วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เกาะกระแสการเมืองร้อน : ทางออกชาวสวนยางพารา


คอลัมน์ข่าวจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้าออนไลน์ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 รายงานว่า นายสมคิด สืบตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจ.กระบี่ เปิดเผยถึงยางพาราสามารถสร้างรายได้ให้ชาวสวนยาง จ.กระบี่ ได้ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท/ปี จึงถือว่ายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่จะผลักดันเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 จึงจัดการสัมมนา เตรียมความพร้อม ให้ความรู้เกษตรกร ร่วมถึงเชื่อมโยงเครือข่ายชาวสวนยาง แนวทางการลดต้นทุนในการสร้างสวนยาง เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยาง จ.กระบี่ได้เกิดแนวคิดร่วมกันลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างความเข้มแข็ง นำโดยผู้ว่าเมืองกระบี่ นายประสิทธิ โอสถานนท์
ที่ผ่านมาราคายางพาราในตลาดโลกผันผวนตลอดเวลา ส่งผลกระทบต่อราคายางพาราในประเทศ อีกทั้งพื้นที่ปลูกยางพาราไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ยังมีมาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมไปถึงพี่ใหญ่อย่างจีน อีก 2 ปีข้างหน้าราคายางอาจแย่กว่านี้หากไม่หาทางรับ เพราะว่ายางพาราจีนเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ทางรอดทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต คือการนำพูมิชซัลเฟอร์มาผสมร่วมกับปุ๋ยที่จะหว่านบำรุงต้นให้ละลายช้าลง เนื่องจากพูมิชซัลเฟอร์ผลิตจากหินภูเขาไฟที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าเป็นลบ สามารถจับตรึงปุ๋ยที่มีค่าประจุเป็นบวก (1) ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินที่ไม่มีในปุ๋ยเคมี (2) ช่วยลดต้นทุนการผลิต คือไม่ต้องซื้อปุ๋ยสูตรที่มีราคาแพง (3) สร้างจุลินทรีย์ในดินไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยหลักโดยไม่ทำให้ดินเสียหรือดินตาย (4) ลดการสูญเสียปุ๋ยเคมีจำพวกแอมโมเนีย (ไนโตรเจน)ไปโดยเปล่าประโยชน์ ใช้ก็ง่ายเพียงแค่นำพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม มาผสมร่วมกับแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยสูตร 50 กิโลกรัม (2 : 5) แต่หากเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ให้ใช้พูมิซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัม ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม (1 : 5) หว่านรอบทรงพุ่มหรือร่องอกตามปริมาณที่เคยใส่ คือเคยใส่อยู่ 1 กิโลกรัมต่อต้นก็คงใส่ 1 กิโลกรัมต่อต้นเหมือนเดิม และนอกจากนี้พูมิชซัลเฟอร์ยังช่วยปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ปรับpH ของดินปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดี เพิ่มธาตุรองธาตุเสริมไม่ต้องหาซื้อมาเติมภายหลัง นอกจากนี้ยังมีซิลิก้าที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งลดการทำลายของแมลงโรคพืช เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลหรือหาซื้อมาทดลองได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือ 081-3983128 (คุณเอกรินทร์)
เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เสนอแนะติชม email : thaigreenagro@gmail.com
http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=15088&Param2=15

ไม่มีความคิดเห็น: