลี้ยกระโดดสี น้ำตาลนั้นกลายพันธุ์ขึ้นมา ซึ่งถ้ามองมาถึงปัจจุบันก็จะมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมายมายหลายชนิดทั้งปีก สั้น ปีกยาว ปีกลาย ปีกหยัก ตัวผอม ตัวกลม ตัวเขียว ตัวดำ และที่สำคัญความหนาแน่นต่อต้นต่อกอก็มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมายหลายเท่าตัว จนหลักการที่จะให้แมลงตัวดีหรือตัวห้ำตัวเบียนคอยควบคุมจับกินในอัตรา ตัวดีหนึ่งตัวคุมแมลงศัตรพืชตัวร้ายเก้าหรือสิบตัวนั้นไม่ได้ และที่สำคัญมาในช่วงปี 2550 เป็นต้นมานั้นเราจะสังเกตุว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นระบาดติดต่อกันเป็นประจำแทบทุกปีเลยทีเดียวเชียว ล่ะครับ 

และมีการระบาดหนักมากๆในห้วงช่วงปี 2552 จนเป็นข่าวดังไปทั้งประเทศในกรณีที่มีเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพร รรณบุรีที่มีการปลุกเสกยันต์กันเพลี้ยแจกชาวบ้านนำไปปักไว้ในแปลงนา ปรากฎว่าชาวบ้านนิยมชมชอบมากกว่าการใช้ยาฆ่าแมลงเสียอีกเพราะใช้แล้วดู เหมือนว่าจะให้ผลลัพธ์ดีกว่า ในห้วงช่วงนั้นชาวบ้านจะยังไม่ค่อยรู้จักยาเชื้อบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม กันแพร่หลายมากเท่าใดนักเหมือนในปัจจุบันนี้ การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จากระยะตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ออกไข่ใช้ระยะเวลาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้นสี่ซ้าห้าวันก็เป็นตัวอ่อนและลอกคราบอีกห้าครั้งใข้ระยะเวลา ประมาณ 15-16 วัน คือประมาณสามสี่วันลอกคราบครั้งหนึ่งจึงเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเฉลี่ยไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลออกมา 200 ฟอง เป็นตัวผู้ 100 ฟองและเป็นตัวเมีย 100 ฟอง ใช้ระยะเพียงสองสามเดือนเค้าจะสามารถขยายจำนวนได้หลายล้านตัว นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่แมลงศัตรูพืชธรรมชาติไม่สามารถควบคุมประชากรของ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ในภาวะที่มีการระบาดหนักเกินระดับเศรษฐกิจ 

หาก เราย้อนไปดูและสังเกตุการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นจะเห็นเข้า ระบาดในพื้นที่ลุ่มก่อนเป็นลำดับแรก เพราะพื้นที่ลุ่มเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุสารอาหารหรือปุ๋ยที่หว่านลงไปมากองรวม ทำให้ข้างงอกงามอวบอ้วนอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และถ้าเราหัดสังเกตุต่อไปในพื้นที่บนคันนาที่มีเมล็ดข้าวร่วงหล่นแบบไม่ ตั้งใจและเจริญเติบโตเป็นกอข้าวที่ไม่มีใครใส่ใจดูแล จะพบว่าข้าวที่เติบโตบนคันนาจะไม่พบเพลี้ยกระโดดเข้าทำลายแม้แต่ตัวเดียว การแก้ปัญหาของพี่น้องเกษตรชาวนาด้วยไขระบายน้ำออกเมื่อมีการระบาดของเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาลเพื่อบรรเทาการระบาด แต่แปลงนาที่มีพื้นนาไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งแปลงจะไม่สามารถหยุดการเข้า ทำลายของเพลี้ยได้เลย เพราะจะอย่างไรพื้นที่นาที่ลุ่มๆดอนๆน้ำก็ไหลออกไปไม่หมดอย่างแน่นอน 

สาเหตุ อีกอย่างหนึ่งของการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลคือการหว่านข้าวแน่น ใช้เมล็ดเยอะ และสุดท้ายก็ต้องใข้ปุ๋ยเพิ่มตามมาด้วย ทำให้ต้นข้าวกลับไปสู่เงื่อนไขอวบอ้วนใบโค้งงอคำนับเจ้าของ ง่ายต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ง่าย ฉะนั้นการทำให้ต้นข้าวเตี้ยแข็งใบตั้งชูสู้แสงจึงช่วยลดการเข้าทำลายได้มาก จึงยากฝากพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาให้พึงระลึกนึกถึงการปลูกข้าวทำนา ต้องพยายามทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่อ่อนแอจากการใส่ปุ๋ยที่มากเกินควร. และในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือใส่ปุ๋ยช่วงระยะแตกกอ ทำพื้นนาให้เรียบเสมอทั้งแปลง หรือเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์ด้วยซิลิก้าจากหินแร่ภูเขาไฟก็จะช่วย ผ่อนปัญหาที่รุมเร้าอย่างหนักให้กลายเป็นเบาได้ไม่ยาก 

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

ไม่มีความคิดเห็น: