วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีป้องกันกำจัดโรคข้าวที่กำลังระบาดทางภาคอีสานด้วย” จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า”


Tricoderma_Bottle2012.gif

ปัญหา เรื่องโรคต่างๆเกี่ยวกับข้าว ถ้าเป็นชาวนาในเขตภาคกลางหรือภาคเหนือตอนล่างแล้ว ส่วนมากจะรู้จักกันเป็นอย่างดี สามารถสังเกตุอาการ วิเคราะห์อาการ และหาวิธีแก้ไขกันได้อย่างทันท่วงที แต่ถ้าเป็นเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบนหรือว่าทางเขตภาคอีสานของประเทศไทยแล้ว ต้องบอกว่าถือเป็นอะไรที่ใหม่มากๆ โดยปกติแล้วการทำนาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนหรือทางภาคอีสานจะทำนาได้ปีล่ะ 1 ครั้ง เรียกกันว่าการทำนาปี ซึ่งพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันจะเป็นข้าวหอมมะลิ(ทำไว้เพื่อขาย) และก็ข้าวเหนียว(ทำไว้รับประทาน) ในการทำนาในเขตภาคอีสานนั้นแทบจะไม่มีปัญหาเรื่องโรคของข้าวรบกวนเลย จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เป็นคนพื้นเพภาคอีสาน เป็นลูกชาวนา ทำนามาตั้งแต่เด็กแล้ว การทำนาในพื้นที่ภาคอีสานจะไม่มีการฉีดย่าฆ่าแมลงเลยจะเรียกว่าการทำนาในภาค อีสานเป็นข้าวปลอดสารพิษก็ว่าได้ ส่วนมากก็ใส่ปุ๋ยตามระยะเวลาของการเจริญเติบโตของข้าว เท่านั้น จนกระทั่งมาปีที่แล้ว ปี พ.ศ.2556 มีการระบาดของโรคข้าวขึ้นในเขตภาคอีสาน ซึ่งโรคที่เกิดขึ้นก็คือโรคใบไหม้ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคใบไหม้ ใบข้าวจะเริ่มเหลืองที่ปลายยอดไล่ลงมาเรื่อยๆจนถึงโคนต้น ใบข้าวจะค่อยๆเหี่ยวและข้าวก็จะยุบตายในที่สุด แต่ชาวนาในภาคอีสานเมื่อเห็นอาการข้าวปลายเริ่มเหลืองก็คิดว่าเป็นอาการขาด ปุ๋ยของข้าว รีบไปหาซื้อปุ๋ยมาใส่กันใหญ่แต่ข้าวก็ไม่เขียวขึ้นมาแต่กลับเหลืองลงไปอีก จนมารู้อีกทีข้าวก็ยุบตายไปหมดแล้ว พอมาปีนี้ก็มีการระบาดของโรคเชื้อราในนาข้าวเกิดขึ้นมาอีกแล้ว ทางผู้เขียนเลยต้องรีบมาเตือนให้เกษตรกรที่ทำนาในพื้นที่ภาคอีสานรับทราบ ข้อมูลและวิธีการแก้ไขให้ทันท่วงที

เกษตรกรที่ทำ นาควรไปสำรวจแปลงนาข้าวของตัวท่านเองว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ เช่น ต้นข้าวปลายใบเหลืองเป็นหย่อมๆ หรือเริ่มเหลืองทั่วทั้งแปลง อาการเหมือนข้าวขาดปุ๋ย หรือว่าข้าวที่นายังเขียวดีแต่แปลงใกล้ๆเริ่มแสดงอาการใบเหลือง ถ้าเกษตรกรไปสังเกตแปลงนาแล้วพบอาการเหมือนที่ผู้เขียนกล่าวมาให้รีบนำ ไตรโคเดอร์ม่า(จุลินทรีย์ป้องกันกำจัดเชื้อรา) ไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนาเพื่อยับยั้งโรคใบไหม้ การฉีดพ่นไตรโคเดอร์ม่าควรฉีดพ่นให้ระเอียดฉีดให้ทั่วทั้งบนใบปลายใบ ลำต้น และไม่ควรใช้ไตรโคเดอร์ม่าร่วมกับยาฆ่าเชื้อราที่เป็นเคมีเพราะจะทำให้ ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าลดลงหรือทำให้เชื้อตายไปเลย ข้อแนะนำเพิ่มเติมควรผสม ซิลิโคเทรซ(ธาตุอาหารรองเสริมรวม) ผสมฉีดร่วมกับไตรโคเดอร์ม่าเพื่อให้ซิลิโคเทรซเป็นอาหารเสริมทางใบช่วยให้ ข้าวที่เหลืองกลับมาฟื้นเขียวดังเดิม ซิลิโคเทรซจะช่วยทำหน้าที่เปรียบเสมือนน้ำการให้น้ำเกลือแก่คนป่วยที่นอนโรง พยาบาล ให้ข้าวฟื้นมีชีวิตชีวาขึ้นมา ข้าวกลับมามีภูมิต้านทานต่อโรคเชื้อรา สอ[ถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณจตุโชค จันทรภูมี (ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปที่เบอร์ call center โทร.0845554205 – 9 

เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี

ไม่มีความคิดเห็น: